บันทึกสะท้อนหัวใจนักศึกษากิจกรรมบำบัด (Occupational therapy in community reflection)


Occupational therapy student reflection: วิชากิจกรรมบำบัดในชุมชน (PTOT427)

Home visit ครั้งที่ 1 วันที่ 5 กันยายน 2561

รู้สึกอย่างไรในการทำกิจกรรมนั้น 

         Ans : รู้สึกประทับใจการทำงานระหว่างทีมทั้งอาจารย์และนักศึกษา ที่มีความตั้งใจและร่วมกันลงมือจริง เพื่อให้นักศึกษาและชุมชนได้เห็นบทบาทของกิจกรรมบำบัดในชุมชนมากยิ่งขึ้น และรู้สึกขอบคุณอาจารย์วินัย และคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องที่คอยสนับสนุนนักศึกษาด้านความคิดและเปิดโอกาสให้ได้ปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดสิ่งดีงามในชุมชน

ได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรมนั้น 

          Ans : สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงชุมชนครั้งนี้ คือ 

 - ระบบการทำงานของชุมชนและการติดต่อประสานงานระหว่างทีมนักศึกษากับ อสม. ในการลงสำรวจความช่วยเหลือทางกิจกรรมบำบัดรวมไปถึงการให้การรักษาและฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดต่อผู้รับบริการในชุมชน 

 - เรียนรู้การวางแผนงานและแบ่งหน้าที่ภายในทีม ทางกลุ่มของดิฉันแบ่งหน้าที่ออกตามสิ่งสำคัญที่ต้องดูหลักๆ 3 อย่างเพื่อให้สามารถมองปัญหาทางกิจกรรมบำบัดได้อย่างรอบด้าน ดังนี้ 

 1.) หน้าที่หาปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ 

 2.) ปัญหาและความต้องการของ Caregiver 

 3.) ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการและผู้ดูแล

จะพัฒนาตนเองอย่างไรหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนั้น 

          Ans : สิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมหรือพัฒนา มีดังนี้ 

- ทักษะการสื่อสารด้วยภาษากาย เนื่องจากผู้ดูแลบกพร่องการสื่อการและการได้ยิน (หูหนวก) 

- ทักษะการวิเคราะห์ท่าทางการพลิกตะแคงตัวและเคลื่อนย้ายผู้รับบริการในกรณีที่มีการอ่อนแรงของแขนขาไม่เท่ากันร่วมกับมีการติดของสะโพก

Home visit ครั้งที่ 2 วันที่ 12 กันยายน 2561

รู้สึกอย่างไรในการทำกิจกรรมนั้น 

          Ans : รู้สึกชื่นชมอาจารย์วิจัย และทีมของดิฉัน ที่มีความตั้งใจให้การรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้รับบริการ ให้ความสำคัญกับความต้องการและปัญหาที่ผู้รับบริการ และรู้สึกประทับใจผู้รับบริการและครอบครัวที่ให้ความร่วมมือดี และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างนักศึกษากับผู้รับบริการ

ได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรมนั้น 

          Ans : ได้เรียนรู้เทคนิคทางกิจกรรมบำบัดเพิ่มเติม ดังนี้

- เทคนิคการสื่อสาร เนื่องจากผู้ดูแลบกพร่องทางการสื่อสารและการได้ยินจึงต้องอาศัยการสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง การอ่านปาก และการแสดงออกทางสีหน้า รวมถึงต้องแสดงความเข้าใจและความตั้งใจที่จะมาทำสิ่งดีดี จากสีหน้าท่าทางให้มากกว่าการใช้เพียงคำพูด

- เทคนิคการสอนผู้ดูแลเคลื่อนย้ายผู้รับบริการโดยการใช้ 2 คนในพื้นที่ที่แตกต่างไปจากบริบทคลินิก 

- เทคนิคการ Passive เพิ่มความอุ่นให้กับข้อต่อเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว

จะพัฒนาตนเองอย่างไรหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนั้น 

          Ans : สิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมหรือพัฒนา มีดังนี้ 

ทักษะการปรับท่าทางการเคลื่อนย้ายผู้รับบริการเพิ่ลดการบาดเจ็บของหลังและเข่า ในกรณีที่พื้นที่แต่งต่างไปหรือมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ 

ทักษะการปรับอุปกรณ์ เช่น นำบันไดลิงมาเป็นอุปกรณ์ช่วยผู้รับบริการลุกขึ้นนั่งด้วยตนเอง แต่ยังขาดการวิเคราะห์แนวแรงของการดึง

School visit วันที่ 19 กันยายน 2561

รู้สึกอย่างไรในการทำกิจกรรมนั้น 

          Ans : รู้สึกตื่นเต้นที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ ที่โรงเรียน เนื่องจากเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากในการทำงานที่จะได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมและประสานงานกับทางโรงเรียน และรู้สึกขอบคุณเพื่อนๆ ในชั้นปีที่ร่วมกันหาข้อมูลและตั้งใจวางแผนกิจกรรมเพื่อเด็กๆ ที่โรงเรียนให้เด็กๆ และทางโรงเรียนได้รับประโยชน์จากการทำกิจกรรมให้มากที่สุด

ได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรมนั้น 

          Ans : ได้เรียนรู้เพิ่มเติม ดังนี้

- ได้เรียนรู้บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในโรงเรียน โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมกลุ่มในการประเมินและส่งเสริมความสามารถของเด็ก - เรียนรู้การปฏิบัติจริงในการจัดการพฤติกรรมเด็ก การวางเงื่อนไข และการตัดสินใจขณะดำเนินกิจกรรมเมื่อพบอุปสรรคหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก 

- สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้น ยับยั้ง หรือมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก การจัดสิ่งแวดล้อมในการประเมินควรลดสิ่งเร้าให้มากที่สุด เช่น ออกห่างจากบริเวณที่ทำกิจกรรม ผู้บำบัดเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นความสามารถของเด็กจึงควรใช้น้ำเสียงหรือการพูดคุยที่กระตุ้นให้เด็กจดจ่ออยู่กับการประเมิน

จะพัฒนาตนเองอย่างไรหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนั้น 

         Ans : สิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมหรือพัฒนา มีดังนี้ - พัฒนาทักษะทางการพูดและการสื่อสารกับเด็ก ให้ใช้คำที่ง่ายขึ้นและเป็นกันเอง เพื่อให้เด็กเปิดใจในการเนหรือพูดคุยด้วย - พัฒนาทักษะในการประเมินพฤติกรรมและการใช้แบบประเมิน เนื่องจากฝึกซ้อมน้อยส่งผลให้การตัดสินใจขณะทำกิจกรรมการประเมินล่าช้าและขาดการสังเกตในบางส่วนไป

ออกชุมชน วันที่ 23 กันยายน 2561

รู้สึกอย่างไรในการทำกิจกรรมนั้น 

         Ans : รู้สึกเห็นคุณค่าของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดในชุมชนและเกิดแรงจูงใจที่จะตั้งใจเรียนในวิชาชีพนี้อีกครั้ง เนื่องจากได้เห็นน้องๆ นักศึกษากิจกรรมบำบัดให้ความสนใจและเห็นถึงความสำคัญของวิชาชีพจริงๆ และรู้สึกประทับใจอาจารย์มะลิวัลล์ที่ชี้แนะแนวทางในการประเมินและจุดที่ยังบกพร่องเพื่อให้นักศึกษาสามารถมองผู้รับบริการได้เป็นองค์รวมมากขึ้น

ได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรมนั้น 

         Ans : ได้เรียนรู้เพิ่มเติม ดังนี้

- การสร้างปฏิสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญต่อการประเมินและในการรักษา ก่อนเริ่มการประเมินควร Small talk และตั้งรับฟังสิ่งที่ผู้รับบริการพูดออกมาเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้ใจ 

- การมองผู้รับบริการควรมองเป็นองค์รวม ไม่ใช่พบปัญหาแล้วแก้ไขเลย แต่ต้องมองปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื้อรังนั้นด้วย เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการจัดการหรือโปรแกรมที่เหมาะสม

จะพัฒนาตนเองอย่างไรหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนั้น 

         Ans : สิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมหรือพัฒนา คือ อยากพัฒนาทักษะด้าน Therapeutic relationship เนื่องจากหลายๆ ครั้งเรามองผู้รับบริการด้วยสิ่งที่เขาผิดปกติโดยลืมคำนึงถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์สื่งส่งผลต่อการประเมิน ข้อมูลที่เท็จจริง แรงจูงใจในการปฏิบัติตามโปรแกรม

คำสำคัญ (Tags): #reflection#occupational therapy#community
หมายเลขบันทึก: 655252เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2018 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2018 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท