การจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา


          ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประกอบกับแรงผลักดันทางด้านเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่องทางการเรียนรู้ทุกรูปแบบมนุษย์สามารถเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ที่ได้พบเจอในชีวิตประจำวันทั้งประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อม ส่งผลให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันต่อยุคสมัย โดยเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนเรียนรู้มีหลากหลาย อาทิเช่น Active Learning, Constructivism, 4 MAT และ STEM EDUCATION เป็นต้น

สำหรับหลักสูตรอาชีวศึกษานั้น เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติ มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนระดับช่างฝีมือ ระดับช่างเทคนิค และระดับเทคโนโลยี โดยเน้นให้มีทักษะที่หลากหลาย (Multi Skill) เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมฐานความรู้  (Social Knowledge Based) เพื่อการพัฒนาประเทศ มุ่งเน้นการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาทั้งปริมาณ และคุณภาพ มีสมรรถนะ ทักษะฝีมือ  เป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นผลิตนักนวัตกรที่เป็นหัวจักรสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศให้เท่าเทียมนานาประเทศ โดยรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนสายอาชีวะส่วนใหญ่ได้แก่ รูปแบบ Active Learning, project-based learning, Problem-Based Learning เป็นต้น ซึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมและสามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ STEM EDUCATION

          การจัดการเรียนการสอนรูปแบบ  STEM EDUCATION สำหรับอาชีวศึกษา เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ และมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน ผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม นอกเหนือจากการพัฒนาความเข้าใจด้านเนื้อหาวิชา อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้จากในชั้นเรียนสู่ชีวิตจริงและการทำงาน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION ครูผู้สอนจะมีบทบาทที่เปลี่ยนไปคือผู้สอนควรเปลี่ยนเป็นผู้จัดการเรียนรู้ หมายถึง สอนหรือถ่ายทอดความรู้ข้อมูลข่าวสารให้น้อยลง (Teach Less) แต่ให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเองในการแสวงหาข้อมูลความรู้ ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นพบองค์ความรู้ให้มากขึ้น (Learn More) 

        หลักสูตรสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ เป็นการใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้โครงงานหรือการตั้งปัญหาเป็นฐาน และเชื่อมโยงหลักวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยใช้วงจรการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Cycle) มาช่วยทำภารกิจในการทดลองให้สำเร็จ หลักสูตรมุ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความสนุก มีส่วนร่วมในการเรียน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การนำเสนอ และเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนพึงมี นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้ความรู้แบบองค์รวมที่สามารถนำไปเชื่อมโยงหรือประยุกต์ใช้ในชิวิตประจำวันและในการพัฒนาวิชาชีพได้ต่อไปในอนาคต

ชื่อ: นางสาวปพิชญา  สมศักดิ์ รหัสนักศึกษา 60B0101506 เลขที่ 6

ป.บัณฑิต รุ่นที่ 4 หมู่ 5 รายวิชา การจัดการเรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 648203เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2018 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2018 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท