ชมรมตามรอยเท้าพ่อ_ (๓) ผลการตรวจคุณภาพน้ำในสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์


ผมเคยเขียนบันทึกเกี่ยวกับ โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้แก้ปัญหาน้ำเสียในสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์และอาคารคณะบัญชี "อธรรมปราบอธรรม" โดยนำเอาผักตบชวามาเพาะพันธุ์ในสระ ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ (อ่านได้ที่นี่) ถึงวันนี้เวลาผ่านไปเกือบปี มีผลการตรวจน้ำมาแสดง และมีภาพแปลงผักตบทีแยกออกเป็นส่วน ๆ ให้ผู้สนใจดู เผื่อจะได้เรียนรู้ร่วมกันต่อไป

ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ขอขอบพระคุณทีมอาจารย์ (ผศ.ดร.ภูวดล โกมณเฑียร และ อ.ดร.ญาณวุฒิ อุทรลักษณ์) และนิสิตจากหลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ที่มาช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง จนได้ข้อมูลทางวิชาการที่เป็นประโยชน์

ในช่วงเดือนมกราคม แปลงผักตบชวา เจอพายุลมฝน จนแต่ละแปลงที่เป็นองค์ประกอบของตัวอักษร MSU ได้แยกจากกัน เสียแล้ว แต่ก็เป็นการดี เพราะตำแหน่งที่แปลงผักวางอยู่นั้นไกลจากบริเวณที่น้ำทิ้งไหลลงสระ จึงเป็นการดีที่เราจะจัดแปลงผักให้เป็นระเบียบและทำทางลงเก็บผักตบที่เจริญเติบโตเต็มที่ไปทำปุ๋ยหมักต่อไป

ทีมตรวจคุณภาพน้ำกำหนดตำแหน่งเก็บตัวอย่างน้ำจำนวน ๑๐ จุด ดังภาพ


มีการตรวจคุณภาพน้ำ ๓ ครั้ง ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๐ วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ และวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ ปรากฎผลตามตาราง (ผลตรวจครั้งที่ ๑) (ผลตรวจครั้งที่ ๒) (ผลตรวจครั้งที่ ๓)



พิจารณาสังเกตที่ค่า DO ที่บอกปริมาณของออซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ  น้ำสะอาดจะมีค่า DO สูง โดยทั่วไป จะมีค่า DO อยู่ที่ ๕-๘ มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า ๓ มิลลิกรัมต่อลิตร จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ค่า DO มีข้อสังเกตดังนี้ 

  • ๑) DO ที่ตรวจวัดวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๐  บอกว่า น้ำในสระเป็นน้ำเสีย ทุกจุดตรวจ แม้จะเป็นช่วงเดือนที่ปริมาณน้ำควรจะมาก แต่ปริมาณฝนในช่วงนั้นไม่มากนัก ทำให้เกิดปรากฎการณ์แบคทีเรียบูม น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว และส่งกลิ่นเหม็น 
  • ๒) DO ที่ตรวจวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ (ต่อมา ๒ เดือน) น้ำมีคุณภาพดีทุกจุดตรวจ  น่าจะเป็นเพราะฝนมามากขึ้น  ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และมีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนด้วยเครื่องเติมอากาศของมหาวิทยาลัย  สังเกตว่าจุดตรวจที่ ๑๐. ซึ่งมีแปลงผักตบชวาอยู่ในบริเวณนั้น ค่า DO มีค่าสูงที่สุด 
  • ๓) DO ที่ตรวจวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ ทุกจุดตรวจมีค่ามากว่า ๓ มิลลิกรัมต่อลิตร ยกเว้นจุดตรวจที่ ๗. ซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารราชนครินทร์ ซึ่งน้ำทิ้งจากการล้างจานไหลลงโดยตรง 
แม้ว่าผลการรายงานของทีมตรวจจะสันนิษฐานว่า คุณภาพของน้ำที่ดีขึ้นอาจเป็นเพราะแปลงผักตบชวาที่ช่วยดูดซับของเสียในน้ำ แต่ด้วยปริมาณแปลงผักตบที่มีจำนวนน้อยเกินไป และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกมาก จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่า น้ำดีขึ้นเพราะผักตบ  

ชมรมตามรอยเท้าพ่อ ควรจะดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่อง  จัดทำแปลงผักตบชวา และทำเป็นสะพานทางเดินเพื่อเก็บเอาผักตบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วออก ให้ผักตบได้ขยายเจริญเติบโตใหม่ซึ่งจะช่วยให้น้ำดีขึ้นได้ 

ขอเชียร์ให้กำลังใจเรียนรู้ศาสตร์พระราชาด้วยการนำมาปฏิบัติต่อไป ....


หมายเลขบันทึก: 646950เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท