สรุปบรรยายความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM) 13/2/2561


                               วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

                             บทสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

     จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการความรู้ (KM)

                                     ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

 

ประธาน : ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม

เลขา: สายฝน อินศรีชื่น

         

          วิทยาลัยบรมราชชนนี แพร่ ได้จัดโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการความรู้ (KM)

โดยมีรายละเอียดของเนื้อหาดังนี้

 

  • สรุปสาระจากการบรรยายความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้

KM คืออะไร?

 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นการนำเอาความรู้ ๒ ประเภท คือเกร็ดความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน (Tacit knowledge) และแก่นความรู้ (Explicit knowledge) นำไปปรับใช้ ให้เข้ากับบริบทขององค์กร โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งในขั้นตอนนี้ทำให้เกิดการทวนสอบตนเอง ทำให้เห็นความรู้แฝงในตนเอง และรู้เห็นคุณค่าของกันและกัน ทำให้เกิดการเติบโตของการเรียนรู้ที่งดงามตามแบบเราเอง

 

KM สำคัญยังไง?

   เพราะองค์กรให้คุณค่าในการทำงานมากกว่าการทำงานตามหน้าที่ มองถึงว่ามากกว่าความรู้คือการจัดการตนเอง  เห็นคุณค่าของการจัดการเรียนรู้ ที่แสดงให้เห็นถึงความรู้แฝงในแต่ละคน การได้เรียนรู้ แบ่งปัน เป็นการเปิดประตูแห่งการเรียนรู้ ได้เห็นคุณค่าของกันและกัน เกิดเป็นความความรู้ใหม่ที่อยู่ในวิถีการจัดการความรู้จึงเปรียบเหมือนการจัดการความสัมพันธ์ จึงมีคุณค่าในการเสริมพลังส่งผลต่อการขับเคลื่อนในองค์กร

 

เครื่องมือและกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • Story Telling
  • ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (COP)
  • การหมุนงานทีมงาน
  • ข้ามสายงาน
  • ระบบพี่เลี้ยง
  • สัมมนาเรื่องความรู้ต่างๆ (Knowledge Forum)
  • IQCS

 แนวคิด TUNA Model โดยการแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

           ส่วนหัวปลา = เป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Vision: KV) เป็นการตอบคำถามว่า KM ไปทำไม? เพื่ออะไร?

           ส่วนตัวปลา = เป็นการเน้นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน (Knowledge Share: KS) ซึ่งต้องมีความเป็นกันเอง ต้องรับฟังและชื่นชม ไม่มีรูปแบบ ไม่เป็นทางการ แต่ต้องอยู่ในประเด็นซึ่งการแลกเปลี่ยนต้องทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อเข้าสู่การปฏิบัติที่ต้องการ แสดงให้เห็นว่าเจ้าของความรู้นั้นต้องสกัดเอาความรู้หรือการสรุปความคิดของตนออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนไม่ใช่การพูดคุยไปเรื่อยๆโดยไร้ประเด็น และต้องเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแท้จริง

          ส่วนหางปลา = เป็นคลังความรู้ (Knowledge Assets: KS) รวบรวมความรู้ไว้อย่างเป็นระบบ ทำให้การเผยแพร่ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แนวคิดเกลียวความรู้ SECI โดย Ikujiro Nonaka 

กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge Conversion) ระหว่าง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ โดยจะหมุนเกลียวไปอย่างไม่สิ้นสุด (Knowledge spiral) โดยเกลียวความรู้จะมีองค์ประกอบได้แก่

Socialization เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของผู้ที่สื่อสาร ถือเป็นการแบ่งปันและสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge

Externalization เป็นการแบ่งปันความรู้มาเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร ถือเป็นการแบ่งปันจาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

Combination เป็นการนำความรู้ที่เป็นแก่นความรู้มารวบรวมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ถือเป็นการแบ่งปันจาก Explicit Knowledge เปลี่ยนแปลงเป็น Explicit Knowledge

Internalization เป็นการนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติ ถือเป็นการแปลง Explicit Knowledge เป็น Tacit Knowledge

 

แนวคิดองค์กรการเรียนรู้ ตามวินัย ๕ ข้อ ของ Peter Senge โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้

ระดับองค์กร

  • มีเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Share Vision)

ระดับกลุ่ม

  • การเรียนรู้ภายในทีมร่วมกัน (Team Learning)

ระดับปัจเจก

  • การมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง (Personal Mastery)
  • การรู้จักสร้างรูปแบบของความคิด (Mental Model)
  • การคิดอย่างมีระบบ ไม่ยึดติด มองหลายด้าน (Systems Thinking)

 

 

          

หมายเลขบันทึก: 644814เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2018 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2019 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท