การบำบัดด้วยกิจกรรม - เวลา อาสา ปัญญา เมตตา


ขอบพระคุณคุณครูก้อยที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมบันทึกเรื่องนี้เพื่อนำเสนอการสร้างระบบการฟื้นพลังชีวิตพลเมืองดี - แนะนำกิจกรรมบำบัดสู่ระบบยุติธรรมกับการพัฒนาเยาวชน

ผมเคยบันทึกเรื่องการบำบัดด้วยกิจกรรมเมื่อนานมากแล้ว คลิกอ่านที่นี่ และได้ตีพิมพ์งานวิจัยกิจกรรมบำบัดในเยาวชนชายบ้านมุฑิตาด้วยความอนุเคราะห์จากพี่พยาบาลและคุณครูที่มีความตั้งใจในการวิจัยเชิงทดลองโปรแกรมกิจกรรมบำบัดพลเมืองดี คลิกดาวน์โหลดที่นี่

เมื่อสองสถาบันการศึกษาผลิตนักกิจกรรมบำบัดได้ไม่ทันต่อความต้องการของประเทศไทย โดยเฉพาะความขาดแคลนนักกิจกรรมบำบัดด้านการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตสังคมสู่การฟื้นพลังชีวิตหรือการฟื้นคืนสุขภาวะในผู้ที่มีความบกพร่องเรื้อรังทั้งโรคทางกาย โรคทางใจ ทุกช่วงวัย ที่ไม่สามารถรับรู้สึกนึกคิด ไม่เรียนรู้ ไม่เกิดความคิดความเข้าใจ และไม่เกิดความรู้ความเข้าใจ ในการพัฒนาทักษะการดูแลตนเองและการช่วยเหลือผู้อื่นได้ในฐานะพลเมืองดี

กระบวนการแก้ปัญหาระยะยาวที่นักกิจกรรมบำบัดผู้มีประสบการณ์การพัฒนาศักยภาพของการแสดงบทบาทที่สำคัญของมนุษย์ทุกเพศวัย เช่น Mosey ในปี 1973 นำเสนอแบบจำลองการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy) ซึ่งเกิดการวิจัยพัฒนาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสู่ประสิทธิผลของการเสริมสร้างพลเมืองดีหลังเข้าสู่ระบบนิติจิตเวชในปัจจุบัน ประกอบด้วย 

  1. การออกแบบกิจกรรมทักษะปฏิสัมพันธ์ในการทำงานกลุ่มพื้นฐานสมวัย 
  2. การออกแบบกิจกรรมทักษะเพื่อนร่วมทุกข์สุขในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน และนันทนาการ
  3. การออกแบบกิจกรรมทักษะการรู้คิดในการเรียนรู้สุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และหน้าที่พลเมืองดี

เครื่องมือหลักที่สำคัญ คือ เชิญชวนระดมสมองครูพี่เลี้ยง ผู้ดูแล ผู้นำเยาวชน และกลุ่มเยาวชนที่มีความต้องการพัฒนานิสัยและบทบาทชีวิตให้ดีขึ้น ผ่าน กระบวนการเรียนการสอนแบบกลุ่มพลวัติ (Group Dynamics) คลิกอ่านตัวอย่างที่นี่

โดยเน้น "เวลา อาสา ปัญญา เมตตา" เป็นหัวข้อในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้ 

  1. เรียนรู้ตรงต่อเวลาและใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เพื่อให้ได้คำตอบที่สงสัยใฝ่รู้แล้วนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง เช่น การฝึกปฏิบัติสุนทรียการสื่อสารอารมณ์ ด้วยโปรแกรมการจัดการความสุขชั่วขณะ ควบคู่กับโปรแกรมต้นไม้งาม - ตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม ปัจจุบันร่วมเป็นโปรแกรมจิตอาสากิจกรรมบำบัดแบบ Brain-Body-Belief-Breath พัฒนามาจากกิจกรรมบำบัดและการสื่อสารจิตใต้สำนึก คลิกอ่านงานวิจัยที่นี่
  2. อาสาออกแรงและมีพลังงานจดจ่อ คงความสนใจ และมั่นใจในการเรียนรู้ เพื่อรับรู้สึกนึกคิดถึงศักยภาพภายใน ตลอดจนแนวทางการพัฒนาศักยภาพสูงสุดด้วยตัวเอง เช่น การทำงานของระบบสมองส่วนหน้าเพื่อฝึกทักษะบริหารจัดการความจำทันที คิดยืดหยุ่น และการยับยั้งชั่งใจด้วยอารมณ์บวก เป็นต้น 
  3. ฝึกฝนรู้คิดเป็นระบบ (เหตุเป็นผลและผลเป็นเหตุแบบโยนิโสมนสิการ) จากแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสู่การแก้ไขปัญหาด้วยปัญญา (หัวใจนักปราชญ์อย่างลึกซึ้ง สุ จิ ปุ ลิ ในการวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ ปรับปรุง)  
  4. สะสมประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านขั้นตอนการทำงานที่มีความหมายในชีวิตด้วยความเมตตา มีระบบพี่เลี้ยงและนักกิจกรรมบำบัดเป็นที่ปรึกษา ทำให้เกิดระบบคิดนอกกรอบ คือ สร้างสรรค์กระบวนการแก้ปัญหาชีวิตแห่งตนและชุมชนนักปฏิบัติที่มีจริตตรงกันเพื่อการพัฒนาสุขภาวะอย่างยั้งยืน ใช้เวลาอย่างน้อยต่อหนึ่งพฤตินิสัย คือ 21 วัน (ระยะสั้น) ถึง 6 เดือน (ระยะยาว)  
หมายเลขบันทึก: 646952เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาอ่านและรับรู้ว่ามี"ความขาดแคลนนักกิจกรรมบำบัดด้านการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตสังคมสู่การฟื้นพลังชีวิต"

-บ่งบอกถึงผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นด้วยนะครับ

-พลังชีวิต สร้างได้ด้วยตัวเราก่อน ก่อนที่พลังชีวิตจะหมดไป "ทำในสิ่งที่เรารัก"รับรองว่ามีพลังก่อเกิดมากมายครับ

-กิจกรรม"เกษตรกรรมบำบัด"ช่วยได้ครับอาจารย์

ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง เห็นด้วยอย่างยิ่งสำหรับกิจกรรมด้านการเกษตรมีพลังชีวิตของดิน น้ำ ลม ไฟ และจิตมุ่งมั่นทำความดีงาม 

ขอส่งกำลังใจและพลังชีวิตชีวามอบแด่คุณเพชรน้ำหนึ่งและคนที่รักรอบข้างในทุกๆวันนะครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท