ชีวิตที่พอเพียง : 2934. เพิ่มผลผลิตการเกษตรโดยปฏิวัติผองเพื่อนพืช



บทความเรื่อง Building a Better Harvest. To avert a future famine, scientists are manipulating the complex conversation that plants have with microbes, pests and other elements of the phytobiome ในนิตยสาร Scientific American ฉบับประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๖๐   เล่าคลื่นลูกใหม่ของวิธีการยกระดับผลผลิตพืช ต่อจากการปฏิวัติเขียวด้วยสารเคมี  

ผมตั้งชื่อปฏิวัติใหม่นี้ว่า ปฏิวัติผองเพื่อนพืช หรือ phytobiome revolution     เพราะเป็นวิธี ทำความเข้าใจการสื่อสารและความร่วมมือกันของ phytobiome   และใช้ประโยชน์กลไกที่เพิ่งเข้าใจใหม่นี้    และเอาเข้าจริง อาจเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนระบบเกษตรอินทรีย์     กลับทางจากเกษตรสารเคมี     และกลับทางจากเกษตรแปลงพันธุ์ (จีเอ็มโอ - Genetically modified organism)     บทความเรียกขบวนการนี้ว่า phytobiome-based intervention

“ผองเพื่อนพืช” (phytobiomes) ประกอบด้วย จุลชีพสารพัดชนิด  ดิน  ภูมิอากาศ  แมลง  สัตว์  และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ    ปฏิวัติการเกษตรใหม่เป็นการปฏิวัติผ่านการทำความเข้าใจว่าสมาชิกของ “ผองเพื่อนพืช” (phytobiomes) เขาคุยอะไรกัน 

 ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจ VUCA ในระบบพืชนั่นเอง 

ที่จริง Russel Wallace และ Charles Darwin ได้เขียนถึงปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนในการดำรงชีวิตของ สิ่งมีชีวิตต่างสปีชี่ส์ มาตั้งเกือบสองร้อยปีมาแล้ว     แต่มันซับซ้อนเกินกำลังที่นักวิทยาศาสตร์จะเข้าไป ทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์โดยตรงได้

เพิ่งมาในยุคจีโนมิกส์นี่แหละที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเอาจุลชีพในดินมาศึกษา gene sequencing    ดูพลวัตของจุลชีพ    และสามารถตรวจสอบการสื่อสารระหว่างสมาชิกของ “ผองเพื่อนพืช” (phytobiomes) ได้     ที่เป็นการสื่อสารผ่านสารเคมี     ที่จะนำไปสู่ “precision agriculture” ในอนาคต 

มีการก่อตั้ง Phytobiomes Initiatives, Phytobiomes Journal และบริษัทค้าสารเคมีปราบศัตรูพืช เช่น Monsanto ก็หันมาสนับสนุนการวิจัยด้านนี้    โดยคาดว่าธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า agricultural biological จะมีขนาดถึงหมื่นล้านเหรียญในปี 2020  

นักวิทยาศาสตร์ของ Monsanto กำลังทดลองชุบเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง และพันธุ์ข้าวโพด ด้วยจุลินทรีย์ผสมสารพัดแบบ เพื่อดูว่าจะช่วยให้ต้นพืชที่งอกและเติบโตทนโรคบางชนิดได้หรือไม่    ผลการทดลองส่อว่าน่าจะได้ผลดังหวัง   

ตอนหนึ่งของบทความระบุว่า มีผลการวิจัยบอกว่าพืชใช้พลังงานถึงหนึ่งในสาม เพื่อดึงดูดจุลชีพที่ตนต้องการเข้ามาหา  และเพื่อไล่จุลชีพที่ตนไม่ต้องการออกไป    นี่ก็ตรงกับสาระในบันทึกชุด ความหมายของไม้ยืนต้น ที่ผมกำลังเผยแพร่อยู่ในขณะนี้

อ่านรายละเอียดในบทความแล้ว ผมตีความว่า นอกจากใช้พลังของ genome และ GMO science นี่คือการวิจัยที่ใช้พลังของ big data    โดยที่ทีมวิจัยหาทางเปลี่ยนแปลง และจัดการความสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกของ “ผองเพื่อนพืช” เพื่อขจัดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตของการปลูกพืชเศรษฐกิจ   

มองอีกมุมหนึ่ง เป็น genetic engineering เพื่อจัดการระบบ phytobiomes     และเนื่องจาก phytobiomes เป็นระบบความสัมพันธ์    การวิจัยที่เขาเล่าจึงเป็น systems manipulation    หรือ ecology manipulation   เราต้องรอดูต่อไปว่า การแสดงบทเทวดาเช่นนี้ก่อผลดีโดยเลี่ยงผลเสียได้หรือไม่   

การวิจัยของ Monsanto นี้ ไม่ใช่การวิจัยแบบการเกษตรอินทรีย์นะครับ     แม้จะใช้หลักการความเข้าใจ ธรรมชาติของ “ผองเพื่อนพืช”    แต่ก็มีการเข้าไปเปลี่ยนแปลงยีนของต้นไม้ เพื่อให้ทนต่อ “ผองเพื่อนพืช” ที่เป็นเพื่อนตัวร้าย    และการทดลองที่เขาเล่าก็ข้ามขั้นตอนการทดลองในโรงเรือน (greenhouse) ไปทดลองในแปลงเกษตรจริงๆ เลยที่เดียว    

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.ค. ๖๐


 

หมายเลขบันทึก: 635489เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2017 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2017 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thailand can do this too. There are abundant potential food candidates that for some simple reasons like 'taste, smell, texture' or some more difficult reasons like 'toxicity, antinutrients, cultivation' and so on, are not developed into food for the mass (world). สาหร่าย กะถืน ผกากรอง ยอดโสน... for examples are edible or made into animal feed after processing. Thailand have adequate facilities for this kind of research. Imagination and experiments are needed though.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท