การดำรงชีวิตในสภาวะโลกวิกฤติ เศรษฐกิจตกต่ำ


การดำรงชีวิตในสภาวะโลกวิกฤติ เศรษฐกิจตกต่ำ

การดำรงชีวิตในสภาวะโลกวิกฤติ เศรษฐกิจตกต่ำ

-------------------------------------

ดร.ถวิล  อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

   ปัจจุบันสภาพสังคมไทยและสังคมโลกได้รับผลกระทบในหลายส่วน

ทั้งเศรษฐกิจตกต่ำ สุขภาพจิตของคนในสังคมอยู่ในภาวะเครียดและสับสน

เพราะความเห็นไม่ตรงกัน ตลอดทั้งค่าครองชีพก็สูง น้ำมันก็แพงขึ้นแล้วขึ้นอีก  

       ครับ เป็นเรื่องที่ทุกคนประสบ แต่ละคนก็ประครองชีวิตตนเองให้พ้นไป

วัน ๆ ยิ่งคนที่ไม่มีงานเป็นหลักที่แน่นอนมั่นคง ก็ต้องใช้ความขยันเข้าไว้ เพราะ

พุทธภาษิตก็ให้แง่คิดแล้วว่า “คนขยัน  ย่อมหาทรัพย์ได้”

      อย่างไรก็ตาม สังคมไทยเราทางยังไม่ตัน และจะสามารถอยู่เย็นเป็นสุขไปอีกหลายร้อยปี ขอเพียงคนไทย มีใจดังนี้

  1. 1. เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นผลมาจากสินค้าราคาแพง คนว่างงาน

แก้ได้ของเพียงเราต้องขยันทำมาหากิน ประหยัดอดออม เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

จำหน่ายสินค้า ก็ไม่ตีราคาสูงมากนัก พออยู่ได้ แต่ได้ใจลูกค้า พัฒนาสินค้าOTOP OSOP ออกจำหน่ายเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ

จังหวัด ประเทศ ส่งออกต่างประเทศด้วยยิ่งดี

  1. 2. สุขภาพจิตอยู่ในภาวะเครียด  ความเครียด ย่อมมีกันทุกคน เพียงแต่

จะใช้อุบายไหนมาแก้หาแต่สิ่งที่จะทำให้ใจสบายมาเป็นอารมณ์ รู้จักปล่อยวางเป็นบางครั้ง ไม่ตามกระแสสังคมที่จุดปมให้เครียด เพราะทุกข์อยู่ที่ถือ สุขอยู่ที่

ปล่อยวาง ดังคำพระท่านสอนไว้ ละชั่ว ทำดี และทำใจเราให้ผ่องใส

  1. 3. น้ำมัน/ก๊าซ ราคาแพง  เราควรหาวิธีประหยัดน้ำมัน และก๊าซช่วยกัน

รถจักรยาน หรือการขึ้นรถประจำทางบ้าง ก็คงไม่เสียหยาดเหงื่อเท่าไรนัก แถมได้ออกกำลังกายไปด้วย ทำให้สุขภาพแข็งแรง เช่น ปั่นจักรยาน เดิน เป็นต้น

  1. 4. เสถียรภาพางการเมือง  การเมืองยังไม่นิ่ง เพราะต้องจัดระเบียบ

ให้คนไทยตระหนักในการเคารพกติกา กฎหมายบ้านเมือง มีความเห็นตรงกัน  

หรือเห็นต่าง แต่ไม่แตกแยกกัน โฟกัสความคิด ลดละทิฏฐิ  ไม่คิดแต่อยากได้อำนาจ ตระหนักถึงชาติบ้านเมือง  เพราะถ้าชาติบ้านเมืองไม่มี เราจะไปอยู่ตรงไหน เราไม่ได้หวนคิด หรืออาจจะลืมไป เพราะฉะนั้น เราควรสมานมิตร สมานจิต สมานใจ ปรองดองสมานฉันท์ร่วมกันพัฒนาประเทศชาติ ใครคิดทรราษฎร์ก็ขอให้ใช้กระบวนการทางกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยกันปราบคนพาล อภิบาลคนดี เพื่อจะได้ทำหน้าที่พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างสันติต่อไป

  1. 5. เด็กทะเลาะวิวาท  อย่าไปนำเอาแนวคิดไม่ดีมาเป็นตัวแบบ

โดยเฉพาะอ้างสถาบันการศึกษา หรือเกียรติสถาบันการศึกษาอย่างผิดๆ ต้อง

ผูกมิตร ผูกเสี่ยว รักกันไว้ให้มาก เป็นเพื่อนกัน ไม่อาสถาบันการศึกษาตนเองมาเป็นข้ออ้างเสียเกียรติ เพราะสถาบันการศึกษาไม่มีชีวิต คนเราต่างหากที่ทำให้สถาบันการศึกษาตนเองต้องมัวหมอง

            ฉะนั้น มาตรการที่ควรทำคือการรับน้องเมื่อเปิดการศึกษาใหม่ ๆ ต้องใช้วัฒนธรรมการรับน้องสร้างสรรค์ สถาบัน สถานศึกษาใด ไม่ใส่ใจเรื่องนี้ถือว่าทำหน้าที่บกพร่อง ย่อหย่อน ต้องเอาความผิดกับคณะผู้บริหาร ตลอดทั้งผู้เกี่ยวข้องด้วยก็จะดีครับ

  1. 6. ปัญหาเอดส์ เพศศึกษา อนามัยเจริญพันธ์  โรคเอดส์ระบาด ผู้หญิง

(หรือผู้ชาย) ถูกข่มขืนกระทำชำเรา การตั้งครรภ์ในวัยเรียน เป็นต้น นับว่ากำลังมีจะทวีปัญหาเพิ่ม ฉะนั้น ทักษะชีวิต จำต้องมี ต้องจิต ฝึกฝึกวิทยายุทธ ฝึก

การแก้ปัญหาบูรณาการอริยสัจ 4 ให้ได้ รู้ว่าอะไรเป็นปัญหา อะไรคือสาเหตุของปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุ วิเคราะห์ต้นเหตุ หาทางออก และบอกวิธีแก้ให้ได้แล้วจำใส่ใจว่าถ้าปัญหาอย่างนี้เกิดอีกต้องแก้ด้วยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะดี เป็นต้น

  1. 7. ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดให้โทษ ปราบอย่างไรก็ไม่หมดถ้า

ไม่ร่วมด้วยช่วยกันสอดล่องเป็นหูเป็นตาให้กับบ้านเมือง อาจเป็นเพราะชีวิตกำลังมีปัญหา หาทางออกไม่ได้ ไม่ขวนขวายหาวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง  หรือไม่ก็อยากรวยทางลัด นำยาเสพติดเป็นสินค้าจำหน่ายเลี้ยงชีวิต คิดสั้น

ขาดวิสัยทัศน์ลืมคิดว่า ถ้าประชาชนติดยาเสพติด สังคมอยู่ไม่ได้ เราจะอยู่ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ถ้าอยากเห็นสังคมประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง ต้องไม่ใช้ยาเสพติดแก้ปัญหาและไม่คบหาคนติดยาเสพติด ต้องช่วยแนะนำหาทางออกให้กันและกัน

           สรุปแล้ว ทุกปัญหา มีทางแก้ มีทางออกเสมอ ขอเพียงเราร่วมด้วยช่วยกัน คือ ถ้าคนในชาติร่วมใจขจัดปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ร่วมกันทำ ดีกว่าต่างคน ต่างคิด ต่างทำ และน้อมนำพระราชดำรัสมาปฏิบัติ โดยเฉพาะหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้ชีวิตเราเข้าถึงสุขอย่างแท้จริง เพราะเรารู้จักประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันเป็นอย่างดีภายใต้เงื่อนไขความรู้ และคู่คุณธรรม

หมายเลขบันทึก: 657550เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2018 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2018 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท