รวมสรรพสาระระบบไฟฟ้าสนามบิน จากเวป Gotoknow.org


ค่าระยะเวลาก็ต้องทำการตรวจสอบให้บ่อยครั้ง ถี่ครั้งตามที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า สนามบินสามารถรักษาระดับของการบริการในจุดที่ได้ ตามค่าที่ประกาศไว้ได้ หรือถ้าทดสอบแล้วทำไม่ได้ตามค่าที่กำหนด เช่น ประกาศไว้ 12 วินาที่ แต่จากการทดสอบทำได้ 14 วินาที เมื่อนักบินร่อนลงสู่สนามบินเขาเข้าใจว่าอีก 12 วินาที่ไฟสนามบินจะกลับมาติดสว่าง แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไปนาน 12 วินาทีก็ยังไม่ติด รอไปจนถึงวินาทีที่ 14 ไฟสนามบินจึงได้ติดขึ้นแบบนี้ทำให้ผู้ควบคุมอากาศยานไม่ได้ตระเตรียมตัวทัน เพราะอากาศยานขณะกำลังร่อนลง ย่อมเสียความสูงลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ทำให้ขั้นตอนการปฏิบัติการบิน ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ ตามข้อมูลที่ได้รับแบบที่ทำให้โอกาสเกิดความผิดพลาดต่างๆสูงได้ครับ

เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ช่วยให้มองเห็นทางวิ่ง เพิ่มโอกาสการขึ้นลง มิใช่เพิ่มหรือลดความปลอดภัย

ในเอกสาร AIP มีการประกาศค่าระยะเวลาดังกล่าว ไว้ว่า เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำรองของสนามบินนี้ จ่ายไฟให้หอบังคับการบิน และ ระบบไฟฟ้าสนามบินทั้งระบบ มีค่าการกลับมาติดใหม่หรือค่า Swich Over Time ได้ไม่เกิน 15 วินาที นั่นก้อหมายความว่า ผู้ควบคุมอากาศยานที่จะบินมาลง ณ สนามบินแห่งนี้ ทราบมาก่อนแล้วว่าหากกำลังร่อนลง เกิดไฟฟ้าสนามบินดับ ก็จะกลับมาติดสว่างได้ตามค่าระยะเวลาที่ประกาศ แบบนี้ทำให้ผู้ควบคุมอากาศยานทราบก่อนเนิ่นๆเลยที่เดียวว่าเขาบินสูงเท่าไหร อัตราการร่อนเท่าไร หากๆไฟฟ้าหลักดับแลัวจะกลับมาติดภายในกี่วินาที่ เพื่อจะได้ทราบว่าเราอยู่ต่ำมากไหม 

https://www.gotoknow.org/posts/501370จัดการ

 https://www.gotoknow.org/posts/484170


ค่าระยะเวลาการกลับมาติดสว่างของระบบไฟฟ้าสนามบิน มีผลต่อการใช้งานของนักบิน ฉนั้นทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศจึงได้กำหนดค่าระยะเวลาที่ไฟฟ้าสนามบินดับไป ว่าให้ดับได้นานเท่าไร ไม่ควรเกินเท่าไร นั่นคือเหตุผลของการใช้งานของโคมไฟฟ้าสนามบิน ในการที่จะได้มองเห็นไฟทางวิ่ง ในการร่อนลงสนามบิน ซึ่งการมองเห็นโคมไฟฟ้าสนามบินได้ชัดเจนในระยะสูงที่ต่างกันไป เป็นตัวหลักที่จะก่อให้เกิดการปฏิบัติการบินที่แตกต่างกัน ภาษานักบินเรียกว่าความสูงในการตัดสินใจที่จะร่อนลงสนามบินต่อไป หรือ ปฏิเสธการร่อนลงในครั้งหนึ่งๆ เมื่อบินถึงระดับความสูงตัดสินใจ(Decision High)นักบินก็จะมองทางวิ่ง ถ้าเห็นไฟทางวิ่งชัดเจนตามรูปแบบสี และ/หรือเห็นการทาสีทำเครื่องหมายชัดเจนได้ว่า ที่มองเห็นคือทางวิ่งแล้วนั้น ก็จะบอกหอบังคับการบินว่า มองเห็นทางวิ่ง(Runway Insight) นั่นหมายถึงนักบินเห็นทางวิ่งและกำลังจะนำเครื่องร่อนลงสู่ทางวิ่งนั้นๆ หอฯช่วยดูให้หน่อยว่ามีอะไรเกะกะขวางทางวิ่งไหม หอฯก็จะตรวจทางวิ่งด้วยสายตา ถ้าไม่มีสิ่งในกีดขวาง ก็จะแนะนำนักบินว่า Clear to Land คือไม่มีอะไรกีดขวางสำหรับการร่อนลงสู่ทางวิ่ง ซึ่งถ้าหากเกิดไฟฟ้าสนามบินดับไป จะต้องมีค่าๆหนึ่งบอกนักบินก่อนเนิ่นๆว่า ไฟฟ้าสนามบินที่นี่ จะกลับมาใช้งานได้ติดสว่าง(50%) ใช้เวลาเท่าไร ซึ่งถ้ารู้ล่วงหน้า นักบินจะได้ดูว่า เครื่องอยู่ต่ำเกินไปไหม สูงพอที่จะรอไฟกลับมาติดใหม่ ของไฟทันไหมได้ครับ

ระบบไฟฟ้าสนามบินให้บริการเครื่ิองบินในเวลากลางคืน และเมื่อทัศนวิสัยไม่ดี

ในเอกสาร AIP มีการประกาศค่าระยะเวลาดังกล่าว ไว้ว่า เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำรองของสนามบินนี้ จ่ายไฟให้หอบังคับการบิน และ ระบบไฟฟ้าสนามบินทั้งระบบ มีค่าการกลับมาติดใหม่หรือค่า Swich Over Time ได้ไม่เกิน 15 วินาที นั่นก้อหมายความว่า ผู้ควบคุมอากาศยานที่จะบินมาลง ณ สนามบินแห่งนี้ ทราบมาก่อนแล้วว่าหากกำลังร่อนลง เกิดไฟฟ้าสนามบินดับ ก็จะกลับมาติดสว่างได้ตามค่าระยะเวลาที่ประกาศ แบบนี้ทำให้ผู้ควบคุมอากาศยานทราบก่อนเนิ่นๆเลยที่เดียวว่าเขาบินสูงเท่าไหร อัตราการร่อนเท่าไร หากๆไฟฟ้าหลักดับแลัวจะกลับมาติดภายในกี่วินาที่ เพื่อจะได้ทราบว่าเราอยู่ต่ำมากไหม

ผลการจับเวลา หาค่าระยะเวลาการกลับมาติดใหม่กรณีไฟฟ้าหลักดับ ของโคมไฟฟ้าสนามบิน (Switch Over Time)

....ถ้าอย่างนั้นค่าระยะเวลาก็ต้องทำการตรวจสอบให้บ่อยครั้ง ถี่ครั้งตามที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า สนามบินสามารถรักษาระดับของการบริการในจุดที่ได้ ตามค่าที่ประกาศไว้ได้ หรือถ้าทดสอบแล้วทำไม่ได้ตามค่าที่กำหนด เช่น ประกาศไว้ 12 วินาที่ แต่จากการทดสอบทำได้ 14 วินาที เมื่อนักบินร่อนลงสู่สนามบินเขาเข้าใจว่าอีก 12 วินาที่ไฟสนามบินจะกลับมาติดสว่าง แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไปนาน 12 วินาทีก็ยังไม่ติด รอไปจนถึงวินาทีที่ 14 ไฟสนามบินจึงได้ติดขึ้นแบบนี้ทำให้ผู้ควบคุมอากาศยานไม่ได้ตระเตรียมตัวทัน เพราะอากาศยานขณะกำลังร่อนลง ย่อมเสียความสูงลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ทำให้ขั้นตอนการปฏิบัติการบิน ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ ตามข้อมูลที่ได้รับแบบที่ทำให้โอกาสเกิดความผิดพลาดต่างๆสูงได้ครับ

ฉนั้นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะออกประกาศข้อมูลค่า Switch Over Time ใน AIP และการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าสนามบิน ให้ระดับของการให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดตามมาตรฐานสากลนั้น เป็นสิ่งที่ต้องเข้มงวดในเรื่องนี้

การวัดค่าระยะเวลาให้เริ่มวัดตั้งแต่ การที่โคมไฟฟ้าสนามบิน ลดความสว่างลงครึ่งหนึ่งของความสว่างสูงสุด คือ ลดลง50% เรื่อยไปจนโคมไฟฟ้าสนามบินกลับมาติดใหม่ จนความสว่างเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่ง หรือ สว่าง 50% ของความสว่างเต็มที่นั่นเอง สาเหตุที่ต้องสังเกตุจากระดับความสว่างนั่นคืิอ ผู้ใช้งานหรือนักบิน จะมองเห็นโคมไฟเมื่อมีความสว่างสูงในระดับหนึ่ง คือประมาณ 50% นั่นเอง ไม่สามารมองเห็นโคมไฟที่เริ่มติดสว่างน้อยๆได้ นี่เองเป็นเหตุให้ว่าทำไมจึงต้องเริ่มนับเวลาจากจุดนี้ หยุดเวลาในจุดนี้ ก็คือจุดที่สายตามองเห็นแสงไฟได้จริงไงครับ

หลายท่านสงสัยว่าการสังเกตุด้วยสายตา สังเกตอย่างไรว่า ความสว่างลดลง 50% หรือว่าเราจะเริ่มจับเวลาSwitch Over Time ตอนไหน? วิธีการสังเกตก็คือเมื่อโคมไฟเริ่มลดความสว่างลงอย่าเพิ่งจับเวลาให้รอเวลานิดประมาณครึ่งวินาที หลอดไฟจะลดความสว่างลง และจะลดความสว่างจนใกล้ดับในเวลาประมาณ 1 วินาที (รับรู้ได้จากการสังเกตและทำบ่อยๆทำจริง) อีกกรณี จะสังเกตุอย่างไรว่าหลอดไฟ ติดสว่างเพิ่มขึ้น 50% วิธีการคือ เมื่อหลอดไฟเริ่มติดขึ้นมาอย่าเพิ่งหยุดเวลา รอนิดหน่อยให้หลอดค่อยสว่างขึ้นมาสักครึ่งวินาทีแล้วหยุดเวลา มิใช่หยุดเวลาตอนหลอดมีระดับความสว่างที่สูงสุดหรือ 100% แล้ว ซึ่งถ้าหยุดเวลาไม่ทัน หลอดไฟสว่างเติมที่แล้ว ก็ให้จดจำไว้ว่าเราอยุดจับเวลาช้าไป แล้วเปรียบเทียบตัวเลข ดูแนวโน้มว่า ค่าเวลาเราไปทางบวกไหม มากกว่าคนที่จับเวลาที่หยุดเวลาได้ทันไหม ถ้าแนวโน้มไปทาง + แสดงว่าค่าเวลาที่เพื่อนจับได้นั้นเชื่อถือได้

การเปรียบเทียบสังเกตุแนวโน้ม หรือ Trend ของค่าเวลาที่เพิ่มขึ้น เพราะเราหยุดการจับเวลาช้าไป หรือหยุดเวลาขณะที่หลอดไฟสว่างเต็มที่แล้ว เราเรียกว่า ความตรง (Validity) หรือความถูกต้อง ประเภท ความตรงในเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-Related Validity) ชนิด ความตรงตามทำนาย (Predictive Validity) ที่มีแนวโน้มเป็นไปในทางเดียวกัน แบบนี้ข้อมูลจากการวัดค่าของเพื่อนที่วัดได้ตรง หยุดเวลาได้ทันนั้น เป็นการสนับสนุนให้เชื่อถือได้ Cross checked ย้อนกลับมาได้

หมายเลขบันทึก: 646691เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2018 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2018 06:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท