อานาปานสติ จตุกกะที่ ๔


             

จตุกกะที่ ๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน

(ตั้งแต่การเห็นอนิจจังโยประจักษ์ จนถึง การเห็นความสลัดคือสังขารออกไป)

            บัดนี้มาถึงการปฏิบติในอานาปานสติ จตุกกะทีสี่ ซึ่งกล่วถึงอานาปานสติ อีก ๔ ขั้น เป็ลำดับไปคือ

            ชั้นที่ ๑๓ การตามเห็น ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า-ออก ๑

            ขั้นที่ ๑๔ การตามเห็น ความจางคลาย อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า-ออก ๑

            ขั้นที่ ๑๕ การตามเห็น ความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า-ออก ๑

            ขั้นที่ ๑๖ การตามเห็น ความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า-ออก ๑

ในจตุกกะที่สี่นี้ มีส่งิที่จะต้องนใจเป็นสิ่งแรก คือท่านได้กล่าวถึงธรรม ๔ อย่าง คือ อนิจจัง วิราคะ นิโรธะ และปฏินิสสัคคะ ซึ่งเห็นได้ว่า ไม่มี อานาปานสติ จตุกกะที่สี่นี้ ดดยใจความเป็วิปัสสนาเหรือเป้ฯปัญญาล้วน ไม่เหมือนกับทุกข้อที่แล้วมา ซึ่งเป็นสมถะบ้าง เป็นสมถะเจือกันกับวิปัสสนาบ้าง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติอานาปานสติแห่งจตุกกะนี้ จึงมีการกำหนดธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ทำให้ได้นามว่าเป้นหมวดธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน

             อานาปานสติ ขั้นที่ ๑๓ (การตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่เปผ้นประจำ)

             “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาวา เราเป็นผุ้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจจานุปัสสี) จักหายใจเข้า ดังนี้ อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผุ้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยวอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก”

            “ผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยุ่เป็นประจำ หรือ อนิจจานุปัสสี” สังขารทั้งผวงคือสิ่งที่ไม่เที่ยง การเกิดขึ้น ตั้งอยุ ดับไปค่อภาวะแห่งความไม่เที่ยง การใช้สติคอยตามกำหนดภาวะแหงความไม่เที่ยงนั้น คือนิจจานุปัสสนาหรือการตามเห้นซึ่งความไม่เที่ยง บุคลที่ทำเล่นน้นอยุ่ทุกลาหายใจเข้า-ออก ชื่อว่า “อนิจจานุปัสสี” คือผุ้ตามเห็นซึงความไม่เที่ยงอยุ่เป็นประจำ ดังนี้

             สิ่งไม่เที่ยง คือสังขารทั้งปวงคือสิงที่ไมเที่ยง ในการเจริญอานาปานสติขั้นนี้ ท่านนิยมตอบเป็นหลักว่า ขั้นธ์ทั้งห้า อายตนะภายในหก และ อาการสิบสองแห่งปฎิจจสมุปบาท คือสิ่งที่ไม่เทียง โดยที่ท่านมุ่งหลายจะให้หยิบเอาธรรมเหล่านั้น ขึ้นมาพิจารณาแต่ละอย่างเป็นเป็นหมวดๆ ไปที่ละหมวดนั่นเอง...

           ... กล่าวคื อเมื่อตาเห็นรูปเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึนเป็นลำดับไปนั้น ถ้าแยกพิจารณาเป็น ๓ ฝ่าย คือ ๑.อารมณ์ หรือายตนะภายนอก “รูป” ๒ ผู้สัมผัสอารมณ์ หรืออายตนะภายใน “ตา” ๓ อาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน อาการที่ทำให้เกิดจักขุวิญญาณเกิดชขึ้น อาการที่สัมผัสกันระหว่างสิ่งทั้ง ๓ นี้ ที่เรียกว่า “จักขุสัมผัส” ซึ่งทำให้เกิด “เวทนา” ขั้นเป็น “จักขุสัมผัสสชาเวทนา” และอาการที่เวทนาปรุงแต่งให้เกิดสัญญา สัญเจตนา วิตก วิจาร เป็นต้น เป็นลำดับไปจนกระทั่งถึงการทำกรรม และการรับผลของกรรม เป็นความทุกข์นานาชนิด เหล่านี้ก็จะต้องพิจารณาให้เห็นว่าทุกๆ อาการ กๆ ขั้น ทุกๆ ตอน ก็ล้วนแต่มีความไม่เที่ยง

         ... ลักษณะหรือภาวะแห่งความไม่เที่ยง พร้อมทั้งแนวทางพิจารณา ลักษณะหรือภาวะแห่งความไม่เที่ยง มีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ มีความเกิดขึ้นปรากฎ มีความเสื่อมปรากฏ มีความดับลงปรากฎรยวมกันเป็น ๓ อย่าง ดังบาลีกล่าวว่า “สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นและเสื่อไปเป็นธรรมดา ครั้งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป” ข้อนี้ตรงตามความหาของคำว่าไม่เที่ยง คือไม่ได้อยุ่ในภาวะอยางใดอย่างหนึ่งแต่อย่างเดียวตลอดไป แต่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมหมายคึวามว่าต้องมีการเกิดและการดับ ถ้าไม่มีการดับ การเปลี่ยนไปเกิดมีอย่างใหม่ ก็มีไม่ได้ ฉะนั้นคำว่าเปลี่ยนแปลงจึงหมายึถงการเกิดแล้วดับลงเพื่อเกิดใหม่รูปอื่นที่ไม่สิ้นสุด...

       ... วิธีพิจารณาให้เห็นความไม่เทียง ทำด้เป็นขั้นๆ ตื้นลักกว่ากันตามลำดับ ในขั้นแรกที่สุดคือดูความไม่เที่ยงของสังขารทั้งกลุ่ม เป็นกลุ่มๆ เรพาะดูงายเช่นดุเบญจขันธ์ที่คุกกันแล้วถูกสมมติว่าเป็นสัตว์หรือคนๆ หนึ่งก็จะเห็นได้ง่ายๆ ว่ามีการเกิดขึ้นมาเป็นเด็ก แล้วค่อยเจริญเติบโตจนชราและตายไป หรือย่อยไปกว่านั้น ก็ด้วยการแบ่งอายุของคนออกเป็น ๓ วัย คือปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย แล้วพิจารณาดูเฉพาะว่า ในวัยหนึ่งๆ ก้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างมากมาย...ซึ่งในส่วนลึกที่สุดหรือส่วนละเอียดที่สุดมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ในภาษาธรรมะเรียกว่าฝ่ยปรมัตถ์ เช่น “ขณะจิต” เป็นต้น กล่าวคือ สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะจิตนั้นเอง

            ..การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงที่แยบคายไปอีก คือ พิจารณาเห็นที่สิ่งต่างๆ ทุกสิ่งในโลก ไม่ว่าเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่ว่านอกกายหรือในกาย ทั้งหมดนั้น ล้วนขึ้นอยุ่กับจิตดวงใดดวงหนึ่งเพียงดวงเดียว คือดวงท่ำดฃลังทำหน้าที่สัมผัสรู้สึกต่อสิ่งนั้นอยุ่ จะเป็นทางตาหรือางหูก็ตาม หรือทางอื่นๆ นอกจากนั้นก็ตาม เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยุ่ในโลกนี้ในลักษณะอย่างไร ก็เพราะจิตได้รู้สึกต่อมัน ถ้าจิตไม่มี สิ่งต่างๆ ทั้งหมดก็เท่ากับไม่มี จึงเป็นอันกล่วได้ว่า เพราะจิตมี สิ่งเหล่านั้นจึงมี เพราะจิตเกิด(คือเกิดความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น) สิ่งเหล่านั้นจึงเกิด (ปรากฏต่อความรุ้สึก)พิจิตดับ สิ่งเหล่านั้นก็ดับ ก็มีค่าเท่ากับไม่มี...

            .. วิธีที่จะเห็น ความเป็นอนิจจังได้ลึกลงไปเป็นชั้นๆ คือเห็นความที่สิ่งต่างๆ รปะกอบอยุ่ด้วยเหตุปัจจัยเป็นชั้นๆ ความไม่เทียงหรือความเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ โดยตรง แต่มันมีอยุ่ที่เหตุปัจจัยที่ปรุงต่างสิ่งนั้นๆ ซึ่งล้วนแต่ไม่เที่ยงเพราะมีเหตุปัจจัยอื่น ซึ่งล้วนแต่ไมเที่ยงด้วยกัน ปรุงต่างมันอยู่อีกขั้นหนึ่ง

            ... สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลง เพราะมันตั้งอยุ่บนสิ่งอื่นๆ ที่เปลี่ยนแปลงเป็นขั้นๆ การเห็นอนิจจังโดยทำนองนี้มีความมหายกว้างขวาง ถึงกับทำให้เห็นทุกขัง และอนัตตาได้ พร้อมกันไปในตัวนี้ทางหนึ่ง...

            ... สังขารแต่ละอย่างๆ เป็นสิ่งทีประกอบขึ้นด้วยของหลายสิ่ง ซึ่งแต่ละสิ่งๆ อาจจแยกลงเป็นส่วนย่อยได้เรื่อยไป จนกระทั่งเป็นของว่างเปล่า หากแต่ว่าในขณะนั้นๆ มันมีการบังเอิญหรือการเกี่ยวข้องกันอย่างเหมาะสมเท่านั้น มันจึงแสดงอาการออการาวกะว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นของน่ารักน่าพอใจ เมื่อใดอาการที่มันเกี่ยวข้องกันนั้นแปรรูปไปในทางอื่น การเผอิญอย่างสบเหมาะที่แล้วมาก็สลายลงทันที ขอให้ตั้งข้อสังเกตตรงที่ว่า อาการที่ของหลายอย่งเช้ามาเกี่ยวข้องกันนั้นมันจะเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวะไปไม่ได้...

           ... การพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยวงโดยทั่วๆ ไปนั้น คือการพิจารณาให้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสิ่งที้งปวง แต่การที่จะส่งจิตไปยังสิ่งทั้งปวงแล้วใคร่ครวญดุตามเหตุผล หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกันอยู่กับสิ่งหล่านั้นแล้วลงสันนิษฐานว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ ไม่เป็นที่ประสงค์ในที่นี้ เพราะเป็นเรื่องของนักคิด หรือนักใชเหตุผล ไม่ใช่เรืองของการเจริญภาวนา..

         ...การพิจารณาตามทางของการเจริญภาวนา ต้องเป็นการน้อมเข้ามาในภายใน คือการเพ่งดูสิ่งต่างๆ ที่กำลังมีอยุ่ในภายใน ซึ่งตนได้ทำให้ปรากฏหรือได้ทำให้เกิดขึ้นภายในจริงๆ แล้วจึงดูความผันแปรที่ปรากฎอยุ่ที่สิ่งนั้นๆ และที่ปรากฏอยู่แก่ใจของตนเองพร้อมกันไปในตัวด้วย และทั้งหมดต้องเป็นปัจจุบัน คือเป็นสิ่งเฉพาะหน้าก่อน แล้วจึงค่อยกล่ายเป็นอดีต หรือน้อมไปเพื่อเทียบเคียงอนาคต ด้วยการมองให้เห็นว่า ปัจจุบันที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ คือสิ่งที่เคยเป็นอนาคตเมื่อตะกี้ เมื่อทำอยู่ดังนี้ ก็จะเข้าถึงตัวความไม่เทียง

       แม้ในการพิจารณา ขันธ์ที่เป็นนามธรรม เช่นเวทนาเป็นต้น ก็มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน คือต้องทำเวทนาให้ปรากฎแก่ใจจริงๆ ขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เช่น ทำสมาธิจนเกิดปีติและความสุขซึ่งเป็นตัวเวทนาขึ้นมา แล้วจึงสอดส่องพิจาณราให้เห็นลักษระของความไม่เที่ยงและมูลเหตุต่างๆ ทีทำให้เกิดความไม่เทียง ตามนับที่กล่าวมาแล้ว...

        จะพิจารณาสิ่งใดต้องทำตัวสิ่งนั้นให้ปรากฏขึ้นมาให้ได้ก่อน แล้วจึงมองดูที่สิ่งนั้นด้วยจิตอันเป็นสมาธิ...

        ... การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแต่เพียงว่า “อนิจจานุปสสี” สั้นๆ ล้วนๆ เพียงเท่านี้ แต่ใจความบ่งออกไปได้เองว่า เห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งปวง...

              อานาปานสติ ขั้นที่ ๑๔ ( การตามเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำ)

              “ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป้นผุ้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผุ้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยุ่เป็นประจำจักหายใจออก ดังนี้”

            ความจางคลายเรียกโดยบาลีว่า “วิราคะ” คือปราศจากเครื่องย้อม อันได้แก่ความกำหนัด ความจางคลายของความยึดมั่นถือมั่น และความสำคัญผิดอื่นๆ ที่ทำให้หลงรักหลงพอใจอย่างหนึ่ง และหลงเกลียดชังอีอย่างหนึ่งเป็นอันว่าวิราคะในที่นี้ หาได้หมายถึงอริยมรรคโดยตรงแต่อย่างเดียว เหมือนในบางแห่งไม่ แต่คือการทำกิเลสให้ขาดออก หรือหน่ายออกโดยอาการอย่างเดียวกันกับอรยมรรคทำลายกิเลสนั่นเอง และมุ่งหมายถึง อาการที่จางคลาย ยิ่งกว่าที่จะมุ่งหมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องทำความจางคลาย..ความจางคลายเกิดข้นได้เพราะการเห็นอนิจจัง โดยวิธีในอานาปานสติขั้นที ๑๓

           เมื่อกล่าวรวบรัดตมแบบของอานาปานสติ ท่าแนะให้หยิบเอาลมหายใจซึ่งหมวดกาย ปีติและสุขซึ่งเป็นหมวดเวทนา องค์ฌานและความคิดนึกต่างๆ ซึ่งเป็นหมวดจิต ขึ้นมาพิจารณาเพื่อเห็นความไม่เที่ยง จนกระทั่งเกิดความจางคลายโดยอาการอย่างเดียวกัน โดยหลักเกณฑ์นี้ผุ้ปฏิบัติจะต้องทำอานาปานสติทุกขั้นเริ่มต้นมาใหม่ และพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นและอาจจะพิจารณาได้ เพื่อเห็นความไม่เที่ยง เพื่อเกิดความจางคลายดังที่กล่าวแล้ว...สิ่งอันเป็นที่ตั้งของกิเลสทั้งหมดทั้งสิ้น ย่อมรวมจุดอยู่ที่เวทนา คือ สุขเวทนาที่ทำให้รัก และทุกขเวทนาทีทำให้เกลียด สองอย่างนี้เป็นปัญญาใหญ่ของความมีทุกข์ การแก้ปัญหาที่จุนี้จึงเป็นการเพียงพอ ถ้าเห็น่าน้อยไป ก็ควรจะขยายออกไป อย่างมากเพียง ๓ อย่างคือ กาย อันได้แก่ลมหายใจ เป็นต้นอย่างหนึ่ง และจิต เช่นวิตกหรือตัวจิตเอง ที่กำลังอยู่ในภาวะอย่างนั้นอย่างนี้เป็นต้น 

          ข้อสำคญอยู่ที่ต้องเป็นการกระทำด้วยจิตที่เป็นสมาธิ โดยการเพ่งของปัญญาที่เพียงพอ คือเพ่งไปในลักษณะ ที่เรียกว่า ลักขณูปฌิชฌาน จนลักษณะอนิจจังปรากฏมีอาการของอุทยัพพญาณ และภังคุญาณเป็นต้น...

              อานาปานสติ ขั้นที่ ๑๕ (การตามเห็นความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ)

              “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือยุ่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้

               ความดับไม่เหลือ หมายึถงความตรงกันข้ามต่อความมีอยุ่ การดับไม่เหลือแห่งสิ่งที่เป็นทุกข์ หรือแห่งสิ่งที่มีการเกิด อันเป็นทีตั้งของความทุกข์ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ๓ ประเภทและมีรายละเอียด เท่าที่ยกมาเป็นตัวอย่าง แต่ละประเภทคือ ขันธ์ ๕  อายตนะภายใน ๖ และอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒

             ผู้ปฏิบัติจะต้องพิจารณาให้เห็นโทษของความมีอยุ่แห่งสิ่งเหล่านี้ก่อนโดยประจักษ์ แล้วจิตก็จะน้อมไปพอใจในคุณของความที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้ แล้วเพ่งอยู่ที่ “คุณ” ของความไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ทุกลมหายใจ เข้า-ออก จนกระทั่งจิตน้อมไปสูความดับไม่เหลือของสิ่งเหล่านี้ได้ โดยสิ้นเชิง อย่างที่เรียกว่า ปลงคามเชื่อลงไปได้จนหมดสิ้นในความเปนอยางนี้และทำไปด้วยจิตที่เป็นสมาธิเพียงพอ...”การทำความดับ” จ้ะองทราบก่อนว่า สิ่งนั้นๆ ย่อมดับไปด้วยอำนาจการดับของเหตุปัจจัย ซึ่งปรุงแต่งสิ่งเหล่านั้นและด้วยอำนาจกาเรกิดขึ้นของสิ่งตรงกันข้าสิ่งที่เรียกว่าเหตุปัจจัยนั้น แยกออกได้แป็น “นิทาน” เป็นที่ให้เกิดผลเป็นสิ่งนั้นๆ ขึ้นมา ดั่งต้นไม้ที่ให้ผล ให้ดอก, “สมุทัย คือสิ่งที่เป็นที่ตั้งอาศัยของสิ่งอื่น เพื่อความมีอยู่ได้ หรือตั้งอยู่ได้ ดั่งแผ่นดินที่เป็นที่อาศยของต้นไม้, “ชาติ” แปลว่า การเกิด ถ้าเป็นต้นไม่ย่อมหมายถึง การงอก ถ้ามีแผ่นดิน มีเมล็ด หรือปัจจัยอื่น แต่ไม่มีการ “งอก” งามแล้ว ต้นไม้ก็มีขึ้นไม่ได้ “อาหาร” สิ่งที่นำมาซึ่งความเจริญเติบโต “เหตุ” ต้นเหตุโดยตรงของสิ่งนั้น สิ่งที่เรียกว่าเหตุนั้นได้แก่เจตนาของคนใดคนหนึ่ง ที่ตั้งใจจะปลูกต้นไม้นั้น “ปัจจัย” สิ่งที่ช่วยเหลือในฐานะเป็นเครื่องอุปกรณ์ที่ตรงตามความต้องการของสิ่งนั้นๆ

            ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้ทราบความแตกต่าง ระหว่างความมหาของคำทั้งหมดนี้ให้อเป็นอย่างดี คือคำว่า นิทาน สมุทัย ชาติ อาหาร เหตุ และปัจจัย

             “ดับไปด้วยอำนาจของการเกิดขึ้นของสิ่งที่ตรงกันข้ามจากมัน” ได้แก่ ๑ การเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า ญาณ.. และการปรากฏขึ้นของกอาการแห่งความดับสนิท หรือของธรรมอันเป็นดับของสิ่งนั้นๆ

             ผู้ปฏิบัติอานาปานสติขึ้นนี้ จะได้นามว่า”นิโรธานุปัสสี”

            อานาปานสติ ขั้นที่ ๑๖ (การตามเห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ)

            “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผุ้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำจักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยุ่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้

           ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ สำหรับส่งิที่จะต้องสลัดคืนหมายถึงทั้ง  ประเภทกล่าวคื เบญจขันธ์  สฬายตนะ และ ปฏิจจสมุปบาทมีอาการสิบสอง เช่นเดียวกับในอานาปานสติที่ผ่านมา มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ การสลัดคืนซึ่งสิ่งนั้นออกไปโดยตรง หรือมีจิตน้อไปในนิพพานอันเป็นที่ดับสนิทแห่งสิ่งท้งหลายเหล่านั้น  การพิจารณาเบญขันธ์เป็นของว่างนั้น คือการสลัดเบญขันธ์ทิ้งไป การพิจารษรอายตนะภายในทั้งหก โดยความเป็นของว่าง ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันกับเรื่องของเบญจขันธ์ การพิจารณาอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท ดยความเป็นของว่างนั้นเป็นการพิจารณาให้เห็นว่า กลไกโดยอัตโนมัติของรูปธรรมและนามธรรม เมื่อรวมทั้ง ๓ เข้าด้วยกัน ก็เป็นอันกล่าวได้ว่าเป็นการสลัดคือนเสียงซึ่งโลกในฐานะเป็นอารมณ์และสลัดคือเสียซึ่งจิตในฐานะเป็นผุ้เสวยอารมณ์  

          อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ

หมายเลขบันทึก: 644652เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2018 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2018 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท