บทบาทของสตรีในประวัติศาสตร์ไทย สมัยอยุธยาด้านการเมือง


        ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นพระสนมเอกของพระไชยราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งอยุธยา

ทรงเป็นพระราชมารดาของพระยอดฟ้า กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งอยุธยา และทรงเป็นพระมเหสีของขุนวรวงศาธิราช

กษัตริย์องค์ที่ 15 แห่งอยุธยา

ท้าวศรีสุดาจันทร์ (ไม่ทราบพ.ศ.เกิด - พ.ศ. 2091) เป็นชื่อตำแหน่งของพระสนมเอกคนหนึ่งที่ไม่ปรากฏพระนามเดิม  

ตำแหน่งของพระชายาของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาจะมาจากดินแดนทั้ง 4 ภาค

ท้าวอินทรสุเรนทร หรือสะกดว่า อินทรสุเรนทร์หรืออินสุเรน สันนิษฐานว่าเป็นพระสนมที่มาจากราชวงศ์สุพรรณภูมิตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา

ท้าวศรีสุดาจันทร์หรือสะกดว่า ศรีสุดาจัน สันนิษฐานว่าเป็นพระสนมที่มาจากราชวงศ์ละโว้-อโยธยาเป็นสนมเอกแห่งทิศตะวันออก ด้วยภูมิสถานของแคว้นละโว้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงศรีอยุธยา

ท้าวอินทรเทวีสันนิษฐานว่าเป็นสนมมาจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ตัวแทนตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา

ท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือสะกดว่าศรีจุฬาลักษณ์หรือศรีจุฬาลักษณะ ได้สันนิษฐานว่าเป็นสนมจากราชวงศ์พระร่วง เป็นตัวแทนแห่งทิศเหนือ จากภูมิสถานของแคว้นสุโขทัย

       หากพระชายาองค์ใดให้ประสูติกาลพระโอรสที่จะได้รับการสืบราชสมบัติ พระชายาองค์นั้นก็จะมีฐานะที่สูงกว่าพระชายาอื่นอีก 3 พระองค์

      ในกรณีของท้าวศรีสุดาจันทร์มีพระราชโอรสคือ พระยอดฟ้า พระนางจึงปรากฏพระนามในพระราชพงศาวดารว่า แม่หยั่วศรีสุดาจันทร์ ซึ่งเป็นคำที่รวบรัดมาจากคำว่า แม่อยู่หัว


สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ   (ประมาณ: พ.ศ. 2199—2278) 

      สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ กรมหลวงโยธาทิพ บ้างออกพระนามว่า พระราชกัลยาณี  เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่ประสูติแต่พระนางสิริธิดา เป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนนีในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นกุลสตรีที่ทรงพระสิริโฉม

     หลังจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสรรคต   เจ้าฟ้าไชยจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยาสืบต่อพระราชบิดา แต่สมเด็จพระนารายณ์ไม่ทรงเห็นด้วย จึงส่งคนสอดออกมาคิดราชการด้วยพระศรีสุธรรมราชาผู้เป็นพระเจ้าอา พระเจ้าอาก็กำหนดเข้าไปครั้งเพลาค่ำ สมเด็จพระนารายณ์ก็พาพระราชกัลยาณีหนีออกมาทางประตูตัดสระแก้วไปหาพระเจ้าอา แล้วร่วมกันสุมผู้คนยกเข้ามาในพระราชวังกุมเอาเจ้าฟ้าไชยไปสำเร็จโทษเสีย ณ วัดโคกพระยา พระศรีสุธรรมราชาจึงได้ราชสมบัติสืบต่อมา

          เนื่องจากพระราชกัลยาณีมีสิริโฉมงดงามมาก กล่าวกันว่าแม้นใครได้ยลพระราชกัลยาณีแล้วจะมีเสน่หานั้นเป็นไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อพระศรีสุธรรมราชาได้ราชสมบัติแล้วประมาณสองเดือนเศษ ทอดพระเนตรเห็นพระราชกัลยาณีผู้เป็นราชนัดดาทรงพระรูปสิริวิลาศ ก็มีพระทัยเสน่หาผูกพัน ปราศจากลัชชีสมโภค จึงให้หาขึ้นไปบนที่หวังจะร่วมรสสังวาสกับพระราชกัลยาณี 

         พระราชกัลยาณีจึงหนีลงมายังพระตำหนักแล้วบอกเหตุกับพระนม พระนมจึงเชิญพระราชกัลยาณีเข้าไว้ในตู้พระสมุด แล้วหามออกมา แสร้งว่าจะเอาพระสมุดไปยังพระราชวังบวรสถานมงคล นายประตูก็มิได้สงสัย   ครั้นไปถึงพระราชวังบวรสถานมลคลแล้ว พระราชกัลยาณีก็ออกจากตู้เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์แล้วทรงพระกันแสงทูลเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงเกี่ยวกับพระเจ้าอาให้ฟัง สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงฟังดังนั้นก็ทรงโทมนัสน้อยพระทัย ตรัสว่า"พระเจ้าอาก็เหมือนพระบรมราชบิดา… ควรหรือมาเป็นดังนี้ จะละไว้ก็มิได้ ด้วยพระองค์ก่อแล้วจะสานตาม จะเสี่ยงเอาบารมีเป็นที่พึ่ง"

       ต่อจากนั้น ก็ตรัสให้หาขุนนางเข้ามาภายในพระราชวัง แล้วจัดแจงแต่งรี้พล สมเด็จพระนารายณ์ฯ เองเสด็จช้างต้นพลายมงคลไอยรา เสด็จไปทางหน้าวัดพลับพลาชัย

       ครั้นสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทราบเหตุจึงจัดทัพเข้าสู้ ได้รบพุ่งกันตั้งแต่ค่ำจนรุ่ง โดยฝ่ายพระนารายณ์มีทหารญี่ปุ่นร่วมด้วยต่อมา ทหารฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ฯ กระทุ้งประตูเข้าไปในวังได้ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาจึงหนีไปยังวังหลัง แต่ถูกจับได้ พระนารายณ์ฯ ก็ให้ประหารเสียที่วัดโคกพระยาตามประเพณี

             ครั้นพ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯแล้ว พระราชกัลยาณีก็มีบทบาทสำคัญอีก คือเมื่อพระเพทราชาขึ้นครองราชสมบัติก็โปรดให้พระราชกัลยาณี (เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ) เป็นกรมหลวงโยธาทิพ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายขวาข้อนี้ เห็นทีกรมหลวงโยธาทิพจะไม่ร่วมตกลงปลงพระทัยด้วย เพราะเมื่อพระเพทราชาจะเสด็จไปเข้าที่บรรทม ณ พระตำหนักตึกกรมหลวงโยธาทิพ พระนางกลับให้ทูลพระอาการว่า   ประชวอยู่  เมื่อเสด็จไปคราวหลังพระนางจึงยินยอม ต่อมาสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายขวากระหลวงโยธาทิพ ประสูติราชโอรสได้นามว่าเจ้าพระขวัญกล่าวกันว่า ในวันประสูติเจ้าพระขวัญนั้น เป็นอัศจรรย์ด้วยแผ่นดินไหว จึงมีคนนับถือมาก ประกอบกับเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ด้วยเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าพระขวัญพระชนม์ครบ ๑๓ พรรษา จึงมีพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท

            ต่อมา กรมพระราชวังบวร (พระเจ้าเสือ)ทรงพระราชดำริแคลงเจ้าพระขวัญด้วยเห็นข้าไทมาก จึงร่วมคิดกับเจ้าฟ้าเพชรคอยทีอยู่ เมื่อ  พระเพทราชาประชวรหนักใกล้สวรรคต จึงให้มหาดเล็กไปทูลเชิญเจ้าพระขวัญ ว่ามีรับสั่งให้ไปเฝ้า เพื่อให้ทรงม้าเทศให้ทอดพระเนตรเจ้าพระขวัญกำลังเสวยผลอุลิตหวานค้างอยู่ เมื่อทราบว่ามีรับสั่งให้หาก็มิได้เสวยต่อไป และซีกซึ่งยังมิได้เสวยนั้นเอาใส่ไว้ในเครื่อง แล้วทูลลาสมเด็จมารดา เสด็จไปเฝ้ากรมพระราชวังบวร ณ พระตำหนักหนองหวาย เมื่อเจ้าพระขวัญไปถึง ก็มีพระบัณฑูรห้ามพระพี่เลี้ยงและข้าไททั้งปวงมิให้เสด็จเข้าไปและให้ปิดประตูกำแพงแก้ว แล้วให้จับเจ้าพระขวัญสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ ต่อจากนั้นให้เอาพระศพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขัน ให้ข้าหลวงเอาไปฝังไว้ ณ วัดโคกพระยาพี่เลี้ยงและข้าไททั้งปวงจึงชวนกันร้องไห้แล้วกลับไปทูลเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ     เหตุการณ์ตอนนี้เป็นเรื่องราวของอภินิหาร พระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระอัครมเหสี เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ เมื่อเจ้าพระขวัญทูลลาไปนั้น กำลังเข้าที่บรรทมอยู่ พอเคลิ้มหลับก็ได้ยินพระราชบุตรมาทูลว่า ข้าพเจ้าขอพระราชทานผลอุลิตหวานซีกซึ่งเหลืออยู่นั้นเสวยต่อไป ก็ตกพระทัยตื่นขึ้นมาทันทีทันใดพอดีกับมหาดเล็กมาทูลว่าเจ้าพระขวัญถูกปลงพระชนม์ เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพได้ฟังก็ตกพระทัย ทรงพระกันแสงถึงพระราชบุตร แล้วเสด็จขึ้นไปเฝ้าพระเพทราชา ซึ่งกำลังทรงพระประชวรหนัก พระเพทราชาได้ทรงฟังก็ทรงเศร้าโศกเสียพระทัยอาลัยในพระราชโอรส จึงตรัสเวนราชสมบัติให้แก่เจ้าพระยาพิไชยสุรินทร์ ราชนิกูล และเสด็จสวรรคตในคืนนั้นเอง แต่เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ไม่กล้ารับราชสมบัติ จึงน้อมถวายราชสมบัติแด่พระเจ้าเสือ เมื่อพระเจ้าเสือได้ราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายขวา กรมหลวงโยธาทิพก็ทูลลาออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ที่ใกล้พระอารามวัดพุทไธศวรรย์ พร้อมกับกรมหลวงโยธาเทพ สมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายของสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระอัครมเหสี เจ้าฟ้าฯกรมหลวงโยธาทิพ ได้เสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักนั้นเองพระองค์เสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักใกล้วัดพุทไธศวรรย์ ช่วงปี พ.ศ. ๒๒๔๙

                                                                        

        

           สมเด็จพระศรีสุริโยทัยหรือ พระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยาแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ       

           พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน – นามว่า “วัดสบสวรรค์” (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)


                                                                                         

       


หมายเลขบันทึก: 646260เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2018 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2018 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท