สาเหตุและการแก้ปัญหาของดินเค็ม


ดินเค็มก็เกิดขึ้นได้ตามสภาพพื้นที่ตามภาคต่างๆของประเทศไทย โดยเฉพาะทางแถบที่มีพื้นที่ติดกับปากอ่าวที่เป็นน้ำเค็ม ก็มีสิทธิ์ที่จะต้องเจอกับสภาพของดินเค็มได้ แต่หากเป็นภาคกลาง เรามีโอกาสจะเจอกับดินเค็มที่มีผลกระทบมาจากพื้นที่ที่เป็นน้ำกร่อย ด้วยน้ำกร่อยที่ไหลไปใต้ดิน เมื่อน้ำใต้ดินไหลผ่านแหล่งเกลือและเข้าไปยังจุดที่เป็นดินปกติ ทำให้ดินโซนนั้นกลายเป็นดินเค็มได้

ส่วนสาเหตุการแพร่กระจายของดินเค็ม เนื่องจากว่า เกลือนั้นเป็นสารที่ทำละลายได้ดี ดังนั้นเมื่อเกลือโดนน้ำที่เป็นตัวนำสำคัญไปยังจุดต่างๆในพื้นที่ที่น้ำสามารถไหลเซาะเข้าไปทางใต้ดินได้เรื่อยๆ นั่นก็เลยกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ดินกลายเป็นดินเค็ม อีกทั้งยังแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยครับ และยังมีสาเหตุอีกอย่างก็คือการผุกร่อนของหินที่มีการอมเกลืออยู่ เมื่อมันสลายตัว เกลือก็จะไปผสมปนอยู่กับน้ำที่ไหลผ่าน โดยอาจจะซึมลงไปใต้ดิน และระเหยขึ้นไปยังชั้นบนของหน้าดินได้ด้วยกระบวนการทางแสงอาทิตย์ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดดินเค็มได้

และอีกแบบหนึ่งก็คือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่มีการริเริ่มการทำนาเกลือขึ้นมา นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดดินเค็มอีกเช่นกัน

ต่อไปเราจะมาดูแนวทางการป้องกันปัญหาของดินเค็มกันว่ามีกระบวนการทำงานที่สามารถป้องกันได้โดยวิธีใดบ้าง

หากเป็นในด้านทางวิศวกรรม เราสามารถที่จะออกแบบแนวทางการป้องกันการไหลของน้ำใต้ดินให้เป็นไปในทางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติกับน้ำใต้ดินให้มากที่สุด เพื่อที่น้ำใต้ดินจะได้ไม่ไหลนำพาเกลือไปยังดินจุดต่างๆ ได้

แต่หากเป็นในทางชีววิทยา เราสามารถทำการสร้างพื้นที่รับน้ำที่เป็นการปลูกไม้ยืนต้นที่มีรากลึกลงไป และมีอัตราการโตที่เร็วกว่าต้นไม้ทั่วไป เพื่อให้เกิดความสมดุลในการใช้น้ำและน้ำใต้ดิน สามารถช่วยลดการเกิดของดินเค็มได้ เพราะมีจุดนี้คอยดูดซับอยู่แทน

คำสำคัญ (Tags): #kmpprep
หมายเลขบันทึก: 636775เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2017 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2017 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท