พัฒนาตัวบ่งชี้เศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด : ในมิติสังคม


จากนั้นท่านวิทยากรก็มีเรื่องราวมาเล่าสู่ให้ฟังว่า “ ในปี ๒๕๓๑ นับว่าประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นขึ้นไปถึง ๑๒.๗ % แต่สิ่งที่ตามมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจคือ ปัญหาอาชญากรรมของประเทศติดอันดับที่ ๑๓ ของโลก คือ การฆ่ากันตายมากขึ้น ในขณะที่คนที่เข้าคุกนั้นอายุน้อยลงทุกปี และอีกปัญหาที่สำคัญคือปัญหาสิ่งแวดล้อมติดอยู่ในอันดับที่ ๑๑ ของโลก
          เมื่อวานได้เข้ารับฟังการรายงานผลงานวิจัยของทางทีมงานพัฒนาตัวชี้วัดเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงกับมิติของสังคม มี ดร.อมรวัชช์  นาครทรรพ เป็นผู้นำเสนอ โดยเริ่มต้นหัวข้อจากการเสนอว่าหลักการทางเศรษฐกิจที่จะนำมารับมือกับกระแสโลกาภิวัฒน์นั้นควรจะดำเนินการอย่างไร โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดในแผน ๑๐ จึงได้มีความพยายามที่จะพัฒนาตัวบ่งชี้ที่เป็นยุทธศาสตร์และเพื่อประเมินติดตามผลของการดำเนินงาน          จากนั้นท่านวิทยากรก็มีเรื่องราวมาเล่าสู่ให้ฟังว่า ในปี ๒๕๓๑ นับว่าประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นขึ้นไปถึง ๑๒.๗ % แต่สิ่งที่ตามมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจคือ ปัญหาอาชญากรรมของประเทศติดอันดับที่ ๑๓ ของโลก คือ การฆ่ากันตายมากขึ้น ในขณะที่คนที่เข้าคุกนั้นอายุน้อยลงทุกปี และอีกปัญหาที่สำคัญคือปัญหาสิ่งแวดล้อมติดอยู่ในอันดับที่ ๑๑ ของโลก          จากการที่วิทยากรได้ทำงานเกี่ยวกับเรื่องของตัวชี้วัดจึงต้องทำการศึกษาสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดอยู่แล้วที่มีอยู่ในโลกใบนี้ ซึ่งที่มาของเนื้อหานั้นมาจากแหล่งเหล่านี้คือ UNDP “Human Development Index” ในส่วนนี้จะดูทั้งหมด ๓ ด้านคือ สังคมสุขภาพดี จะดูในส่วนของอายุขัยประชากร สังคมมีความสุข ดูจากข้อมูลการรู้หนังสือของผู้ใหญ่  และ สังคมมีมาตรฐานการครองชีพดี ดูจาก GDP per capitalThe Economist “Quality of life Index” ส่วนนี้จะมีองค์ประกอบของตัวชี้วัด ๙ องค์ประกอบ จากที่ทางนิตยสารได้สำรวจระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ กับคุณภาพชีวิตของคนพอจะสรุปได้ว่า ประเทศที่ร่ำรวยไม่ใช่ประเทศที่มีประชากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีเสมอไปNAPC  ได้มีตัวชี้วัดเกี่ยวกับ well being ไว้ทั้งหมด ๕ องค์ประกอบคือ ความเป็นอยู่ที่ดี สภาวะทางเศรษฐกิจ ความสามารถทางการศึกษา การมีส่วนร่วม การดูแลในครอบครัวSocial Indicator ของนิวซีแลนด์ มี ๙ องค์ประกอบ แต่ส่วนที่สำคัญเกี่ยวกับสังคมโดยตรงมี ๕ องค์ประกอบนอกนั้นจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเสียมาก ๕ องค์ประกอบนั้นคือ ด้านสุขภาพ ด้านความรู้และทักษะ การมีส่วนร่วม ความปลอดภัย การเชือมต่อทางสังคมGross National Happiness of Buthan การชี้วัดในประเทศภูฏานนั้นแบ่งได้ดังนี้คือ ๑) เสาหลักแห่งความสุขของสังคมทั้ง ๔ ด้านประกอบด้วย พัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืน อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าสังคม รักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และการมีธรรมาภิบาล ๒) Value Approach ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยใช้ มรรค ๘  แต่ปัญหาคือการพัฒนาตัวบ่งชี้ให้เป็นรูปธรรมแผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ โดยสภาพัฒนฯ ได้กำหนดว่า สังคมอยู่ดีมีสุข ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ ๗ ประการคือ ๑) สุขภาพอนามัย ๒) การมีความรู้ ๓)ชีวิตครอบครัว ๔) สภาพแวดล้อม ๕)...... (เนื่องด้วยไปเร็วมากทำให้ตามไม่ทันโปรดศึกษาอย่างละเอียดจากเอกสารต่อไป))
หมายเลขบันทึก: 63530เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท