๖๒๒. วรรณกรรมจาก..ใบไม้...


ผมจะไม่เปรียบเทียบผลงานการเขียนของใครดีกว่าใคร ไม่ชื่นชมผลงานของใครคนใดคนหนึ่งมากเกินไปและ ผมจะชมทุกคนว่าเขียนดี และบอกว่า..ครั้งต่อไปเธอจะเขียนดีกว่านี้อย่างแน่นอน..

ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผมติดตามข่าวการศึกษา พบว่า..มีโรงเรียนจำนวนมากจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่ไม่เหมือนกับโรงเรียนทั่วไปในสังกัด สพฐ. โดย..ออกนอกกรอบ..อย่างสิ้นเชิง ....

เพื่อให้นักเรียนอ่านคล่องเขียนคล่อง รู้จักการคิดวิเคราะห์และมีทักษะชีวิต..สมควรแก่วัย..ใฝ่รู้ใฝ่เรียน..และเรียนรู้อย่างมีความสุข....

จากการติดตาม ถามข่าวคราว..จากโรงเรียนเหล่านั้น..ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า..การอบรมสัมมนารูปแบบการสอนแนวใหม่ ที่ใช้จัดการเรียนการสอนแบบนอกกรอบนั้น ได้ผลดี นักเรียนมีพัฒนาการและสนองตัวชี้วัด..ได้มากมาย..

ผมก็เลยต้องมานั่งคิดพิจารณา..ถึงเวลาหรือยังที่เราจะนำพาโรงเรียนออกนอกกรอบบ้าง..บริบทของโรงเรียนพร้อมหรือยัง..”หัวใจ”ของครูทุกคน พร้อมที่จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวได้ไหม เพื่อที่จะ “เปลี่ยนแปลง” ไปสู่ “คุณภาพ”ผู้เรียน..

คำตอบคือ..ปีการศึกษานี้..ยังไม่พร้อมเท่าที่ควร..แต่ผมก็พร้อมที่จะศึกษาหาข้อมูล ว่าเขาสอนกันอย่างไร วิธีการสอนแบบไหน ที่เรียกว่า นอกกรอบ และสอนอย่างไรที่จะช่วยแก้ปัญหาผู้เรียน..ได้มากที่สุด.

ก่อนสอบถามผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ในกลุ่มเครือข่าย..ผมวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง ในด้านการเรียนการสอน ชั้น ป.๑ – ป.๖..พบว่า..ปัญหาการอ่าน จะน้อยกว่าการเขียน ครูทุกคนบ่นเหมือนกันว่า..การเขียน..สอนยากและเด็กยังเขียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร..

ผมเข้าใจความรู้สึกของครู แล้วยิ่งเป็นครูที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านการสอนภาษาไทยด้วยแล้ว..อาจจะคับข้องใจบ้าง ในเทคนิคการสอนบางประการ....

ผมผ่านประสบการณ์การสอน..มาอย่างโชกโชน..แต่วันนี้มีความรู้สึกว่าอยากปรับเปลี่ยนเหมือนกัน จึงสอบถามเพื่อนครูผู้เชี่ยวชาญการสอนแบบ “นอกกรอบ” ครูบอกผมว่า..ลองใช้ “ใบไม้” สอนการเขียนดูบ้าง..วรรณกรรมจากใบไม้..

ผมจึงเริ่มใช้สื่อการสอนจาก ใบไม้ มาตั้งแต่วันจันทร์ จนถึงวันนี้ ..เริ่มตั้งแต่ชั้น..ป.๑ จนถึง ป.๔..

วันนี้..ลงเอยที่ ป.๔..ก็พบว่าการสอนเขียนแบบนี้ ไปได้สวยทีเดียว เด็กอยากเรียน เด็กสนใจอยากเขียนหนังสือมากขึ้น..

ผมเริ่มจากให้นักเรียนหาใบไม้มาคนละใบ ทากาวแล้วติดไว้ในสมุด..จากนั้น..ให้นักเรียนมองดูซิ ใบไม้เหมือนใคร อะไร อย่างไร?..นักเรียนคิดถึงใคร อะไร อย่างไร? และนักเรียนอยากให้เป็นใคร อะไร อย่างไร...?

ผมให้อิสระนักเรียน ในการแต่งเติมเสริมต่อใบไม้ ด้วยดินสอสีให้ใบไม้มีสีสันตามจินตนาการของแต่ละคน..สังเกตช่วงเวลานี้..นักเรียนจดจ่อกับงานอย่างมีความสุข...

เสร็จแล้ว..ผมก็ให้นักเรียนทุกคน ลงมือเขียนเรื่องจากความรู้สึกนึกคิด..จากใจที่อยากถ่ายทอด ที่สัมพันธ์กับใบไม้ที่อยู่ตรงหน้า โดยที่ไม่จำกัดจำนวนบรรทัดและเวลา..เขียนจนกว่าจะพอใจ...

นักเรียน..ใช้เวลาเขียนเพียง ๓๐ นาทีเท่านั้น และรู้สึกว่า นักเรียนจะเขียนได้คล่องแคล่วกว่าทุกครั้ง อาจเป็นเพราะว่า เขาเขียนเรื่องราวใกล้ตัว เขียนจากสิ่งที่เขารู้และภาพใบไม้ที่เขาชอบ..

จากนั้น..ผมก็ให้ทุกคนอ่านเรื่องให้เพื่อนฟัง..ซึ่งทุกคนก็ตั้งใจฟังเรื่องของเพื่อน ฟังไปยิ้มไป ต่างชื่นชมผลงานซึ่งกันและกัน..

ผมจะไม่เปรียบเทียบผลงานการเขียนของใครดีกว่าใคร ไม่ชื่นชมผลงานของใครคนใดคนหนึ่งมากเกินไปและ ผมจะชมทุกคนว่าเขียนดี และบอกว่า..ครั้งต่อไปเธอจะเขียนดีกว่านี้อย่างแน่นอน..

ครับ..วรรณกรรมจากใบไม้..ผลงานของนักเรียน..จากการสอนของผม อย่าว่าแต่เด็กจะสนุกและมีความสุขกับการเรียนเลย.ผมเองก็มีความสุขและสนุกกับการสอนเขียน..มากขึ้น

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๖๐

 

 

 

 


<p></p>

หมายเลขบันทึก: 641447เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่าน และเห็นภาพประกอบ รู้สึกดีมากค่ะ ในมุมมองของคนเป็นแม่รู้สึกดีที่ลูกได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ในมุมมองของครูด้วยกันรุ้สึกชื่นชมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท