ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ " HRM 4.0 rethink and reshape to digital"


สวัสดีครับชาว Blog ,

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2560 นี้ ผมได้รับเชิญจากลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม คุณเอื้อมพร ปัญญาใส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติผมมากล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ " HRM 4.0 rethink and reshape to digital"   ที่เน้นว่าดิจิทัลมีผลกระทบกับ  HR  ในหลายแง่มุม ทั้ง Big Data  IOT และ AI องค์กรจะปรับเปลี่ยนการบริหารคนอย่างไร  ในงานสัมมนา "Digital HR บริหารคนทรัพยากรบุคคลด้วยกลยุทธ์ดิจิทัล ณ โรงแรม สวิสโซเทค ถนนรัชดาภิเษก  ระหว่างเวลา 8.30 - 16.00 น. ครับ


ผมจึงขอโอกาสเปิด Blog นี้เพื่อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  และให้แต่ละท่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านมาทาง Blog นี้ครับ


ขอบคุณครับ

จีระ  หงส์ลดารมภ์


สรุปการบรรยาย

ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “HRM 4.0 rethink and reshape to digital”

งานสัมมนา “Digital HR บริหารทรัพยากรบุคคลด้วยกลยุทธ์ดิจิทัล”

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2560  ณ โรงแรมสวิสโซเทล ถนนรัชดาภิเษก

 

(สรุปและบันทึกการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล นักวิชาการ Chira Academy)

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          กล่าวว่าในวันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ได้ Share ความคิดเพราะคนในห้องนี้มีความสามารถมากมาย

          สิ่งแรกที่ต้องทำคือการค้นหาตัวเอง และคิดว่าวันนี้จะได้อะไร ให้แบ่งปันกัน

          การพูดในวันนี้ 30-35 นาที  ในตอนท้ายชั่วโมงให้แสดงความคิดเห็นว่าฟังแล้วได้อะไร 2 ประเด็นที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนในห้องมีพลัง

การพูดในวันนี้เน้น 3 เรื่อง

1. ค้นหาตัวเอง

          - Where are we? เรื่องคนกับดิจิตอล แล้วค้นหาช่องว่างของว่าจะทำอะไร

          - ชีวิตไม่ต้องเรียนเยอะ แต่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. ข้อสังเกต    1. ขอบคุณคุณเอื้อมพรที่เชิญ

                   2. Digital กับ Third Wave

                             Phase 1 ช่วงแรกปี 2000  - New Economy กับ Digital

                             Phase 2 Search Engine

                             Phase 3 Third Wave – Internet of Thing, Big Data

                             Phase 4 Fourth Wave ในอนาคตจะเป็นอย่างไร  - Homo Sapiens ในอนาคตอาจเป็นมนุษย์กึ่ง Machine

3. ประเทศไทย 4.0

          คนที่มาเรียนในวันนี้มาเพื่ออะไร

          - ต้องบ้าคลั่งความรู้ และหาความรู้ต่อเนื่อง

          - ศ.ก. 4.0 ต้องเป็นส่วนหนึ่งของ Paper นี้

          - 4.0 ต้องมีเรื่องทุนมนุษย์ด้วย  อย่าอ่านทุกอย่างจาก Internet ต้องอ่านจากหนังสือด้วย ต้องสร้างฐานความรู้ให้แน่นก่อนต่อยอด

          ยกตัวอย่างหลักสูตรที่ ม.อ.เชิญ รองอธิการบดี คณบดี และผู้อำนวยการ มาจัดโครงการพัฒนาผู้นำ และในช่วงที่ผ่านมาได้เชิญ Young Ph.D. มาเรียนด้วย นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในวันนี้ของคน คือ Millennium  รู้สึกยินดีที่ Young Ph.D.ให้ความสนใจ 

Quotation   

The world is changing very fast and unpredictable”

                                                Michael Hammer

 

เรื่องทุนมนุษย์ หรือ คน .. ต้องมีปรัชญาและความเชื่อว่า.. คน คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร

พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

 

“Cultivation is necessary but harvesting is more important”

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

“การมองภาพทรัพยากรมนุษย์จาก Macro สู่ Micro”   

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

พูดถึงโลกในยุคอนาคตจะต้องเผชิญกับ.. การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ความไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้

สิ จินผิง (Xi Jinping)

 

 

          บางคนบอกว่าเรื่องคนเป็นเรื่องปรัชญา เราต้องยกบทบาทของคน เข้าใจว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด คนไม่ใช่งานประจำ

          ดร.จีระ พูดเรื่องทุนมนุษย์ ไว้ในเรื่อง ปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution คือ เอาชนะอุปสรรค เจอปัญหาแล้วต้องเอาชนะให้ได้ 

ปลูกพืชล้มลุก..  3-4 เดือน

ปลูกพืชยืนต้น..  3-4 ปี

พัฒนาคน..  ต้องใช้เวลา

สุภาษิตจีน

ข้อดีของอาจารย์จีระคือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และพูดความจริง

          โลกในวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็วและไม่แน่นอน  Digital มีความเร็ว และไม่แน่นอน จะมีความกระทบมาก  คนต้องปรับตัวมากขึ้น

ความสำเร็จของคนในองค์กรมีทั้ง +, -

1. เข้าใจองค์กร อาทิ

          - วัฒนธรรมองค์กร

          - องค์กรแห่งการเรียนรู้

          - แรงจูงใจ

          Unesco กล่าวสดุดียกย่องในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าพระองค์ทรงเป็น Life Long Learning

2. วัตถุประสงค์

1. กระตุ้นให้คิด และพัฒนาตนเอง

2. เข้าใจ 2 R’s เลือกประเด็นให้ดี

เพราะการเรียนไม่จำเป็นต้องรู้เยอะทุกเรื่อง แต่ให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้และเป็นประโยชน์ไม่เช่นนั้นก็จะเสีย

3. ปรับ Mindset ของตัวเอง

          ปรับจาก Fixed Mindset ไปสู่ Growth Mindset

          การเห็นคนทำงานในองค์กรอย่ามองคนส่วนเดียว

          HR Architecture     

          - มองคนเป็น Life  Cycle ในระบบครอบครัวเป็นหัวใจสำคัญที่สุด ดร.จีระได้ยกตัวอย่างว่าได้ดีเพราะพ่อแม่ปลูกฝัง

          - ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรต้องระมัดระวังเพราะไม่ทราบว่าตอนเด็กขาดอะไร แทนที่จะหยุดเรียนรู้ ก็ให้เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ

 

ข้อดี

          การบริหารคนจะประสบความสำเร็จ

1. มี Strategic Partner คิดเรื่องคน แต่อย่าทำแค่ฝ่ายบุคคลอย่างเดียว ต้องมี CEO และคนอื่น ๆที่ต้องเข้าใจด้วย อย่างคนในห้องนี้เก่งทางด้าน IT ก็ต้องเข้าใจเรื่องคนด้วยเช่นกัน

2. ปลูก เก็บเกี่ยว  Execution  ต้องใช้เวลา

วันนี้เป็นวันเริ่มต้นของการขึ้นบันไดทำเรื่องคน เราต้องเลือกให้เป็น

3. 2R’s

4. ทฤษฎี 3 ต. คือต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

ดร.จีระ ชอบ Concept  Kaizen เพราะมีการ Improve ตลอดเวลา

ทฤษฎีทุนมนุษย์ยุคใหม่และยุคเก่า

        HR ต้องทำตัวเป็น Strategist เพื่อแข่งขันในอนาคต     

 

Basics ทฤษฎี 3 วงกลม

 

ยกตัวอย่าง เช่น  องค์กร เป็น Agility มีความคล่องแคล่ว , Competency  คนมีศักยภาพด้าน Digital , และ แรงจูงใจ Basics แบบ Maslow หรือแรงจูงใจที่มองไม่เห็นแบบ HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability)

          Human Resources ในอนาคตต้อง HRDS

          ในมุมมอง ดร.จีระ Happiness แบ่งเป็น Happy at work , Happy workplace    

          Trend เศรษฐศาสตร์ คือ Human Capital ควร Treat คนด้วย HRDS ให้เกียรติยกย่อง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ต้อง Pay Attention มากขึ้น

ทฤษฎี 3 V’s

  • Value Added     สร้างมูลค่าเพิ่ม
  • Value Creation  สร้างคุณค่าใหม่
  • Value Diversity  สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

ตัวอย่างเรื่องการ Turn Diversity ใน Workplace สู่การสร้าง Harmony

3 V’s ต้อง Apply กับ ยุคดิจิตอลอย่างดี และควรให้ความเอาใจใส่ในเรื่องทุนทางอารมณ์ และการบริหารอารมณ์

งานวิจัยของ Harvard สิ่งที่น่ากลัวคือ อารมณ์ของคนรุ่นใหม่ในองค์กร ขอให้เน้นเรื่อง Emotional Intelligent การบริหารอารมณ์ในอนาคต

เทิดพระเกียรติในหลวง ร.9

          ยกตัวอย่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เศรษฐกิจพอเพียง คือแนวปฏิบัติ ที่ทำให้เราแม้ล้มก็ลุกขึ้นมา แล้วป้องกันคือ การมีภูมิคุ้มกัน  ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใน 2 เรื่องคือ 1. สุขภาพ 2. การเรียนรู้ที่ทันสมัย 

ในยุคดิจิตอล..จะมองกระบวนการบริหารคนในมุมบวกอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะระบบ Digital จะส่งผลทางลบด้วย เพราะงานจะเปลี่ยนเร็ว และคนปรับตัวไม่ทัน บางคนก็ตกงานหรือว่างงาน คล้าย ๆ หนังสือ Future of work ที่บอกว่า.. ในอนาคตงานจะน้อยลง

ในแนวของตะวันตกมีหนังสือ 2 เล่มที่เขียนให้คนตะวันตกระวังเรื่องความรวดเร็วของ Digital

เล่มแรก คือ Thank you for Being Late ของ Thomas L. Friedman ซึ่งบอกว่ายุคต่อไปเป็นยุคเร่งเครื่อง คล้าย ๆ รุก ก็ต้องติดเบรกให้ดี คือ ต้องระมัดระวัง มาช้าบ้างก็ไม่เป็นไร คล้าย ๆ กับนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์

อีกคนหนึ่งซึ่งได้ Nobel ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เชื่องโยงทาง Psychology คือ Daniel Kahneman ผู้เขียนหนังสือ ชื่อ “Thinking, Fast and Slow” คือ พฤติกรรมทางธุรกิจจะเร็วและคิดว่าได้เงินเยอะ ๆ มีความโลภ (Greed)

เศรษฐศาสตร์ยุคต่อไปต้องเป็น Behavioral Science พฤติกรรมของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีอคติ  ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน

ในข้อเท็จจริง อาจจะต้องหยุดโลภเพื่อให้ตัวเองมีความสุข มีความสมดุลบ้างก็จะดี ตัวอย่างคือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” กับ “วิกฤตแฮมเบอเกอร์”ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา  เกิดจาก Think Fast ไม่ Think Slow

1. สิ่งที่ยากคือ เราต้องรวมพลังในองค์กร และดึง Non HR มาร่วมกัน

2. ดูสถานการณ์บริษัทให้ดี เลือกประเด็นที่ Relevant ในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ และยั่งยืนแบบ HRDS

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ในกรณีที่องค์กรมี Generation มากถึง 5 Generation ในองค์กรเดียวกัน จะมีวิธีการบริหารอย่างไร

          ตอบ Value Diversity บางแห่งเป็นปัญหา บางแห่งไม่เป็นปัญหา

- บริษัทควรลงทุนให้เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้รากเหง้าและวัฒนธรรมองค์กร

- นำเด็กรุ่นใหม่มาร่วมปะทะกันทางปัญญา ให้มีการ Workshop ร่วมกันบ่อย ๆ และสร้างความรู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น และมีเวลาในการปรับความคิดเข้าหากัน

- ใช้ทฤษฎี 2 R’s ว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือต่างคนต่างทำสามารถทำได้หรือไม่

 

2. หลายครั้งที่ Workshop เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร

          ตอบ ใช้ทฤษฎี 4L’s คือ

- Learning Methodology    มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

- Learning Environment     สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

- Learning Opportunities    สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

- Learning Communities     สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

เน้นการ Learn-Share-Care ให้ทำบ่อย ๆ คล้ายกับบริษัท 3 M จะมี Workshop ทุกวันศุกร์ให้เด็กรุ่นใหม่นำเสนอ เรื่อง Innovation

 

3. การปลูก – เก็บเกี่ยว – Execution ทั้ง 3 อย่างต้องเชื่อมกัน ไปด้วยกัน คนที่มีบทบาทคือทุกคน ทำอย่างไรให้ HR People มี 3 สิ่งนี้ มีปัจจัยอะไรที่ทำให้สำเร็จ  และผู้บริหารกับทุกคนช่วยกัน

          ตอบ คำถามนี้ควรเป็นโจทย์ของการเรียนปริญญาเอกยุคต่อไป Human Capital ต้องมีความรู้ ประกอบกับการสร้างความยั่งยืน  สร้าง Co-Creator ทำร่วมกัน อย่างในวันนี้ ต้องให้คนที่เป็น CEO เข้าใจก่อน  และต้องมีคนที่สนับสนุนกิจกรรมจากที่ลุ่มมาสู่ที่ราบสูง 

          ต้องมีการ Share Vision ว่าทำเพื่อประกอบการและ Result Oriented แต่อย่าทำแบบ Area ของฉันแล้วเป็น EGO

          ทำอย่างไรให้ CEO –HR - Non HR ทำร่วมกัน

          Human Capital Conference ถ้าเราทำงานร่วมกัน ยุคต่อไปจะเป็นยุคคนรุ่นใหม่ที่ต้องทำและมีการ Debate ร่วมกัน



หมายเลขบันทึก: 640762เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท