859. "Appreciative Inquiry เป็นวิจัยได้ไหม"


Appreciative Inquiry เป็นวิจัยได้ไหม ...  แล้วมันเป็นวิจัยแบบไหน 

คำตอบก็คือได้... แล้วมันเป็นวิจัยแบบไหน..???

ต้องเริ่มจากเข้าใจก่อนว่า.. Appreciative Inquiry เป็นศาสตร์การพัฒนาองค์กรแขนงหนึ่ง...

แล้วการพัฒนาองค์กร (Organization Development-OD ) มันคืออะไร 

OD คือการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างเป็นระบบ อย่างต่อเนื่อง  OD เป็นวิทยาศาสตร์แบบประยุกต์ (Applied Science) ที่ผสมผสานทั้งศาสตร์อย่างสังคมศาสตร์และจิตวิทยา โดยเฉพาะจิตวิทยาอุตสาหกรรม Behavironal Science ไปจนถึงทฤษฎีการเรียนรู้ และทฤษฎีแรงจูงใจ   เน้นการศึกษาองค์กรและสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร 

พูดถึงวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีวิทยาศาสตร์บริสุทธ์ ที่เน้นศึกษาปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เพื่อเอามาทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คือการเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธ์มาแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติ

ตัวอย่างง่ายๆครับ เช่นคอมพิวเตอร์นี่ออกแบบมาใช้ในการแก้ปัญหาประจำวัน คอมพิวเตอร์ทั้งหลายนี่จึงเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์  แต่คอมพิวเตอร์ทั้งหมดนี่มีพื้นฐานจากคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธ์ที่คิดค้นมาก่อนยุคคอมพิวเตอร์มานับพันปี ไม่มีคณิตศาสตร์ ก็ไม่มีคอมพิวเตอร์...

OD คือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งก็คือการเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์จากสาขาต่างๆ ที่สั่งสมกันมา ทั้งวิทยาศาสตร์บริสุทธ์และวิทญาศาสตร์ประยุกต์  มาแก้ปัญหาทางปฏิบัติ คือปัญหาในองค์กร

สาขาที่ใช้วิทยาศาสตร์ประยุกต์ชัดๆ ก็คือวิศวกรรมศาสตร์ครับ ...ชัดมากๆ เอาความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้ามาจากวิทยาสศาสตร์บริสุทธ์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ..มาสร้างสรรค์ออกแบบ..  เช่นมีคนวิจัยเรื่องแรง คำนวณพื้นที่มา ..ก็เอาวิธีคำนวนดังกล่าวมาออกแบบสะพาน

Steve Jobs ก็เอาความรู้จากวิทยาศาสตร์ ก็เอาสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ คิดมาแล้วหลายเรื่องๆ เอามาต่อจิ๊กซอว์กลายมาเป็น iphone เป็นต้น ...นี่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ประยุกต์ .. 

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ บางครั้งเรียกว่า Research and Development นั่นเอง

คือเอามาทำ R&D นั่นเอง คนที่ใช้วิทยาศาสตร์ประยุกต์เก่งๆ ก็เช่น โทมัส อัลวา เอดิสัน  

นั่นคือ OD เอาความรู้ที่นักจิตวิทยา นักสังคมศาสตร์ หรือแม้กระทั่งระยะหลังนักวิทยาศาสตร์สมอง.. ที่วิจัยออกมามาแก้ปัญหา เรื่องการเปลี่ยนแปลงคน การเปลี่ยนแปลงองค์กร 

งานวิจัยทาง OD เปรียบได้กับ การวิจัยแบบที่คนเป็นวิศวกรเอาแนวคิดต่างๆ ของสารพัดศาสตร์มาแก้ปัญหา ออกแบบสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา .. 

จะว่าไปคนคิดวิชา OD ก็คือ Kurt Lewin เป็นนักจิตวิทยาครับ ออกไปทาง Gestalt Therapy ด้วย ... ท่านเอาแนวคิดของจิตวิทยา และศาสตร์ต่างๆ มาสร้างกระบวนการให้คนในองค์กรแก้ไขปัญหากัน

เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากแก้ปัญหาอะไรก็ตามในองค์กร ที่เกี่ยวกับคน คุณก็สามารถใช้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคน ไม่ว่าจะเป็นสังคมศาสตร์ จิตวิทยา ซึ่งพอเอามารวมกัน เขาเรียกว่าการพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือ Action Research การวิจัยเชิงปฏิบัติการ...มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้ 

ในสายวิชาการเรานิยมเรียกว่า.. Action Research... 

เพราะฉะนั้นเป็นงานวิจัยได้ครับ และทำกันมามากด้วย... Action Research  เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1944 ที่ MIT เอาไว้แก้ปัญหาองค์กรครับ..

Action Research เกิดจากการดึงองค์ความรู้จากสายสังคมศาสตร์และจิตวิทยาที่เชื่อว่ามนุษย์จะแก้ปัญหาได้ดีมากๆ ถ้าเขามาเห็นปัญหาร่วมกัน และหาทางออกด้วยกัน ..  Unfreezing .. Change Refreezing “

จาก Action Research ของ Kurt Lewin ..

วิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขานี้เติบโตมาเรื่อยๆ มีพัฒนาการที่น่าสนใจ เอาที่ MIT องนี่ก็สุดๆ ...

เท่าที่ผมดู จาก Kurt Lewin ก็มี Christ Argyris มาต่อยอดเป็น Action Science ... และก็เห็น Dialogue เติบโตขึ้นที่นี่ ...ตามมาด้วย Learning Organization ของ Peter Senge ที่ดูเหมือนรวมเอา Action Research, Dialogue และ Action Science เข้าไปมาเป็น OD สมัยใหม่ ที่ตอนหลังก็มี Theory U ของ Otto Scharmer ที่ผมเล่นอยู่ นี่เขาบอกเลยต่อยอดมาจาก Action Research ผสมกับ Dialogue และ Phenomenology ไปโน่น ภายหลังก็มี Social Lab ตามมา ที่เอา Theory U มาผสม Systems Thinking 

Kurt Lewin มีอิทธิพลต่อนักคิดหลายคน ...หนึ่งในนั้นคือ David Cooperrider ศาสตร์จากแห่งสำนัก Case Western ที่เอา Model ของ Kurt Lewin ไปแก้ปัญหาเรื่อง Leadership ในโรงพยาบาล เพราะเอาคนในโรงพยาบาลไปถามว่าที่นี่มีปัญหาอะไร เพื่อวิเคราะห์หารากเหง้าของปัญหา ก็เกิดวงแตก ทะเลาะกันไปมา ..แต่พอถามเชิงบวก กับได้คำตอบที่ดี เอาไปใช้แก้ปัญหาจริงๆได้ ... David ก็หันไปหาวิทยาศาสตร์ นั่นคือจิตวิทยยา เช่นเรื่อง Placebo Effect, Metacognition, Cogitive Dissonance ...ก็เริ่มเห็นว่าจริงๆ สิ่งที่เขาเจอมันมีคำอธิบายอยู่ก็เลยพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาองค์กรแนวใหม่ คือ Appreciative Inquiry ที่เน้นการดึงประสบการณ์ที่ดีที่สุดของพนักงาน มาแก้ปัญหาร่วมกัน...

Appreciative Inquiry ตอนหลังก็มีการต่อยอดไปอีก เป็น AI Summit ลงมาถึง Appreciative Coaching . 

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ทุกสาขา เกิดมาเพื่อเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธ์ หรือแม้กระทั่งจากวิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้วยกัน มาแก้ปัญหา หลายครั้งแก้ปัญหาได้ แต่หากไม่ได้ เราก็จะกลับไปเอาความรู้ที่รู้กันมา ค้นพบมา มา Blend ผสมผสานให้เกิดการแก้ปัญหา สร้าง Solution ใหม่ๆ ได้ ... วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เอง ก็สามารถเอาสิ่งที่ค้นพบจากวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้อำนวยความสะดวกในการค้นพบอะไรใหม่ๆ ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งก็สมารถนำมาใช้ในห้องปฏิการทางชีววิทยาได้ ... 

ทั้งสองศาสตร์ส่งเสริมกัน

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ต่อมากลายเป็น Notebook กลายมาเป็น Iphone ... และก็เกิด App ตามมา App ช่วยให้มนุษย์ธรรมดา และนักวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาในงานและชีวิตส่วนตัวได้มากมาย  

ชีววิทยา ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ๆ ทางการแพทย์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ทำให้เกิดวิชาพัฒนาองค์กร และต่อยอดมาเป็น Appreciative Inquiry  

Appreciative Inquiry และวิชา OD ต่างๆ เปรียบเสมือน App นั่นเอง ที่ทำให้คุณทำงานง่ายขึ้น ...

ถ้าคุณอยากพัฒนาองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังจะเกิด มี App เพียบใน OD ครับ เช่น Action Research, Action Science, Action Learning หรือ ล่าสุดก็ Appreciative Inquiry  

ถ้าอยากแก้ปัญหาที่มันเรื้อรัง ไม่จบสักที คนไม่พัฒนา ทำอะไรก็ทำเหมือนเดิม คิดไม่ไกล คุณต้องการ Learning Organization

ถ้าขาดความคิดสร้างสรรค์ติดหล่มความสำเร็จเดิมๆ  คุณอาจต้องการ Dialogue 

ทะเลาะกันแทบฆ่ากัน คุณต้องการ Social Lab ครับ

ถ้าอยากคิดสร้างสรรค์กลยุทธ์ใหม่ คุณต้องการ Appreciative Inquiry Summit หรือ SOAR Analysis

อยากให้คนค้นพบศักยภาพตนเอง คุณใช้ Appreciative Inquiry Coaching ได้เลย 

อยากเข้าใจลูกค้าหรือคนในองค์กรอย่างลึกซึ้ง เพื่อทำ Design Thinking คุณต้องการ Theory U ครับ 

พวกนี้เป็น App พื้นฐาน ครับคล้ายๆ Excel, Word... ที่ทำให้คุณเอาไปผสมผสาน สร้างสรรค์อะไรก็ได้ 

คุณอาจเอาทฤษฎีอะไรมาผสม App ก็ได้ เช่นคุณอาจเอา Model ทางเศรษฐศาสตร์สุดล้ำ มาทำนายเศรษฐกิจ โดยการสร้างแบบจำลองใน Excel ก็ได้ 

วิชาทาง OD เช่นกัน

ผมถนัด App พื้นฐานคือ Appreciative Inquiry ถ้าผมต้องการศึกษา หรือทำให้คนในองค์กรมีความสุข ผมก็ผสมผสานศาสตร์ใหม่ๆ เช่น Positive Psychology หรือวิทยาศาสตร์สมองเข้าไป อยากทำให้คนหาตัวเองเจอ ตอนนี้ผมใช้ Appreciative Inquiry Coaching ผสมแนวคิด IKIGAI เข้าไปได้ครับ 

คราวนี้ถ้าคุณอยากทำเป็นวิจัยก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า

  1. คุณต้องกลับไป Update ก่อนว่าอะไรไปถึงไหน แล้ว เอาเทคโนโลยีล่าสุด App เองก็มีการ Update Version บ่อยๆ   ดูวัตถุประสงค์ของการพัฒนาว่าจะทำอะไร ... ทฤษฎีที่จะใช้ต้องไปดูใครทำอะไรถึงไหน ..
  2. อ่านเยอะๆ อะไรดูเข้าท่า แม้จะอยู่นอก Field ก็ดึงมาทดลองใช้ผสมผสานได้เลยไม่มีขีดจำกัด ผมเคยดึงทฤษฎี Entropy ทางเทอร์โมไดนามิค ของสายวิศวะแบบ Hardcore มาอธิบายสิ่งที่ผมเห็นใน OD ตอนทำป.เอก กลายเป็นแบบประเมินได้ .
  3. ใช้เครื่องมือให้คล่อง เหมือน App ถ้ารู้น้อย ใช้ไม่ค่อยเป็น งานที่คุณทำได้ก็จะมีขีดจำกัดในตัวเอง 
  4. อ่านเยอะๆ ว่าใครทำอะไรมาถึงไหน จะได้ idea การใช้เครื่องมือ
  5. ดู Realiability/Validity ของเครื่องมือ ก็คือใช้ให้เป็น  
  6. สื่อสารกับชาวโลก เพราะนักวิจัยในสายบริหารธุรกิจ ซึ่งก็เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์เช่นกัน ใช้ App คนละตัวกับคุณ  มองคนละมุม  หลายครั้งเขาเชื่อว่า Powerpoint เป็นเครื่องมือในการทำบัญชีได้ดีกว่า Excel ... ไม่พอเขาอาจบอกว่าไม่มี Excel ในโลกด้วย การทำบัญชีควรใช้ PowerPoint ...นี่เป็นปัญหาเรื่องการยึดติดเครื่องมือในวงการวิจัยครับ .. 
  7. อย่าไปทะเลาะกัน ค่อยๆอธิบาย เดวก็เข้าใจ เป็นมิตรกันก่อน เดวค่อยว่ากัน
  8. เขามักจะถามว่า Generalize ได้ไหม ทำแล้วเอาผลไปใช้ได้กับที่อื่นได้หรือเปล่า... ก็เหมือน Iphone/Ipad ครับ มันจะได้แบบนั้นออกมา ถ้าจะเอาไปใช้ที่อื่นได้ ก็ต้อง Adapt ตามความถนัด และจุดประสงค์การใช้งาน  

สรุป Appreciative Inquiry เป็นวิจัยได้ ตอนนี้มี World Conference ของตัวเอง ปีหน้า 2019 จัดที่ฝรั่งเศสครับ ตอนนี้มี Journal ของตนเอง .. แต่ถ้าคุณจะตีพิมพ์ในสายบริหารธุรกิจอื่นๆ ก็มี ตีพิมพ์ได้กว้างขวางขึ้น ในไทยส่งมาที่ MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ครับ 

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

Note: บทความนี้ขอถวายเป็นพระราชกุศลให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรา

หมายเลขบันทึก: 655499เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2018 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2018 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท