หลามใจ.....


หลามใจ...ไปกับกิจกรรมดี ดี ที่สัมผัสได้จากชุมชนเล็ก ๆ แห่งนี้...ขอฉายภาพวิถีแห่งการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย มาบันทึกเอาไว้บนสมุดออนไลน์เล่มนี้ ความสุข ก่อเกิดขึ้นได้ ณ บ้านของเรา....ขอขอบคุณ G2K ที่ช่วยส่งต่อความสุขในไปยังผู้อ่านทุกๆ ท่าน มา ณ ที่นี้ด้วยนะคร้าบ!!!!

                                                                       -วิถีการกินอยู่แบบพื้นบ้านหมุนเวียนไปตามฤดู...ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนๆ เราก็มักจะได้สัมผัสถึงศิลปะการใช้ชีวิตของผู้คน นอกจากจะได้เรียนรู้และซึมซับเอาศิลปะแห่งการดำรงชีพแล้ว สิ่งที่ได้กลับมาอย่างมากมายนั่นก็คือ"ความสุข"ครับ....และเพื่อเป็นการส่งเรื่องราวดี ดี ที่ก่อเกิดขึ้น ณ ชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ไปยังผู้คนบนโลกกว้าง วันนี้จึงขอนำเอาเรื่องราวของการ"หลามใจ"มาฝากให้ได้ร่วมติดตามไปพร้อมๆ กันคร้าบ!!!!

1.วันหยุดที่ผ่านมา (11-12 พ.ย.60)เป็นอีกวันหยุดหนึ่งที่ครอบครัวเล็กๆ ของเราได้ลงมือลงแรงในการดูแลและปรับปรุงพื้นที่การเกษตร ที่ยามนี้ต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องของแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชผลทางการเกษตร ที่ส่วนใหญ่ก็เริ่มจะทยอยให้ผลผลิตบ้างแล้ว สิ่งที่ทำอยู่นี้ถือเป็นการเรียนรู้ในวิถีแห่งการยังชีพ มากกว่าการมุ่งหวังในเรื่องของการตอบแทนด้านวัตถุต่างๆ ยังจดจำและท่องบ่นอยู่เสมอๆ ว่า"เงินทองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง"แม้ว่าเราไม่สามารถปฏิเสธต่อสิ่งสมมุติต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้ นั่นก็คือ"ความจริงของชีวิต"ครับ...และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่ใครๆ ก็ต่างแสวงหา...เพียงแต่อาจจะค้นหาบนเส้นทางไหน ก็แล้วแต่ใจปรารถนา.....

2.ป๊อกๆ เสียงมีดถูกสับลงบนปล้องไม้ไผ่ เพื่อเตรียมเอาไว้สำหรับกรอกข้าวเหนียวในเย็นวันนี้ เสมือนส่งสัญญาณว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะก้าวย่างเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ ณ บ้านไร่ปลายนา ของเราครับ...."พี่ปรานอม"คือผู้นำสัญญาณนั้น..วิถีแห่งการกินอยู่แบบพื้นบ้านถูกฉายภาพออกมาอย่างเนิบช้า และนี่ก็คือสิ่งที่เราสัมผัสได้ ณ บ้านของเรา ครับ...

2."พี่ปราณี"รับหน้าที่ในการเตรียมส่วนผสมที่จะกรอกลงไปในกระบอกไม้ไผ่ โดยวันนี้เรามีส่วนผสมที่เพิ่มความอร่อยให้กับ"ข้าวหลาม"หลายอย่างเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น เผือกหอม/ถั่วดำ/งาม้อน สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความอร่อยให้กับ"ข้าวหลาม"ของเราได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ...55

3.ต่างคนต่างมีหน้าที่ ที่จะต้องรับผิดชอบ งานนี้"แม่นันทา"รับหน้าที่ในการตัดเจียนใบตอง เก็บเอาไว้สำหรับปิดปากกระบอกไม้ไผ่ ส่วน"พี่ปราณี"เมื่อเตรียมส่วนผสมพร้อมสรรพแล้ว ก็เริ่มลงมือปรุงส่วนผสมต่างๆ เข้าด้วยกัน ประกอบด้วย"ข้าวเหนียว/กะทิ/น้ำตาลทราย/เกลือ/ถั่วดำ/เผือก/งามม้อน"ผสมทุกอย่างให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบใจครับ...

4.หลังจากนั้นคนข้างกาย(มดตะนอย)และทีมงานก็รับหน้าที่ในการกรอกส่วนผสมต่างๆ ลงไปในกระบอกไม้ไผ่ครับ...งานนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ข้าวล้นออกมาปากกระบอก จึงต้องมีการนำเอาใบตองมาอุดปากเอาไว้ ซึ่งบางแห่งอาจจะใช้"ขุยมะพร้าว"ก็ได้ อันนี้ก็แล้วแต่ความพร้อมของวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆ ครับ...

5.เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา ทีมงานจัดเตรียมสถานที่สำหรับเผาข้าวหลาม ก็ลงมือเตรียมการแล้วล่ะครับ งานนี้"เจ้ากอล์ฟ"+"ผช.จ๊อก"รับหน้าที่ในการจัดเตรียมครับ....สำหรับวิธีการเผาข้าวหลามนั้น มีหลายวิธีครับ บางแห่งอาจจะต้องขุดดินลงไปให้เป็นร่องแล้วนำกระบอกไม้ไผ่มาตั้งเอาไว้ ทั้งนี้ก็จะได้ไม่ต้องหาเหล็กมาทำเป็นที่พิงกระบอกไม้ไผ่นั่นเองครับ...แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบไหน เป้าหมายที่ต้องการนั่นก็คือ"การป้องกันไม่ให้กระบอกไม้ไผ่ล้ม"นั่นเองครับ...

6.กองไฟถูกสุมขึ้นหลังจากที่จัดเรีียงกระบอกไม้ไผ่เรียบร้อยแล้ว...สำหรับเรื่องของวิธีการเผาข้าวหลามนั้น ผมได้เคยบันทึกเอาไว้หลายครั้งแล้ว ซึ่งหากท่านใดที่ติดตามอ่านก็คงจะพอให้เห็นกันบ้างแล้วนะครับ..สมัยที่ผมยังเป็นเด็กตัวน้อยๆ มีความคิดว่าการเผาข้าวหลาม จะทำยากมากๆ ครับ...คงด้วยเห็นวิธีการเผาข้าวหลามอีกแบบหนึ่ง ที่ก่อไฟเพียงด้านเดียว แล้วต้องคอยกลับกระบอกไม้ไผ่ให้หันเข้ากองไฟ แต่นั่นก็ไม่ใช่วิธีที่ผิดแปลกไปนัก แต่เป็นเพราะว่าการเผาข้าวหลามแบบนั้น สิ่งที่ได้มากกว่าก็คือการได้อาศัย"ผิงไฟ"ในยามที่อากาศหนาวเย็นไปด้วยนั่นเองครับ...และนี่ก็คือบทสุรุปของวิธีการเผาข้าวหลามในแต่ละท้องถิ่นที่ผมได้สัมผัสและได้เรียนรู้ในระหว่างทางเดินของชีวิตครับ...

7.ใช้เวลาในการเผาข้าวหลามประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ เราก็ได้ข้าวหลามที่อร่อยๆ แล้วล่ะครับ...สำหรับวันนี้เราได้เก็บพืชผักจากไร่ของเรามาทำกับข้าวเป็นอาหารในมื้อเย็นนี้ด้วยล่ะครับ เมนูง่ายๆ ที่มักจะทำอยู่เป็นประจำนั่นก็คือ"แกงเปรอะหน่อไม้/ผักรวม"ครับ...อิ่มอร่อยไปพร้อมกับ"ปลาช่อนนาทอด/ไข่ต้ม"เพียงเท่านี้เราก็อิ่มท้องกันแล้วล่ะคร้าบ....5555

8.และนี่ก็คือประสบการณ์ชีวิตดี ดี ที่ผมได้รับการส่งต่อมาจากคนรุ่นก่อน และพร้อมที่จะซึมซับและสานต่อวิถีการดงรงชีพแบบนี้เอาไว้ และหากมีโอกาสก็จะถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตแบบนี้ออกไปยังผู้ที่สนใจให้มากที่สุด นอกจากความอร่อย ความอิ่มกาย อิ่มใจ จากกิจกรรมของวันนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ได้มากกว่านั่นก็คือ"การได้หลอมรวมใจ"ของผู้คนในชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ แม้ว่าจะไม่มากคน แต่ก็อบอุ่นใจมากๆ เลยล่ะครับ....

สำหรับวันนี้....

                                                                                      สวัสดีครับ

                                                                                     เพชรน้ำหนึ่ง+ทีมงานบ้านไร่

                                                                                     13/11/2560

หมายเลขบันทึก: 641230เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2017 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2017 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

กระบอกใหญ่มาก

ผมไม่ได้เผาข้าวหลามนานมากแล้ว

เคยเผากับนักเรียนสนุกสนานมาก

ขอบคุณมากๆครับ

  • เป็นกิจกรรมร่วมกันที่ยอดเยี่ยมเลยครับ ต้องหลายคนช่วยกัน เกิดความสามัคคีด้วยครับ
    หน้าหนาวอย่างนี้เหมาะมากเลยนะครับ!

ของโปรดชอบมาก  ไม่เคยกินงาม้อนอ่ะ

หนาวนี้ไม่ค่อยหนาว  รอหนาว ๆ หาทางทำมั่ง ... สามัคคี ๆ ๆ ๆ กันไว้  หลามใจกันเลยทีเดียว  อิ อิ

ไม่ได้สัมผัสบรรยากาศแบบนี้มานานมากแล้วค่ะ  เมื่อสมัยยังละอ่อนอยู่ เคยเห็นคุณพ่อทำข้าวหลามแบบนี้บ้างในโอกาสที่ครอบครัวอยากจะทำกัน  รู้สึกได้ถึงความอบอุ่นในครอบครัวนะค่ะ 

ต่างคนต่างทำหน้าที่ -

...

เห็นด้วยและเห็นภาพชัดมากครับ
ราวกับวงดนตรีที่แต่ละคนเล่นเครื่องดนตรีคนละชิ้น  
ก่อเกิดเป็นเพลงอันเไพเราะ -

มากด้วยคุณค่า และมูลค่า 

ชื่นชมครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

-หากมีเวลาต้องมาเผาข้าวหลามที่บ้านไร่นะครับ 55

-รำลึกถึงความหลังได้ที่นี่ครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ด้วยนะครับ

-สวัสดีครับครูธนิตย์

-ความสามััคคีเกิดขึ้นได้ด้วยวิถีดี ดี เช่นนี้ครับ

-ผมพยายามที่จะเรียนรู้และซึมซับสิ่งดี ดี จากชุมชนนี้ให้มากที่สุดครับ

-หนาวนี้...มาเยี่ยมยามกันได้นะครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ต้น

-น้ำลายสอ..

-เป็นเรืืองธรรมดาที่เข้ามาบันทึกของผมครับ

55

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับพี่หมอธิ

-งาม้อนๆ อร่อยครับพี่หมอ

-หลามใจๆ ครับ 55

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมยามบันทึกนี้ด้วยนะครับ

-สวัสดีครับคุณสุจิตรา

-น่าจะเป็นคนเหนือนะครับ

-ยินดีทีี่บันทึกนี้ช่วยให้รำลึกถึงความหลังครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับอาจารย์แผ่นดิน

-ต่างคนต่างทำหน้าที่...

-สิ่งนี้มิได้จัดวางแต่เป็นไปด้วยวิถีึแห่งการกินอยู่...

-อบอุ่นใจ ณ เมืองนอน แห่งนี้ครับ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท