๗๙๓. คำว่า "หัวหน้าคน"


คำว่า "หัวหน้าคน"

การเป็นหัวหน้าคน...ใครว่าสบาย...อาจจะสบายสำหรับคนที่ไม่ค่อยสนใจ ใส่ใจ ทำงานไปวัน ๆ...แต่ขอบอกว่า ก็ไม่ใช่แต่ทุกคนเสมอไปที่เป็นแบบนี้...การเป็นหัวหน้าคนนั้น คน ๆ นั้น ต้องมีความรับผิดชอบติดตามตัวเองเสมอ ซึ่งมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่ที่ตนเองต้องรับผิดชอบ...การเป็นหัวหน้าคนนั้น...ต้องรู้เรื่องราวในการทำงานในส่วนที่ตนเองต้องรับผิดชอบมากกว่าลูกน้อง คือ เป็นการช่วยเหลือ แก้ไข หาทางออก แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับงานที่ทำนั้นได้...มีการให้กำลังใจ แนะนำ เป็นที่ปรึกษางานนั้นได้

ลักษณะการเป็นหัวหน้าคนที่ดี อีกแบบ ก็คือ การดูแลและให้ความร่วมมือช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยจิตสำนึกของการเป็นหัวหน้าที่ดีที่พึงกระทำ...มิใช่โยนความผิดให้กับหน่วยงานอื่น ซึ่งมิควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง...หาทางออกให้กับลูกน้องมิใช่ปล่อยให้ลูกน้องเผชิญชะตากรรมด้วยตัวคนเดียว...ต้องร่วมทุกข์ ร่วมสุขในการทำงานนั้น ๆ ด้วยความรับผิดชอบและใจกว้างเสมอต่อลูกน้อง...คอยเป็นที่ปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ คอยแนะนำในทางที่ถูกต้อง เสมือนเป็นพี่เลี้ยงที่คอยปกป้องดูแล มิให้เกิดความเสียหายต่องานที่ได้กระทำ

และการเป็นลูกน้อง ก็คือ การทำงานมิควรทำงานข้ามหัว...หัวหน้างาน เนื่องจากอาจมีผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า เมื่อได้รายงานแล้ว ควรที่จะกลับมาแจ้งให้กับหัวหน้างานที่ควบคุม ดูแลงานที่ทำนั้นอยู่ให้ทราบด้วย...หากถามว่า ทำไมต้องทำแบบนั้น เหตุเพราะ เมื่อถึงเวลา อาจมีการประชุมร่วมกันที่ผู้บังคับบัญชาประชุมร่วมกับหัวหน้างาน ๆ จะสามารถตอบแทนลูกน้องได้ ยิ่งหากงานนั้นมีปัญหา...หัวหน้างานจะสามารถตอบแทนลูกน้องได้ และสามารถปกป้องแทนลูกน้องได้...

การทำงานไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือส่วนราชการ...ควรคำนึงถึงการทำงานเป็นทีมให้มาก และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน...และการทำงานเป็นทีมมิควรโทษหรือป้ายความผิดต่อกัน ควรร่วมมือกันรับผิดชอบในงานนั้น ๆ...สิ่งที่สำคัญของการทำงาน นั่นคือ การมีจิตให้บริการที่ดี หรือทำอย่างไรจะให้การบริการนั้นเป็นเลิศให้ได้...และควรสำนึกและตระหนักถึงหน้าที่ว่าตัวเองรับผิดชอบอะไร มีหน้าที่อะไร รวมถึงกิริยามารยาท คำพูดในการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่มารับบริการ...การทำงานมิใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่มนุษย์ทำงานจะสามารถกระทำได้...เพราะอย่าลืมว่า...การทำงานนั้น เราได้รับเงินเดือนจากภาษีประชาชน โดยเฉพาะคนที่ทำงานราชการ...ควรทำให้คุ้มกับการจ่ายเงินของภาษีประชาชน...หากผู้ขอรับบริการไม่เข้าใจ เราควรให้คำอธิบายถึงด้วยเหตุและผลของปัญหานั้น ว่าเป็นเช่นไร...มิควรใช้กิริยาวาจาที่ไม่พึงประสงค์ในการแสดงออกมาต่อหน้าของผู้ขอรับบริการ...ควรเข้าใจในจิตสำนึกของคำว่า "สิทธิมนุษยชน"...ที่พึงปฏิบัติต่อกัน มิควรมองที่รูปร่าง การแต่งกาย ควรให้ความเสมอภาคต่อการปฏบัติต่อกันให้มาก ๆ...เพราะนี่คือ การทำงานด้วยความเสมอภาค มิใช่เลือกปฏิบัติ...

...

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๖ มิถุนายน ๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 647941เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2018 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2018 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท