บ่อขยะหนองปลิง แหล่งจัดการขยะที่มหาวิทยาลัยเป็นลูกค้า


ช่วงหลังๆ นี้ ผมตัดสินใจ เริ่มใช้สื่อวีดีโอ (ในยูทูป) ช่วยในการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจ (อดุมการณ์) เพื่อที่จะให้ทันกับปริมาณงานที่บานปลายมาเรื่อยๆ จนเขียนเล่าเรื่องไม่ไหว ... แต่ก่อนไม่กล้า เพราะกลัวเขาหาว่าอยากดัง  แต่พอเริ่มปลูกมันจนได้หัวและสะพายชั่งไว้ติดตัวเป็น  ก็เริ่มลุย.... เช่นคลิปนี้ (มีความผิดพลาดเยอะมาก... เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในการสัมภาษณ์) 

วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ ในฐานะฝ่ายประสานงานรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน เราลงไปสำรวจบ่อขยะหนองปลิง ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จากตัวเมืองมหาสารคาม แหล่งจัดการขยะของเทศบาลเมืองจังหวัดมหาสารคาม ทุกๆ วัน จะมีขยะถึง ๙๐ ตัน มาให้จัดการที่นี่  ซึ่งบ่อขยะที่นี่เองที่ขยะจากมหาวิทยาลัยของเรามาทิ้งด้วย ... เชิญชมคลิปด้านล่างครับ 

ข้อมูลที่น่าสนใจ
  • บ่อขยะน้องปลิงมีพื้นที่ ๔๙ ไร่  ตั้งอยู่ห่างจากผู้มานำขยะมาส่งให้จัดการ ดังนี้ 
    • ห่างจากตัวอำเภอเมืองมหาสารคาม ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ไปทาง อ.วาปีปทุม  
    • ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามประมาณ ๑๒ กิโลเมตร 
    • ห่างจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขต ต.ขามเรียง (ม.ใหม่) ๒๐ กิโลเมตร 
    • ห่างจากเทศบาลตำบลท่าขอนยาง ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
    • ห่างจากเทศบาลตำบลขามเรียง ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร 
  • ปริมาณขยะที่ส่งมาเข้าสู่กระบวนการจัดการ มีดังนี้ (จากการสัมภาษณ์ หัวหน้าประสิทธิ์ ผู้ดูแลฯ)
    • วันละประมาณ ๙๐ ตัน/วัน
    • จากเทศบาลเมืองมหาสารคาม ประมาณ ๖๐ ตัน/วัน
    • จากเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย ประมาณ ๑๐ ตัน/วัน
    • จากเทศบาลตำบลท่าขามเรียง อ.กันทรวิชัย ประมาณ ๕ ตัน/วัน
    • จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (รวมทั้งสองวิทยาเขต) ประมาณ ๑๐ ตัน/วัน
    • จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประมาณ ๑๐ ตัน/สัปดาห์ (เพียง ๑.๕ ตัน/วัน)
จุดเด่นของบอขยะหนองปลิง (ที่ผมเห็น)
  • มีระบบดูแลและจัดการชัดเจน เปิดเผย เป็นระบบ ... ผมตีความจากสิ่งที่พบต่อไปนี้ 
    • มีเจ้าหน้าที่ดูแลจำนวนที่เพียงพอ มีหัวหน้างานรับผิดชอบชัดเจน  มีเจ้าหน้าประจำถึง ๑๒ คน
    • มีเครื่องจักร และเทคโนโลยีเพื่อจัดการด้วยการฝังกลมพร้อมและเพียงพอ 
      • มีรถขุดแมคโฮ จำนวน ๓ คัน (สภาพใหม่มาก)
      • มีรถแทรคเตอร์ตักดันดิน ๒ คัน 
      • มีรถขนขยะจำนวนมาก (ไม่ทราบจำนวน)
      • มีระบบบำบัดน้ำเสียจากกองขยะ 
    • มีการจัดการอย่างเป็นระบบ 
      • มีระบบชั่งน้ำหนักขยะ และมีการจัดเก็บข้อมูลที่ดี
      • เปิดโอกาสให้ชาวบ้านที่ต้องการหารายได้เสริม มาแยกขยะรีไซเคิลออก ก่อนการจัดการฝังกลบ โดยไม่คิดเงินใดๆ กับชาวบ้าน ... จากการสอบถามในคลิป พบว่า ผู้แยกขยะจะมีรายได้เดือนละประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท ในหนึ่งสัปดาห์จะนำไปขายที่แหล่งรับซื้อที่ อ.วาปีปทุม ๓ ครั้ง ได้รายได้ครั้งละ ๓,๐๐๐ บาท ... แต่ต้องแลกมากับงานที่ต้องอยู่กับกลิ่นและสกปรก (ด้วยชุดที่ไม่ป้องกันเลย)
      • มีการจัดเก็บค่าทิ้งขยะ ตันละ ๔๐๐ บาท ทำให้สามารถนำงบประมาณส่วนนี้มาจัดการดูแลได้ และเป็นกุศโลบายให้ผู้มาทิ้งขยะต้องลดปริมาณขยะ  เพราะทิ้งมากเสียเงินมาก 
  • ไม่มีการเผา ... ไม่มีการปล่อยสารพิษทิ้งสู่บรรยากาศ 
  • เปิดเผย พร้อมให้ข้อมูล อย่างเต็มที่ 
  • มีแผนในการจัดการสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ ... ติดตามและให้กำลังใจกันต่อไปครับ 
สิ่งที่ต้องชื่นชมและไปเรียนรู้ต่อคือ การจัดการขยะของ มรภ.มหาสารคาม เพราะมาทิ้งขยะที่นี่เพียง ๒ ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น ผมคิดว่าน่าจะมีการจัดการคัดแยกขยะอย่างดี  จะติดตามเรียนรู้ต่อไปครับ 





หมายเลขบันทึก: 656161เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2018 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2018 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หาก สังคมทุกวันนี้..ร่วมใจกัน ปฏิเสธ..ขยะ ที่ไม่ย่อยสลาย..และคำว่า นำกลับมาใช้ใหม่..ซึ่งต้อง ใช้พลังงาน..และสารเคมี..เช่นกัน..ปัญหานี้ จะลดลงอย่าง..รวดเร็ว..(ไม่เชื่อ ก็ควร ลองดู…อย่างน้อยที่สุด..สำหรับประเทศอย่างเราๆ….(ที่เห็นช้างขี้ ..ขี้ ตาม ช้างมาตลอด..อิอิ)..อาฟริกันประเทศเล็ก ๆ..เขาเริ่มแล้ว โดย ออกกฏหมาย..ไม่รับ ไม่ใช้ขยะ…ไทย น่า จะ ศึกษาและเอา อย่าง..เขาบ้างนะคะ อ.ต๋อย…ที่ฟังและรอ อีก สิบปี…หรืออย่างที่ทำกัน และเห็นกันอยู่…“น่ากลัว”…“ยก ตัว อย่าง อย่างประเทศเยอรมัน ที่สามารถผลิต มีคุณภาพ และมีกำลังทุนทรัพย์..ยังทำได้เป็นเพียง บางส่วน และ เป็นแค่..หญ้าปากคอก…”..ผลกระทบหลัก ๆ..คือสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้..”.อากาศเสีย น้ำเสีย ..ดินเน่า.”..”คนอยู่ไม่ได้…สิ่งมีชีวิต..อยู่ไม่ได้..”…

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท