ความทุกข์ของเทศบาลท่าขอนยาง (ตุลาคม ๒๕๖๑)


วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ ทีมผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ร่วมลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาชุมชนกับนิสิตหลักสูตร English for Internaional Communication (EIC) ของภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์   ท่าน ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ให้การต้อนรับ พร้อมกับบรรยายให้ข้อมูลเบื้องต้นอย่างดีเยี่ยม ...  ผมขออนุญาตท่านเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนิสิตและอาจารย์ทุกคนที่จะมาช่วยกันเรื่องการจัดการขยะในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าขอนยาง  ... ขอขอบคุณท่านมากๆ ครับ และขอชื่นชมน้องเจ้าหน้าที่ที่ทำสไลด์ให้ข้อมูลได้ดีมากๆ

ข้อมูลพื้นฐาน


  • เทศบาลตำบลท่าขอนยาง มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๘.๖๒ ตารางกิโลเมตร  ๑๕ หมู่บ้าน
  • หรือคิดเป็นประมาณ ๒๔,๒๖๓ ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตรประมาณร้อยละ ๘๐ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ร้อยะเกือบ ๒๐ ที่เหลือเป็นพื้นที่อยู่อาศัยประมาณ ๒ พันไร่ 

  • ตามทะเบียนราษฎร์ มีจำนวนประชากรเพียง ๘,๖๖๓ ชายหญิงเกือบครึ่งๆ 
  • ประชากรแฝงประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
  • หากประชากรแฝงเหล่านี้ ย้ายทะเบียนราษฎร์มาขึ้นกับเทศบาลฯ เทศบาลท่าขอนยางจะได้รับงบประมาณจากเพื่อจัดการดูแลประมาณ ๗๕ ล้านบาทต่อปี (คนละประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาทต่อคน)

  • สังเกตว่า มีศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง ๑ แห่ง ที่บ้านหัวขัว 
  • มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานตำบล ๑๕ แห่ง และ
  • มีวัด ๙ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๒ แห่ง

  • มะเร็งคือสาเหตุอันดับหนึ่งของการตาย  มากถึงร้อยละ ๒๐ 
  • สาเหตุของการเสียชีวิตที่มีต้นเหตุมาจากอาหารรวมกันสูงถึงร้อยละ ๔๐  มีคนเสียชีวิตเพราะโรคชราเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้น  (ผมเดาว่า ที่เหลืออีกร้อยละ ๔๐ อาจตายด้วยอุบัติเหตุ)

  • มีผู้ทำเกษตรกรรมร้อยละ ๓๓  ไม่ถึงครึ่ง 
  • รับจ้างทั่วไปสูงถึง ร้อยละ ๒๓   ค้าขายเองเพียงร้อยละ ๗ 
ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาขยะ

  • มีกิจการหอพักที่ขึ้นทะเบียน ๓๘๕ หอพัก  ... ความจริงมีหอพักมากถึง ๔๐๕ หอพัก 
  • มีร้านมินิมาร์ทมากถึง ๒๗๘ แห่ง อาคารพาณฺชย์ให้เช่ามากถึง ๑๑๙ แห่ง โรงแรม ๘ แห่ง และร้านอาหาร ๙๐ แห่ง ... ผมตีความว่า สถานที่เหล่านี้เกี่ยวข้องกับนิสิตประชากรแฝงกว่า ๓๐,๐๐๐ คน และเป็นแหล่งก่อขยะหลัก 

  • เทศบาลมีรถเก็บขนขยะ ๓ คัน ... มีพนักงานท้ายรถรวมแล้วประมาณ ๑๒ คน 

  • ปริมาณขยะต่อปีอยู่ที่ประมาณ ๓,๒๐๐ ตัน  ต่อเดือนประมาณ ๓๒๐ ตัน หรือคิดเป็นประมาณ ๑๐ ตัน ต่อวัน  ...  ท่าน ผอ. บอกว่า นี่เป็นปริมาณที่เราเก็บขนได้  จริงๆ แล้วแต่ละวันจะมีการก่อขยะในเขตถึงวันละ ๓๐ ตัน (เฉพาะในเขตเทศบาล ไม่รวมหมู่บ้านรอบนอก)

  • ในการทิ้งขยะที่บ่อขยะหนองปลิง (ดูที่นี่) เทศบาลฯ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการทิ้งขยะตันละ ๔๐๐ บาท  คิดเป็นสัปดาห์ละ ๔,๐๐๐ บาท เดือนละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ปีละ ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท 
  • นอกจากนั้นยังต้องจ่ายค่าน้ำมันเชือเพลิงถึงเกือบ ๘๐๐,๐๐๐ บาท ค่าจ้างคนงานอีก ๗๐๐,๐๐๐ และค่าซ่อมบำรุงรถอีก ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท 
  • รวมๆ คือเกือบ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี ที่เทศบาลต้องจ่ายเรื่องขยะ 

  • ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการจัดการขยะ
    • ไม่มีบ่อเก็บขยะของตนเอง 
    • ขยะมีปริมาณมาก เก็บขนได้ไม่หมดในแต่ละวัน ... เก็บได้เพียง ๑ ใน ๓ ของขยะเท่านั้น
    • มีขยะจากนอกพื้นที่เข้ามาทิ้งในเขตที่เทศบาลรับผิดชอบ
    • รถเก็บขยะชำรุดบ่อย ต้องซ่อมบำรุงบ่อยๆ 
    • ผู้ก่อขยะขาดจิตสำนึกที่จะช่วยกันลดปริมาณขยะ 
  • มีความเสี่ยงอย่างมาก กรณีที่เทศบาลเมืองซึ่งดูแลบ่อขยะหนองปลิง ปิดปรับปรุงไม่ให้นำขยะไปทิ้ง 

การจัดการขยะของเทศบาล

  • แนวทางในการจัดการขยะและแก้ไขปัญหาที่เทศบาลทำอย่างต่อเนื่อง มี ๔ แนวทาง ได้แก่
    • เก็บขนไปทิ้งบ่อขยะหนองปลิง
    • ลดปริมาณ
    • สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน
    • สร้างจิตสำนึกและรณรงค์กับนิสิต นักเรียน ร้านอาหาร ... ท่านบอกว่าไม่ได้ผลเลย 
  • โดยแต่ละแนวทาง ท่านได้นำเสนอและเล่าเรื่องให้ฟังค่อนข้างละเอียด ... เห็นถึงความพยายามจัดการขยะอย่างมาก

ประเด็นที่น่าเห็นใจยิ่ง

  • ปริมาณขยะเยอะมากเกินไป ไม่มีทางจะเก็บขนได้ทัน .... ทางเดียวที่จะแก้ไขได้คือการลดปริมาณขยะ 
  • ผู้ที่ก่อขยะส่วนใหญ่น่าจะมาจากร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิงต่างๆ และขยะจากหอพัก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับประชากรแฝง ๓๐,๐๐๐ คน ที่เป็นนิสิต 
ผมฝันว่า นิสิตที่จะเรียนรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนทุกคนในปีการศึกษาที่ ๒-๒๕๖๑ แยกขยะ และลดปริมาณขยะอย่างพร้อมเพียงกัน และช่วยกันคนละไม้ละเมือในการหาแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ 


หมายเลขบันทึก: 656551เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2018 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2018 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าจะ มี โครงการณ์ บรูณาการณ์..ประ กวด..การ ปลอด..ขยะสิ่งพันขยะ สารเคมี ทุก ชนิด และ..ทุกรูปแบบ..ขึ้น…(เอาแค่ บ้าน หลังเดียว ..ให้เกิด ให้ได้….รางวัล กับ ผู้ ค้นคิด..ไม่จำกัดวัย..ถ้่เป็นเด็ก ที่ค้นคิดสิ่งนี้ได้ ..น่าจะเป็นราวัลพิเศษ..เลยทีเดียว..)“เป็นความคิด ของ ตนแก่..ที่อยากเห็น แหล่งน้ำลำธาร ดื่มกินได้.. โดยไม่ต้องมี ขวด พลาสติคและน้ำในขวด ราคาแพง ที่ปนเปื้อน สารพิษ ค้าขายเสรี แถมมีกฏหมาย คุ้มตรอง..๕)…

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท