ชีวิตที่พอเพียง : 3163. พลังเช็คลิสต์



หนังสือ The Checklist Manifesto : How to Get Things Right  เขียนโดยศัลยแพทย์ Atul Gwande   แนะนำวิธีลดความผิดพลาดในการทำงานที่มีความซับซ้อนสูง และต้องการผลงานที่แม่นยำสูง (เช่นชีวิตคน)    จึงใช้มากในการบิน และการผ่าตัด

นี่คือตัวอย่างของเครื่องมือ low tech – high value    แต่ถึงแม้จะเป็นเครื่องมือ low tech  การพัฒนาเช็คลิสต์ก็เป็นความรู้ขั้นสูง       

จำนวนรายการในเช็คลิสต์ต้องไม่มากเกินไป   เขาแนะนำจำนวนรายการที่พอเหมาะระหว่าง ๕ - ๙ รายการ    โดยต้องสอบทานได้เสร็จภายใน ๑ นาที    คือมีเฉพาะรายการที่มีสถิติว่ามักถูกละเลย และก่อผลร้ายแรง เช่นผู้ป่วยตาย เพราะแพ้ยา เนื่องจากไม่ได้ซักประวัติโรคภูมิแพ้   

เขาแนะนำวิธีการ read – do  หรือ do – confirm สำหรับทบทวนเช็คลิสต์    และใช้ภาษาที่ผู้ใช้เช็คลิสต์คุ้นเคย    ไม่ใช้ภาษาทางการเกินไป    เป็นวลีสั้นๆ กระชับ   และใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน ไม่กำกวม ไม่นำสู่การตีความผิด 

งานที่ยากและซับซ้อนต้องทำเป็นทีม   การสื่อสารระหว่างทีมมีความสำคัญยิ่งยวด    และเช็คลิสต์เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการสื่อสารระหว่างทีม    เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงานทีละขั้นตอน    

เขายกตัวอย่างงานที่เช็คลิสต์ช่วยให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ ลดความผิดพลาดลงไป ได้แก่ การผ่าตัดผู้ป่วย  การปรุงอาหาร  การบิน  การลดการติดเชื้อจากการสวนสายยางเข้าหลอดเลือดดำ     

วิจารณ์ พานิช

๒๔ มี.ค. ๖๑

ห้องผู้โดยสาร สนามบินเชียงใหม่  

 


                                                              

หมายเลขบันทึก: 646820เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2018 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2018 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท