พัฒนากระบวนการคิด มีจิตสาธารณะ : ถอดบทเรียนโครงการนักศึกษาแกนนำต้านยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา


สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดโครงการนักศึกษาแกนนำต้านยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา 9 เครือข่าย โดยมีนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะแม่ข่าย สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จึงส่งนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย เข้าร่วมกิจกรรมม จำนวน 18 คน  ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม  2561  ณ   มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

สกอ. ส่งหนังสือมาเชิญชวนให้ส่งนิสิต นักศึกษา เข้าร่วมโดยระบุวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้ผู้นำนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา 9 เครือข่าย ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา ผลกระทบและพิษภัยของสารเสพติด รวมทั้งได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ ของสารเสพติดที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน รวมทั้งยังสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้นิสิตรู้เท่าทันและป้องกันการเสพสารเสพติดภายในสถานศึกษาและชุมชนรอบสถาบัน และกำหนดธีมหลักของงานว่า “พลังนักศึกษารู้เท่าทันสารเสพติด  เครือข่ายนิสิตปกป้องเยาวชนไทย”... เป้าหมายที่สกอ. จัดกิจกรรมครั้งนี้คงมี 2 ประเด็นหลักคือ เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำไปสู่การจัดกิจกรรมเครือข่ายละ 1 โครงการ

จากการไปร่วมกิจกรรมที่หัวเฉียว ผมให้นักศึกษาที่ไป ได้ลองสรุปบทเรียนที่ไปร่วม มี 3 รายที่ตอบกลับมา 

  • บทเรียนที่ได้จากการบรรยายเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติด

กิจกรรมฐานการเรียนรู้ สร้างสรรค์สังคม ให้ความรู้หรือสาระอะไรบ้าง

  • ยาเสพติดแพร่หลายในหมู่วัยรุ่น อีกทั้งยังสารถหาซื้อส่วนผสมได้ตามร้านขายยาทั่วไปจึงทำให้วัยรุ่นสารมารถซื้อมาทำยาเสพติดได้
  • ได้ตระหนักถึงปัญหายาเสพติดที่เป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมในปัจจุบัน
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับภัยของยาเสพติด


กิจกรรมกลุ่มจิ๊กซอร์รับความรู้และผลกระทบของสารเสพติด ช่วยเพิ่มทักษะหรือให้ความรู้อย่างไร

  • ความสามัคคี ความรู้ ความสามารถเฉพาะตัว
  • มีสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดแต่ละประเภทลงไปในกิจกรรม พร้อมทั้งชี้ให้เห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรมร่วมกันซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการป้องกันตนเองจากยาเสพติด
  • ได้ความรู้การทำงานเป็นทีม ทำให้เราได้รู้จักกันมากขึ้น และได้สาระต่างๆจะการเข้าฐาน

กิจกรรมกลุ่มจิ๊กซอร์รับความรู้และผลกระทบของสารเสพติด ช่วยเพิ่มทักษะหรือให้ความรู้อย่างไร

  • มีการรับและถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาให้กับผู้อื่น รวมถึงวิธีการหลีกเลี่ยง เพิ่มทักษะการป้องกันเพื่อไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด
  • ได้เพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะมากขึ้น

ได้รับอะไรบ้างจากการระดมความคิดเห็น รวบรวมและวิเคราะห์ความรู้ เพื่อวางแผนโครงการของเครือข่าย

  • ได้รับประสบการณ์ในการเขียนโครงการ
  • ได้เรียนรู้ที่จะเคารพความคิดเห็นของคนอื่น เห็นการถกเถียง การอภิปราย และการหาข้อสรุปที่ได้มายากมาก
  • ได้เห็นปัญหาและข้อเสนอแนะของแต่ล่ะคนที่ได้เสนอแนวทางต่างๆ

จากการนำเสนอของทั้ง 9 เครือข่าย ท่านได้รับมุมมองอย่างไรเพื่อพัฒนา ต่อยอดกิจกรรมของเครือข่าย

  • เห็นด้วยกับหลาย ๆ เครือข่าย
  • เกิดมุมมองใหม่ ๆ ในการพัฒนาตนเองรวมถึงพัฒนารูปแบบกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดให้มีความน่าสนใจและแตกต่างออกไป
  • ได้รับวิธีการทำงานของแต่ล่ะเครือข่ายว่ามีอะไรบ้าง

หากมีคะแนนเต็ม 10 ในการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมของกิจกรรมทั้ง 3 วัน ทั้งให้คะแนนเท่าไหร่ และกรุณาให้ความเห็นประกอบด้วย

  • 10/10 ชอบมาก
  • 5 คะแนน เพราะถ้านับรวมกิจกรรมวิชาการหรือระดมสมอง จะเห็นได้ว่ามีอยู่เพียงไม่กี่กิจกรรมในระยะเวลา 3 วัน ความเป็นจริงแล้วสามารถเพิ่มหรือจัดกิจกรรมให้ได้หลากหลายมากกว่านี้ 
  •  8 คะแนน ภาพรวมของกิจกรรมดี แต่มีด้านการบรรยายเยอะไปหน่อย


ผลสะท้อนเหล่านี้ เป็นอีกมิติของการ “ฟังเสียง” ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยให้มีข้อมูลไปทำงานต่อ

ผมอยู่ร่วมกิจกรรม ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ได้เห็นกิจกรรมดำเนินไป ปรกติ จะเป็นผู้ถอดบทเรียนในมุมมองของตัวเอง และบันทึกเรื่องราว แต่คราวนี้ คงให้นักศึกษาทั้ง 3 คน เป็นผู้แทนในการถอดบทเรียน.....



หมายเลขบันทึก: 646682เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2018 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2018 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท