แฟรนไชส์” ต่างอย่างไรกับ “ธุรกิจไขอาชีพ” ???


แฟรนไชส์” ต่างอย่างไรกับ “ธุรกิจไขอาชีพ” ???

อรรถการ สัตยพาณิชย์

 

          มีสองคำที่สร้างความสับสนให้ผู้ที่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ไม่น้อย นั่นคือ คำว่า Business Opportunity กับ Franchise ความสับสนมีมากถึงขั้นที่ว่าธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม Business Opportunity แต่ผู้ประกอบการกลับโฆษณาว่าตนเองเป็นแฟรนไชส์

                จนดูเหมือนว่า “แฟรนไชส์” ได้กลายเป็นคำที่มีมนต์วิเศษ สามารถนำมาเรียกลูกค้าได้

                 แต่ความจริงแล้วทั้งสองคำมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง....

 

Business Opportunity เหมือน “ลุงขาวไขอาชีพ”

 

          อาจารย์พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ กูรูผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแฟรนไชส์ได้ไขข้อข้องใจความต่างระหว่าง Business Opportunity กับแฟรนไชส์ไว้ว่า

         “Business Opportunity เป็น ธุรกิจไขอาชีพ เหมือนกับลุงขาวไขอาชีพ จะเห็นชัด คุณมาเรียนทำขนมเบื้อง แล้วคุณก็ซื้อเครื่องมือไป แล้ววัตถุดิบคุณอาจจะหาที่อื่นก็ได้ คุณอาจจะเอาแบรนด์ลุงขาวไขอาชีพไปแปะ คุณทำได้ นี่คือลักษณะของการเรียนอาชีพ มันไม่มีในแง่ของ Knowhow Management คุณเรียนเรื่องกล้วยทอด ก็ทำกล้วยทอด แต่ไม่มี Process ให้ ไม่มีในแง่ของ Management เชิง Knowhow

         ยกตัวอย่าง Product Franchise เมืองไทยมี โจ๊กบางกอก นี่ใกล้เคียงหน่อย จะมีการลงทุนที่มีลักษณะใกล้เคียง Semi-Production มีเรื่องข้าว บางอย่างส่งมาให้ร้านสาขา โจ๊กบางกอกเป็นร้าน และจะมีการตกแต่งพอสมควร แต่ไม่มี Business Involve, Marketing Involve แต่ให้โปรดักต์ ให้แบรนด์โจ๊กบางกอกไป Opportunity คุณมาเรียนอย่างเดียว อย่างชายสี่ฯ ยังเข้าสู่ Business Opportunity มากกว่า”

            “ผมแยกให้เห็น คำว่า Business as Business ธุรกิจเชิงธุรกิจ กับ ธุรกิจเชิงอาชีพ ธุรกิจเหมือนกัน แต่ตัวหนึ่งแยกเป็นอาชีพ ตัวหนึ่งถูกออกแบบเป็นธุรกิจ ต่างกันที่ธุรกิจที่ออกแบบเป็นธุรกิจจะสามารถขยายสาขาออกไปได้ มันมีระบบควบคุมของมัน คุณใส่คนเข้าได้ ขยายเพิ่มพื้นที่ได้ ขยายธุรกิจได้ เอาพนักงานเสริมเข้าไปได้

           แต่มีอยู่เยอะที่ทำธุรกิจคล้ายอาชีพ ขายของอย่างไร เข้าขึ้นมาฉันก็ขายของอย่างนั้น จ้างลูกจ้างก็กลัวควบคุมไม่ได้ เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวขายหน้าปากซอยส่งลูกเรียนเมืองนอกได้ แต่กูต้องขายก๋วยเตี๋ยวอยู่อย่างนี้ มันไม่สามารถเป็นธุรกิจเชิงขยาย แต่เป็นธุรกิจเชิงเฉพาะตัว  แต่ธุรกิจเชิงขยายมันออกแบบตัวของมันเองให้เปิดสาขาเพิ่มได้ เอาพนักงานใส่เข้าไปได้ บางรายเอามานั่งเต๊ะท่าเก็บเงินอย่างเดียว แต่มันก็กลายเป็นธุรกิจขึ้นมา

           มีเจ้าหนึ่ง บะหมี่ปูพระราม 4 เดี๋ยวนี้เจ๊กแกนั่งเก็บเงินอย่างเดียว ให้ลูกๆ กับลูกน้องทำ อย่างนี้ยังพอเป็นธุรกิจ แต่ถ้าอาเจ๊กยังต้องเขย่าบะหมี่อยู่ ธุรกิจมันไม่ขยาย เพราะฉะนั้นพอเราจะออกแบบธุรกิจให้เป็นธุรกิจ จึงต้อง Investment มากกว่า เพราะคุณต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรเข้ามาใส่

           อย่างทำขนมไข่ สั่งเครื่องทำขนมไข่มาจากไต้หวัน แต่เดิมเป็นคนหยอดขนมไข่ขาย ต่อไปนี้มีเครื่องจักรและสูตรผสมของตัวเองเป็นเถ้าแก่ไปหาเปิดสาขา หาพื้นที่ขยายงานของตัวเอง ลูกน้องก็ทำไป รู้หมดว่าจะต้องขายได้เท่าไหร่ มีตัว Meter ตั้ง เงินจะต้องเก็บได้ตามโปรดักชั่น Business จึงต้องอาศัยอยู่สองเรื่องคือ ต้อง Design กับต้องใช้ Management เพราะฉะนั้นเวลาคนเอา Business Opportunity แล้วบอกว่ามันเป็นแฟรนไชส์ บางคนอยากได้แฟรนไชส์ แต่ซื้ออาชีพ ทำได้สักพักบอกไม่ใช่ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น”

       
       “ธุรกิจแฟรนไชส์ในอเมริกาถึงบอกว่า ต้องเป็นระบบที่มีการจ่ายผลตอบแทน มีการ allocate ในเรื่องของ Income allocation คือถ้ามันไม่มี ไม่ชื่อว่าระบบแฟรนไชส์ จะกลายเป็นระบบ Trading แต่คนไทยมีหลายคนที่บอกว่าแฟรนไชส์ฉันไม่เก็บค่า fee พอดีไซน์ผิดทฤษฎี ไม่ว่าจะเรื่อง Agency เรื่องของ Transaction Cost มันก็ไม่เกิด พวกนี้พอ 3 ปีนึกได้ ขยายธุรกิจก็ไม่ออก ประโยชน์ก็ไม่มีแล้วจะทำทำไม ก็เลยเลิกนี่คือพ้อยท์”

 

 

หมายเหตุ: เนื้อหาเรียบเรียงมาจากการสัมภาษณ์อาจารย์พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ตีพิมพ์ในนิตยสาร BrandAge Essential เล่ม Super SMEs พ.ศ.2552

 

หมายเลขบันทึก: 644395เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2018 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2018 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท