การทำบุญอุทิศให้ผู้ตายในวาระครบรอบวัน (สมวาร)
นิยมมี 3 วาระ คือ<p> ครบรอบ 7 วัน เรียกว่า ทำบุญสัตมวาร </p><p> ครบรอบ 50 วัน เรียกว่า ทำบุญปัญญาสมวาร </p><p> ครบรอบ 100 วัน เรียกว่า ทำบุญศตมวาร</p><p></p><p>“ปุพเพเปตพลี” หรือ “การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย” </p><p>เริ่มมีมาในครั้งพุทธกาล สมัยที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวันถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้า แต่พระองค์ยังไม่กรวดน้ำอุทิศบุญให้พระญาติของพระองค์ที่ล่วงไปแล้ว ตกเย็นมาเหล่าเปรตที่เคยเป็นพระญาติของพระองค์ในชาติก่อน ๆ ได้มาปรากฎตัวให้เห็นถึงความทุกข์ทรมาน พระเจ้าพิมพิสารจึงทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสว่า เปรตเหล่านั้นเป็นพระญาติของพระองค์ในชาติก่อน มาปรากฏให้เห็นเพื่อที่จะขอส่วนบุญจากพระองค์ </p><p>ลำดับนั้นพระเจ้าพิมพิสารก็ได้กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญที่พระองค์ได้ทำให้แก่ญาติที่เป็นเปรตเหล่านั้น จนเป็นธรรมเนียมของการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ผู้ตายของชาวพุทธเราจวบจนปัจจุบันนี้ ดังนั้น เมื่อเรานึกถึงคุณความดีของผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ควรทำบุญอุทิศให้ผู้ตายโดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้องครูอาจารย์ หรือญาติ ๆ ที่มีอุปการคุณแก่เรา เราควรตอบแทนบุญคุณท่านด้วยการทำบุญไปให้ เป็นหน้าที่อีกอย่างของบุตรธิดา ลูกศิษญ์ที่ต้องทำเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา</p><p></p><p>เปรตวิสัยภูมิ (๘) เปรตพระญาติพิมพิสารราชา </p><p> ครั้งพระศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “พระปุสสะ” บรมโลกนาถ ปรากฏในโลก ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารเกิดเป็นขุนคลัง รับจัดการถวายทานแด่พระสงฆ์ ซึ่งมีองค์พระปุสสะพุทธเจ้าเป็นประมุข ตามพระบัญชาของพระกุมารสามพระองค์ ผู้เป็นนายขุนคลังนั้น ครั้นรับหน้าที่ใหญ่ ต้องจัดการเลี้ยงพระสงฆ์มากมายทุกวัน จึงไปเรียกเอาญาติของตนหลายคนมาช่วยทำงานในโรงครัว และช่วยเลี้ยงพระ คนพวกนี้มาทำงาน ตอนแรกๆ ก็ดีอยู่ แต่พอหลายวันผ่านไปชักเกิดความประมาทขึ้น แอบบริโภคอาหารก่อนพระสงฆ์บ้าง แอบนำอาหารที่เขาทำไว้เพื่อถวายพระสงฆ์ไปให้แก่บุตรภรรยาของตนที่บ้านบ้าง ทำอยู่ดังนี้เป็นนิจเสมอมา ตามวิสัยของคนโลภ ซึ่งเป็นผู้ท้าทาย ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ นรกสวรรค์ ครั้นถึงคราวตาย พระราชกุมารทั้งสามกับขุนคลังก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในสรวงสวรรค์ แต่ว่าพวกคนโลภเหล่านั้นต้องลงไปเกิดในนรกสิ้นกาลนาน ครั้นพ้นโทษจากนรกแล้วจึงเกิดในเปรตวิสัย ครั้งสุดท้ายบังเกิดเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต คือ เปรตประเภทที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ เปรตพวกนี้ต้องหิวโหยอดอยากอยู่นาน เพราะไม่มีใครทำบุญอุทิศให้ </p><p> ครั้นล่วงไปถึงสมัยแห่งสมเด็จพระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกในภัทรกัปนี้ ประชาชนได้ฟังเทศน์รู้ธรรมแล้ว เกิดปัญญา รู้จักบำเพ็ญบุญละบาป ทำใจให้สงบ จึงก่อสร้างกองการกุศล ทำบุญสุนทรทาน แล้วแผ่ส่วนกุศลราศีไปถึงญาติๆของตนในเปรตวิสัย เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติของใคร ครั้นเขาแผ่ส่วนบุญไปให้ ต่างก็ดีเนื้อดีใจ ยกมือขึ้นท่วมหัวอนุโมทนา สาธุการส่วนบุญ ! ก็พ้นจากเปรตวิสัยในโลกเปรต ไปเกิดในภูมิอื่นตามแต่ยถากรรม เนื่องจากว่าเปรตทั้งหลายผู้เป็นญาติขุนคลัง ครั้นเห็นหมู่เพื่อนเปรตของตนได้ส่วนบุญจากญาติ พ้นทุกข์ไปตามๆ กันเช่นนั้น แต่ว่าตนไม่มีใครอุทิศให้ ยังต้องเป็นเปรตอยู่ตามเดิม ก็มีความน้อยใจ เสียใจอย่างสุดซึ้ง ! ในที่สุดถึงกับพากันไปเฝ้าสมเด็จพระกกุสันโธพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า “ข้าพระบาททั้งหลายจักได้อาหาร และจักพ้นจากภาวะความเป็นเปรตนี้เมื่อไหร่หนอ ? พระเจ้าข้า” พระพุทธองค์จึงมีพุทธฎีกา ตรัสว่า “ในศาสนาของเรานี้ ท่านจักยังไม่พ้นก่อน ! ต่อเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้วนานแสนนาน แผ่นดินสูงขึ้น ๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าทรงข้ามพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสารอย่างสง่างาม พระนามว่า “โกนาคมน์” จักมาตรัสรู้ในโลกนี้ ขอท่านทั้งหลายจงคอยเข้าไปถาม พระโกนาคมน์ นั้นเถิด” </p><p> ครั้นศาสนาแห่งพระกกุสันโธ เสื่อมสิ้นไปจากโลกนี้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมน์ก็อุบัติขึ้นในโลก เปรตทั้งหลายเหล่านั้นจึงเข้าไปทูลถามพระองค์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาจึงพุทธฎีกาตรัสว่า “แม้ในศาสนาของเรานี้ ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นจากเปรตวิสัย ต่อเมื่อเรานิพพานไปแล้วแผ่นดินสูงขึ้น ๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าพระนามว่า “กัสสโป” จักมาตรัสรู้ในโลกนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงอดใจรอ คอยถามพระกัสสโปนั้นเถิด”เปรตทั้งหลาย ! ก็อดกลั้นเสีย ซึ่งความอยากพยายามอดทน ต่อความลำบากหิวโหยอยู่ตลอดกาลนาน จนกระทั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “กัสสโป” มาเสด็จอุบัติตรัสรู้ในโลกนี้ จึงพากันเข้าไปเฝ้าทูลถามพระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาตรัสบอกว่า “แม้ในศาสนาของเรานี้ ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นจากเปรตวิสัย ยังไม่ได้รับส่วนบุญ ต่อเมื่อเราเข้าสู่นิพพานแล้ว แผ่นดินสูงขึ้นได้ ๑ โยชน์ จักมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระสมณโคดม” บรมโลกุตมาจารย์ผู้ยังชนให้ชื่นชมยินดี มาตรัสรู้ในโลก ในครั้งนั้นจักมีขิตติยาธิบดี ผู้เป็นญาติเก่าของท่านทั้งหลายพระนามว่า “พิมพิสาร” จะถวายทานแล้วอุทิศส่วนกุศลแผ่บุญทานให้แก่ท่านๆ ก็จะพ้นจากเปรตวิสัยแลจักได้บริโภคอาหารในกาลครั้งนั้น” ครั้นสมเด็จพระกัสสปทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ เปรตทั้งหลายเหล่านั้นก็กระหยิ่มยิ้มย่อง ดีเนื้อดีใจราวกับว่าตนจะได้ในวันพรุ่ง ยับยั้งอยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง </p><p> ครั้นถึงพุทธุปบาทกาลนี้พระสมณโคดมบรมครูของเรามาตรัสรู้ในโลก โปรดพระเจ้าพิมพิสารให้ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในอจลศรัทธา มีความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยแล้ว ท้าวเธอก็ทรงจัดแจงเครื่องบิณฑบาตถวายแด่พระพุทธองค์ พร้อมกับพระสงฆ์แล้ว ก็หาได้ทรงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไม่ เพราะขัตติยาบดี มีพระทัยวุ่นวายไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ทรงครุ่นคิดอยู่เพียงว่า จะก่อสร้างพระคันธกุฎีถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงคุณอันล้ำเลิศประเสริฐสุดได้อย่างไร ? เป็นเหตุให้ทรงลืมที่จะแผ่ส่วนพระราชกุศลปรทัตตูชีวีเปรตพวกนั้นมารอตั้งนานแล้ว เพราะพุทธดำรัสแห่งพระกัสสปสัมพุทธเจ้า ยังก้องอยู่ในโสตแห่งตนว่าจะพ้นเปรตวิสัย ! ได้บริโภคข้าวปลาอาหารในสมัยที่พระเจ้าพิมพิสาร ทำกุศลทานในศาสนาของพระสมณโคดมของเรานี้ จึงต่างก็หวังอยู่เต็มที่ดีเนื้อดีใจว่า“เวลาวันนี้จักได้ส่วนบุญ” จึงพากันมาคอยอยู่โดนรอบพระราชนิเวศน์ เพื่อจะคอยอนุโมทนาส่วนกุศล ครั้นเห็นพระองค์ทรงเฉย ไม่อุทิศให้แต่ประการใดก็เศร้าใจยิ่งนัก ผิดหวังไม่สมความคิดที่รอมานานนักหนา ! ในเวลากลางคืนจึงพากันร้องโอดโอย สำแดงอาหารหิวโหยด้วยสำเนียงเปรตให้ได้ยินเฉพาะแต่องค์พิมพิสารราชา เมื่อพระองค์ได้สดับเสียงเปรตก็ทรงสะดุ้งจิตตกพระทัยเป็นกำลัง รุ่งเช้าจึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าพระบาทได้สดับเสียงอันดังพิลึกพิลั่นน่าสยดสยองดังนี้ เหตุผลจะมีดังฤา” </p><p>“ดูกรบพิตร ! พระราชสมภาร อย่าได้ทรงกลัวเลย ลามกอันใดอันหนึ่งจะได้บังเกิดแก่พระองค์นั้นหามิได้ สำเนียงที่ทรงสดับนั้นเป็นเสียงฝูงเปรตผู้เป็นญาติของพระองค์ อดอยากมาช้านาน มาคอยรับส่วนกุศลอันบพิตรพระราชสมภารบำเพ็ญแล้ว อุทิศให้ ครั้นมิได้รับส่วนกุศลสมดังที่ตนปรารถนา จึงมาร้องทวงเอาด้วยเสียงอันดัง” ครั้นได้ทรงสดับพระพุทธฎีกาดังนี้ องค์ขัตติยาธิบดีจึงทูลเกล้าถวายน้ำทักขิโณทก แล้วอุทิศส่วนกุศลว่า “อิทํ โน ญาตีนํ โหตุ ขอผลทานทั้งหลายเหล่านี้จงสำเร็จแก่ปวงญาติทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด” </p><p> สระโบกขรณีเดียรดาษ ด้วยปทุมชาติทั้งหลายก็ปรากฏเกิดขึ้นแก่เหล่าเปรต ในขณะมาตรว่าพระองค์ออกพระโอษฐ์อุทิศจบลง เปรตทั้งหลายต่างก็ดีใจพากันลงอาบดื่มกินน้ำในสระโบกขรณี สรีระเนื้อตัวมีสีดังทอง ความหิวกระหายระงับไปหมดสิ้น สมเด็จพระภูมินทร์จึงถวายข้าวยาคู ข้าวสวย และสรรพาหาร แล้วอุทิศให้ โภชนาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรตทั้งหลาย ต่อมาเมื่อขัตติยาบดีถวายผ้าเสนาสนะคันธกุฎี แล้วทรงอุทิศให้ ผ้าทิพย์และวิมาน ก็บังเกิดขึ้นแก่เขา ตามจำนวนวัตถุทานที่ทรงอุทิศ </p><p>เมื่อได้อนุโมทนาด้วยกุศลจิต อันเป็นส่วนหนึ่งของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (มีทาน ศีล ภาวนา และการอ่อนน้อม การช่วยขวนขวายในบุญ การให้ส่วนบุญ การอนุโมทนา การฟังธรรม การแสดงธรรม การทำความเห็นให้ตรง) เกิดเป็นปัตตานุโมทนามัย คือ บุญกุศลอันเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญที่คนอื่นทำแล้วอุทิศให้แก่ตน เปรตทั้งหลายก็พ้นจากเปรตวิสัยภูมิโลกเปรต เปลี่ยนเพศไปบังเกิดเป็นเทพบุตร เสวยสุขสำราญรื่นเริงยิ่งนักในสรวงสวรรค์ ผลบุญจะสำเร็จแก่เขา คือ ๑. ทานที่พวกญาติทั้งหลาย และหมู่มิตรในมนุษย์โลกนี้ บำเพ็ญทานโดยถวายแด่ท่านผู้มีศีล ถวายแด่สงฆ์ โดยไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเรียกว่า “สังฆทาน” ๒. ครั้นเขาถวายแล้ว ต้องอุทิศกุศลให้เปรต ๓. เปรตตนนั้นต้องมาคอยรับส่วนบุญกุศล แล้วมีจิตอนุโมทนา ผลบุญจึงสำเร็จแก่พวกปรทัตตูปชีวีเปรต</p><p></p>