ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร


ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร

          นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 ถึงปีพ.ศ. 2551 รวมเป็นเวลา 6 ปี ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย มาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายและมีกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อให้เป็นคนดีคนเก่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ในเวทีโลก พร้อมทั้งได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมใน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น [กระทรวงศึกษาธิการ 2551]

          ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้  มีดังนี้

          1. ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

          2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร

          3. ปัญหาการจัดอบรมครู

          4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน

          5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

         6. ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

          7. ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ

แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในอนาคต

          1. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ (เครือข่ายวิชาการ วิชาชีพ)

          2. พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) : จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต

          3. รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น เช่น หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตรเฉพาะกิจ หลักสูตรฝึกอบรม

          4. เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น

          5. มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ

          6. มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็นนายเรา

          7. หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และความสามารถในการสื่อสาร พัฒนาคนให้คิดกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้ 

          8. ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล นานาชาติ และของไทยต้องรู้เขารู้เรา

          9. พัฒนาหลักสูตรส่วนกลาง 60% ส่วนท้องถิ่น 40% 

          10. จัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา

          11. จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกทุกระดับ [http://www.l3nr.org/posts/408465]

          ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร พิจารณาได้จากข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่ถูกรวบรวมวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นชุดของจุดประสงค์การเรียนรู้ ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร และนำไปออกแบบหลักสูตร โดยการอธิบายเหตุผลของสาระความรู้ในหลักสูตร ที่มีเหตุผลประกอบหลักวิชาโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้อธิบายแนวโน้มของหลักสูตรได้

หมายเลขบันทึก: 642962เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2017 01:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2017 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนื้อหามีความน่าสนใจในการนำไปแก้ไขปัญหาการพัฒนาหลักสูตรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท