การเรียนรู้ข้ามสาขา เชื่อมโยงกับภาคีหุ้นส่วน



ในการประชุมสภา มช. เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๑ มีการเสนอ โครงการต้นแบบผลิตบัณฑิตข้ามสาขา ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทางวิศวกรรมการเงิน (financial engineering)  เสนอโดยคณะบริหารธุรกิจ (รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร คณบดี)  

เป็นการนำ นศ. สาขาการเงิน (คณะบริหารธุรกิจ) กับ นศ. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์) มาเรียนด้วยกัน  เพื่อทำโจทย์โครงงานจากธนาคารไทยพาณิชย์ ด้าน

  • การนำ blockchain มาใช้กับเอกสารสำคัญของธนาคาร
  • การนำ machine learning มาวิเคราะห์รายงานทางการเงิน
  • การพัฒนา mobile application เพื่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลสำหรับลูกค่าของธนาคาร 

เป็น IPE (Inter-Professional Education) รูปแบบหนึ่ง ในโลกยุคดิจิตัล    โดยนักศึกษาสามารถเลือกโครงงานเพื่อปูทางสู่อนาคตการประกอบอาชีพของตนได้ ๓ ทางคือ

  • เพื่อต่อยอดผลงานสู่การจัดตั้งบริษัท start-up
  • เพื่อนำไปประกอบอาชีพแบบ freelance
  • เพื่อปูทางสู่การเป็นพนักงานธนาคาร   

จะเห็นว่า การเรียนรู้ข้ามสาขาในกรณีนี้อาศัยพื้นที่การทำงานร่วมกันในธุรกิจการธนาคารเป็นพื้นที่ร่วมเรียนรู้    ซึ่งมองมุมหนึ่ง นี่คือกิจกรรมเชื่อมโยงหุ้นส่วนสังคม (social engagement)     และอาจอาศัยตัวอย่างนี้ไปคิดพัฒนาหุ้นส่วนภาคธุรกิจและภาคอื่นๆ สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ของนักศึกษาสาขาอื่นๆ ได้มากมาย     

หากมหาวิทยาลัยต้องการขยายกิจกรรมทำนองนี้ออกไปยังการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาอื่นๆ    และร่วมมือกับหุ้นส่วนใน sector อื่นๆ    มหาวิทยาลัยควรจัดตั้งหน่วยเชื่อมโยงหุ้นส่วนสังคม (ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า PEU – Public engagement Unit) ดังเสนอในบันทึก (๑)

วิจารณ์ พานิช

๒๗ มกราคม ๒๕๖๑

  

หมายเลขบันทึก: 644771เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2018 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2018 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Big Data, (deep) AI, and 24hr Apps (like Blockchain) all need intensive computing power - supercomputers.

Time to train our IT professionals and managers upto this level before 2020.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท