รายงานการวิจัย ประสิทธิภาพและการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ



ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันคลังสมองของชาติ เช้าวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑    มีการนำเสนอเอกสาร รายงานการวิจัย ประสิทธิภาพและการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ()

ผมมีความเห็นว่า โจทย์คำถาม ๓ ข้อ ในหน้า ช มีความสำคัญมาก    แต่คำตอบที่ได้จากการวิจัย รวมทั้งวิธีวิทยาการวิจัย ไม่จุใจผม    เพราะเน้นการประเมินแบบ summative  เน้นตรวจสอบผลลัพธ์    มีประโยชน์น้อย ต่อการขับเคลื่อนคุณภาพของอุดมศึกษา  โดยอาศัยความคล่องตัวจากการออกนอกระบบราชการ  

ผมอยากเห็นการวิจัยตอบโจทย์ ๓ ข้อในหน้า ช  ที่เน้นการประเมินแบบ formative   คือใช้การประเมิน และผลการประเมินเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพของอุดมศึกษา ผ่านการบริหารจัดการที่มีพลัง โดยอาศัยความคล่องตัวจากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 

หากหวังผลการประเมิน เพื่อการพัฒนา    วิธีวิทยาการวิจัย ต้องเน้น “จับถูก”  นำมาขยายผล    คือวิจัยเสาะหา best practice   ที่เกิดขึ้นได้จากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  และจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากยังเป็นมหาวิทยาลัยในระบบราชการ    เอามาทำเป็นกรณีศึกษา ว่าความสำเร็จนั้นทำไมจึงเกิดขึ้นได้  มีที่มาที่ไปอย่างไร   ก่อผลดีต่อสังคม ชุมชน ต่อตัวมหาวิทยาลัยเอง  ต่อนักศึกษา  และต่ออาจารย์อย่างไร   มีข้อเสนอแนะต่อ สกอ./กกอ. และหน่วยเหนืออื่นๆ อย่างไรบ้าง    ในการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาให้พัฒนาเป็น HPO – High Performance Organization   

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ค. ๖๑

    

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 650791เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2018 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2018 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท