การบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy)


ผมอ่านบทความหนึ่งแล้วคิดว่า "ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนไทยทำความเข้าใจกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดที่ไม่ใช้การบำบัดด้วยกิจกรรม"

ผมอ่านบทความหนึ่ง เรื่อง "5 กิจกรรมบำบัดสมาธิสั้น (ในนิตยสารชีวจิต รายปักษ์ ปีที่ 13 ฉบับ 16 พ.ย. 53" ตอนแรกก็รู้สึกดีที่บทความนี้น่าจะประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมบำบัดแก่คนไทยได้ แต่แล้ว ดร. ป๊อป ก็ฉุดคิดขึ้นว่า "ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนไทยทำความเข้าใจกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy Process) ที่ไม่ใช้การบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy)"

กรอบอ้างอิงของการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy) พัฒนาโดย Mosey (1973, 1981, 1996) ที่เน้นการเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะของมนุษย์ที่เป็นรูปธรรมใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.A theoretical base 2.Function-dysfunction continuums 3.Evaluation 4.Postulates regarding change

หากนักกิจกรรมบำบัดใช้กรอบอ้างอิงข้างต้น ก็อาจเลือกกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางร่างกายและจิตใจได้ เช่น โยคะ การฝึกดนตรี ฯลฯ

แต่ถ้านำไปประยุกต์ในผู้รับบริการทุกเพศวัยที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ สังคม และการพัฒนามนุษย์ ก็ต้องมีการใช้กรอบอ้างอิงอื่นๆ ที่เป็นสากลทางการแพทย์และทางกิจกรรมบำบัด เพื่อให้เกิดกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดสากล ได้แก่ การตรวจประเมิน การวางแผนเพื่อบำบัดฟื้นฟูด้วยกิจกรรม กระบวนการ และวิธีการตามหลักการทางกิจกรรมบำบัด การส่งเสริมสุขภาวะ และการป้องกันทุกขภาวะ โดยเน้นการไม่อยู่ว่าง มีเป้าหมายในการทำกิจกรรม มีการเรียนรู้และการรับรู้คุณค่าในการทำกิจกรรม และมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาทักษะ (ความสุขความสามารถ) ในแต่ละขั้นตอนและองค์ประกอบของการทำกิจกรรมสู่การประยุกต์ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริง ได้แก่ การดูแลตนเอง การศึกษา การทำงาน การใช้เวลาว่าง การพักผ่อน การนอนหลับ และการมีส่วนร่วมทางสังคม อย่างสมดุลในสถานการณ์/สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตัวเรา

หากบุคคลใดๆ ที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะและศึกษาวิชาชีพกิจกรรมบำบัด เลือกกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางร่างกายและจิตใจได้ด้วยตนเอง ก็ไม่น่าจะเป็นอะไรตามที่บทความในนิตยสารข้างต้น แต่ควรใช้คำว่า "การบำบัด (ทำให้ดีขึ้น) ด้วยกิจกรรม"

แต่ถ้ามีการพัฒนาโดยมุ่งเป้าที่จะนำไปใช้บำบัดผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือ จิตสังคม ก็ต้องผ่านกระบวนการวิจัยพัฒนา และ/หรือ การพิสูจน์ประสิทธิผลทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ หรืออย่างน้อยก็พัฒนาตามกรอบอ้างอิงของ ของการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy)

ซึ่งปัจจุบันนี้ ดร. ป๊อป กำลังทำวิจัยร่วมกับนักดนตรีบำบัดเพื่อพิสูจน์ตอบโจทย์ว่า การฝึกดนตรีช่วยเพิ่มความไวทางระบบจิตประสาทอย่างไร และก่อนหน้านี้ ดร. ป๊อป ได้ออกแบบแบบประเมินและโปรแกรมที่บูรณาการระหว่างอาชาบำบัดกับกิจกรรมบำบัด โดยเน้นประสิทธิผลกับกลุ่มเด็กพิเศษ

จะเห็นว่า การแปลความหมายระหว่าง "การบำบัดด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย" กับ "การใช้กระบวนการทางวิชาชีพกิจกรรมบำบัด" มีความสัมพันธ์กันและมีความเฉพาะเจาะจงต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของรายบุคคล

ดร.ป๊อป จึงอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สนใจในศาสตร์และศิลป์ทางกิจกรรมบำบัด ในกรณีที่ท่านใดไม่แน่ใจว่าจะใช้คำว่า "กิจกรรมบำบัด" หรือ "การบำบัดด้วยกิจกรรม" รบกวนให้อีเมล์ปรึกษาก่อนก็ได้ครับ เพราะหากเขียนบทความโดยไม่รู้เช่นนี้ อาจมีผลต่อการชี้แนะจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัด สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

 

 

หมายเลขบันทึก: 410027เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท