โยนิโสมนสิการ


           โยนิดสนมัสิการ

            ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ นมสิการ โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง ส่วน นมสิการ แปลว่า กาทำในใจ การคิด คำนึ่งนึกถึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อร่วมเขาเป็นโยนิโสนมสิการ ท่านแปลสืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย การทำในใจโดยแยบคายนี้ ความหมายแค่ไหนเพียงใด คัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกาได้ไชความไว้ โดยวิธีแสดงไวพจน์ให้เห็น ความหมายแยกเป็นแง่ๆ ดังตอไปนี้

  • อุบายมนสิการ แปลว่า คิดหรือพิจารราโดยอุบาย คือคิดอย่างถูกวิธี หรือคิดถูกวิธี หมายถึง คิดถูกวิธีที่จะให้เข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้าแนวกับสัจจะทำให้หยั่งรู้สภาวะลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
  • ปถมนสิการ แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คือคิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับ ลำดับได้ หรือมีลำดับ มีขั้นตอน แล่นไปเป็นแถวเป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบ ตามแนวเหตุผล เป็นต้น ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่ใช่ประเดี๋ยววกเวียนติดพันเรื่องนี้ ที่นี้ เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้น ที่โน้น หรือกระโดดไปกระโดดมา ต่อไปนี้เป็นอันไม่ได้ ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง
  • การณมนสิการ แปลว่า คิดตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดตามเหตุผล หรือคิดอย่างมีเหตุผล หมายถึงการคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือ แหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ
  • อุปปาทกมนสิการ แปลว่า คิดให้เกิดผล คือใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์ เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย ท่านหมายถึง การคิดการพิจารณาที่ทำให้เกดกุศลธรรม เช่น ปลุกเร้าให้เกิดความเพียร การรู้จักคิดในทางทีทำให้หายหวาดกลัว ให้หายโกรธ การพิจารราที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น

          ไขความทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดที่เรียกวว่าดยนิโสมนสิกา โยนิโสมนสิการที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ อาจมีลักษณะครบที่เดียวทั้ง ๔ ข้อ หรือเกือบครบทั้งหมด หากจะเขียนลักษณะทั้ง ๔ ข้อนั้นสั้นๆ คงได้ความว่า คิดถูกวี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล

            แต่ถ้าจะสรุปเป็นคำจำกัดความ ก็เห็นได้ว่าทำยากสักหน่อย มักจับเอาไปได้แต่บางแง่บางด้าน ไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือไม่ก็ต้องเขียนบรรยายยืดยาว เหมือนอย่างที่เขียนไว้ในตอนเริ่มต้นของบทนี้

            อย่างไรก็ตาม มลักาณะเด่นบางอย่างของความคิดแบบนี ที่อาจถือเป็นตัวแทนของลักษณะอื่นๆ ได้ดังที่ได้เคยแปลโดยนัยไว้ว่า ความคิดถูกวี ความรู้จักคิด การคิดเน การคิดตรงตามสภาวะและเหตุปัจจัยการคิดสืบค้นถึงต้นเค้า เป้นต้น หรือถ้าเข้าใจความมหายดีแล้ว จะถือตามคำแปลสืบๆ ดันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย” ก็ได้

 

           “พุทธธรรม” ฉบับปรับขยาย, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต),  บทที่ ๑๓ บุพภาคของการศึกษา ๒ : โยนิโสมสิการ หน้า ๖๒๑-๖๒๓, พ.ศ.๒๕๕๕ 


 

คำสำคัญ (Tags): #โยนิโสมนสิการ
หมายเลขบันทึก: 641071เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท