สาวดำ
นางสาว สะสินะ เนาะฮ์ นวลศรี

เกร็ดเล็กๆเกี่ยวกับเด็กพิเศษ


เด็กออทิสติก

การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก

                การเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก  หมายถึง  การจัดการศึกษาให้แก่เด็กออทิสติก  ซึ่งเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  ได้เรียนร่วมกับเด็กปกติโดยคำนึงถึงความสามารถของแต่ละบุคคล  เพื่อส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันและดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข  โดยยึดหลักที่ว่า  มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม  มีความเป็นอยู่ที่ต้องเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันและต้องการการเพื่อน  ในวัยเด็กจะต้องการเพื่อนเล่น  เพื่อนเรียน  เพื่อนร่วมกิจกรรม  เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะต้องการเพื่อนคู่คิด  เพื่อนร่วมงาน  มนุษย์มีพื้นฐานความสามารถแตกต่างกัน  จึงจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันอยู่ตลอดเวลา  เด็กออทิสติกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  แต่ความสามารถอาจด้อยกว่าคนปกติ 

เด็กออทิสติกจึงควรได้รับความเห็นใจ  ความเข้าใจ  ความช่วยเหลือและโอกาสในสังคมให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เช่นคนปกติ  ดังนั้น  การเตรียมเด็กออทิสติกให้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยให้เขามีเพื่อนที่มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  ปรับตัวเข้าหากัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  และเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข  การจัดการเรียนร่วมจะมีส่วนช่วยพัฒนาเด็กออทิสติก  ให้เห็นแบบอย่างที่ดีของปกติ 

เด็กออทิสติกจึงควรได้รับความเห็นใจ  ความเข้าใจ  ความช่วยเหลือและโอกาสในสังคมให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เช่นคนปกติ  ดังนั้น  การเตรียมเด็กออทิสติกให้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยให้เขามีเพื่อนที่มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  ปรับตัวเข้าหากัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  และเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข  การจัดการเรียนร่วมจะมีส่วนช่วยพัฒนาเด็กออทิสติก  ให้เห็นแบบอย่างที่ดีของปกติ  จะช่วยให้สามารถพัฒนาได้เร็วขึ้นกว่าการอยู่เฉพาะกับเด็กออทิสติกด้วยกัน

ประโยชน์การจัดการเรียนร่วม

1.       เด็กออทิสติกมีโอกาสได้เรียนเหมือนเด็กปกติทั่วไป

2.       ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง  ที่ไม่ต้องส่งไปอยู่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนประจำ

3.       เด็กออทิสติกมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว  โดยไม่รู้สึกแบ่งแยกว่าเป็นเด็กพิการ

4.     เด็กออทิสติกมีโอกาสได้เรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เร็วกว่าต้องไปอยู่โรงเรียนเด็กพิการ  เป็นประสบการณ์ตรงที่จะเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

5.       รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยกว่าการจัดโรงเรียนพิเศษเฉพาะเด็กพิการ

6.     สังคมจะเข้าใจและยอมรับเด็กออทิสติกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  ช่วยให้เด็กออทิสติกใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข  และทำประโยชน์ให้สังคมได้

การจัดการเรียนร่วมที่จะให้ผลดีนั้น  ควรดำเนินการดังนี้

1.       ควรเรียนร่วมเมื่ออายุยังน้อย  คือตั้งแต่ระดับอนุบาล

2.     ให้โอกาสครูที่สอนชั้นปกติตัดสินใจว่าจะรับเด็กออทิสติกเข้าไว้ในชั้นของตนหรือไม่  และให้มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 

3.      สถานศึกษา  โรงพยาบาลที่จะเปิดโครงการเรียนร่วมต้องมีบุคลากรพร้อม

4.       สถานศึกษาต้องทำความเข้าใจ  ชี้แจง  บทบาท  ความรับผิดชอบให้บุคลากรทุกฝ่ายทราบ

5.       สถานศึกษาต้องจัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้  อุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ

6.     ไม่ควรแยกเด็กออทิสติก ออกจากเด็กปกติ  ในเรื่องของการให้บริการ การเรียนการสอน  เพื่อให้เด็กปกติเข้าใจได้ถึงความสามารถของเด็กออทิสติก

7.       ควรใช้วิธีสอนแบบแผนการศึกษารายบุคคล (Individual Implement Plan : IIP)

8.       ต้องประเมินพัฒนาการ  และผลการเรียนอย่างสม่ำเสมอ  ด้วยวิธีการประเมินที่เชื่อถือได้

9.       ศึกษาข้อบกพร่องของการจัดการเรียนร่วม  และปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

การเตรียมการจัดการเรียนร่วม

                การเตรียมการจัดการเรียนร่วมควรเตรียมการดังนี้

1.  เตรียมความพร้อมของโรงเรียน  ต้องเตรียมความพร้อมในด้านเจตคติของบุคลากรในโรงเรียน  ความพร้อมด้านกายภาพ  จำนวนบุคลากร  ความรู้  ความเข้าใจ  หลักการและวิธีการเรียนร่วม  แนวปฏิบัติต่างๆ ถ้าผู้บริหารมีความพร้อมทางด้านเจตคติจะเป็นส่วนสำคัญที่สามารถจัดการให้เกิดความพร้อมในเรื่องอื่นๆ ต่อไป

2.  ประชุมครู  และบุคลากรของโรงเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วม  เพื่อบุคลากรในโรงเรียนจะต้องรู้ว่าโรงเรียนจะต้องทำอะไร  ด้วยเหตุผลอะไร  ทำกับใคร  และคนที่จะทำคือใคร  มีหน้าที่อะไรบ้าง

3.  จัดหาบุคลากรรับผิดชอบงาน  โดยการสรรหาบุคลากรในโรงเรียนที่มีวุฒิด้านการศึกษาพิเศษโดยตรง  หรือผู้ที่สมัครใจส่งเข้าอบรมหลักสูตรวิชาการศึกษาพิเศษเพื่อทำหน้าที่สอนประจำชั้นเด็กออทิสติก  หรือเป็นครูเสริมวิชาการ  ครูเดินสอน  ครูประจำชั้นเรียนร่วม  ครูประจำวิชา

4.  จัดหาห้องเรียน  ห้องเสริมวิชาการ  ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เหมาะสมกับเด็กออทิสติก

5.  ทำความเข้าใจ  ให้ความรู้และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการเรียนร่วมของเด็กออทิสติกกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น  ผู้ปกครองของเด็กปกติ  เด็กปกติในโรงเรียน  นักการภารโรง  ตลอดจนชุมชน  เพื่อให้บุคคลกลุ่มนี้เข้าใจถึงความจำเป็น  ให้ความเห็นใจ  ช่วยเหลือเกื้อกลูเด็กออทิสติก  โดยไม่คิดว่าเด็กพิการเป็นภาระและถ่วงความก้าวหน้าบุตรหลานของตนเอง  ส่วนนักเรียนต้องเตรียมใจรับและเรียนร่วมกับเพื่อนพิการ  ไม่ล้อเลียนความพิการ  แต่ควรจะให้ความช่วยเหลือ  ในสิ่งที่เพื่อนที่เป็นออทิสติกทำไม่ได้

คำสำคัญ (Tags): #เด็กพิเศษ
หมายเลขบันทึก: 65789เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท