การประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม


                              บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม                         

ผู้รับผิดชอบ           อรทัย  จินดาประสาน

ระยะเวลาการประเมินโครงการ     พฤษภาคม 2559 – สิงหาคม 2559

วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

                   1.   เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1  นโยบายโรงเรียน  และความต้องการความจำเป็นของโรงเรียน

                   2.   เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอของกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน  การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน

                   3.   เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน  บทบาทหน้าที่  ขั้นตอน  จุดเด่น จุดด้อย  การนิเทศติดตามผล  และสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน

                   4.   เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญ ในการดำเนินโครงการ

                   5.   เพื่อประเมินผลกระทบของการดำเนินงานตามโครงการ เกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบในด้านบวกและด้านลบตามจุดมุ่งหมายการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ที่เกิดขึ้นก่อนโครงการ ระหว่างโครงการและหลังโครงการที่มีต่อโรงเรียน ตัวนักเรียนและผู้ปกครอง                

 วิธีดำเนินการประเมินโครงการ

                   การประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ดำเนินในระหว่าง พฤษภาคม 2559 – สิงหาคม 2559 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และนักเรียน จำนวน 135 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  (Purposive Sampling) จากประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และนักเรียน จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า  5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการ

                   ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้าน  ดังนี้

                   1.   ด้านบริบทของโครงการ  พบว่า  ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นด้านบริบทของโครงการต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม มีระดับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและเป้าหมายโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย  = 4.52  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.59) 

                   2.   ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ  พบว่า   ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม  มีระดับเหมาะสม/เพียงพอโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53)  

                   3.   ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า  ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม  มีระดับการปฏิบัติของการดำเนินงานของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56)  

                   4.   ด้านผลผลิตของโครงการ  พบว่า  นักเรียนมีความเห็นด้านผลผลิตของโครงการต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม เกี่ยวกับด้านความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการ มีระดับความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =  0.49)

                   5.   ด้านผลกระทบของการดำเนินงานตามโครงการ  พบว่า  ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชน มีความเห็นด้านผลกระทบของการดำเนินงานตามโครงการต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ที่เกิดขึ้นก่อนโครงการ ระหว่างโครงการและหลังโครงการที่มีต่อโรงเรียน ตัวนักเรียนและผู้ปกครอง มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แยกเป็นผลกระทบรายด้าน ดังนี้

                         5.1   ผลกระทบต่อโรงเรียน  มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =  0.46)

                         5.2   ผลกระทบต่อตัวนักเรียน มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =  0.49)

                         5.3   ผลกระทบต่อผู้ปกครอง  มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =  0.45)            

                 

หมายเลขบันทึก: 649792เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2018 07:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2018 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท