พรมแดนแห่งความรู้ (Frontier of Knowledge)


ภาคเรียนนี้ผมรับหน้าที่สอนวิชาฟิสิกส์หลายวิชา ไม่มีปัญหา เพราะช่วงชีวิตนี้ ขณะที่อยู่ในชั้นเรียนกับนิสิตเป็นช่วงแห่งความสุข (จนลืมเวลา) สำหรับผม ทุกวิชาที่ผมพบนิสิตครั้งแรก ผมจะชวนนิสิตคุยเรื่องพรมแดนแห่งความรู้ (Frontier of Knowledge) คำถามคือ สิ่งที่เรากำลังจะเรียนรู้ในรายวิชานี้เยอะไหม? ใหม่? เรียนอะไรบ้าง? เรียนไปทำไม? ถ้าไม่เรียนได้ไหม? ใครเป็นกำหนดให้เรียน? ฯลฯ  ก่อนจะร่วมกับนิสิตสร้างเงื่อนไขไปสู่เป้าหมายของรายวิชาร่วมกัน และจบด้วยการบอกตรงๆ ว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้เกรด A

ผมเสนอนิสิตด้วยวงกลมรีรูปไข่ซ้อนๆ กัน แบ่งเป็น ๕ พื้นที่ ตามพรมแดนแห่งความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในพระไตรปิฎกว่า อาจแบ่งเป็น ๕ นิยาม ได้แก่ อุตุนิยาม (ว่าด้วยเรื่องกายภาพ (Physical)) ชีวนิยาม (เรื่องชีวภาพ (Biological)) จิตนิยาม (ว่าด้วยเรื่องจิต (Psychological)) กรรมนิยาม (กฎแห่งกรรม) และธรรมนิยาม (ว่าด้วยความจริงแท้แห่งธรรมชาติและสรรพสิ่ง) แล้วตั้งคำถามว่า คณะวิชา-สาขา หรือวิทยาลัย ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย น่าจะอยู่พื้นที่ใดในพรมแดนแห่งความรู้นี้ และช่วยกันเติมจนครบ


 

สรุปแล้ว สิ่งที่เรากำลังจะเรียนในรายวิชานั้นๆ คือส่วนเสี้ยวเดียวของวิชาฟิสิกส์ ซึ่งเป็นเสิ้ยวเดียวของวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของศาสตร์ต่างๆ มากมาย ซึ่งโดยมากแล้ววนเวียนเรียนรู้อยู่แค่วัตถุ (วัตถุนิยม) เท่านั้น

ผมสรุปว่า ตลอดชีวิตการเรียนของเราทุกคน ไม่มีทางจะศึกษารอบรู้ได้ทุกศาสตร์  ดังนั้นหากปรารถนาอยากจะรู้ศาสตร์ใด ก็ให้ใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเองเถิด  คำตอบของคำถามทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ไม่มีคนตอบได้ดอกนอกจากตนเอง  "สำหรับอาจารย์แล้ว... พุทธศาสตร์วาดพรมแดนแห่งความรู้ไว้ชัดในใจผู้เดินทางสู่ทางพ้นทุกข์ทุกคน

หมายเลขบันทึก: 649748เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2018 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2018 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท