บทบาทของสภามหาวิทยาลัย



ในงานสัมมนา จัดโดยสถาบันคลังสมอง เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ เรื่อง ตีแผ่ธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย ตอนที่ ๑  ย้อนรอยคดีดังและก้าวข้ามสู่อนาคต   ช่วงสายเป็นการเสวนาเรื่อง บทบาทของสภามหาวิทยาลัยต่อการกำกับในปัจจุบัน โดย รศ. เกศินี วิฑูรชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   กับ ดร. โชค บูลกุล กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหิดล  

ดร. โชคพูดเรื่องมหาวิทยาลัยไทยทำงานอย่างมีต้นทุนสูงมาก   กำลังเผชิญสภาพที่นายกรัฐมนตรีใช้ ม. ๔๔ อนุญาตให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้ามาดำเนินการได้    โดยเขาบริหารงานแบบ lean มาก    มหาวิทยาลัยมหิดลจึง กำลังพัฒนา open platform เพื่อการบริหารงานที่มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพสูง    ท่านพูดในฐานะนักบริหาร ภาคเอกชนที่มีประสบการณ์สูง    ท่านย้ำเรื่องการเปลี่ยน mindset ในการบริหารและกำกับมหาวิทยาลัย   

รศ. เกศินี เล่าเรื่องการจัดวิธีทำงานส่วน fiduciary mode ที่ยอดเยี่ยมเป็นตัวอย่างที่ดีมาก    ดร. โชคเล่าเรื่อง การที่กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าไปขับเคลื่อนระบบการทำงานเชื่อมระหว่างระดับสภามหาฯ กับการบริหาร และการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาการทำงานแบบแยกส่วน ไม่บูรณาการกัน    ที่มีผลให้องค์กรไร้ประสิทธิภาพ    ใช้งบประมาณมาก ได้ผลน้อย    

ผมนึกถึงประเด็นธรรมาภิบาลที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยในระดับความเป็นความตายในอนาคต    คือการดำเนินการโดยมีต้นทุนสูงเกินไป    โดยมีคู่แข่งเกิดขึ้นคือ “มหาวิทยาลัยเสมือน”  หรือ “มหาวิทยาลัยแห่งทุกแห่งหน” ()   ที่กำลังก่อตัวขึ้นมาให้การศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูงผ่านเทคโนโลยีดิจิตัล   

ตอนอภิปรายจากผู้เข้าร่วมสัมมนา    มีการพูดกันเรื่องกรรมการสภามหาวิทยาลัยเข้ามาแบบมีผลประโยชน์   

ตอนบ่ายมีการนำเสนอผลการวิจัยวิเคราะห์สถานภาพของธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทย โดย รศ. ดร. องอาจ    นัยพัฒน์    ตามด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลการประเมินการทำงานของสภามหาวิทยาลัย และการประเมินผู้บริหารของ มหาวิทยาลัยที่มีผู้มาเข้าร่วมประชุม    ได้ข้อมูลมาก โดยเฉพาะของมหาวิทยาลัยเอกชน คือมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีการประเมินทุกระดับอย่างเป็นระบบมานานกว่า ๕ ปี    ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ต้องใช้ประโยชน์ผลการประเมินนั้น เป็นข้อมูล feedback สู่การพัฒนามหาวิทยาลัย ให้ผลประกอบการดีขึ้น 

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๖๐


 

หมายเลขบันทึก: 640622เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณในความรู้ที่กรุณาสรุปมาค่ะท่าน

I think we should pay attention to "...ดร. โชคเล่าเรื่อง การที่กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าไปขับเคลื่อนระบบการทำงานเชื่อมระหว่างระดับสภามหาฯ กับการบริหาร และการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาการทำงานแบบแยกส่วน ไม่บูรณาการกัน    ที่มีผลให้องค์กรไร้ประสิทธิภาพ    ใช้งบประมาณมาก ได้ผลน้อย...".

This may be reduced to "atta" (or ego or self-gratification or self-interest) which can blind even even very intelligent people.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท