​ชีวิตที่พอเพียง 2989a. เรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการสร้างตนเองขึ้นมาใหม่


“เรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการสร้างตนเองขึ้นมาใหม่” คือ transformative learning ที่เกิดจาก การกระทำ ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection) โดยตัวเราเอง และยิ่งมีกัลยาณมิตรมาร่วมกระบวนการ ด้วย การไตร่ตรองสะท้อนคิดก็อาจยิ่งยวดจริงจังยิ่งขึ้น ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐาน ของกระบวนทัศน์เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็คือเปลี่ยนตัวตน หรือสร้างตัวตนขึ้นใหม่นั่นเอง

ชีวิตที่พอเพียง  2989a. เรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการสร้างตนเองขึ้นมาใหม่

หนังสือ ฟูโกต์ คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ เขียนโดย ศ. ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ หน้า ๒๑๑ ระบุตอนหนึ่งว่า    “…มนุษย์ต้องหันกลับมาเรียนรู้ด้วยตนเอง  ด้วยการสร้างตนเองขึ้นมาใหม่ …… อัตตาไม่ได้ถูกประทานมาให้เรา     แต่ฟูโกต์ก็อธิบายไม่ได้อย่างชัดเจนว่า แล้วอัตตานั้นเกิดมาได้อย่างไร ในเชิงรูปธรรม ….”

ผมตีความว่า “เรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการสร้างตนเองขึ้นมาใหม่” คือ transformative learning    ที่เกิดจาก การกระทำ ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection) โดยตัวเราเอง    และยิ่งมีกัลยาณมิตรมาร่วมกระบวนการ ด้วย    การไตร่ตรองสะท้อนคิดก็อาจยิ่งยวดจริงจังยิ่งขึ้น    ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐาน ของกระบวนทัศน์เกิดขึ้นได้    ซึ่งก็คือเปลี่ยนตัวตน หรือสร้างตัวตนขึ้นใหม่นั่นเอง

อัตตาหรือตัวตนของเรา ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีการประทานมาให้  แต่ตัวเราเป็นผู้สร้างเอง    เราสร้างตัวตน ของเราเอง   และเราเปลี่ยนแปลงตัวตนของเราเองได้ด้วย    นี่คือการตีความที่ผมผสมผสานความรู้จากหนังสือ การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร   ผสมผสานกับ ความรู้จากหนังสือ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง    

เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวตน (อัตตา) จึงเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน    คือมีธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ    ตามประสบการณ์และการเรียนรู้จากประสบการณ์นั้น     

ที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงระดับ transformation นั้น มีหลายมิติ   ทั้งมิติของความรู้ ทักษะ จิตใจ และจิตวิญญาณ    ในส่วนของจิตใจและจิตวิญญาณนั้น เราเปลี่ยนตนเองไปในทางที่ยกระดับจิตใจขึ้นไปก็ได้   เปลี่ยนไปในทางเสื่อมก็ได้    และในหลายกรณีคนเราอาจหลงผิด คิดว่าตนพัฒนาขึ้น เก่งขึ้น   โดยที่ในความเป็นจริงแล้ว ตนเสื่อมทรามลง เพราะที่ว่าเก่งขึ้นนั้น เก่งไปในทางชั่วร้าย  เพราะหลงไปกับมิจฉาทิฐิ    เช่นคิดว่าฉ้อโกงทรัพย์สินส่วนรวมมาเป็นของตนได้โดยไม่ถูกจับ เป็นความเก่ง     คิดว่าเอาเปรียบคนอื่นได้ เป็นความเก่งหรือฉลาด

ในกรณีของการยกระดับจิตใจนั้น    ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของระบบการศึกษา ที่จะต้องปลูกฝังความเป็น “มนุษย์ระดับ ๖” ขึ้นในเยาวชน    ตามแนวคิดของ Lawrence Kohlberg   ซึ่งมีอธิบายไว้อย่างเป็นรูปธรรม ในหนังสือ ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ     

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ก.ค. ๖๐

 

หมายเลขบันทึก: 634828เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2017 05:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2017 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this insight full post.

I think many people fail to understand this intrinsic 'transformation' (of mind, outlook/view, behaviour,... - "inside"). Many people know well about more superficial transformation (of dresses, mannerisms, cosmetics,..."outside").

It is a fact that we can seen appearances easier than "higher quality". Sigh!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท