ทฤษฎีเสือข้ามห้วย



        ในยุคที่ป่าไม้ในประเทศไทยยังอุดมสมบูรณ์ผมหมายถึงช่วงปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นนั้นบิดาผมมักจะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการผจญภัยในป่ากว้างแถบลุ่มแม่น้ำโขงจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน  ท่านเล่าว่าในป่ารกมีเสือชุกชุมมักจะซุ่มเงียบ ๆ ในราวป่าเพื่อหากินสัตว์น้อยใหญ่แม้กระทั้งคนเดินทางก็ไม่เว้น  ดังเกิดกรณีชาวบ้านสะพังไปหาขี้ยางชื่อเฒ่าทิดบัวโดนเสือกัดตายลากเอาไปกินแล้วกลบไว้กินในวันต่อ ๆ ไปของมันจนเดือดร้อนชาวบ้านต้องออกล่าเสือ  บิดาผมเป็นพรานป่าได้ฆ่าเสือตัวนั้นเพื่อแย่งเอาศพออกมาทำพิธีกรรมของชาวบ้านและอีกฆ่าเสืออีกตัวหนึ่งที่มาออกล่าเหยื่อในปีต่อมาเพื่อป้องกันไม่ให้คนได้รับอันตรายจากสัตว์ร้ายดังกล่าว

        การเดินทางของเสือเพื่อค้นหาเหยื่อนั้นสวนมากมันจะอยู่ตามริมห้วยและข้ามห้วยไปหาเหยื่อที่เผลอไม่ทันได้ตั้งตัว  ผมจึงเชื่อมโยงแนวคิดนี้เข้ากับระบบการศึกษายุคนี้ว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มปรับตัวปรับหลักสูตรข้ามสายวิชามีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แล้วควรทำให้เกิดผลจริง ๆ จัง ๆ เช่นมหาวิทยาลัยแห่งนี้เด่นด้านวัฒนธรรมก็เปิดวิชาวัฒนธรรมแบบสากลไปเลย  อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งเด่นด้านศาสนาก็เปิดวิชาทางศาสนาสากลไปเลยแล้วเอามาเชื่อมโยงกัน

        ทีนี้ผู้เรียนก็ไปลงวิชาอย่างนี้ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยเพราะเป็นหลักสูตรข้ามสาย  การปรับตัวเองของมหาวิทยาลัยอย่างนี้ทำให้มหาวิทยาลัยดำเนินการเรียนการสอนไปได้ไกลในอนาคต  ยิ่งมหาวิทยาลัยใดอยู่ชายแดนระหว่างประเทศถ้าได้เปิดหลักสูตรข้ามสายนานาชาติได้จะโดดเด่นมากเช่นมหาวิทยาลัยแถบลุ่มแม่น้ำโขงก็จับมือกันพอวิชานี้ก็มาเรียนในประเทศไทยพอถึงวิชานั้นก็ขี่เรือข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปเรียนฝั่งโน้น ซึ่งใน สปป. ลาว เรียกแม่น้ำโขงว่าแม่น้ำของ

ผมว่าน่าเรียนสนุกและมีชีวิตชีวาดีนะครับ  นี่ละคือทฤษฎีเสือข้ามห้วย.

หมายเลขบันทึก: 646046เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2018 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2018 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท