รัฐมนตรีช่วย’ศึกษาธิการ มอบนโยบายสถาบันอุดมศึกษา 9 เครือข่าย (ตอนที่ 2)


ท่านรัฐมนตรีช่วยอุดม เชิญแม่ข่าย/ประธานเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ทั้ง 9 เครือข่าย ไปร่วมรับฟังนโยบาย ผมเขียนบันทึกตอนที่ 1 ไว้ https://www.gotoknow.org/posts/648998

ตอนที่ 2 ขอสรุปการรับฟังนโยบายพอสังเขปที่พี่นุช ผศ.ดร.รัชฎา ตั้งวงค์ไชย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยี มข. ได้กรุณาสรุปไว้ ดังนี้

Adapted or Extinct

การเปลี่ยนแปลงที่มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว : 

- ปรับ mindset บุคคลากรในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

- สร้าง internal & external networking and partnership 

- งบประมาณจะมาแบบ agenda-based มาตามคลัสเตอร์ที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ

มหาวิทยาลัยต้อง

1. วิเคราะห์ตัวเอง- เก่งอะไร มีผลงานอะไรเด่น มีดีอะไร เป็นไปไม่ได้ที่จะเก่งทุกด้าน

 - จะร่วมมือกันทำงานกันได้ยังไง การทำงานต้องตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ จะทำอะไรที่ประเทศชาติเข้มแข็งขึ้น

2. บุคคลากรทุกส่วน ทุกแท่ง ต้องปรับตัวให้สอดคล้องรับการเปลี่ยนแปลง Disruptive tech.

3. ออกแบบการเรียนรู้ใหม่ในการตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่ =หลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่= 

การเรียนการสอนในห้องเรียน ต้องสอนสิ่งที่ google ไม่ได้สอนการยืนสอนหน้าชั้นเรียนเป็นไปดังเดิมไม่ได้ ต้องสอนแบบที่ก่อให้เกิดการลงมือทำ ให้เรียนรู้จากของจริง

4. พัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายอุดมศึกษา

5. การเชื่อมโยงสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรม

***จากนี้ไปจะเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเร็วด้วย

***สรุปได้ประมาณนี้ค่ะ

********************************** 

ส่วนผม สรุปในมุมมองของผมที่พอจะบันทึกทัน

รมช.อุดม : >>> การดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย ดำเนินการมาได้ดี แต่ยังเป็นเบี้ยหัวแตก คือต่างคนต่างทำ แม่ข่ายกระจายงบประมาณไปให้แต่ละสถาบัน ไม่บูรณาการร่วมกันในเครือข่าย แต่รัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา เป็น Key Roll ในเชิงพื้นที่ Area Base แม้สถาบันอุดมศึกษาจะทำหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิต แต่อีกหน้าที่หลักคือการทำงานวิจัยที่จะใช้เป็นส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา

>>> การจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม แต่ อ.อุดม เล่าว่า ชื่อก็ยังไม่สรุป เพราะมีความเห็นของคณะรัฐมนตรีที่ยังไม่ลงตัว อ.อุดม เลยแซวว่า น่าจะให้ซื่อ กระทรวงอุดมินทร ฮ่าๆๆๆ เมื่อตั้งกระทรวงแล้ว ภารกิจและ TOR ต้องรับนโยบายใหญ่ร่วมกัน ไม่ซ้ำซ้อนกัน ไม่เหลื่อมล้ำกัน ไม่ Overlap กัน

>>> กระบวนการเรียนรู้ในยุคใหม่ต้องมองสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เด็กน้อยลงตามโครงสร้างประชากร คนเรียนในระบบน้อยลง การเรียนออนไลน์มีผลมากขึ้น อาจารย์ต้องไม่ห่วง content มากแล้ว แต่อาจารย์ต้องบ่มเพาะทักษะหรือสมรรถนะ Character ที่จะต้องช่วยสนับสนุนผู้เรียนให้มีทักษะ การคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และการทำงานร่วมกัน เน้น Core Competency และระบบ Online Education จะมีอิทธิพลมากขึ้น มหาวิทยาลัยต้องเป็นที่พึงในทุก ๆ เรื่อง

>>> มหาวิทยาลัยต้องรู้จักตนเองมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ต้องรู้จักตนเองให้มากขึ้นว่า เก่งอะไร หาจุดแข็งให้ได้ ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่อง และเปลี่ยนวิธีการมาทำงานร่วมกันในแบบ Cluster อย่างที่ทำอยู่แบ่งเป็น 9 ภูมิภาค 9 เครือข่าย แต่ต้องทำงานจริงจังมากขึ้น เข้มแข็งขึ้น แลบะเกิดการทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืน มีการแบ่งปันและใช้ทรัพยากรร่วมกันมากขึ้น ไม่หวงว่าเป็นของใคร ถ้ารัฐบาลเห็นว่าทำงานใน Cluster เข้มแข็ง แต่ขาดงบประมาณ เชื่อว่ารัฐบาลก็จะสนับสนุนงบประมาณได้เต็มที่ ถ้าแต่ละ Cluster มุ่งมั่นชูเรื่องเด่น ๆ ของตน และที่สำคัญก็ต้องปรับตัวให้เป็นฐานสังคมเพื่อเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตรการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์การเรียนรู้จากการทำงาน “บัณฑิตพันธุ์ใหม่” และการทำงานวิจัยร่วมกับอุตสาหกรรมหลักของประเทศ การพัฒนาและแบ่งปันหลักสูตรมากขึ้น พัฒนา Content แล้วใช้ร่วมกัน เรื่อง Gen Ed. ควรปรับใหม่ เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องแทรกเข้าไปทุกชั้นปี ไม่ใช่อัดให้เรียนแค่ปี 1 เป็นวิชาที่ต้องบ่มเพาะ ไม่ใช่วิชาบรรยาย Lecture และเป็นวิชาที่เน้นการคิด วิเคราะห์และทำงานร่วมกับผู้อื่น สร้างสรรค์และมีนวัตกรรม ให้นักศึกษารู้จัก “ถาม” เพื่อเรียนรู้ เพราะการถามคือ “การสอน”

>>> โรงเรียนร่วมพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดโรงเรียนเพื่อให้เอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมเข้ามาร่วมพัฒนาอย่างจริงจัง และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่โรงเรียนของ สพฐ. แต่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้และบริหารโรงเรียนอย่างแท้จริง

สรุปแล้ว เครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญ เป็นจุดร่วมในการพัฒนาและสร้างความยั่งยืน>>> รมช.อุดม

“ทำให้เก่ง เร็ว แบะมีผลกระทบที่ดีต่อสังคมและโลกนี้ด้วย” >>> อุดม คชินทร

กระทรวงศึกษาธิการ สรุปผลการประชุมไว้ตามลิงก์ >>> http://www.moe.go.th/websm/2018/3/227.html

ณ มอดินแดง18 กรกฎาคม 2561

หมายเลขบันทึก: 649005เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2018 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2018 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณครับ ขอแชร์นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท