บันทึกจากการอบรมเรื่อง "การเขียนบทความวิชาการ"


                                                                   การเขียนบทความทางวิชาการ

                                                                                                                    วิทยากร  รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุทธ  ไทยธานี

ประเภทของบทความทางวิชาการ

          บทความทางวิชาการ โดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ บทความวิชาการ บทความวิจัยและบทความวิจารณ์

          1. บทความวิชาการ คือ เอกสารที่เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของที่เป็นการวิเคราะห์หรือเป็นบทความที่เสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการ

          2. บทความวิจัย คือ บทความที่เขียนขึ้นจากวิจัยของตนเอง มีการกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผลการวิจัย อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ

          3. บทความวิจารณ์ คือ บทความที่ศึกษาผลงานหรือแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งมีการวิเคราะห์และอภิปรายผลของเรื่องที่ศึกษาให้เห็นแนวโน้มควรเป็นไปในทางใด มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

ส่วนประกอบการเขียน

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย

1. บทคัดย่อ เป็นเนื้อหาสาระส่วนที่นำเสนอวัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัยโดยสรุป (รวมทั้งข้อเสนอแนะในการวิจัย) เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมงานวิจัยทั้ง ฉบับ เป็นข้อความที่มีคำสำคัญทั้ง หมดในบทความวิจัยและเป็นข้อความสั้น กะทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ มักมีการกำหนดความยาวของบทคัดย่อ(ภาษาไทยมักกำหนดเป็นจำนวนบรรทัด ขณะที่ภาษาอังกฤษมักกำหนดเป็นจำนวนคำและมักกำหนดให้มีคำสำคัญ (Keywords) ไว้ด้วย

2. ส่วนนำ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน

2.1 ส่วนแรก เป็นการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบว่าบทความวิจัยนี้พัฒนามาจากผลงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้อย่างไรบ้างและนำมาซึ่งปัญหาวิจัยอย่างไร (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย)

2.2 ส่วนที่สอง กล่าวถึงปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย

2.3 ส่วนที่สาม คือ รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎีและงานวิจัยที่สำคัญที่นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัย รวมทั้ง สมมติฐานการวิจัย

2.4 ส่วนที่สี่ เป็นรายงานระบุเหตุผลพร้อมเอกสารอ้างอิงในการเลือกวิธีดำเนินการวิจัยที่ใช้ในบทความวิจัยนี้เพื่อเตรียมผู้อ่านให้สามารถเชื่อมโยงความคิดกันเนื้อหาสาระในส่วนต่อไป

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือส่วนสำหรับบรรยายว่าจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้ง การตีความ มีการน าเสนอตารางและภาพประกอบเท่าที่จำเป็น ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญในตารางหรือภาพประกอบต้องมีการบรรยายในส่วนที่เป็นข้อความด้วย มิใช่การเสนอตารางหรือรูปโดยไม่มีการบรรยาย

4. การอภิปราย/การสรุปผล เป็นการบรรยายสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย ประกอบการอธิบายว่า ข้อค้นพบมีความขัดแย้ง/สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยและผลงานวิจัยในอดีตอย่างไรพร้อมทั้ง เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น

5. การอภิปรายข้อจำกัด/ข้อบกพร่อง ข้อดีเด่น ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป

6. ส่วนอ้างอิง/ภาคผนวก ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วยบรรณานุกรม และเชิงอรรถ ส่วนที่เป็นภาคผนวก ส่วนที่ผู้วิจัยนำเสนอสาระที่ผู้อ่านควรได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นำเสนอในบทความ เช่น ตัวอย่างเครื่องมือวิจัย เป็นต้น

แนวทางการเขียนบทความวิจัย

1. จะต้องเป็นบทความที่ลดรูปหรือนำงานวิจัยมาเขียนใหม่ และผู้เขียนต้องมีความเข้าใจกระจ่างแจ้งในรายงานการวิจัยที่จะนำมาเขียน

2. เริ่มต้นจากการท าโครงร่าง การจัดลำดับความคิด การเรียบเรียงเนื้อหาสาระ เขียนเป็นฉบับร่าง จากนั้นทิ้ง ไว้ 1-2 สัปดาห์ จึงนำมาอ่านเพื่อปรับปรุงทบทวนและภาษา ตลอดจนแบบการเขียนให้ถูกต้องตามแบบของบทความวิจัย การใช้ภาษาทางการที่เป็นมาตรฐาน มีความเหมาะสมกับผู้อ่านที่เป็นนักวิชาการ และใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษา

3. ต้องมี major argument ที่ชัดเจนโดยนำประเด็นที่เด่นที่สุดในงานวิจัยมาเขียนเพียง 1 หรือ 2ประเด็น ดังนั้น จะต้องปรับชื่อเรื่องและเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับบทความที่เขียนขึ้น ใหม่ขณะที่เนื้อหาในบทความต้องมีความสมบูรณ์ในแบบมาตรฐานของงานวิชาการ การน าเสนอเนื้อหา ควรนำเสนอสาระสำคัญของงานวิจัยอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน ถูกต้องและสมบูรณ์จนผู้อ่านสามารถทำวิจัยในลักษณะเดียวกันได้

4. บทความวิจัยไม่ใช่สรุปย่องานวิจัย การเขียนจะต้องกะทัดรัด ตรงประเด็น บอกกระบวนการมีสาระที่ชัดเจน มีระบบอ้างอิงที่ถูกต้อง ให้ข้อมูลตามหลักวิชาที่ถูกต้อง

5. การลำดับเนื้อหาควรเป็นไปตามหลักการวิจัย มีความต่อเนื่องตั้ง แต่ต้นไปจนถึงการสรุปและอภิปรายผลการวิจัย แต่ละย่อหน้ามีประโยคสำคัญ และมีความเชื่อมโยงถึงกัน การใช้คำศัพท์ ควรใช้คำศัพท์ที่มีการบัญญัติศัพท์เป็นทางการหรือคำศัพท์ที่ได้รับการรับรองใช้กันแพร่หลาย ถ้าเป็นคำศัพท์ใหม่จากภาษาต่างประเทศควรมีวงเล็บกำกับ หรือมีเชิงอรรถอธิบายความหมาย เมื่อเลือกใช้คำศัพท์ใดควรใช้คำนั้นตลอดบทความวิจัย

6. การเขียนประโยค ควรเป็นประโยคสมบูรณ์ และพยายามใช้ประโยคสั้น หลีกเลี่ยงประโยคซ้อน ควรระมัดระวังเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้องทุกประโยค

หมายเลขบันทึก: 648273เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2018 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2018 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท