แบบของคน


หากลองถาม แล้วคุณเป็นคนแบบใด หนึ่งหรือสอง? เชื่อว่าส่วนใหญ่จะตอบแบบสอง เพราะดูเท่ ดูมีกึ๋น มีสติปัญญา มีความกล้าในการแสดงออก หรือเป็นตัวของตัวเองมากกว่า แต่ถ้าดูพฤติกรรมหรือความเป็นไปของคนในสังคมทุกวันนี้ แต่งตัวคล้ายๆกัน แบรนด์เนมเดียวกัน ซื้อของ กินอาหาร ต้องในห้างสรรพสินค้า บางร้านกระจกใสโชว์ทุกอย่าง ใครกิน กินอะไร เท่าไหร่ ดูหรูหรา ดูหนังฟังเพลงต้องสไตล์เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ

คนเรามีหลายแบบ แบบหนึ่งตามสังคม แคร์คนอื่นๆที่มองดูอยู่ ความคิดความอ่าน การปฏิบัติ ไม่ว่าจะกินอาหาร แต่งตัว อากัปกิริยาที่แสดงออก อย่างไรจะถูกใจเขา ให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อเกียรติ ฐานะ หรือหน้าตาในสังคม แม้จะฝืนความรู้สึกตัวเองก็ตาม

แบบสองแคร์แค่ความรู้สึกตัวเอง ความคิดความอ่าน การปฏิบัติต่างๆ มาจากความพึงพอใจล้วนๆ ทั้งเรื่องอาหารการกิน แต่งตัว อากัปกิริยา สำหรับเกียรติ หน้าตา ฐานะในสังคม ถ้าต้องฝืนความรู้สึก ก็ไม่จำเป็น เอาแบบที่ตัวเองสบายใจไว้ก่อน

ส่วนแบบอื่นๆ มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบหนึ่งกับแบบสอง มีหลายระดับตามสัดส่วนมากน้อย บางคนโน้มเอียงไปทางแบบหนึ่ง อาทิ มีสัดส่วนแบบหนึ่งกับแบบสอง เป็นเก้าต่อหนึ่ง แปดต่อสอง จนถึงกลางๆหรือห้าสิบๆ ขณะบางคนโน้มเอียงไปทางแบบสอง สองต่อแปด จนถึงหนึ่งต่อเก้า เป็นต้น

หากลองถาม แล้วคุณเป็นคนแบบใด หนึ่งหรือสอง? เชื่อว่าส่วนใหญ่จะตอบแบบสอง เพราะดูเท่ ดูมีกึ๋น มีสติปัญญา มีความกล้าในการแสดงออก หรือเป็นตัวของตัวเองมากกว่า แต่ถ้าดูพฤติกรรมหรือความเป็นไปของคนในสังคมทุกวันนี้ แต่งตัวคล้ายๆกัน แบรนด์เนมเดียวกัน ซื้อของ กินอาหาร ต้องในห้างสรรพสินค้า บางร้านกระจกใสโชว์ทุกอย่าง ใครกิน กินอะไร เท่าไหร่ ดูหรูหรา ดูหนังฟังเพลงต้องสไตล์เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ ตกลงว่าการบริโภคของคนมากมายที่คุ้นตาใช่คนส่วนใหญ่?

เท่าที่สังเกต คนที่ขวนขวายจนสามารถพาตัวเองไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารงานได้ อาทิ นักการเมือง นักบริหาร ฯลฯ มักเป็นคนแบบหนึ่ง ประสานหรือเอาใจคนเก่ง เพราะเข้าใจความรู้สึก ความต้องการของคน ขณะคนที่สามารถคิดค้น จนพบความรู้ หรือสร้างนวัตกรรมได้ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน ฯลฯ มักเป็นคนแบบสอง มีโลกส่วนตัวสูง เคารพตนเอง คนแบบนี้เป็นนักบริหารไม่ได้

บ้านเราส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยน้อย นักคิด นักวิทยาศาสตร์จึงมีไม่มาก ประกอบกับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาเยาวชนส่วนใหญ่เลือกที่จะเรียนทางด้านสังคมศาสตร์มากกว่าด้านวิทยาศาสตร์ คิดแบบนี้คนแบบสองน่าจะมีน้อย รัฐบาลมีนโยบายให้ครูนำการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เข้าไปใช้ในโรงเรียน ก็คงด้วยเหตุผลพวกนี้

จริงไม่จริง เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ไม่เป็นปัญหา เพราะที่ว่ามาจินตนาการล้วนๆ ไม่มีงานวิจัยตรงไหนรองรับทั้งสิ้น(ฮา) 

แต่เชื่อเถอะ! ไอน์สไตน์ยังบอกเลยว่า“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”(ฮา)

 

หมายเลขบันทึก: 649361เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2018 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2018 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท