ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร


ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร
               การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากจนไม่นึกถึงการพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความกลัว ความเครียด จนไม่อยากจะเรียน จนบางครั้งนักเรียนนักศึกษาคิดว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้นอาจไม่สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน จนทำให้นักเรียนนักศึกษาคิดว่ามันหน้าเบื่อจนเกินไป อัดแน่นเนื้อหามากจนเกินไปโดยไม่คำนึงถึงความสนใจของนักเรียนนักศึกษาว่าอยากที่จะเรียนตรงตามหลักสูตรที่ถูกเขียนไว้หรือไม่ ในความคิดส่วนตัวผมคิดว่า การวางหลักสูตรตั้งแต่แรกเริ่มเข้าเรียน ควรจะวางแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่กระโดดข้าม เพราะบางครั้งการกระโดดข้ามเนื้อหาบางวิชาอ่านส่งผลต่อเด็กนักเรียนนักศึกษาต่อๆไป เช่น ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาขาดคุณภาพเท่าที่ควร จากหลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. คือระดับมัธยม หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับพื้นฐาน เช่น อ่าน เขียน บรรยาย สะกดคำไม่ได้ ขาดความสามารถในการ ออกเสียง การคิดคำนวณ ใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษา หรือระดับอื่น จึงเกิดปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอน หาสื่อ หาเนื้อหา หาตัวอย่าง หาแบบอย่างมาดีขนาดไหน แต่ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ ไม่สามารถรับความรู้ที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ
ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร 

- ในการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรขึ้นใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น หาแบบอย่าง และต้องเตรียมการสอนมาให้แน่นมากๆ และส่งผลให้ผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้นจนทำให้การเรียนเป็นสิ่งหน้าเบื่อมากขึ้น
- สถานศึกษามีการจัดทำเองไม่มีจุดเน้นที่ตรงกัน 
- ทำให้ครูเกิดความสับสน และนักเรียนนักศึกษาจะไม่เข้าถึงสิ่งที่เราส่งออกไป
- ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
- อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่สังคม
- ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการมากทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม
- การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้เมื่อจบออกไปอ่านส่งผมเสียแก่ตัวเด็กนักเรียนนักศึกษา
- งบประมาณในการพัฒนาการศึกษาระดับนี้ก็ยังมีไม่เพียงพอ


หมายเลขบันทึก: 642742เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2017 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2017 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท