ขอบคุณที่ให้คำแนะนำป้อนกลับ



หนังสือ Thanks for the Feedback : The Science and Art of Receiving Feedback Well (2014) เขียนโดย Douglas Stone Sheila Heen  มีคุณค่าสูงยิ่งต่อผู้ที่ต้องการปรับปรุง หรือพัฒนาตนเอง

คำแนะนำป้อนกลับ (feedback) มี ๓ แบบ  ใช้ในต่างสถานการณ์ ต่างเป้าหมาย   ต้องใช้ให้ถูก ใช้เป็น    ไม่ใช้ผิดแบบ ผิดสถานการณ์    และผมขอเติมว่า ต้องให้คำแนะนำป้อนกลับเพื่อประโยชน์ของตัวผู้รับเป็นเป้าหมายหลัก    ไม่ใช่เพื่อสนองอารมณ์ของผู้ให้   

  • คำชม (appreciation)  ให้กำลังใจ
  • คำแนะนำ (coaching)  เพื่อปรับปรุง
  • บอกผลการประเมิน (evaluation)  เพื่อให้รู้ว่าทำได้ในระดับใด

ยามท้อถอยหรือหมดกำลังใจ   คำแนะนำป้อนกลับที่ดีคือการชื่นชม ให้กำลังใจ    ยามหน้าสิ่วหน้าขวานกำลังเผชิญความท้าทายหรือยากลำบาก  คำแนะนำป้อนกลับที่ต้องการคือแนะวิธี ชี้จุดที่ต้องแก้ไข    และหากกำลังไต่บันไดดาราเพื่อเป็นแชมเปี้ยนหรือเป็นที่ ๑   ซึ่งคนที่เป็นคู่แข่งมีคะแนน ๙๕   หากตัวเราได้รับผลการประเมินว่าคะแนนอยู่ที่ ๙๐   ผลการประเมินนี้บอกเราว่าต้องพัฒนาขึ้นอย่างน้อย ๖ คะแนนจึงจะชนะ    หรืออาจต้องพัฒนามากกว่านั้น เพราะแชมเปี้ยนเขาก็ตั้งหน้าตั้งตายกระดับคะแนนของเขาเหมือนกัน    

แต่ละคนต้องรู้จักแยกแยะชนิดของคำแนะนำป้อนกลับที่ต้องการในแต่ละสถานการณ์    และผมเพิ่มความเห็นส่วนตัวว่า  เราต้องรู้จักเปลี่ยนคำแนะนำป้อนกลับที่ฟังเผินๆ เป็นลบ (เช่นโดนหัวหน้า หรืออาจารย์ดุ)   ให้ก่อคุณค่าเชิงบวกต่อตัวเรา (แปลงให้เป็นโค้ชชิ่ง) 

คำแนะนำป้อนกลับที่ไม่ชัด เราก็ต้องรู้จักทำให้ชัด   จากคำด่า ทำให้เป็นคำแนะนำที่ชัดเจน   เช่น “คุณเป็นคนขับรถที่ประมาท”  เปลี่ยนเป็น “คุณไม่ควรพูดโทรศัพท์ขณะขับรถ”  

คำแนะนำป้อนกลับที่มีคุณค่ายิ่งช่วยให้เรารู้จุดบอดที่เรามองไม่เห็นจุดอ่อนของตัวเอง    เนื่องจากเป็นธรรมชาติมนุษย์ที่มักเข้าข้างตนเอง   

หากผู้ให้และผู้รับคำแนะนำป้อนกลับมีความสนิทสนมกัน    การให้คำแนะนำป้อนกลับอาจทำยาก    หรือบางครั้งอาจมีผลร้ายต่อความสัมพันธ์   

การรับรู้และได้รับประโยชน์ (หรือโทษ) จากคำแนะนำป้อนกลับขึ้นกับอารมณ์   คนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์สูงจะได้รับประโยชน์มากกว่า    ดังเราจะเห็นว่า เมื่อได้รับคำแนะนำป้อนกลับ คนบางคนจะตอบโต้ เพื่อปกป้องตัวตนของตนเอง    แทนที่จะรับเป็นข้อมูลนำมาไตร่ตรองหาทางปรับปรุงพัฒนาตนเอง    เรื่องนี้ฝรั่งเขาทำวิจัยลงลึกเข้าไปถึงการทำงานของสมอง    และชี้ให้เห็นว่า คนที่สมองซีกขวาทำงานเด่น จะฟื้นจากคำแนะนำป้อนกลับเชิงลบได้ช้ากว่า   

ประเด็นสำคัญที่สุดในสายตาของผม ต่อการได้รับประโยชน์ทั้งจากคำแนะนำป้อนกลับเชิงบวกและเชิงลบคือ “กระบวนทัศน์พัฒนา” (growth mindset)    คนที่มี กระบวนทัศน์พัฒนา จะมองคำแนะนำป้อนกลับเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง    ไม่มองเป็นการดูถูกหรือลดทอนอัตตา    ส่วนคนที่มี “กระบวนทัศน์หยุดนิ่ง” (fixed mindset) มีแนวโน้มจะตีความคำแนะนำป้อนกลับเป็นตัวเสริมหรือลดทอนศักดิ์ศรีแห่งตัวตนของตนเอง

คำแนะนำป้อนกลับคือ “กระจกส่อง” ที่ช่วยให้เรามองเห็นตัวเอง จากมุมที่เราไม่สามารถมองเห็นได้      ยิ่งเป็นมุมลี้ลับ รู้แล้วเจ็บปวด   ยิ่งเป็นข้อมูลที่ให้คุณ ต่อการหาทางปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเอง

การเรียนรู้ที่ต้องการคำแนะนำป้อนกลับที่ดี   และการตอบสนองที่ดีต่อคำแนะนำป้อนกลับนั้น

ผมขอเพิ่มเติมความเห็นของตนเองว่า การทำคนเราทำกิจกรรมใดๆ แล้วทำ reflection กับตนเอง เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ตนเอง (auto-feedback)    และหากทีมงานที่ทำงานด้วยกันทำ AAR เป็นระยะๆ นั่นคือการให้คำแนะนำป้อนกลับแก่กันและกันในทีมงานอย่างอ้อมๆ    ก่อประโยชน์แก่การพัฒนาการทำงานอย่างมากมาย    และเป็นการจัดการความรู้

วิจารณ์ พานิช

๓ มี.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 645887เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2018 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2018 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

I have practiced 'positive commenting' for some years. On reflection, I found that 'I look like a bully/troll". My alternate conclusions: a) I am not yet skilful enough to do positive criticism - more skills are needed; b) Positive criticism need positive perception - cultural attitude change is needed. 

I have practiced 'positive commenting' for some years. On reflection, I found that 'I look like a bully/troll". My alternate conclusions: a) I am not yet skilful enough to do positive criticism - more skills are needed; b) Positive criticism need positive perception - cultural attitude change is needed. 

-สวัสดีครับอาจารย์

-ขอบคุณสำหรับมุมมองดี ดี ครับอาจารยฺ์

ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์

เดี๋ยวจะไปส่องคันฉ่องก่อนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท