การเขียนบทคัดย่อและบความทางวิชาการ


การเขียนบทคัดย่อและบทความทางวิชาการ

บทความวิชาการแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ บทความวิชาการ  บทความวิจัย  และบทความวิจารณ์

          บทความวิชาการ  คือ เอกสารที่เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเป็นบทความที่เสนอแนวคิดใหม่ๆ

          บทความวิจัย  คือ บทความที่เขียนขึ้นจากงานวิจัยของตนเอง มีการกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

          บทความวิจารณ์ คือ บทความที่ศึกษาผลงานหรือแนวคิดโดยละเอียด เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่อย่างชัดเจน

ส่วนประกอบของการเขียนบทความวิจัย

  • บทคัดย่อ
  • ส่วนนำ
  • ผลวิเคราะห์ข้อมูล
  • การอภิปราย / การสรุปผล
  • อภิปรายข้อจำกัด / ข้อบกพร่อง
  • ส่วนอ้างอิง / ภาคผนวก

แนวทางการเขียนบทความวิจัย

          จะต้องเป็นบทความที่ลดรูป ผู้เขียนต้องมีความเข้าใจกระจ่างแจ้งในรายงานวิจัยที่จะนำมาเขียน  โดยเริ่มจากการจัดทำโครงร่าง  การจัดลำดับความคิด  การเรียงเนื้อหาสาระ เขียนเป็นฉบับร่างและทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จึงนำมาอ่านและปรับปรุง

          ต้องมีข้อคิดที่ชัดเจน โดยนำประเด็นที่เด่นมาเขียนเพียง 1-2 ประเด็น จะต้องปรับชื่อเรื่องและเนื้อหาและเนื้อหาให้สอดคล้องกับบทความที่เขียนขึ้นใหม่และต้องมีเนื้อหาที่ครบสมบูรณ์  ลำดับเนื้อหาควรเป็นไปตามหลักการวิจัย

การเขียนบทความ

  • เลือกบทความที่จะลงตีพิมพ์ แล้วดู template และรูปแบบการพิมพ์มาอ่านก่อน
  • ดูตัวอย่างของงานที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว
  • คิดชื่อ
  • เริ่มวางโครง โดยแบ่งเป็นสามส่วน คือ บทนำ เนื้อหา และสรุป
  • เริ่มใส่เนื้อหา
  • เขียนรายการอ้างอิง
  • นำส่งอาจารย์ที่ปรึกษา ปรับแก้ และส่งเข้าระบบ
หมายเลขบันทึก: 648054เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2018 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2018 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท