ถอดบทเรียนเครื่องมือแผนที่ชุมชน สำหรับเยาวชน


ถอดบทเรียน (After Action Review)

เครื่องมือ : แผนที่ชุมชนของฉัน 
โดย นายแสน Facilitator


ในช่วง ๔ เดือนมานี้ ผมได้ใช้เครื่องมือแผนที่ชุมชน โดยผ่านกิจกรรมรูปแบบ Active Learning ในลักษณะต่างๆ กับกลุ่มเป้าหมายทั้งในโรงเรียน สภาเด็กและเยาวชน โดยใช้ในกลุ่มเด้กประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทั้งโเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ หลากหลายช่วงวัย หลายพื้นที่ หลายกลุ่มเป้าหมาย

ระหว่างการดำเนินกิจกรรม ที่มีการออกแบบใหม่เรื่อยๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเเละบริบทในพื้นที่ ได้เรียนรู้เชิงกระบวนการหลายบทเรียน จึงอยากนำมาเป็นพลังในการสื่อสารเพื่อเป็นประโยชน์ต่อครูกระบวนการทุกๆท่าน 

เครื่องมือแผนที่ชุมชน นับว่าเป็นอีก Platform ที่ช่วยพัฒนาทักษะการคิดเเละการจัดการความรู้ไปพร้อมกัน โดยรูปแบบการสอนลักษณะนี้เรียกว่า "การสอนแบบกราฟฟิก" ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพได้ชัดเจนร่วมกัน 

จุดประสงค์หลักของเครื่องมือ คือ การถอดชุดประสบการณ์ของผู้เรียนออกมาจัดการความรู้ โดยมีการเติมประสบการณ์ใหม่ผ่านโจทย์หรือสถานการณ์ ที่นำไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกันด้วยพลังความเป็นทีม 

ถอดบทเรียนจากการปฏิบัติ
๑) จากการทดลองใช้บนฐานความคิดสร้างสรรค์(Creative) โดยผ่านสถานการณ์จำลอง พบว่า แรกๆจะวางแผนพูดคุยกัน แล้วจะวาดเเละเขียนออกมาง่าย มีการถกเถียงจากมวลประสบการณ์เดิม บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างเพลิน เพราะใช้จินตนาการ รูปแบบลักษณะเช่นนี้ เหมาะสำหรับหัวข้อการเรียนรู้ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม ทั้งนี้ต้องมีชุดคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม เช่น ถ้าเกิดว่า........จะทำอย่างไร ? ถ้าให้ออกแบบระบบการปกครองของชุมชนนี้ใหม่ให้ทันสมัยจะทำอย่างไร ? เป็นต้น
๒) จากการทดลองใช้บนฐานบนฐานปัญหา(Problem Based Learning) พบว่า การจะวาดแผนที่ออกมาได้ ต้องมีจุดตำแหน่งตรงกลางก่อน เเล้วค่อยวาดถนนเส้นต่างๆ จากนั้นก็ให้เติมส่วนประกอบต่างๆ เเล้วค่อยเพิ่มไปทีละโจทย์ โดยในระหว่างการวาดแผนที่ ผู้เรียนจะเอาวลประสบการณ์เดิมจากที่เคยพบเจอมาในชีวิตจริงมาถกเถียงกัน บางครั้งในบางพื้นที่ที่เขาไม่ทราบก็ให้เปิด GPS เพื่อดูเส้นทางได้ บรรยากาศการเรียนรู้ จะมีการถกเถียงและเครียดมากกว่ารูปแบบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากทุกคนสามารถสะท้อนได้จากการพบเจอทุกๆวัน ทั้งนี้ต้องมีชุดคำถามเพื่อกระตุ้นการมองพื้นที่ เช่น จุดปัญหาในพื้นที่ จุดภูมิปัญญา เส้นลูกศรเชื่อมโยงการกระจายตัวของปัญหาและปัญญา ซึ่งเน้นการใช้ตรรกศาสตร์ที่ยึดโยงกับความเป็นจริง 
***หากเปรียบเทียบกันระหว่างการใช้รูปแบบสถานการณ์จำลองกับสถานการณ์จริง จะเห็นได้ว่า ทั้งสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง สามารถใช้กับทุกกลุ่มเป้าหมายได้หมด โดยจะลึกตื้น เเละทักษะการคิดต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบและวิธีการสอน หากเรายึดเอารูปแบบ Platform Based Learning เราก็จะใช้เครื่องมือ Platform เป็นหลัก และหากเรายึดเอารูปแบบ Problem Based Learning เราก็จะใช้ Platform เป็นเพียงเครื่องมือการวิเคราะห์เท่านั้น นอกนั้นก็ลงมือทำแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความจริง เเต่ทั้งนี้ไม่ว่ารูแบบใด หากจะเกิดผลการเรียนรู้ที่ตามมา (Learning Outcome) ก็จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
๓) จากการทดลองแก้ปัญหาการไม่ทำงานกลุ่มช่วยกัน พบว่า การที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานช่วยกันได้นั้นต้องมีโจทย์เพิ่มเติมให้ทุกคนในกลุ่มสามารถมีส่วนร่วมได้ เช่น ให้กำหนดบทบาทของทุกคนลงไป ให้วาดบ้านของตัวเองลงในชุมชน หยิบสีคนละ ๑ แท่งเเล้วระบาย วาดตัวเองเเล้วตัดแปะใส่ภาพ ตัดแปะภาพในหนังสือพิมพ์มาในแผนที่ หรือสุดท้ายออกแบบเป็นเกม เพื่อปกป้องชุมชน จะทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น
๔) จากการทดลองเพิ่มโจทย์ที่เน้นการคิดและการสะท้อนเหตุผลเห็นร่วมกัน พบว่า ธรรรมชาติของเด็กส่วนใหญ่จะไม่ค่อยถกเถียง ซึ่งจะต้องมีพี่เลี้ยงกลุ่มคอยกระตุ้น ชวนคิด ชวนคุย ซึ่งอาจนับว่าได้ว่า วิทยากรหลักสื่อสารได้เพียง 50% ส่วนอีก 50% คือ การกระตุ้นการคิดให้ถกเถียงกันในกลุ่มย่อย เเละในโจทย์นี้เอง กลุ่มเด็กมัธยมจะทำได้ดีกว่าเด็กประถม
๕) จากการให้ใช้สัญลักษณ์และลูกศรต่างๆ พบว่า ช่วยให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้ชัดเจนมากขึ้น เห็นจุดปัญหาระดับความเสี่ยง และความเชื่อมโยงของปัญหาระดับพื้นที่ โดยผู้เรียนเป็นคนสะท้อนจากประสบการณ์ของพวกเขา ข้อนี้ยังช่วยฝึกตรรกศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่เเละกิจกรรมของมนุษย์ตามหลักภูมิศาสตร์อีกด้วย
๖) จากการทดลองให้เล่นเป็นเกม หลังการสรุป พบว่า กิจกรรม Platform ที่ไม่ค่อยสนุก ไม่สร้างรอยยิ้ม กลายเป็นสนุกมากยิ่งขึ้น โดยผ่านบทบาทสมมติ ที่ผู้เรียนต้องรวมตัวกันปกป้องชุมชน ในขณะที่ปีศาจร้ายกำลังจะมาฉีกทำลายชุมชนของตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนรู้มากขึ้น ขั้นนี้จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยเติมเครื่องมือนี้ให้สมบูรณ์ ให้เหมาะกับการเรียนรู้ของเยาวชนเพิ่มมากขึ้น เพราะสุดท้ายเเล้วก็จะสอนว่าเราต้องเป็น Actor หรือ ผู้ทำการเปลี่ยนแปลง
๗) จากการทดลองชวนคุยสรุปบทเรียน พบว่า การสรุปบทเรียนเรื่องแผนที่ชุมชนนั้น ต้องสรุปให้เห็นถึงจุดสำคัญของปัญหา ปัญญา ความเชื่อมโยงของจุดต่างๆในพื้นที่ เราและครอบครัวอยู่จุดไหนในพื้นที่ กิจกรรมของมนุษย์ กลุ่มคนเเละวัฒนธรรมค่านิยมที่เป็นเหตุของปัญหาเเละปัญญา รวมถึงผลกระทบในพื้นที่ จะทำให้ชัดเจน ตรงประเด็น

บทเรียนที่เกิดขึ้น ยังต้องเคลื่อนต่อไป เพื่อการเปลี่ยนแปลง ครับ จากวิทยากรมุมิ

หากท่านสนใจ เรื่อง แผนที่ในรูปแบบสถานการณ์จำลอง ตามลิ้งค์นี้ https://www.gotoknow.org/posts/636993
หากท่านสนใจ เรื่อง แผนที่ในรูปแบบสะท้อนปัญหาชุมชน ตามลิ้งค์นี้ https://www.gotoknow.org/posts/648547

หมายเลขบันทึก: 649357เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2018 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2018 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท