ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๕๐. ใช้การวัดในชั้นเรียน



บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง

ตอนที่ ๕๐ ใช้การวัดในชั้นเรียน  ตีความจาก Recommendation 5 : Rely on Classroom Measurement

หัวใจสำคัญคือ ใช้การวัดในชั้นเรียน ไม่ใช่การสอบโดยหน่วยงานภายนอก    สิ่งที่ต้องการวัดคือผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน  ที่แสดงทั้งการเปลี่ยนแปลงหรือความก้าวหน้าในการเรียน  และแสดงสถานะความรู้ของนักเรียน ณ จุดต่างๆ รวมทั้งเมื่อจบภาคหรือปีการศึกษา     ซึ่งรายละเอียดอยู่ในภาคที่ ๒ (ตอนที่ ๖ และ ๗) 

หนังสือ The New Art and Science of Teaching บอกว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในเรื่องการสอบก็คือ  ควรเอาไปไว้ในมือครู  ที่ใช้การทดสอบแบบประเมินเพื่อพัฒนา (formative assessment) เป็นระยะๆ     ไม่ใช่เน้นการประเมินโดยข้อสอบมาตรฐาน ที่เป็นการประเมินเมื่อสิ้นปี  และดำเนินการโดยบุคคลภายนอก  ที่เรียกว่า benchmark assessment  หรือ end-of-course assessment  โดยมีเหตุผล ๓ ข้อ  (๑) การทดสอบโดยบุคคลภายนอก ทำไม่บ่อยเพียงพอ    ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้ feedback แก่นักเรียน และแก่ครู   (๒) การทดสอบโดยบุคคลภายนอก ให้น้ำหนักแก่การทดสอบแต่ละครั้งมากเกินไป    ทั้งๆ ที่ที่จริงแล้วมีระดับความแม่นยำอยู่ระหว่าง ๐.๐ - ๑.๐   ซึ่งหมายความว่าค่าคะแนนที่ได้อาจสะท้อนคะแนนจริงในช่วงที่กว้างถึง ๒๐ คะแนน   คือที่ระดับความแม่นยำ ๐.๖๕  คะแนนที่ได้ ๗๕   SD 8.33   ที่ confidence interval 95%   upper limit ของคะแนนคือ 85  และ lower limit คือ 65   (๓) เป็นการไม่ให้ความสำคัญแก่การประเมินในห้องเรียน  

ผมขอเสนอเพิ่มเติมว่า การเอื้ออำนาจให้ครูดูแลการประเมินนั้น    นอกจากผลประเมินแม่นยำกว่าคนนอกประเมินแล้ว     ยังเหนือการประเมินโดยระบบภายนอกอีกอย่างน้อย ๒ ประการ คือ (๑) ครูดำเนินการประเมินเพื่อพัฒนาควบคู่ไปกับการให้ constructive feedback  ซึ่งจะมีผลให้นักเรียนมีกำลังใจ  และรู้แนวทางปรับปรุงการเรียนของตน  (๒) ครูไม่ใช่แค่ประเมินความรู้ด้านวิชาการ  แต่จะประเมินรอบด้าน  เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน (holistic)


วิจารณ์ พานิช

๑๕ เม.ย. ๖๐


 

หมายเลขบันทึก: 634472เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2017 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2017 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

This idea that every teacher is to assess individual students (in her/his class or assigned to by other criteria) and is responsible for 'managing' students' learning, instead of 'delivering lessons' (at assigned time of day), would promote a more respectable view of 'teachers' (as professional children carers).

I am all for it. But how do we retrain 200,000+ teachers to fit the change and how do we measure performance of teachers and of the change itself?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท