เตรียมความรู้(๑): การตรวจสอบขอบเขตและเนื้อ


คนเราจะเดินทางไปไหน จะต้องมีเป้าหมาย เมื่อมีเป้าหมายแล้ว จะต้องหาหนทางที่จะเดินไป อีกทั้งจะต้องเตรียมเสบียงและอุปกรณ์ในการี่จะเดินทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

การสอบก็เช่นกัน ก่อนอื่นเมื่อตัดสินใจที่จะลงสนามแล้ว เราจะต้องรู้ขอบแขต และเนื้อหาที่ที่คณะกรรมการได้กำหนดเนื้อหาไว้ และวิธีการสอบทำอย่างไรบ้าง บางตำแหน่งสอบสัมภาษณ์อย่างเดียว แต่ตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้น เท่าที่ทราบ จะมีการสอบข้อเขียนด้วย หลังจากผ่านข้อเขียนแล้ว ถึงจะมีการสอบสัมภาษณ์อีกครั้งหนึง

ประเด็นที่ควรให้ความสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ... กรอบอำนาจหน้าที่และภารกิจตำแหน่งดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง พูดง่าย ๆ เขาจะเอาเราไปทำอะไร.... เพราะข้อสอบก็จะออกเกี่ยวข้องกัอำนาจหน้าที่และงานที่เราจะไปทำนั่นเอง

เมื่อรู้ขอบเขตและเนื้อหาแล้ว ก็ควรจะพิจารณาตนเองว่า เนื้อหาดังกล่าว มีวิชาใดบ้างที่เรามีพื้นฐานอยู่บาง และวิชาใดที่เราไม่ค่อยจะเข้าใจ จะนำไปสู่การจัดตารางดูหนังสือเพื่อเตรียมตัวต่อไป

ผู้เขียนเอง จะตรวจดูเนื้อหาวิชาและขอบเขตที่จะสอบว่ามีวิชาใดบ้าง ก็จะมาดูความรู้ตัวเองว่ามีความรู้แค่ไหนอย่างไร วิชาใดที่เรามีพื้นฐานแล้ว ก็จัดตารางดูหนังสือใช้เวลาน้อยหน่อย ส่วนวิชาใดที่เราไม่มีความรู้ ควรจะแบ่งเวลาให้มาก และจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

ผู้เขียนจะจัดตารางอ่านวิชาที่ยากในช่วงเช้า ๆ เพราะอากาศดี พักผ่อนมาแล้ว สมองจะปลอดโปร่งดังนั้น วิชาที่เราไม่มีพื้นฐานก็ควรจะจัดตารางอ่านในช่วงเช้า

สำหรับการอ่านนั้น หากเป็นวิชาที่เราไม่มีความรู้ ควรจะอ่านและคิดไปด้วยว่าจะนำมาปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ขณะที่อ่านควรจะพิจารณาไปด้วยว่า เนื้อหาดังกล่าวมีควาสำคัญพอที่จะนำไปออกสอบหรือไม่ หากนำไปเป็นข้อสอบจะออกแนวใด ถ้าออกมาเราจะทำข้อสอบได้แค่ไหน

การเขียนหนังสือ ผู้เขียนจะสอบตั้งคำถามไปในตัว ว่าง ๆ ก็จะตั้งคำถามในเรื่องที่อ่านแล้วมาเป็นข้อสอบ แล้วทำการฝึกทดลองตอบ จะทำให้มีความเข้าใจ และจำเนื้อหาได้พอสมควร ถ้าเรื่องใดดูแล้ว มีความสำคัญน่าจะมีโอกาสเป็นข้อสอบ ในเรื่องนั่นจะต้องฝึกตั้งคำถาม และฝึกตอบให้มาก ๆ เข้าไว้

การจัดตารางอ่านหนังสือ หากอ่านไปสักพัก เกิดมีความเบื่อหน่าย เราก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามความชอบใจก็ได้ เพื่อจะได้ปรับตัวไปตามความเหมาะสมอ่านแบบสบาย ๆ อย่าเครียดมาก ยื่งเครียด ยิ่งอ่านไม่เข้าใจ

เท่าที่ผ่านมา ผู้เขียนเข้าสอบทุกครั้ง มีข้อสอบที่ฝึกทำด้วยตนเอง จะมีอยู่ในข้อสอบ ๒ - ๓ ข้อ หากข้อสอบออกมา ๕ ข้อ จะมีข้อสอบที่เก็งไว้เข้ามา ๒ หรือ ๓ ข้อเสมอ ข้อสอบบางข้อ เป็นเรื่องที่เราทำงานอยู่ประจำ ก็ถือว่า..โชคดีไป

ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ...การบริหารความเสี่ยงในการทำข้อสอบก็คงจะต้องมี 

อย่างไรก็ตาม ก็อย่าลืมสอบถามรุ่นพี่ ๆ ที่เคยสอบว่าข้อสอบออกมาแนวใดบ้าง ...จะได้มีข้อมูลเบื้องต้น..

 

หมายเลขบันทึก: 643185เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2017 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2017 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท