พระวิสุทธิญาณเถร ( หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย )


            พระวิสุทธิญาณเถร ( หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ) อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เกิดเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๘ ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ต.จังหาร อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ดโยมบิดาชื่อ บุณ มติยาภัดิ์ โยมมารดาของท่านเป็นบุตรีของ คุณหลวงเสนา ผู้นำศาสนาพราหมณ์ในทองถิ่นนั้น

             ชีวิตปฐมวัย ท่าจ้องกำพร้าแม่ แต่วัยเยาว์ และมาเสียคุณตาผุ้เป็นหลักในกาลต่อมาอีก ท่านจึงต้องไปอาศัย อยู่กับญาติ ที่มีศักดิ์เป็นพี่ชาย แต่ต่อมาพี่สะใภ้ก็ถึงแก่กรรม ท่านก็ต้องรับภาระ เลี้ยงหลาน ๔-๕ คนตั้งแต่ท่านเองอายุได้เพียง ๑๔ ปีเศษ แต่ด้วยความขยัน อดทนเป็นเลิศ คุณความดีและบุญบารมี ที่สั่งสมมา แต่ปางก่อน ทำให้ท่านผ่านวิกฤติ แห่งชีวิตมาได้ แลด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในบวรพุทธศาสนา ที่บังเกิดในดวงจิตดวงใจ ท่านอย่างล้นพ้น เมื่อท่านอายุได้ ๑๙ ปี ได้เข้ามอบกายถวายตัว เป็นนาค กับท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม วัดป่าศรีไพรวัลย์ เมืองร้อยเอ็ด และต่อมาได้บรพชา เป็นสามเณรเ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ มิถุนา พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ อุโบสถวันเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีท่านเจ้คุณพระโพธิญาณมุนี เป็ฯพระอุปัชฌาย์

           ในระหว่างที่เป้ฯสามเณร ที่วัดศรีไพรวัลย์ ท่านได้ทราบกิตติศัพท์ว่า ท่านพรอาจารย์มั่นภูริทัตตเถระ เป็นพระอรหันต์ ผุ้หมดจดจากิเลส จึงทำให้สามเณรสมชายในครั้งนั้น มีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ใคร่ที่จะได้เห็นได้กรอบไหว้ ได้ศึกษาธรรมจากระอรหันต์

            เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่นได้กราบลาพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม เจ้าอาวาส ออกมุ่งหน้า สุ่สำนักหลวงปุ่มั่น ภูริทัตตเถระ

              ตามปกติผู้ที่จะเข้าไปสู่สำนักของหลวงปุ่มั่น จะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตใจ แลฝึกวินัย ข้อวัตรให้ชัดเจนก่อน โดยจะมีศิษย์ของท่านเป็นหน้าด่าน ก่อนจะผ่านเข้าไป ซึ่งสามาเณรสมชาย ในครั้งนั้นก็ได้รับเมตตาอบรม จากครู่อาจารย์กรรมฐาน เมื่อได้รับกาฝึกปฏิบัติแล้ว สามเณรสมชาย และคณะได้เดินทางไปยังสำนักบ้านหนอผือ ตำบลนาน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนครสถานพำนักของท่าน พระบุพาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ

            เมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระมีเมตตาให้ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์หลวงปู่ฟั่น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปุ่กงมา จิรปฺญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ฐิตวิริโย”

            เมื่ออุปสมบทแล้ว พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ได้พำนักจำพรรษาที่ว่าป่าภูธรพิทักษ์ สกลนคร ซึ่งมีท่านพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น เมื่อออกพรรรษ ธุดงค์จาริกไปที่ภูวัว จังหวัดหนองคาย สถานบำเพ็ยที่ช่วยหล่อหลอม คุณธรรม และกำลังใจแก่ท่านเป็นมาก

             เมื่อถึงฤดูกาลพรรษา ปี ๒๔๙๒ ท่านมาพักที่วัอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ซึ่งเป็นสภานที่ พ่อแม่ครูอาจารย์สร้างไว้ และเคยมาพำนัก พอออกพรรษา ก็รีไปกราบนมสการ หลวงปู่มั่น และอยู่ฟังธรรมะ จากท่านเป็นเวลาพอสมควร แล้ว กรอบลาออกหาสาถนที่บำเพ็ญภาวนาต่อไป ท่านจะปฏฺบัตเช่นนี้เสมอมา แต่การไปภาวนาตามสถานที่ต่างๆ ก็ไปตามคำแนะนำของครูอาจารย์ เมื่อครบกำหนดแล้ว ก็กลับมาหาครูอาจารย์ผุ้ปฏิบัติท่านถือกันมากเรื่องเคารพครูอาจารย์

            หลังจากสิ้นบุญหลวงปู่มั่น และถวายเพลิงสรระพระอาจารย์ใหญ่แล้ว ท่านได้พำนักศึกษา และปฏิบัติตามสำนักครูอาจารย์ ศิษย์สายหลวงปุ่มั่น จนเป็นที่รักเมตตาของครูอาจารย์ และเป็นที่เคารพ สรัทธาของศิษย์ เพิ่มพูนไพศาล ตลอดมา

            นอกจากออกจาริกธุดงค์ ในถิ่นอีสานแล้ว ท่านยังข้ามโขงไปเจรญกรรมฐานที่ฝั่รงประเทศลาวในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ได้จำพรรษษที่วัดจอมไตร เวียงจันทน์ ท่านได้ปลูกศรัทธา สร้างศาสนประโยชน์ไว้ จนเป็นที่เลื่อมใส ของชาวลาง เมื่ออกพรรษา ก็ธุดงค์ไปตามป่าเขากระทั่งภูเขาควาย ที่สูงสุดในประเทศลาว และกลับมจำพรรษาที่วันไตร และเดินทางกลับประเทศไทย ครั้งสมัยฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปี ๒๕๐๐

             ปี พ.ศ. ๒๐๐๔ พระอาจารย์ สมชาย ฐิตวิริโย พร้อมด้วยพระภิษุสามเณรจำนวน ๑๐ รูป จาริกมายังจังหวัดจนทบุรี มุ่งมาที่วัดเขาน้อยสามผาน อ.ท่าใหม่ ด้วยทราบว่า เป็นสำนักปฏิบัติที่มีชื่อเสียง แต่เนื่องจากสถานที่ มีจำกัดและหมู่คณะที่ติดตามมามากมาอยากแยกกัน แต่ด้วยธรรมะ จัดสรรและบุญบันดาลให้สาธุชน มานิมน์ท่าน และคณะไปจำพรรษาที่วัดเนินดินแดง ท่านจึงจำพรรษาที่วัดเนินดินแดง และนำศรัทาพัฒนาวัดนี้เป็นแห่งแรกในจันทบุรี

          ลุ ปี ๒๕๐๗ ชาวบ้าน ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี อารธานานิมนต์ไปเจริยพระพุทธมนต์และกราบนมัสการทานและคณะพระภิกษุสามเรร ให้ขึ้นมาพักบำเพ็ยที่เขาสุกิม เพราะเห็นว่เป็ฯสถานที่ เหมาะแก่การบำเพ็ย สมณธรม เมื่อท่านพิจารณาแล้ว เห็นสมควร จึงมาพำนกแสวงธรรม ณ เขาสุกิม โดยเริ่มแรก ก็ใช้วิธีปักกรดตามโคนไม่ เมื่อใกล้เข้าพรรษาสร้างกุฎิชั่วคราวและเสนาสนะที่จำเป็น ในที่สุดสาธุชนเลื่อมใสศรัทธา เข้ามาปฏิบัตธรรม บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เพิ่มมากขึ้น ทุกคนปรารถนา ที่จะให้มีการสร้างวัด อย่างถาวร ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป

           หลวงปู่สมชาย เข้ารับการรักษาโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ จนกระทั่งวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๑๕๔๘ ได้มรณภาพด้วยโรคไตวายเรื้อรัง สิริอายุ ๘๐ ปี ๕๙ พรรษา

http://www.dharma-gateway.com/...

https://th.wikipedia.org/wiki/...

หมายเลขบันทึก: 643094เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2017 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2017 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท