อาชญากรกลายพันธุ์ในเรือนจำ


การนำอาชญากรไม่ร้ายแรง (non-serious crimes) ไปขังรวมกับอาชญากรร้ายแรง (Serious criminals) ในเรือนจำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบถึงการกลายพันธ์ของอาชญากรในเรือนจำ........

การนำอาชญากรรายย่อย (minor criminals) หรือ ผู้กระทำความผิดคดีไม่ร้ายแรง หรือ อาชญากรคดีไม่ร้ายแรง ไปขังรวม กับอาชญากรรายใหญ่ (major criminals) หรือ อาชญากรร้ายแรง ในเรือนจำ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้อาชญากรไม่ร้ายแรง (non-serious crimes / non-violent criminals) ให้กลายพันธุ์เป็นอาชญากรร้ายแรง (Serious criminals) หรือ อาชญากรรายใหญ่ (major criminals) ในเรือนจำ ข้อมูลจากบทความ เรื่อง เรือนจำและทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Prison and The Social Learning Theory) โดย KIMBERLY KATHERYN CLEGG   พบเนื้อหาสาระที่สำคัญอย่างน้อย ๒ ประการ คือ  

- ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับการนำอาชญากรคดีไม่ร้ายแรง ไปขังรวมกับอาชญากรร้ายแรง ในเรือนจำ

การนำอาชญากรคดีไม่ร้ายแรง ไปขังรวม กับอาชญากรร้ายแรง ในเรือนจำ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้อาชญากรไม่ร้ายแรงกลายพันธุ์เป็นอาชญากรร้ายแรง ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมใหม่ ๆ ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ที่เชื่อว่า บุคคลจะทำหน้าที่ตามพฤติกรรมที่ได้เรียนรู้จากสภาพแวดล้อมและเพื่อนร่วมงาน อาชญากร (ผู้ต้องขัง) ที่ไม่มีความรุนแรงต้องเปลี่ยนวิถีการคิด และ พฤติกรรมเพื่อ “ให้เป็นที่ยอมรับ” เพื่อพูดคุยกับผู้ต้องขังที่มีความก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น การเริ่มที่จะเลียนแบบการกระทำ และ พฤติกรรมเบี่ยงเบน ที่พวกเขาเห็นว่าประสบความสำเร็จโดยเพื่อนอาชญากรที่มีความรุนแรง เพื่อที่จะได้รับ การยอมรับ และ คุ้มครองป้องกัน ที่พวกเขากำลังเผชิญกับสถานการณ์และพฤติกรรมในขั้นตอนการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งบางครั้งจะทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแนวโน้มที่จะความผิดทางอาญา ยิ่งพวกเขาสัมผัสกับสภาพแวดล้อมทางสังคมประเภทนี้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่พวกเขาจะเลือกลักษณะที่ผิดปกติ เหล่านี้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนอย่างถาวร

- ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับระยะเวลาที่ถูกคุมขังอาชญากรคดีไม่ร้ายแรง

 อาชญากร (ผู้ต้องขัง) คดีไม่ร้ายแรง ที่ถูกคุมขังในระยะเวลานานมีแนวโน้มที่จะเป็นสถาบันอาชญากรมากขึ้น เมื่อผู้ต้องขังเป็นสถาบันแล้วพวกเขาจะไม่สามารถทำงานตามปกติในสังคมได้อีกต่อไป พวกเขาสูญเสียทักษะการขัดเกลาทางสังคมที่เหมาะสม และ เผชิญความสามารถในการจัดการกับความเครียดและความกดดันที่พวกเขาพบเมื่อได้รับการปล่อยตัว หลายครั้งที่พวกเขาไม่สามารถหางานทำ หรือ หาสถานที่อื่นที่จะใช้ชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น พวกเขาจึงหันกลับไปหาอาชญากรรมในชีวิตเพราะเป็นสิ่งเดียวที่พวกเขารู้จัก จึงทำให้เป้นวงจรที่เลวร้ายสมบูรณ์ ในขณะที่ระยะเวลาการจำคุกที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียวดูเหมือนจะไม่ลดหรือขัดขวางพฤติกรรมทางอาญา การวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ ประกอบกับ การจำคุกระยะสั้นจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม มากกว่าการลงโทษเพียงอย่างเดียว

โดยสรุป

ประเด็นปัญหาการนำอาชญากร (ผู้ต้องขัง) คดีไม่ร้ายแรง ไปขังรวม กับอาชญากรร้ายแรงในเรือนจำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการกลายพันธ์ของอาชญากรในเรือนจำ จากอาชญากรคดีไม่ร้ายแรงกลายเป็นอาชญากรร้ายแรง ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ที่เชื่อว่า การขังรวมจะก่อให้เกิดพฤติกรรมเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมและเพื่อนอาชญากร ทำให้อาชญากรที่ไม่มีความรุนแรงต้องเปลี่ยนวิถีการคิด และ พฤติกรรมเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากอาชญากรที่มีความรุนแรงมากขึ้น เป็นการใช้ชีวิตอยู่ในท่ามกลางแนวโน้มที่จะความผิดทางอาญาเพิ่มอีก ยิ่งพวกเขาสัมผัสกับสภาพแวดล้อมทางสังคมประเภทนี้นานและมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่พวกเขาจะเลือกลักษณะที่ผิดปกติ  และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเป็นอาชญากรร้ายแรงอย่างถาวร รวมตลอดถึงการเพิ่มโทษอาชญากรคดีไม่ร้ายแรงให้ถูกคุมขังในระยะเวลานานยังมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสถาบันอาชญากรมากขึ้น อันเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในเรือนจำหลายประเทศ แม้กระทั้งสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนา รวมตลอดถึงประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย จึงเห็นว่ากรณีการกลายพันธ์ของอาชญากรในเรือนจำ ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ดังกล่าว เป็นประเด็นที่ผู้เกี่ยวในกระบวนการยุติธรรมควรสดับตรับฟัง และ ท้าทาย....


                         .....................


 


 

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์                                                                                                                                                                 

ประธานนักศึกษาปริญญาเอกนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน                                                                 

๔ มกราคม ๒๕๖๑

 

อ้างอิง ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://script.today/script2/newsDetail?id=42306 ดาวน์โหลด ณ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๐



หมายเลขบันทึก: 643778เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2018 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2018 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นประเด็นที่ดีมากเลยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท