นิสิตจิตอาสา การสร้างองค์ความรู้ สำรวจพื้นที่ฟื้นฟูหลังน้ำลด


"จิตอาสามิใช่เพียงเป็นนักสังคมสงเคราะห์ 
แต่จิตอาสาต้องมองมิติทางปัญญาต้นทุนพื้นฐาน
วิถีวัฒนธรรมชุมชน เพื่อมองให้เห็นเหตุผลที่แท้จริง 
มิใช่มองปลายเหตุที่เป็นวิถีสังคมอุปทาน"
#ครูธงสิน_ธงกัญญา
#แผนฟื้นฟูหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติอุทกภัยอย่างยั้งยืน#บ้านท่าเยี่ยม_ตำบลวังหลัง_อำเภอเสลภูมิ_จังหวัดร้อยเอ็ด
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติอุทกภัยที่เกิดขึ้นของอิทธิพลพายุเซินกา ตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2560 

ทำให้เกิดฝนตกหนักและทำให้น้ำท่วมในหลายพื้นที่เป็นที่ทราบกันดีนั้น

ซึ่งเกิดความเสียหายอย่างมากกับวิถีชีวิตคนในชุมชน 

#ลุ่มน้ำยัง โดยเฉพาะตำบลวังหลวง ตำบลนาแซง อำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นฤดูฝนต้องมีแผนการฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติทันต่อการทำนาในปี 2561 ต้องมีการพัฒนาให้คนอยู่กับน้ำได้อย่างยั้งยืน สมดุล ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยหลักการมีส่วนร่วม

1.โครงการพัฒนาพื้นที่นำร่องในการบริหารจัดการน้ำ แบบมีส่วนร่วมผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้าน (เหมืองไส้ไก่ ปากเป่ง ห้วยพากและปากท่าง)
2.โครงการเกษตรแปลงใหญ่เต็มรูปแบบ
3.โครงการเกษตรอินทรีย์ปลอดภัย
4.โครงการนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำยัง
5.โครงการธรรมภิบาลคนอยู่กับน้ำ "คนยังน้ำยัง"
จากเหตุการณืภัยพิภัยอุทกภัยในครั้งนี้สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2560
และการกลับไปหาชุมมชนอีกครั้งเพื่อเยี่ยมยามถามข่าวให้กำลังใจ และหนุนเสริมในการฟื้นฟูพื้นที่ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2560 จะเห็นได้ว่าประชาชนเกิดองค์ความรู้เมื่อ 30 ปีเกิดน้ำท่วม 11 ครั้ง เรามัวแต่ไปมองที่ปลายเหตุ แต่สาเหตุที่แท้จริงคือหวนกลับไปพึ่งพาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วิถีวัฒนธรรม สังคมประเพณี ในอดีต ซึ่งบริหารจัดการเข้าใจภาวะสถานการณ์จริงได้ แม้จะท้อแท้ แต่วันนี้กับทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาเพื่อจะพึ่งพา พัฒนา อย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริง โดยไม่เพียงหวังคอยหน่วยงานอื่นใดช่วยเหลือแต่อย่างเดียว
#สัมภาษณ์ : คุณแม่สัมพัน แก้วจันหา,คุณแม่จันทร์เพ็ญ แห่ตะนะ,คุณพ่อสาลี อาจศัตรู,คุณแม่สมพิศ อาจศัตรู,คุณวันนา ยาคง
#ข้อมูลแผนฟื้นฟู  : คุณครูธงสิน ธงกัญญา
#เรียบเรียงข้อมูล : นายณัฐพล ศรีโสภณ และคณะ
#ภาพประกอบ : นายนันทวัฒน์ ชุมคำ
#ศูนย์ประสานงานเครือข่ายนิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม

หมายเลขบันทึก: 641146เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การเดินทางกลับสู่หมู่บ้านหลังภาวะน้ำลด  คือการกลับไปสู่ระบบการฟื้นฟูเยียวยา และผูกโยงเรื่องการป้งอกันในภาพใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท