ปัญหาและแนวโน้วการพัฒนาหลักสูตร


           ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ตามที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาการศึกษาของประเทศไทย โดยดำเนินการตั้งแต่ปี 2557-2558 นั้น ขณะนี้ผลการวิเคราะห์ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นและรายงานผลมายัง สกศ. แล้ว โดยภาพรวมพบว่า ระบบการศึกษาของไทยยังพัฒนาไม่ถึงขีดที่จะสร้างคนไทยให้มีความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเมื่อพิจารณาด้านหลักสูตร พบว่า ประเทศไทยมีหลักสูตรที่ไม่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ทางการศึกษา โดยหลักัสูตรในอนาคตต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการสร้างคนเป็นแบบใด และวางหลักสูตรให้เป็นแบบนั้น รวมทั้งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ไม่ใช่ร่างขึ้นเอง และต้องมีข้อเสนอแนะให้แก่ครูด้วย ไม่ใช่เขียนแผนอย่างดี แต่ครูทำไม่เป็น และนำไปปฏิบัติจริงไม่ได้ ส่วนด้านการประเมินผลนักเรียน พบว่า ครูผู้สอนยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินผล ยังออกข้อสอบตามใจครูอยู่

          ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้  มีดังนี้

          1. ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสมั

          2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร

          3. ปัญหาการจัดอบรมครู

          4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน

          5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ 

          6. ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

          7. ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ

แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในอนาคต

          1. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้  (เครือข่ายวิชาการ  วิชาชีพ)

          2. พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development)

                   -  จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต

          3.  รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น  เช่น  หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ  หลักสูตรเฉพาะกิจ  หลักสูตรฝึกอบรม

          4.  เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น

          5.  มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ เช่น เวียตนาม  เขมร  ลาว  มลายู

          6.  มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น  การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม  ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็นนายเรา

          7.  หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด  การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  และความสามารถในการสื่อสาร  พัฒนาคนให้คิดกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้

          8.  ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล  นานาชาติ และของไทย  ต้องรู้เขารู้เรา

          9.  พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง 60 % ส่วนท้องถิ่น  40  %

          10. จัดการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา

          11. จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกทุกระดับ

          จากนโยบายการพัฒนาเยาวชนของชาติเขาสู่โลกยุค ศตวรรษที่21 ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า มี จุดเน้นคือ การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้าน เทคโนโลยีสามารถทา งานร่วมกับผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ จากข้อมูลดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มทบทวนหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้ความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการการกำหนดวิสัยทัศน์จุดหมาย สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน คุณลักษณะอัน พึงประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดอย่างชัดเจนเพื่อใช้เป็น ทิศทางการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้อย่างมีคุณภาพมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 642966เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2017 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2017 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท