โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 4: วันที่ 22-23 สิงหาคม 2560)


ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 4: วันที่ 22-23 สิงหาคม 2560)

ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 เมื่อปีที่แล้ว

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยทักษิณจัดโครงการให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 51 คน จากทั้งวิทยาเขตสงขลาและพัทลุง

และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 4 ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน

.. สร้างพลังในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย

สรุปการบรรยาย

วันที่ 22 สิงหาคม 2560

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

ณ ห้องประชุม 1-801 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

(สรุปบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์

รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ

วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้น อยากให้เปิดมุมมองใหม่ ๆ ที่ได้เห็นการทำงานของที่อื่นว่าทำงานอย่างไร

ทุกมหาวิทยาลัยนักศึกษาลดลงหมดเลย การทำงานแบบเดิมจะรอภาครัฐไม่ได้แล้ว ดังนั้นการทำงานของทุกคนต้องร่วมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ให้มีแรงบันดาลใจในตัวเอง ให้ศึกษาการทำงานของม.รังสิตว่าทำอย่างไรถึงอยู่ได้ ดังนั้น ม.ทักษิณต้องดูว่าจะปรับตัวอย่างไร เพื่อเปิดมุมมองให้มากขึ้น แลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยมากขึ้น

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ภูมิใจมากที่ได้รับการบริหารผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยรังสิตอย่างยิ่ง และในโอกาสข้างหน้าถ้ามหาวิทยาลัยรังสิตไปเยี่ยม ม.ทักษิณ และเชื่อมโยงโครงการฯ ด้วยจะเป็นประโยชน์

 

กล่าวต้อนรับ โดย รศ.วิสูตร จิระดำเกิง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

          แต่ละท่านที่มาคิดว่าจะเข้าสู่เส้นทางผู้บริหารต่อไป 

          ม.รังสิต รูปแบบการบริหารจัดการแตกต่างกับ ม.ทักษิณบ้าง แต่ในเรื่องของวิธีการ ความสามารถในการพัฒนาเป็นผู้บริหารคงไม่ต่างกัน การมาดูงานในวันนี้รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีต้อนรับ

          ขอต้อนรับและหวังว่าการศึกษาดูงานจะเป็นประโยชน์ตามที่คาดหวังทุกประการ

 

 

บรรยายเรื่อง นวัตกรรม / กิจกรรม / โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

โดย     คุณอรรถยา สุนทรายน

รองผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์

 

          ม.รังสิตเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมที่ได้มีการพัฒนางานมาโดยตลอด

          1. การเตรียมเปิดโรงพยาบาล RSU International เพื่อเป็นการตอบโจทย์การดำเนินการด้านสุขภาพ และวิทยาศาสตร์ในอนาคต

          2. จะเปิดสถาบันทางการแพทย์บูรณาการและแผนสุขภาพองค์รวม โดยมีแนวคิดว่าโรงพยาบาลอะไรที่จะรักษาโดยไม่ต้องนอนที่โรงพยาบาลนั้น ๆ เช่น RSU Healthcare

          3. โครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา คณะเภสัชศาสตร์ ได้มีการวิจัยค้นพบว่ากัญชาสามารถนำมาเป็นตัวรักษาได้อย่างดี

          4. เปิดคณะรังสีเทคนิค ภาคการศึกษา 1/2559 เป็นแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชน เนื่องจากเห็นความต้องการอยู่ ร่วมกับโรงพยาบาลกรุงเทพ และมีเครื่องมือต่าง ๆ

          5. เปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ เน้นการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์

          6. เปิดสถาบัน General Education เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ วิธีการเรียน วิธีการตั้งใจได้มีการเปลี่ยนแปลงไป จะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร เป็นการเรียนแบบบูรณาการ และจะทำอย่างไรให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน ทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ได้รับความรู้กลับไป

          7. ศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส เปิดที่ Student Center หรือตึกสตาร์บักส์

          8. ปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ มีแนวคิดที่จะสร้างเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ จึงคิดที่จะตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติได้อย่างไร เช่น การสร้างกิจกรรม การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน

          9. ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนความรู้ และหาความรู้ทางด้าน Design ได้ออกแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้

          10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ คณะกายภาพบำบัด มีการวัดสมรรถภาพร่างกายของนักกีฬา เพื่อพัฒนาให้นักกีฬามีความสามารถ

          11. ศูนย์คลินิกช่วยเหลือประชาชน คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต 

การสร้างประโยชน์มีส่วนร่วมต่อสังคม

          1. กิจกรรมอวัยวะที่ 33 กับการเดินทางของชีวิต ได้ลองให้นักศึกษาเป็นผู้พิการ และให้นำมาพัฒนากิจกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ

          2. กิจกรรมช่วยเหลือน้ำท่วม

3. การนำข้าวสารมาแลกค่าเทอม ไม่ต้องขนข้าวสาร มีทีมรับส่ง มีทีมตรวจสอบการให้ราคาข้าว

4. ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต เนื่องจาก ม.รังสิตตั้งในชุมชน มีคนหลากหลายเข้ามา มีปัญหามาก ทำให้ตำรวจไม่เพียงพอ จึงได้ตั้งตำรวจมหาวิทยาลัย ที่ช่วยเหลือตำรวจอีกทีโดยการทำงานร่วมกัน

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          ที่ ม.รังสิตทำมาทั้งหมดเป็นการทำจาก Demand Side แต่ ที่ ม.ทักษิณอาจยังเป็น Supply Side อยู่ ม.รังสิต สามารถพัฒนาจนเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชน อย่างในวันนี้ ที่ได้รับเกียรติให้ศึกษาดูงาน ควรมองถึงการทำงานในอนาคต 

          ม.ทักษิณ ควรมีการพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการทางการศึกษา เนื่องจากสิ่งที่ม.รังสิตทำขึ้นมาในโครงสร้างของรัฐค่อนข้างทำยาก  การทำอะไรเป็นที่ต้องการของธุรกิจ หรือสังคมจะรอด การปรับ Mindset ของคนที่ทำราชการจะอยู่รอดได้

          ทุกอย่างที่ทำในวันนี้ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของทุกคน และถ้าเป็นไปได้อยากให้มีคณะของม.รังสิตไปเยี่ยม ม.ทักษิณ และถ้าไปเมื่อไหร่ ดร.จีระ อยากไปร่วมด้วยเพราะอยากเห็น Networking ของภาคใต้กับกรุงเทพฯ

          ในฐานะที่เคยเป็นอาจารย์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ความสำเร็จของการทำงานส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรด้วย อย่างม.ทักษิณ แม้ออกนอกระบบแล้วการบริหารจัดการก็ยังเป็นลักษณะข้าราชการอยู่ เช่น สตง. ระเบียบต่าง ๆ ต้องสร้างให้สภามหาวิทยาลัยออกกฎบางอย่างเพื่อทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น  ขอชื่นชมการทำงานของสายสนับสนุนเนื่องจากเป็นคนที่มีบทบาทสูง เพราะหลายคนอยากวิ่ง เราต้องทำให้วิ่งในลู่เดียวกัน ให้รู้จักกัน สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ หลักสูตรนี้ไม่ได้สอน Content เรื่องกฎระเบียบ และปรับพฤติกรรม เราต้องทำเป็นหน่วยงานที่แข่งขันกับภาคเอกชนให้ได้ แต่พฤติกรรมของคนต้องใช้เวลา เราต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้ก่อน แต่ไม่ใช่ทำแบบภาคเอกชนไม่ได้ เราต้องมีวิธีการและเหตุผลในการทำ ตัวละครต่าง ๆ อย่าง ม.รังสิตดึงเข้ามามาจากภายนอก ส่วนม.ทักษิณยังใช้ข้างในอยู่จึงไม่ได้มองเห็นนวัตกรรมเหล่านี้ได้ คณะอาจต้องทำงานร่วมกัน และดึงความสามารถจากข้างนอกมาใช้ร่วมกัน เน้นการปรับพฤติกรรม Mindset  Behavior

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. อยากทราบแนวคิดในการเริ่มทำโครงการแต่ละโครงการมาได้อย่างไร เช่น ข้าวสารแลกค่าเทอม

ตอบ โครงการนี้เกิดจากปัญหาของชาวนา มีวิกฤติคือไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม จึงมีแนวคิดให้นำข้าวแลกค่าเทอม ม.รังสิต ไม่ใช่มีคนรวยมาเรียนอย่างเดียว มีนักเรียนทุนมาก และมีลูกชาวนามากจึงคิดวิธีการนี้ขึ้นมาช่วย และให้คิดวิธีให้ชาวนาขายข้าวสารโดยไม่ผ่านคนกลาง จึงสร้างโรงสีขึ้นมาเพื่อช่วยชาวนาได้ทำการสีข้าวได้เอง และให้ราคาตามราคาตลาด และไม่ต้องขนข้าวมาเนื่องจากแต่ละจังหวัดมีเครือข่ายอยู่ ใช้วิธีการช่วยกัน

2. การอบรมครั้งนี้ฝึกคน ฝึกทีมงานเพื่อบริหารคน จากโครงการนี้ไม่ได้เป็นโครงการปกติ เป็นโครงการเพิ่งเกิดที่ใช้คนในการบริหารจัดการ ที่ ม.รังสิต ใช้วิธีการใด อย่างการเติมคน ใช้คนเดิม หรือมีวิธีการบริหารจัดการคนอย่างไร

ตอบ ถ้าองค์กรที่อยู่เฉยคนไม่เพิ่ม แต่ถ้ามีโครงการไหนมาอาจต้องเพิ่มคน อย่างไรก็ตามต้องคิดดูก่อนว่าควรเพิ่มคนหรือไม่ และจะทำอย่างไร แล้วแต่โครงการฯ  ส่วนเรื่องโรงสีข้าว ให้ชาวบ้านเป็นคนทำ แต่ม.รังสิต ส่งอาจารย์ไปช่วย เช่น อาจารย์จากวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร ส่วนเรื่องการตั้งราคาใช้คณะบริหารฯ ไปช่วย เรื่องการสร้างโรงสี ให้อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ไปทำ แต่เรื่องโรงสีให้ชาวบ้านไปทำ

          ปัญหาเรื่องนักศึกษาลดลง ไม่ได้ลดคน แต่จะทำอย่างไรให้คนมีคุณภาพ ทำอย่างไรให้คนพัฒนา มี Competency ที่ทำอยู่ มีเรื่องการออกระเบียบเข้ามา ซึ่งระเบียบต่าง ๆ ทุกมหาวิทยาลัยทำอยู่แล้ว เรื่องคนเกิดปัญหาเหมือนกัน เราต้องมีวิธีการ

3. แนวคิดในการสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัย มีการเรียกความสนใจจากผู้รับบริการมา เรื่องการนำกัญชามาช่วยในเรื่องการทำยาด้านสุขภาพ ม.ทักษิณอยากได้แนวคิดอย่างนี้เพื่อจุดประกายที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุนที่มีการวิจัยเพื่อเอาชนะอุปสรรคอย่างไร  พลิกวิกฤติของประเทศให้เป็นจุดหนึ่งของมหาวิทยาลัยในการสร้างแบรนด์ เกี่ยวกับอุปสรรคและการต่อยอดทางการศึกษา

ตอบ มีการทำเรื่องที่ทุกคนจากคณะคิดมาได้และทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมา วิธีการสื่อสารองค์กรในช่วงแรกที่ทำคือ คณะมีเรื่องเยอะมากแต่ไม่ได้บอกมาจึงประชาสัมพันธ์ไม่ได้ วิธีการคือ 1.ตั้งตัวแทนของคณะ 2. ช่วงที่อยู่ในกระแสสังคมจะทำอย่างไรให้อาจารย์ตอบกับสื่อได้ 3. มีตัวแทนหน่วยงานที่แลกเปลี่ยนคุยกันทางไลน์ทุกวัน หรือมีอะไรนำเสนอก็จะบอกไป เน้นการทำงานที่รวดเร็วและทันท่วงที หนังสืออาจตามไปทีหลังได้ 4. อุปสรรคในการดำเนินการให้เครดิตคณะในการการประสานงานและแก้ไขต่าง ๆ   การขอความร่วมมือจะได้รับความร่วมมือทันที

 

บรรยายเรื่องการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

โดย     อาจารย์ดวงรัตน์ อาบใจ

รองผู้อำนวยการศูนย์ RSU Cyber University

 

RSU Cyber University

ม.รังสิตมีหลักสูตร Online 3 หลักสูตรคือ ปริญญาตรี และปริญญาโท และมีประกาศนียบัตร

          เกิดจากแนวคิด “มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม” มีการนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนและการทำงานของมหาวิทยาลัย

          มีการรวมศูนย์ เพิ่มภาระงาน มีการทำหลักสูตร Online  มี E-learning และจะมีการทำประกาศนียบัตรกับบุคคลภายนอกด้วย

          มหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับการปรับตัวที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ภาษาอังกฤษระยะสั้น ทำอาหาร Chef

          - กลุ่มเป้าหมายไม่ได้อยู่ในโรงเรียนเท่านั้น

          นวัตกรรม เกิดจากการศึกษาวิจัย เชิงวิทยาศาสตร์ที่ดูว่าเทคโนโลยีไหนบ้างที่สามารถนำมาใช้และสร้างประโยชน์ได้ จะพบว่าเด็กเกือบทุกคนจะมี แท็บเล็ต มีการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน และนำสิ่งที่มีแล้วใช้ประโยชน์มากที่สุด

          - E- Learning

          - E-Book

          - Google Apps for Education

          - Smart Classroom & Application

          - MOOC & Flipped Classroom

          - iTunes U

          - Second life & Gamemification

          ปรับกระบวนการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอนอย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนจะสนุกมากขึ้น

-  E-Learning สามารถโหลดเข้ามือถือได้เลย

          - เมนู Quiz ช่วยในการสอบย่อยหรือสอบกลางภาคได้ ถ้าเด็กไม่มีอุปกรณ์จะมีห้องคอมฯให้

          - RSU Book Shelf ให้เด็กสามารถโหลดได้

          - การเรียนการสอนสามารถเปิดวีดิโอย้อนหลังได้ เป็นแบบ Animate ได้ และเหมาะกับการเรียนรู้ทางสายวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตลอด

          - มี iTunes U. คล้าย E-Learning แต่ไม่ได้มีฟังก์ชั่นครบ สามารถเปิดผ่านอุปกรณ์ได้ เด็กสามารถใช้ IPad ในการสอบได้เลย

          - ใช้ Google เด็กสามารถมีไฟล์งาน สามารถเปิด Portfolio ได้เลย มีการ Training อาจารย์และเด็ก มีโปรแกรมฝึกภาษาอังกฤษ โครงการ Second Life & Gamification เด็กจะกล้าพูดกล้าซักถาม ในการพูดได้จริง เพื่อให้เด็กฝึกทักษะการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

          - MOOC มีรายวิชาในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่สามารถเข้าไปดูได้ มีการ Assign งานได้เรียนรู้เพิ่มเติม ทุกอย่างสามารถ Download มาได้ ปรับการเรียนการสอนได้ฟรี

          - มีตัว Robot บันทึกการเรียนการสอนได้เลย อาทิ Swivl Robot     

          - มี Application วัดทักษะความจำ ความรู้ในห้องเรียน เก็บคะแนนย่อย ๆ มีการจัดสอบ Online

          - มีการจัด Training in class

          - Smart Education เชิญวิทยากรมาจากทั่วโลก และเชิญอาจารย์เก่ง ๆ มาสอน

ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.bit.ly/cyberupr

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ม.รังสิตมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเยอะมาก และมีการให้อาจารย์ไปสอนอย่างไร     

ตอบ มหาวิทยาลัยให้ IPad เด็กทุกคน และมีการ Survey ว่าอาจารย์ใช้เทคโนโลยีใดในการเรียนการสอน ชอบแบบไหนใช้แบบนั้น มีตะกร้าที่มาก ให้เลือก มีเจ้าหน้าที่ไปคุยกับอาจารย์ว่าเนื้อหารายวิชาเหมาะกับเทคโนโลยีแบบไหน มีการ Roadshow และนัดกลุ่มย่อยเพื่อคุย

          การทำคอร์ส online มากขึ้น มีวิธีคิดทำอย่างไรให้ข้อมูลเข้าถึงอาจารย์ทุกคนเริ่มจาก Roadshow ก่อน

 

2. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ระยะเวลาในการกระตุ้นและใช้งานแค่ไหน

ตอบ เริ่มประมาณ 6 ปี แต่ก่อนหน้านี้ 10 ปีมีการใช้ E-learning มีการประเมินบุคลากรโดยอาจารย์ต้องมา Training และอบรมด้วย รูปแบบการเรียนรู้จะไม่เหมือนยุคก่อน ๆ เช่นสมัยนี้จะมีการถ่ายรูปและวีดิโอ มีการประชาสัมพันธ์แต่ละคณะ และ PR มีการดึงอาจารย์ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในแต่ละเทคโนโลยีถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นการจิบน้ำชาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

3. ม.รังสืตได้ผลิตเนื้อหาวิชาผ่านทาง MOOC หรือยัง มีการเลือกวิชา และมีบทบาทอย่างไรในการนำมาใช้

ตอบ MOOC จะพัฒนาหลังจากนี้  จะคัดเลือกวิชาที่เด่น ๆ ที่เป็นจุดขายแต่ละคณะในการผลิตคอร์ส ส่วน RSU MOOC ยังไม่ได้เริ่มแต่จะเป็น Phase ถัดไป

 

 

บรรยายเรื่อง การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

โดย     คุณกสิณ จันทร์เรือง

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล

 

          บุคคลมี 2 ส่วน คืองานบริหาร และงานพัฒนา

          ปัญหาคือมีความล่าช้า ได้มีการปรับเป็นให้คน ๆ เดียวดูตั้งแต่ต้นจนจบ แต่จะดูเป็นส่วน ๆ สิ่งที่ทำคือทำให้งานเร็วขึ้น เนื่องจากได้ดึงกระบวนการนี้มาจากโรงพยาบาลพญาไท ที่มีการบริหารแบบ One Stop Service ต้องมีการยุบรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง

          ด้านวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัย ตั้งโดยอธิการบดี

วิสัยทัศน์ ขุมพลังปัญญาของชาติ เพื่อปฏิรูปประเทศไทยสู่สังคมธรรมาธิปไตย

          เอกลักษณ์ มหาวิทยาลัยสมบุณร์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม

          อัตลักษณ์ คิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นคุณธรรม นำการเปลี่ยนแปลง

 

จำนวนบุคลากรปัจจุบัน สายการสอนจำนวน 1256 คน  สายสนับสนุน 1,369 คน

          มีสัญญาว่าจ้างทั้งสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ กำหนดคราวละ 2 ปี และมีต่อ

          เกษียณอายุ  65 ปี เว้นแต่อธิการบดีมีการอนุมัติให้มีการจ้างเป็นคราว ๆ คราวละไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากมองว่าคนกลุ่มนี้เคยช่วยเหลือมหาวิทยาลัยมาก่อน ก่อนที่จะโตได้

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เกษียณ 65 ปี หมายถึงทุกสาย จะมีการเลือกอย่างไรว่าใครมีประโยชน์

ตอบ มีการประเมิน อย่างคณะจะมีคณบดีประเมิน ส่วนสายผู้บริหารอธิการบดีเป็นคนประเมิน แม้แต่สัญญาจ้างทุก 2 ปีก็มีการประเมินว่าจะต่อหรือไม่ต่อ

2. เงื่อนไขการต่อสัญญามีเงื่อนไขอะไรบ้างในการประเมิน และเงินเดือนที่ได้รับระหว่างช่วงต่อสัญญาได้รับหรือไม่ มีจุดอะไรบ้างที่ดึงดูดให้กับบุคลากรให้สายสอนและสนับสนุนได้ทำงานเต็มศักยภาพ

ตอบ เคยมี สกอ. ได้มาตรวจและถามว่าทำไมถึงมีบุคลากรอยู่นานมาก คำตอบคือ สวัสดิการดี และให้อิสระในการทำงาน ดูที่ผลงานเป็นหลักไม่ได้เน้นเรื่องเวลาการทำงาน สวัสดิการได้ดูถึงพ่อแม่ด้วย เรื่องการต่อสัญญาจ้าง มีการประเมินทุกปี เช่นจะขึ้นเดือนมิถุนายน ทุกคนจะได้รับเงินเดือนทุกปี ที่มองว่ามั่นคงหรือไม่มั่นคง ไม่มีใครเคยถูกเลิกจ้างภายใน 2 ปีเลย ยกเว้นคนที่มีปัญหาจริง ๆ ทุกคนจะเข้าใจอยู่แล้ว

3. เรื่องนโยบายความต่อเนื่อง เนื่องจาก ดร.อาทิตย์ อยู่ตลอดเลยทำให้นโยบายต่อเนื่องไป แต่ในส่วนของมหาวิทยาลัยอื่น พอเปลี่ยนอธิการบดี นโยบายจะเปลี่ยนไปหรือไม่ สภามหาวิทยาลัยจะมีการควบคุมให้มีนโยบายต่ออย่างไร

ตอบ อธิการบดี เป็นเจ้าของไม่มีใครปลด แต่การทำงานก็ต้องมีการประเมินทุก 2 ปี มีการประเมินโดยสภามหาวิทยาลัยร่วมด้วย และจะขอความเห็นจากหลาย ๆ ฝ่าย สภามหาวิทยาลัยจะคุมอธิการบดีอีกทีหนึ่ง

4. หลักการที่ฝ่าย HRD ใช้แนวความคิดอย่างไรในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนและสายวิชาการให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน และพบว่าหลายสถาบันให้ความสำคัญต่างกัน ใน ม.รังสิต มีกระบวนการคิดด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างไร

ตอบ งาน HRD ภาพรวมมีบุคลากร 2 สายแบ่งหน่วยงานชัดเจน สายสนับสนุนจะรับผิดชอบโดย HRD มีท่านรองอธิการบดี และผู้ช่วยฯ ดูสายสนับสนุน ส่วนสายวิชาการ มีการพัฒนาร่วมกันในหลายหน่วยงานเช่น สถาบันวิจัย มีศูนย์สนับสนุนและพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอน และมีศูนย์ Cyber University เอางานนวัตกรรมมาพัฒนาอาจารย์ ส่วนสายสนับสนุนมี HRD ดูแลทำเรื่อง Training และพัฒนา มีการเอาระบบ Competency มาใช้ มีการเอา Competency มาพัฒนาเพื่อตอบโจทย์

          Core Competency และ Managerial และเรื่อง Functional มีการพัฒนาให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยระดมสมอง มีการสร้าง Core Competency ขึ้นมา มีการสร้างสังคมให้นักศึกษา บุคลากรต่าง ๆ ก้าวสู่สังคมธรรมาธิปไตย โดยให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยมีความเป็นธรรมาธิปไตย และมีความเข้าใจกัน นอกจากนี้มีการทำงานเป็นทีม และเน้นการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3 ส่วนนี้จะเป็น Core Competency หลักของผู้บริหาร

          ส่วนในระดับ Managerial Competency มีเรื่องการจัดการกลยุทธ์ ภาวะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ การตัดสินใจและแก้ปัญหา และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

          ด้าน Functional แบ่งเป็น 2 สายคือสายวิชาการที่เป็นอาจารย์และสายสนับสนุน  มีการกำหนด Competency แล้วตีมาเป็นแผนฝึกอบรมของบุคลากร แต่อย่างไรก็ตามยังเป็นการฝึกอบรมกว้าง ๆ อยู่

          RSU Functional Competency สายอาจารย์ ได้แก่ ความรู้ทางวิชาการ /วิชาชีพเฉพาะด้านและงานวิจัย ความสามารถและเทคนิคการสอน  จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ และที่แตกต่างตามแต่ละคณะ

          RSU Functional Competency สายสนับสนุน ได้แก่ความรับผิดชอบในงาน จิตสำนึกการบริการ และที่แตกต่างตามแต่ละหน่วยงาน

          ปี 2560 นี้จะเป็นปีแรกในการประเมิน Gap Competency โดยจะเริ่มที่หน่วยงานสนับสนุนก่อน มีการประเมิน และทยอยกันส่งมาด้วย

          ปัจจุบันจะมีการพัฒนาตามกรอบที่ให้ไว้ และในอนาคตจะมีการเติมตาม Gap ช่องว่าง มีการปรับเปลี่ยนในเรื่องการทำอะไรเพิ่มเติม และในปัจจุบันจะมีการอบรมเป็น Classroom ,Workshop อยู่แต่ยังไม่มีการทำเป็น Project Based เท่าไหร่ แต่ในอนาคตจะทำ

          การพัฒนาบุคลากร 5.0 ได้มีการจัดหลักสูตร Online และทำร่วมกับ Cyber U. ให้บุคลากรได้เรียนรู้และเข้าใจ และเมื่อเข้าใจแล้วจะออกมาเป็น Action เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาบุคลากรใน ม.รังสิตในอนาคต

          มีแนวทางการพัฒนาทุกตำแหน่งงาน มีการพัฒนาแบบ PDCA มีการเน้นอบรมภาษาอังกฤษ และมีการอบรมภาษาอังกฤษมากพอสมควร มีการปรับให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้ภาคภาษาอังกฤษ และหลักสูตร Online มีการ Serve กับเจ้าหน้าที่ภาษาอังกฤษด้วย

          มีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ใช้ระยะเวลาครึ่งวัน มีการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีม โดยนิมนต์พระมาเทศน์ และได้มีการจัดกิจกรรมในศูนย์อบรมเพื่อสอนการทำงานเป็นทีมกิจกรรม Team Building แต่ละฐานได้ตอบสนอง Competency ทุกตัว

          RSU Skills เป็นสิ่งพัฒนาเพื่อตอบโจทย์

          -Requirement Skills หรือ Technical Skills ทักษะที่ใช้ในการทำงานแต่ละระดับ

          -Soft Skills หรือ Mind Skills เพื่อให้เกิดความพร้อมทางจิตวิทยา

          - University Skills หรือ RSU Core Competencies  เพื่อขับเคลื่อนตามค่านิยมหลัก

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เสริมว่าในอนาคตรูปแบบของการพัฒนาสายอาจารย์และสนับสนุน น่าจะมีการทำสองรูปแบบเช่นเอาทั้งสองสายงานมาผสมกัน และให้อ่านหนังสือร่วมกัน คนที่เป็นอาจารย์ต้องเข้าใจเรื่อง Networking เรื่องInnovation เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้มหาวิทยาลัย และข้ามสายงาน ข้ามคณะ ทลาย Silo เพื่อให้เกิด Value Diversity อาจให้ทำแบบ Project Based และมีการอ่านหนังสือร่วมกัน แล้วหลักสูตรนี้คือ Informal Networking

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ดร.จีระ ถามว่า การสร้างแรงบันดาลใจ หรือ Motivation การเก็บเกี่ยวทางวิชาการเป็นเรื่องยากอย่างหนึ่ง เนื่องจากไม่ได้วัดทางรายได้หรือสวัสดิการเท่านั้น เช่นการสร้างการยอมรับ เกิดมาแล้วทิ้งอะไรเป็นมรดกได้บ้าง อย่างหนังสือ From Good to Great เน้นผู้นำ 5 ระดับ มีผู้นำที่ถ่อมตัว และทำให้คนอื่นเป็นเลิศได้นำแนวคิดนี้มาใช้หรือยัง จิตวิญญาณต้อง life long learning

ตอบ การสร้างแรงจูงใจ สายอาจารย์ แต่ละคณะจะมี Process ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นเอกชนต้องสร้างด้วยตัวเอง ต้องทำให้อาจารย์ Generate income ในคณะได้ ได้มีการสร้างศูนย์ทางวิชาการขึ้นมา สร้างรายได้อย่างหนึ่งให้กับคณะ จะทำอะไรในสิ่งที่เราถนัด เช่น Distance Learning ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องทำตลาด มีการทำ Project Start Up ทำเป็นกิจกรรมเข้าไปสู่โรงเรียน ทั้งอาชีวะ และสายมัธยมศึกษาทั่วไป โดยคาดหวังคือการให้ความรู้เขา และคาดว่าในอนาคตจะมีนักศึกษาคนใดคนหนึ่งติดใจ ม.รังสิต คิดสร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้คน Academic ในมุมมองต่างกัน เปิดกว้างให้ใช้ความรู้ ความสามารถในสายตนเองถนัด ให้อาจารย์ช่วยพัฒนาบุคลากรส่วนต่าง ๆ ในสาย Academic

          การพัฒนาบุคลากร บางสาขาที่ขาดแคลนต้องสร้างเอง เช่นสอนอยู่แล้วดูว่าเด็กคนไหนมีแววเป็นอาจารย์ได้ ก็ส่งเรียนและเชิญมาเป็นอาจารย์ พบว่านักศึกษาเก่าหลายคนได้เป็นคณบดีแล้ว

 

2. อาจารย์สายพิณ กล่าวว่าในเชิงระบบไม่ได้แตกต่างกับ ม.รังสิตมากนัก งบประมาณในการขึ้นเงินเดือนทุกปีที่ผ่านมาได้เงินงบประมาณขึ้นเงินเดือน 6% แต่ปีที่ผ่านมารัฐบาลจ่ายมา 4% แสดงว่าได้รับเงินงบประมาณลดลงเรื่อย ๆ ม.ทักษิณได้เพิ่มอีก 2 %  สิ่งนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ถ้าเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองอาจทำให้เราไม่สามารถอยู่รอดได้ การพัฒนาคน ศักยภาพคนที่คัดเลือกคนในองค์กรเป็นเรื่องใหญ่ Performance คนต้องสูง ต้องมีการ Balance คนให้อยู่ได้ มีการให้สวัสดิการที่สูง ดังนั้นการคัดเลือกคนเข้าสู่ระบบได้มีการคัดเลือกเช่นเดียวกัน แต่บางครั้งไม่ทัน จึงรับคนที่จบแล้วพร้อมใช้งาน ยกเว้นหาไม่ได้ ก็ให้คณะหาคนมาแล้วให้ทุนไปเรียน ซึ่งถ้ามีคนพร้อมมาสมัครจะรับตรงนั้นก่อน ส่วนเรื่อง Engagement เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันสร้าง อย่างไรก็ตาม ในม.ทักษิณ ถือว่าบุคลากรสายสนับสนุนเป็น Back Office ที่สำคัญมากในการช่วยสนับสนุนงานด้านการบริหาร เป็นกลุ่มคนที่เตรียมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ สิ่งที่มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนช้าเพราะคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ต้องถูกบังคับ จึงอยากให้คนเปลี่ยนก่อนถูกบังคับ     การประเมินสมรรถนะอาจารย์เดิมให้นิสิตอาจารย์เดิมไปประเมิน ทางสกอ. ได้มีการประเมินความรู้ระดับไหน ได้มีเรื่องการเรียนรู้เรื่องการเรียนการสอนเรื่องจรรยาบรรณการเป็นครู

          สายสนับสนุน ม.ทักษิณ มีความแตกต่างมาก ใช้ Core Value จาก Core Competency มหาวิทยาลัย การประเมินใช้ดุลพินิจอย่างเดียว ต้องมีการปรับ Core Value ให้ใหม่มากยิ่งขึ้น ต้องการคนเก่งและคนดีให้อยู่ในองค์กรด้วย

 

3. ชื่อตำแหน่งของสายสนับสนุนในสายเอกชนมีความหลากหลายหรือไม่ อย่างม.ทักษิณมีความาหลากหลายมาก อาจมีปัญหาในเรื่องการกำหนด Competency อีกเรื่องคือเรื่องการประเมิน Competency ที่หาว่าแต่ละคนมี Gap ในการพัฒนามีตัวชี้วัดอย่างไร จะดูได้อย่างไรว่ามีจิตบริการมากน้อย และเรื่องระบบการคัดเลือกบุคลากรวางกลไกในการคัดคนเข้าในระบบอย่างไร

ตอบ  ตำแหน่งงาน มีการประเมินเป็น Functional คือมีอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ส่วนเจ้าหน้าที่เป็น Level เดียวกัน ส่วนสายสนับสนุนไม่ได้มีเยอะมาก ส่วนเรื่องการประเมิน Gap ที่ประเมินอยู่กำลังสรุปข้อมูลอยู่ มีความหลากหลายทางความคิดของบุคลากร

          คนที่ประเมินผู้บริหารเอาหัวหน้ามาอบรมให้ความรู้ก่อน แล้วการประเมิน HRD จะเข้าไป และต้องบอกว่าเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา ถ้าติดลบเราก็มีสิทธิที่จะพัฒนามากขึ้น ผลตอบรับ Feedback ดีเนื่องจากมีการปรับทัศนคติต่าง ๆ ก่อน มีการยอมรับว่าติดลบจะนำไปสู่การพัฒนาและมีความก้าวหน้าในสายอาชีพที่แท้จริง ตัวชี้วัดมี 5 ระดับ

คนที่ประเมินผู้บริหารเอาหัวหน้ามาอบรมให้ความรู้ก่อน แล้วการประเมิน HRD จะเข้าไป และต้องบอกว่าเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา ถ้าติดลบเราก็มีสิทธิที่จะพัฒนามากขึ้น ผลตอบรับ Feedback ดีเนื่องจากมีการปรับทัศนคติต่าง ๆ ก่อน มีการยอมรับว่าติดลบจะนำไปสู่การพัฒนาและมีความก้าวหน้าในสายอาชีพที่แท้จริง ตัวชี้วัดมี 5 ระดับ และใน 1 ระดับ มี 2 พฤติกรรม ว่าตอนนี้อยู่พฤติกรรมไหนและหัวหน้าให้อะไร ค่าที่ได้มี 3 ค่าคือบวก ลบ และเสมอ เพื่อนำมาสู่แผนในการพัฒนา


วันที่ 23 สิงหาคม 2560

 

ศึกษาดูงาน ณ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

หัวข้อ การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของบริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บรรยายโดย      คุณจิรชีพ เฮง

ผจก.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ยูนิลีเวอร์เน็ตเวอร์คประเทศไทย

คุณยศสรัล ศรีพงศ์จิรา

ผู้บริหารสโมสร 30 ล้าน

คุณวชิระวัจน์  รุจิวรพัฒน์

GEBA  ผู้บริหารสโมสร 5 ล้าน Omni Connect ทำอย่างไรให้สำเร็จ AEC

                    คุณศิริวรรณ วุ่นทางบุญ

 

คุณศิริวรรณ วุ่นทางบุญ

         Unilever เป็นบริษัทที่มีอายุยาวนานกว่า 150 ปี และเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราก็เปลี่ยน โดยใช้ การสร้าง Platform online เป็นตัวดึงดูด

         แนวคิดของธุรกิจ Unilever จะเติบโตในอัตรา 2 เท่า โดยลดมลภาวะจากเดิม 50%   

         Unilever จึงได้เน้นเรื่องการพัฒนาผู้นำ ควบคู่กับสร้างสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อสังคม เน้นการพัฒนาตัวเองและพัฒนาข้างนอก ได้เรียนรู้ผ่านหลักสูตร 7 habits  คิดถึงคุณค่าที่เราจะสร้าง และสิ่งที่คนจะพูดถึงเราเมื่อตายแล้ว

 

คุณจิรชีพ เฮง

          กล่าวถึงบริษัทยูนิลีเวอร์ ว่าเป็นบริษัทที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคติดอันดับ 1 ของประเทศไทย ผลิตตราสินค้ากว่า 400 สินค้า มีสินค้าในแบรนด์กว่า 200 ชนิด รวมทั้งหมดประมาณ 10,000 รายการ ต่อมาจึงได้มีแนวคิดในการทำ Unilever Network เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถส่งต่อรายได้จากรุ่นต่อรุ่นในลักษณะ Passive Income

          สถานที่ตั้งของยูนิลีเวอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่ ถ.พระราม 9 ประมาณ 3 ปี  มีการสร้างรูปอาคารเป็นเสมือนสบู่ลักซ์

จุดแข็ง 1. เป็นผู้นำทางด้านการตลาดที่มีความเข้มแข็งมากทั้งภายในและภายนอกประเทศ

          2. การทดสอบผลิตภัณฑ์ / สินค้า โดย

- การศึกษาทั้งกลุ่มลูกค้าภายใน (พนักงานในบริษัท) และภายนอก

- ขายจุดดีและจุดเด่นบ่อย ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคซึมซับ

          3. สร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ มีการคิดค้นนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และจดสิทธิบัตรเกือบทุกวัน

          4. Unilever เน้นการสร้างผู้นำ และให้ผู้นำสร้างเครือข่าย

5. สร้าง Brand Love to Lost

- การสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยให้ผู้บริโภคจดจำในสินค้าประเภทนั้น ๆ มากกว่าที่จะบอกว่าใครเป็นคนผลิต

6. การเก็บข้อมูลสามารถช่วยทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค

7. ธุรกิจเติบโต 1 เท่า แต่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงครึ่งหนึ่ง

Thailand 4.0

          เป็นแนวทางที่รัฐบาลต้องการให้เชื่อมกับ Platform ทางด้านดิจิตอลมากขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงมีตลอดเวลา

          จากเดิมที่ภาคเกษตรกรรม มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม ระหว่างคนรวยกับคนจน และความเหลื่อมล้ำได้มีความชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ทำอย่างไรให้สังคมสามารถพัฒนาเพื่อมีรายได้เฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน และนำมาสู่แนวคิด ประเทศไทย 4.0  คือการพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน  โดยเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทดแทนสิ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

          โมเดล 1.0  คือ ภาคเกษตรกรรม กับดักคือความสมดุล

          โมเดล 2.0  คือ อุตสาหกรรมและการทดแทน กับดักคือความเหลื่อมล้ำทางสังคม

          โมเดล 3.0 คือ อุตสาหกรรมหนัก และ Globalization  มีโรงงานมากขึ้น มีชั้นชั้นกลางมากขึ้น กับดักคือ รายได้ในระดับปานกลาง ข้อดีคือ เปลี่ยนคุณภาพชีวิต แต่คนข้างล่างคุณภาพชีวิตยังไม่ได้พัฒนา

          โมเดล 4.0 คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทุกกลุ่มมีความเท่าเทียมกัน  เน้นเรื่อง Creative Thinking + Innovation

สิ่งที่ตามมาคือ

1. การใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น

2. การมีเทคโนโลยีมาทดแทน ทำให้สิ่งที่เป็นของเดิมที่หายไป การใช้ดิจิตอลแทนอนาล็อก

Innovation มาทดแทนสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิ Kodak เป็นธุรกิจชั้นนำด้านการผลิตกล้องต้องหายไปเนื่องจากมีกล้องดิจิตอลมาทดแทน ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้คิดค้นดิจิตอลรายแรกแต่ไม่ทำ บริษัทที่ทำคือ Fuji

สิ่งสำคัญคือ การลงมือทำ ทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และทำให้ Platform แตกต่าง

ถ้ารุ่นคุณพ่อแม่คิดแบบเดิม เกษตรกรก็เป็นแบบเดิม  ปัจจุบันได้มีหนุ่มสาวลาออกจากงานเพื่อไปทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วย เช่น ใช้ Drone หว่านปุ๋ย แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสมัยใหม่ = เทคโนโลยี + เงินทุน สามารถเข้ามาช่วยในระบบเรื่องการขาดแคลนน้ำ อย่างสหรัฐฯ จะพบว่าการเกษตรพัฒนามาก ประเทศไทยเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีการใช้ Application ช่วยได้มาก

Start up Business จะมีมากขึ้น

          - Platform Online > Office

          - ด้าน Service มีมูลค่าสูงขึ้น

3. เด็กรุ่นใหม่ใช้  Laptop ไม่เป็น

          - ปัจจุบัน laptop ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นแยกส่วนเพื่อง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น เน้นความสะดวกสบาย  

4. แรงงานมีทักษะและความรู้ดีมากขึ้น และเหมาะกับชนิดงานมากขึ้น

Unilever

- ทำด้าน SMEs มากขึ้น มีการดำเนินธุรกิจผ่านตัวแทนจำหน่ายและร้านค้า

          - Start up Business จะเริ่มต้นอย่างไร กับคู่ค้า และ Partner        

          - สร้างด้วยความรักและเอาใจใส่กับคู่ค้า พบว่าในทุกครัวเรือนจะมีสินค้า Unilever อย่างน้อย 3 ชิ้น 

          - ผู้บริโภคจากทั่วโลกมีจำนวน 2 พันล้านคน คิดเป็นยอดขายปีละ 2 ล้านล้านบาท      

          - มีสาขากว่า 190 สาขาทั่วโลกจากประเทศ 230 ประเทศ

          - มีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา ดาวโจนส์

          - มีพนักงานอัตราจ้าง 500,000 คน

          - Unilever Global สามารถไปทำงานในต่างประเทศได้ โดยดูจากตำแหน่งที่เหมาะสมในประเทศนั้น ๆ

นวัตกรรม

          - สินค้าตัวแรกเริ่มต้นจากสบู่ซันไลต์ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นน้ำยาล้างจาน แต่ยังคงสบู่ไว้เป็นทางเลือกในช่วงแรก ๆ สำหรับกลุ่มคนที่ติดสบู่อยู่ โดยกระบวนการเปลี่ยนไม่ได้เปลี่ยนทีเดียว ต้องมีกระบวนการในการเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งได้มีการปรับจากสบู่เป็นครีมกระป๋องเพื่อพักตรงกลางก่อนปรับเป็นน้ำยาล้างจาน

          - ยาสระผมตัวแรกเป็นผง ต่อมาได้ซัลซิลได้เปลี่ยนจากผงเป็นน้ำ       

- Unilever ได้คิดค้นนวัตกรรมมาโดยตลอดเพื่อทดแทนสินค้าเดิมที่ใช้อยู่ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเหมาะสมกับผู้บริโภคมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยน Packaging เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภค จากเดิมอาจเปลี่ยนทุก 2-3 ปี ปัจจุบันอาจเร็วขึ้น เช่น  6 - 9 เดือน

          - รูปแบบการจ่ายเงินเปลี่ยนจากเงินสดเป็นใช้บัตรพลาสติก มากขึ้น

          - ในอนาคตคาดว่าอาจไม่ต้องมีผงซักฟอก เครื่องซักผ้ากำลังคิดค้นนวัตกรรมที่ไม่ใช้ผงซักฟอกเพื่อลดภาระด้านการทำลายสิ่งแวดล้อม

          นวัตกรรมที่พบคือเมื่อธุรกิจหนึ่งมา อีกธุรกิจหนึ่งอาจกำลังหายไป เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

วิสัยทัศน์

          มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการเติบโตทางธุรกิจโดยลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผลิตภัณฑ์ หรือ แพ็คเกจจิ้งจะเลือกที่กระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่นการใช้กระดาษแทนพลาสติก ฯลฯ

          “Insight” คือการเอาใจผู้บริโภคมานั่งในใจเรา ได้มีการทำวิจัยกับผู้บริโภคโดยตลอด มีการทดสอบผลิตภัณฑ์ในแต่ละกลุ่มที่ใช้จริง ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย

          “The Future Consumer” เป็นกลุ่มใหญ่ในอนาคต

- Generation “S” Baby Boom เน้นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น

การสร้างรูปแบบธุรกิจให้เป็นทียอมรับ โดยเน้นกลุ่ม S ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

          การสร้าง Platform เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร Online เนื่องจากพบว่าคนไทยได้มีการใช้สื่อ Social Media มากขึ้น จากคนไทย 67 ล้านคน พบว่าใช้  Facebook 40 ล้านคน Line 34 ล้านคน Youtube 28 ล้านคน  Instagram 9 ล้านคน และ Twitter 6 ล้านคน

          ดังนั้น การทำ Platform จึงต้องเข้าถึงง่าย และใช้ได้ง่าย

          - Generation “Z” Millennium

          ต้องเข้าใจว่าบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไม่สามารถต่อต้านได้ พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนี้เปลี่ยนไป อย่างพบว่าจะอยู่กับ Smartphone มากขึ้น สื่อสารผ่านทาง Smartphone แทนการคุยกัน ดังนั้น เราจึงมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนและพัฒนาให้ดีขึ้น

          Facebook ได้เข้ามาช่วยในการทำ Start up Business เนื่องจากเป็น Platform ที่ง่ายและคนเข้าถึงง่ายใช้สะดวก  ได้มีการพัฒนา Application สำหรับธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการเช่น Uber หรือ Airbnb

          เทคโนโลยีได้มาสร้างมูลค่าการบริการที่สูงขึ้นเป็น Platform Online  เช่นการรับจ้าง Shopping สินค้าโดยคิดค่าบริการ  หรือการสั่งอาหารออนไลน์อย่าง Line man, Lalamove, Wongnai

สิ่งที่ Unilever ทำคือ – เข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่องทาง  มีการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภค ดังนั้นการมี Big Data จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญ

นวัตกรรมได้เข้ามาทดแทนเวลา และความคุ้มค่า

          - Innovation + Creative สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างจุดแข็ง การใช้ Offline และ Online จะมีบทบาทมากขึ้น

          ตัวอย่าง 7-Eleven ที่เกาหลี ทดลองให้กับพนักงาน Lotte ได้มีการจ่ายเงินผ่าน BioPay ชำระเงินโดยใช้ส่วนของร่างกายเช่น Hand Pay และให้ AI เป็น Cashier อัตโนมัติ มีตู้เย็นอัจฉริยะ  มีกล้อง CCTV  ใช้แรงงานน้อยลง แต่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพมากขึ้น

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ทำไมถึงมีหลักสูตร 7 Habits

ตอบ 7 Habits เป็นหลักสูตรที่เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำ เพราะมองว่าภาวะผู้นำเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้องค์กรเติบโต จึงได้ให้พนักงานทุกคนอบรม เพื่อทำให้พนักงานสามารถคุยกันภาษาเดียวกัน หน้าที่ที่สำคัญคือต้องให้ทุกคนดูแลตัวเองให้ได้ สามารถจัดลำดับความสำคัญ และมีทิศทางเดียวกับบริษัท

 

2. ถ้าจะแนะนำ ม.ทักษิณเรื่อง Online จะแนะนำอย่างไรบ้าง

ตอบ    1. เรื่อง Data การจัดทำ Big Data สิ่งสำคัญมากในการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบและสามารถให้ใครสามารถดึงใช้งานได้ทันที เป็นการรวมข้อมูลในส่วนเดี่ยวกัน สามารถนำ Online ไปช่วย Offline ได้ เพื่อศึกษาด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในมหาวิทยาลัย ดังนั้นเรื่องนี้จะเป็นสิ่งสำคัญมาก

          2. Online และ Offline ให้ทำไปด้วยกัน ต้องเชื่อมกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

          3. Content และความร่วมมือ เป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ง่าย อาจมีการตั้งเป็น Team Content ขึ้นมาเพื่อผลิต Content ตลอดเวลา ถ้าเริ่มจาก Content ที่ใช้ได้แล้ว เชื่อว่าต่อไปจะทำงานได้มีความรวดเร็วมากขึ้น

          4. ทำให้ผู้ใช้บริการ (User) สามารถเข้าถึงได้ง่าย สร้าง Platform ที่ไม่ซับซ้อน

 

คุณยศสรัล ศรีพงศ์จิรา

          กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ 1. ความเชื่อ 2. รู้ให้มากพอ

          Omni Connect ข้อดีคือ เป็นการออนไลน์ 24 ชั่วโมง ดังนั้นการทำธุรกิจจะสามารถทำเวลาใดก็ได้ แสดงถึงแนวทางการปรับตัวที่ยูนิลีเวอร์ให้ความสำคัญในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  และเห็นความสำคัญกับธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมากว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างดีในโลกอนาคต อย่างเช่น Agoda , Grab Taxi, Uber  

          เนื่องจากธุรกิจ Online สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างง่าย เพราะการ Shopping ของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะอยู่บนความอยาก ดังนั้นจึงจะทำอย่างไรให้คนอยากเข้ามามาก ๆ

          จากการวิจัยพบว่า ธุรกิจ Start Up ที่หมายถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่กลับพบความล้มเหลว 75-90% เพราะ

- ไม่รู้ความต้องการที่แท้จริง

- รู้ความต้องการแต่ไม่มีเงินทุน

- ขาดทีมงานที่ใช้ได้

- ไม่สามารถแข่งขันกับคนอื่นได้

- ต้นทุนและราคา

- คุณภาพต่ำ

ดังนั้นการมี Digital Market นอกจากต้นทุนการผลิต เราจะทำอย่างไรให้ Digital Market เติบโต

- Advertising

- Content

- Blogger

- Viral (ปากต่อปาก)

- Communication

- Like

- Technology

- Multimedia

- Link Email

- การรองรับ

Business Platform กับ Omni Connect

          เริ่มต้นจากตัวอย่างของ Mark Zuckerberg ที่เริ่มต้นสร้าง Platform Facebook จากแนวคิดที่เขาเป็นผู้รับผิดชอบทำหนังสือรุ่นผ่านอิเล็กทรอนิกส์ จนกลายเป็น Facebook ที่ปัจจุบันมีคนใช้กว่า 2,000 ล้านคน  สิ่งที่ Mark นั้น ได้แสดงถึงว่าเขารู้ความต้องการของเรามากกว่าเรารู้ความต้องการของตัวเอง หรือ อย่างแนวคิดการทำ Alibaba.com ของ Jack Ma  หรือ Amazon book mart ก็ต่างเน้นการเข้าถึงความต้องการของคนได้มากกว่า

          Unilever ได้เล็งเห็นความต้องการและทิศทางเช่นเดียวกัน จึงได้พยายามปรับเปลี่ยนระบบจาก Offline ไปสู่ Online มากขึ้นตามทิศทางตลาดโลก เป็น World Class Innovation จากช่องทางเดิมที่ผลิต Mass Product ผ่านช่องทาง Offline สู่การพัฒนา Premium Product โดยผ่านช่องทาง Omni Connect ผู้บริโภคจะได้เงินคืนเป็นกำไรจากการจ่ายเงินให้ทาง Unilever โดยในอนาคตมีโครงการที่จะขยายตลาดเข้าสู่ต่างประเทศมากขึ้น อย่างจีน  ซึ่งปัจจุบันได้ขยายไปที่ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียแล้ว

          Omni Connect จึงได้ออกแบบตลาดที่รองรับคนรุ่นใหม่มากขึ้น       

          - People

          - Social

          - Commerce

          - Wealth จ่ายรายได้

          - Business Intelligent

ผ่านทางการสร้าง Business Platform และ ฐานข้อมูลเก็บผ่าน I-Cloud  โดยในอนาคตจะมีการทำ Online Training มีการทำ Get link ที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนได้ทั่วโลก โดยสามารถ Copy Link ไปวางในที่ต่าง ๆ และเมื่อมีคนซื่อรหัสจะเข้าว่าผ่านมาทางเรา จะรู้ว่าผ่านช่องทางการซื้อจากใครแนะนำ

ธุรกิจนี้จะเป็นการสร้างโอกาสที่ใหญ่ ทำง่าย และได้เร็ว โดย 3 วิธีคือ นักช้อป นักแชร์ นักธุรกิจ

สิ่งที่ Unilever พัฒนา

          1. ทักษะทางธุรกิจ

          2. ความเป็นผู้นำ

          3. คุณลักษณะภายใน     ผ่านการอบรม 7 Habits

          เพราะเชื่อว่า โลกภายใน = โลกภายนอก

 

คุณวชิระวัจน์  รุจิวรพัฒน์

         กล่าวถึงโครงการ Omni Connect ที่ทำให้ Unilever ขยายไปที่ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย 

          เริ่มต้นจากแนวคิดในการสร้าง Platform ที่มีเครือข่ายกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ได้ทำ Omni Connect กระจายไปทั่วโลก มี Aviance Shop มา 6 เดือนแล้ว ปัจจุบันมี 29 สาขาทั่วประเทศ มีแผนการตลาดที่จ่ายให้สูงสุด เชื่อมกับเครือข่ายทั่วโลก สร้างโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจ ทำง่าย และรวดเร็ว แบ่งเป็นนักช้อป นักแชร์ และนักธุรกิจ มีสะสมให้เที่ยวประเทศทุกปี


ศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

(สรุปบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

หัวข้อ  การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

 

อาจารย์สายพิณ  วิไลรัตน์

          สิ่งที่อยากให้เห็นคือได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง อาทิ เรื่องนวัตกรรมที่ตอบสนองลูกค้า อย่างเช่นห้องที่เรียนรู้ในวันนี้ของกสิกรไทย แสดงถึงมุมมองที่ได้ปรับเปลี่ยนห้องเรียนแตกต่างไปจากแบบเดิม ดังนั้น การปรับเปลี่ยนผู้บริหารในอนาคตจึงต้องปรับเปลี่ยน Mindset ที่ไม่สามารถอยู่แบบเดิมได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนเร็วมาก เราต้องคำนึงถึง Stakeholder ผู้ใช้บริการของเราด้วย มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาหลักสูตร และให้ทุกอย่างตอบสนองต่อการพัฒนาการเรียนสมัยใหม่ และถือเป็นโอกาสดีที่ได้มาเรียนรู้ธนาคารกสิกรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นวัตกรรมในการบริหาร

          สิ่งที่เชื่อคือ แนวคิดในการปรับเปลี่ยนไม่เหมือนกัน เราต้องใช้ Customer Focus เป็นส่วนใหญ่ เราต้องปรับเปลี่ยนจากเดิม เช่นเดียวกับธนาคาร เราจะพบว่าลูกค้าไม่ได้ค่อยเดินไปที่ธนาคารแล้ว ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน

 

คุณธีรชัย  ศุภพันธ์ภิญโญ Corporate Relationship’s Manager ,KBTG

          KBTG คืออะไร Kasikorn Business Technology Group มาจากกลุ่ม 5 บริษัทในธนาคารกสิกรไทย เป็นบริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว จึงควรมีการส่งเสริมเรื่องการสร้างนวัตกรรมด้วย  มีการตั้งบริษัท Beacon เป็นเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต และการลงทุนในด้านต่าง ๆ

          ผู้บริหารระดับสูงคือ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงศ์ และ นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ทั้ง 2 ท่านต้องการสร้างสังคมให้ทำธุรกรรมทั้งการเงินและไม่ใช่การเงิน กิจกรรมเพื่อที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำด้านดิจิตอล แบงค์กิ้ง มิชชั่น คือทำระบบงานต่าง ๆ ขึ้นมา มีเรื่องการสร้าง Core Value มีเรื่องวิถีการคิด เน้นเรื่อง VIA คือ

V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ จะเห็นว่าบางขั้นตอนมีการทำงานที่ซับซ้อน เราได้มีการลดขั้นตอนลง

I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

A –Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน

          สิ่งที่พบคือ มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้

Focus Technology

- เราจะทำอย่างไรให้ใช้ธุรกรรมผ่านทางมือถือได้

Product & Services

          ยกตัวอย่าง Mobile Banking สร้างให้คนตาบอดสามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ และเรื่อง letter of Guarantee มีเรื่องระบบ K-Plus

          มี Partners ช่วยพัฒนาระบบต่าง ๆ ในกรณีที่มี Advance

 

คุณพงศธร Business Analysis

          KBTG เป็นเรื่องการ ทำ Cashless Society  เป็นสังคมที่ไม่ใช้เงินสดในการใช้จ่าย หรือการซื้อของออนไลน์ไม่ได้ใช้เงินในการซื้อของ สามารถแสกน และจ่ายเงินสดผ่าน Application ได้ทันที อย่างอินเดียไปไกลถึงใช้ Finger Print จ่ายเงินได้ทันที

          ข้อดีคือ รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้ง่ายขึ้น ไปที่กลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง Bank สามารถลดการขนเงินสดไปยังตู้ ATM ร้านค้าไม่ต้องคอยหาเฝ้าระวัง และผู้บริโภคสามารถ Manage เงิน ว่าใช้จ่ายได้กี่บาท ป้องกันธุรกรรมที่เสี่ยงกับเงินสด

          สร้าง Platform ชื่อ K+ Platform Concept

          มีการถอนจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น หรือกLife Style ได้มีการซื้อของผ่านทาง K+ Platform ในการสนับสนุนความคิดที่เป็น Cashless Society

UX Layer

          เป็น Application ที่ติดต่อกับผู้ใช้ มีการService Layer และ Support Platform สามารถให้ข้อมูลกับลุกค้าแบบ Interactive

K+ Platform

          ทุกอย่างจะถูกจัดการบน Platform เดียวกัน ซึ่ง Cashless Society จะมาช่วยด้านนี้

          - QR code payment เป็นการแสกน QR Code และบอกจำนวนเงิน และเมื่อชำระเสร็จแล้วจะมีการแจ้งเตือนกลับมาที่มือถือ

          - Machine Learning Technology เป็นการเข้าใจและรู้ว่าลูกค้าแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร มีการชักจูงลูกค้าให้จ่ายเงินผ่าน Platform มากขึ้น

          K+ Platform กำลังขยายความสามารถให้ไปจ่ายเงินได้มากขึ้น มีการนำไปแสกนที่ร้านค้าในประเทศไทยเพื่อจ่ายเงิน มี K+ Shop ของธนาคารกสิกร มีการสรุปยอดตรวจดูว่าร้านค้าเราขายดีมากน้อยแค่ไหน มีการลงไปที่ตลาดจีนแล้ว และได้มีการให้ลองใช้ K+ ในการจ่ายเงิน

 

คุณก้องภพ รุ่งเดช และคุณภากร

Beacon interface เป็นตัวที่กำลังพัฒนาเพื่อไปแข่งขันที่สิงคโปร์

          ปัญหาที่พบคือ Application ที่ใช้ได้ตอบโจทย์คนทุกกลุ่มหรือยัง ดังนั้นโปรเจคนี้จึงต้องการเน้นเรื่องการตอบโจทย์ให้คนทุกกลุ่มใช้งานได้

1. Blind คือกลุ่มคนตาบอด

2. Low Vision คือกลุ่มคนที่ตาบอดสี หรือกลุ่มที่มีพลาสติกเคลือบตา เป้นกลุ่มที่มองเห็นภาพไม่ชัด อาจแก้ไขเรื่องการเพิ่มสี และทำสิ่งต่าง ๆ ให้เขาสามารถเข้าใจมากขึ้น

3. Elderly คือกลุ่มคนสูงอายุ ที่มีความไม่เข้าใจ

          สรุปคือการออกแบบให้ทุกคนใช้ได้

วิธีการคือ

1. พัฒนา และทดสอบ Test นำกลับมาแก้ และ Research และได้สิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า และจากการวิจัยจะช่วยให้ตอบโจทย์ได้หลายอย่างไร อย่างเช่น สีมี Contrast สูงมาก  สามารถช่วยให้คนมีปัญหาเรื่องสายตาสามารถใช้งานได้มากขึ้น

2. กลุ่มที่ไม่ใช้การมองเป็นหลัก อาจเป็นกลุ่มที่ฟังเสียงแล้วสามารถทำรายการจนจบได้

3. หนึ่งหน้าจะมีการทำอะไรได้อย่างนึ่ง

4. Privacy Mode เป็นการป้องกัน

สรุปคือ ต้องการ Empower Equal Independent หมายถึงการให้ทุกกลุ่มสามารถทำอะไรได้ด้วยตนเอง และสามารถใช้งานได้โดยมีรู้สึกเท่าเทียมกัน

Machine Learning

          Digital Economy is the past

Google

          เริ่มต้นมาจากการใช้ Search Engine ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็น Google Map youtube ,etc.

มีข้อมูลในการบันทึกว่าเราชอบอะไรใช้เวลาเท่าไหร่ จัดเป็นบริษัทที่มูลค่าสูงสุดในโลก

การเก็บข้อมูล

          ผ่าน Smart Phone Smart Freeze

 

- การ Perceive data ต้องมีการดูว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร มีวิธีการเพื่อการใช้ได้ง่าย เป็นเรื่องการทำ Machine Learning และ Analysis

- ถ้าเรา Engage ข้อมูลได้ดี เราจะเก็บข้อมูลได้ดีด้วยเช่นกัน

Machine Learning & AI in Banking

          นำมาช่วยในการตรวจสอบพฤติกรรมการจ่ายเงินของผู้บริโภค เรื่องการกู้เงินของผู้บริโภค

          การทำ Engagement ให้ดียิ่งขึ้น

Pruanfun

          มีการไปคุยกับเกษตรกรสมัยใหม่ เรื่อง Passion ในการนำเสนอสินค้าเกษตรเพื่อผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเองได้

          ได้ทดลองเป็นตัวอย่างให้ชุมชนทำให้เห็นว่าสามารถทำได้ พัฒนาจากเกษตรกรแบบเดิม  สร้างคุณค่าในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

          สิ่งที่สำเร็จ ถ้าเราทำสำเร็จได้จะมีคนได้รับประโยชน์อีกมากมาย

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. กสิกรเห็นเรื่องการสร้างคุณค่า และทำนวัตกรรมที่คิดตาม Platform ต่าง ๆ กสิกรมีหลายสาขามาก และจะขับเคลื่อนอย่างไร ในการนำ Vision และ Value ลงไปที่องค์กรให้เกิดวัฒนธรรมในการทำงานตรงนี้

ตอบ รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยมาดูงาน เพราะเป็นส่วนที่สร้างบุคลากรของชาติ เช่นเดียวกับกสิกรไทยไม่ใช่แค่เพื่อธุรกิจ แต่เพื่อทำให้ Life Style ดีขึ้น สร้างเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าไปถึงได้ และเทคโนโลยีที่เลือกแล้วจะทำอย่างไรให้ไปต่อได้ มีเรื่องการบกพร่องทางการเห็น

          การทำ Value นั้นต้องมี Purpose Full คือจุดมุ่งหมายจริง ๆ ได้มีการนำเสนอไปที่ Core Value ของตัวอาจารย์  อย่างกสิกรไทย เน้นเรื่องการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เน้นการทำอะไรเพื่อความสำเร็จของลูกค้า ต้องเข้าใจว่าคืออะไร และต้อง Beyond มากกว่า Customer Satisfaction อย่างไรก็ตาม KBTG ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องมี Teamwork  การสร้าง Value ให้ Business และ Technology ไปด้วยกัน

          มีความเป็น Professionalism มีความน่าเชื่อถือ เพื่อปกปักรักษาสิ่งที่คนช่วยดูแลให้

          Innovation  เมื่อเจอทางตันก็หาทางใหม่

          มี Comnovation คือ Communication + Innovation

          การนำ Machine Learning ทำอย่างไรให้รู้จักและรู้ใจลูกค้า ต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์

          มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีการเงินมาก มีพื้นที่ร้านค้าที่ KBTG ไปขายในนั้นด้วย

Platform

          - ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีอย่างเดียว แต่เป็นที่คนมาชุมนุมกัน มี Traffic มีการเชิญคนที่รู้จักจากกลุ่มต่าง ๆ มาทำงานร่วมกัน  เป็นตัวสร้าง Ecology ใหม่

          - เราจะสร้าง Value ให้เกิดกับลูกค้าอย่างไร จะนำข้อมูลมาสร้างประโยชน์ ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร มีการถอดรหัสว่าแต่ละความหมายมีความหมายอย่างไร

ใน KBTG มี www.kbtg.tech

ตึกกสิกรไทยแห่งนี้ ได้ทำการพัฒนาจากตึกเก่าที่มีอายุกว่า 20 ปี  มีการออกแบบอาคารเป็นดิจิตอลแห่งอนาคต โดยสร้าง iT Platform ให้มีคุณภาพสูงสุด มีมุมทำงานที่หลากหลายโปร่งโล่ง สามารถทำงานทุกที่ ทุกเวลา มีการเล่าเรื่อง ได้เป็นผู้สร้าง และผู้แบ่งปัน  มีการบริหารพลังงาน มี Sensor มี Solar Farm ดูแล 8% มีการทำน้ำบำบัด  กำลังสร้าง โปรเจคใหม่ทางด้านเทคโนโลยีที่ไม่มีการเรียนการสอนที่ไหน นอกจากที่นี่

          ทุกเทคโนโลยีมาจากการคำนึงถึงความสุขของผู้รับบริการ มีการทำงานตามวิถีธนาคารกสิกรไทยเพื่อเป็นธนาคารดิจิตอลสมบูรณ์แบบ

          พื้นที่นี้มีพนักงาน 3,000 คน และมี Vendor และ reserve ให้กับ Fintech



# โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ

 # TSUsupportingleaders2017

หมายเลขบันทึก: 634215เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2017 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2017 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)
น.ส.อมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่มที่ 4)

วันที่ 22 ส.ค. 60

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

  1. การทำกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นการวิเคราะห์จาก Demand Side ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างแท้จริง เช่น โครงการข้าวสารแลกค่าเทอม ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต อวัยวะที่ 33 กับการเดินทางของชีวิต เป็นต้น
  2. การปรับ Mindset ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตให้มองเห็นเป้าหมายอันเดียวกัน สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อทำการตลาดได้อยู่เสมอ
  3. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดจากการศึกษาวิจัย และนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา เช่น
  4. </ol>

         - E-Learning

         - E-Book

         - Google Apps for Education

         - Smart Classroom & Application

         - MOOC & Flipped Classroom

         - iTunes U

         - Second life & Gamemification

         รวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้กับนักศึกษา เช่น แจก IPad ให้กับนักศึกษาทุกคน ความพร้อมเรื่องห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ศาลาดนตรีสุริยเทพ เป็นต้น และมีทีมงานที่เข้มแข็งที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการสำรวจความต้องการ พัฒนาและแนะนำอาจารย์ ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ lifestyle ของเด็กยุคใหม่

    4. มหาวิทยาลัยทักษิณควรปรับ Mindset ของบุคลากรให้เห็นเป้าหมายร่วมกัน เห็นถึงความจำเป็นของการปรับตัวในสังคมโลกที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการทำงาน รวมถึงการหาโอกาสและช่องทางการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก

น.ส.อมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่มที่ 4)

วันที่ 23 ส.ค. 60

ศึกษาดูงาน ณ บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

1. บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีการวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานในปี 2040 โดยมองภาพอนาคตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำทางด้านการตลาด มองหาโอกาสและช่องทางการตลาดที่สอดรับกับ lifestyle ของผู้บริโภค

2. บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน) สร้าง Mindset ของบุคลากรให้มีความเชื่อมั่น ศรัทธาในองค์กร ทำให้การขับเคลื่อนองค์กรถึงแม้จะมีขนาดใหญ่ก็สามารถขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้

3. มหาวิทยาลัยทักษิณจะต้องให้บุคลากรปรับ Mindset ไม่ให้เคยชินกับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่ต้องขยาย Comfort Zone ให้ใหญ่ขึ้นและก้าวออกจาก Comfort Zone เพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลง ต้องเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี และต้องให้บุคลากรทุกคนมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน

4. ทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นที่รู้จัก และเข้าไปนั่งอยู่ในใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง นิสิต ศิษย์เก่า สถานประกอบการ ฯลฯ

  • -สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาของบุคลากรต่อมหาวิทยาลัย
  • -สำรวจความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ทำการตลาดที่เข้าถึงและตรงใจ ทำการตลาดทุกครั้งที่มีโอกาส
  • -สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ให้เห็นภาพมหาวิทยาลัยทักษิณผ่านช่องทางต่าง ๆ หลาย ๆ ครั้งต่อวัน นำเสนอผลงานนิสิต ผลงานอาจารย์ กิจกรรมที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าที่เป็นที่รู้จักในสังคม สถานประกอบการที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม เป็นต้น
  • -พัฒนาระบบสาธาณูปโภค สิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก ภายในมหาวิทยาลัยให้น่าอยู่ ปลอดภัย และทันสมัย
  • -สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ และการจัดหลักสูตร Online เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายขึ้น
น.ส.อมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่มที่ 4)

วันที่ 23 ส.ค. 60

ศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

1. KBTG ต้องการสร้างสังคมให้ทำธุรกรรมทั้งการเงินและไม่ใช่การเงิน สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำด้านดิจิตัล โดยกำหนด Core Value : VIA

  • V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ
  • I – Innovation การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
  • A – Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น โดยคิดวิธีการทำงานเพื่อลดขั้นตอน และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน

2. การพัฒนานวัตกรรมของ KBTG มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นการทำนวัตกรรมเพื่อความสำเร็จของลูกค้า เช่น

  • - Mobile Banking ตอบสนองความต้องการด้านธุรกรรมการเงิน
  • - Beacon Interface ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นผู้พิการทางสายตา
  • - Pruanfun ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เป็นเกษตรกร

3. ทำงานโดยการมีส่วนร่วม Teamwork การสร้างคุณค่าให้กับ Business และ Technology ไปด้วยกัน ทำการศึกษาโดยใช้ Machine Learning เพื่อให้รู้จักและรู้ใจลูกค้า รวมถึงกล้าที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า


นางสาวธิดา จิตต์ล้ำเลิศกุล (กลุ่มที่ 3)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่ 4 (22-23 สิงหาคม 2560)

มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อนวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

            มหาวิทยาลัยรังสิตมีการพัฒนานวัตกรรมจากDemandSide ซึ่งเน้นความรวดเร็วและตอบสนองความต้องการของสังคมด้วยความร่วมมือของบุคลากรหลายฝ่ายในมหาวิทยาลัยเช่น โครงการอวัยวะที่ 33 การนำข้าวสารมาแลกค่าเทอม

            สำหรับมหาวิทยาลัยทักษิณยังมีความเป็นระบบราชการอาจมีความคล่องตัวน้อยกว่ามหาวิทยาลัยรังสิต ดังนั้นการที่จะพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ต้องปรับ Mindset ของคนในองค์กรสร้างการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการและผู้บริหารต้องส่งเสริมและผลักดันโยบายสู่การปฏิบัติ

หัวข้อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

            แนวคิดมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรมก่อให้เกิดRSU Cyber University  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเช่น E-Learning, E-Book, iTune U เป็นต้นซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิตมีทีมงานในการค้นหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละรายวิชาร่วมกับอาจารย์

            การนำมาใช้ในมหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยต้องสร้างทีมในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนซึ่งไม่อาศัยแต่สำนักคอมพิวเตอร์เท่านั้นอาจมีเจ้าหน้าที่แต่ละคณะมาอบรมเพื่อจะได้เข้าถึงอาจารย์ผู้สอนได้ง่ายโดยมีเจ้าหน้าที่ส่วนกลางเป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาและจัดฝึกอบรมแก่อาจารย์ให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน

หัวข้อการบริหารงานและพัฒนาบุคคล

            มหาวิทยาลัยรังสิตมีการดำเนินงานด้านบุคคลเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารบุคคลและฝ่ายพัฒนาบุคคลการบริหารแบบ OneStop Service ด้านการพัฒนาบุคคลมีการประเมิน gabcompetencies  ซึ่งการบริหารบุคคลของมหาวิทยาลัยทักษิณแม้จะมีภารกิจพัฒนาทรัพยากรบุคคล แต่มุ่งเน้นกระบวนการในการฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งควรจะนำแนวคิดการประเมินgab competencies มาใช้ในการสำรวจความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัย

 

บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

หัวข้อการบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษาProject Omni Concept

ของบริษัทยูนิลิเวอร์

            แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราก็เปลี่ยนและการไม่เคยชินกับสิ่งที่เป็นอยู่และการเน้นพัฒนาผู้นำผ่านหลักสูตร 7 Habits เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทซึ่งนำมาปรับใช้กับการทำงานโดยต้องพัฒนาตนเองให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยและต้องไม่เคยชินและยึดติดกับวัฒนธรรมเดิมๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถปรับตัวได้ง่ายเมื่อมหาวิทยาลัยมีนโยบายใหม่ๆ เกิดขึ้น

หัวข้อการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์โปรเจค Omni Connect จากไทยขยายทั่วโลก

            Omni Connect เป็นธุรกิจออนไลน์24 ชั่วโมง จึงสามารถทำธุรกิจเวลาใดก็ได้และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย สามารถสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศเน้นถึงแนวคิดการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคและพัฒนาทักษะทางธุรกิจความเป็นผู้นำและคุณลักษณะภายในผ่านการอบรม 7 Habits

            สิ่งที่นำมาปรับใช้กับการทำงาน คือ การสื่อสารผ่านช่องทาง online มากขึ้น เน้นการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการมากขึ้นเพื่อให้เข้าถึงบุคลากรได้ง่ายและบุคลากรสามารถเข้าถึงสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องการสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นและเกิดเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการเพิ่มขึ้น

 

ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเมืองทองธานี

หัวข้อการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

            KBTG  ตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยสร้าง

Core Value VIA V-Value I-InnovationA-Agility การพัฒนาอาคารเพื่อตอบสนองต่อพนักงานให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

            จากการที่ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆนั้น ทำให้ได้มุมมองในทางธุรกิจที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งเราต้องปรับตัวในการทำงานเช่นกัน โดยการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของนิสิตและตอบสนองความต้องการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยรองรับการก้าวสู่ Thailand4.0

 

วิภาวี ปังธิกุล กลุ่ม 4

ดูงานมหาวิทยาลัยรังสิต

           เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเจ้าของเป็นผู้บริหารจึงมีนโยบายที่ชัดเจนแน่นอนต่อเนื่อง บุคลากรชัดเจนในเป้าหมายและดำเนินการสอดคล้องกันทั้งระบบเน้นการสร้างนวัตกรรมจากเทคโนโลยีและรูปแบบพฤติกรรมของนักศึกษา  

 ดูงานบริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด(มหาชน)

องค์กรอยู่รอดมาได้ถึง 150 ปีเนื่องจากมีวิสัยทัศน์ในอนาคต ทำงานเชิงรุก และเตรียมความพร้อมไปสู่อนาคตข้างหน้า การตลาดใช้หลายช่องทางเจาะกลุ่มผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการปรับ mind set ของบุคลากร

 ดูงานธนาคารกสิกรไทย

กสิกรตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ KBTG  มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรม ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ไฟแรงในการแสดงศักยภาพ

นางโสภิน วัฒนเมธาวี กลุ่ม 3

สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อ : การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ในหัวข้อการบริหารงานและพัฒนาบุคคล จะเห็นได้ว่า ทีมงาน HRD ของ ม.รังสิต มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ค้นหาสิ่งที่สนับสนุนและผลักดันให้บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยการติดตามและสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา มีโครงการต่าง ๆ และนวัตกรรมรองรับให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ดังนั้นจึงทำให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับต้นของประเทศได้

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  การค้นหาและสนับสนุนบุคลากรในองค์กรให้มีแรงผลักดันภายใน โดยใช้กลยุทธ์และเครื่องมือต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกระดับการบริหารที่จะนำพาให้องค์กรสามารถพัฒนาการทำงานและพัฒนาตนเองได้ 

 

หัวข้อ : นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

          สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ม.รังสิตจะดำเนินนวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการใด ๆ จะใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าภายใต้สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีอยู่ และคำนึงถึงโอกาสที่ก้าวล้ำหน้าและทันสมัยต่อยุคอนาคต

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  วิเคราะห์โอกาส และความต้องการในการวางแผนการปฏิบัติให้ทุกกิจกรรมและโครงการนำพาซึ่งประโยชน์ต่อนิสิต องค์กร ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

 

หัวข้อ : การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

          สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การทำอะไรก็ตาม จะต้องทำภายใต้กฎแห่งการทวีค่า  และกฎแห่งค่าเฉลี่ย  นั้นคือ ต้องคำนึงถึง ผลที่ได้ต้องทวีค่า และต้องมีการเฉลี่ยในใช้ทรัพยากรมนุษย์

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  ในการทำงานหรือพัฒนางานใดๆ ควรคำนึงถึงสิ่งที่คาดว่าจะได้รับเป็นหลักว่ามีคุณค่าและประโยชน์ต่อนิสิตและองค์กรเพียงใด ภายใต้การทำงานของบุคลากรที่จำกัด ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถคำนึงถึงโครงการ กิจกรรมในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

บริษัทยูนิเวอร์

หัวข้อ : การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni

          Connect ของบริษัทยูนิลีเวอร์

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  คือ

          1. การขาย ต้องบอกข้อดี  แต่ข้อด้อยให้เก็บไว้สำหรับการพัฒนา 

          2. การตลาดต้องมีข้อมูล (Data) ผู้บริโภค จะทำให้เรารู้พฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะให้เราสามารถหากลยุทธ์ในการบริหารจัดการได้

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  เราต้องค้นหาและวิเคราะห์สิ่งที่ดี และสิ่งด้อยในการปฏิบัติงาน/ทำงาน/บริการ ว่าสิ่งใดดี และสิ่งใดควรปรับปรุง และลงมือพัฒนาปรับปรุงสิ่งเหล่าให้นั้นให้ดีขึ้น และการทำงานต้องยึดหลักของการรู้เท่าทันพฤติกรรมผู้บริโภค คือ นิสิต อาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคลากรภายนอก เพื่อให้การทำงานทรงประสิทธิภาพ และบริการได้ทันที ประทับใจแก่ผู้รับบริการ

 

หัวข้อ : การเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ โปรเจค Omni Condnect จากไทยขยายทั่วโลก

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  คือ

          1. จงมีความเชื่อมั่นในองค์กรว่าองค์กรเราดีที่สุด เพื่อจะได้พัฒนาสิ่งต่าง ๆให้ดียิ่งขึ้น

          2. การให้คนจดจำสินค้าใด ๆ ต้องให้ผู้บริโภคเห็นสินค้านั้น 7 ครั้งต่อ 1 วัน

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  ใช้หลักการประชาสัมพันธ์ตามกลยุทธ์การตลาด นั้นคือ เน้นการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงลูกค้า นิสิต อาจารย์ ให้มากขึ้น เพื่อข่าวสารจะได้กระจายได้เข้าถึงผู้รับบริการและเชื่อมั่นในการทำงานว่า องค์กรของเราดีแต่ยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คุณภาพของงานดำเนินไปอย่างยั่งยืน

 

ธนาคารกสิกรไทย

หัวข้อ : การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  คือ

          1. วิสัยทัศน์ พันธกิจ คือ ตัวขับเคลื่อนการนำขององค์กร

          2. การทำใด ๆ ต้องยึดหลักการเกี่ยวกับ ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป  ติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หลากหลาย  สนับสนุนเพื่อตอบสนองความต้องการโดยใช้ Innovation

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การทำงานต้องคำนึงถึงผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เข้าถึงใจของผู้บริการให้มากที่สุด โดยการพัฒนา Innovation มาตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

นายชัยยุทธ มณีฉาย กลุ่ม 1

นายชัยยุทธมณีฉาย กลุ่มที่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่4(22-23 สิงหาคม 2560)

 

วันที่22 สิงหาคม 2560

มหาวิทยาลัยรังสิต

          มหาวิทยาลัยรังสิตได้กำหนดเอกลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือ นวัตกรรม จึงได้นำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น e-Learning, e-book, Google Apps for Education, Smart Classroom &Application, MOOC & Flipped Classroom, iTunes U และอื่นๆ  ทำให้สามารถเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร onlineได้หลายหลักสูตร โดยมีการประชาสัมพันธ์กับภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพปัจจุบันถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องนักศึกษาลดลงแต่ไม่ได้ลดคน แต่จะทำให้คนมีคุณภาพได้รับการพัฒนา และมี Competency

การนำไปปรับใช้

1. การจัดทำหลักสูตร online เพื่อให้ทุกกลุ่มผู้สนใจสามารถเข้าถึงและเรียนได้ว่าปัญหาของการ

2. การใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น

 

วันที่23 สิงหาคม 2560

บริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

          Unilever เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมามากกว่า150 ปี มีสินค้ากว่า 10,000 รายการได้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราต้องเปลี่ยน มีการใช้ระบบการขายทั้งในแบบ Offlineและ Online “Omni Connect” มีแนวคิดในการทำ UnileverNetwork เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมกันเป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถส่งผ่านรายได้จากรุ่นสู่รุ่นในลักษณะPassive Income มีการให้ความสำคัญกับการวิจัยด้วยงบประมาณจำนวนมากและมีหลักสูตรให้พนักงานได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เช่น ทักษะทางธุรกิจความเป็นผู้นำ คุณลักษณะภายในผ่านการอบรม 7 Habits เป็นต้น

การนำไปปรับใช้ ควรมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำมาใช้ในการปรับตัวขององกรได้อย่างทันท่วงที ทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ถึงแม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป

 

ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

          ธนาคารกสิกรไทยมีการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอลโดยได้จัดตั้งKBTGเพื่อดำเนินการในเรื่องนวัตกรรม กำหนด Core Value คือ VIA

          V = Value สร้างคุณค่าให้กับองค์กรลูกค้า สังคม และประเทศชาติ

          I = Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรมการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

          A = Agility ความรวดเร็วเช่น มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้

          โดยคิดค้นระบบ MobileBanking ต่าง ๆ ให้กับคนทั่วไปและผู้พิการทางสายตาสามารถใช้ได้

การนำไปปรับใช้ สามารถนำแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมมาวิเคราะห์วิจัย เพื่อการปรับใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

 

กิจกรรม ช่วงที่ 4  การศึกษาดูงาน  วันที่ 22-23 สิงหาคม 2560

  • วันที่ 22 สิงหาคม 2560  ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

                นวัตกรรม / กิจกรรม / โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ  มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมที่ได้มีการพัฒนางานมาโดยตลอด  เช่น การเตรียมเปิดโรงพยาบาล RSU International เพื่อเป็นการตอบโจทย์การดำเนินการด้านสุขภาพ และวิทยาศาสตร์ในอนาคต การเปิดสถาบันทางการแพทย์บูรณาการและแผนสุขภาพองค์รวม  เช่น RSU Healthcare  ศูนย์นวัตกรรม และศูนย์สร้างสรรค์ด้านต่างๆ  สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จเนื่องจากที่ มหาวิทยาลัยรังสิตทำมาทั้งหมดเป็นการทำจาก Demand Side อาจจะแตกต่างกับที่มหาวิทยาลัยทักษิณทำ ซึ่งอาจยังเป็น Supply Side อยู่ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงควรมีการพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการทางการศึกษา  การทำอะไรเป็นที่ต้องการของธุรกิจ หรือสังคมจะทำให้อยู่รอด การปรับวิธีการ กฎ ระเบียบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการปฏิบัติ และปรับพฤติกรรมที่จะทำให้แข่งขันกับภาคเอกชนให้ได้ หน่วยงานต่างๆ ต้องผนึกกำลังกัน และดึงความสามารถมาใช้ร่วมกัน เน้นการปรับพฤติกรรม Mindset  Behavior  ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนงานนั้น มีความเด่นในเรื่องการรวมศุนย์ และปรับระบบงาน ให้บริการแบบ one stop service เพื่อลดขั้นตอนและประหยัดทรัพยากร  ในการกระตุ้นให้บุคลากรสร้างและใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอนให้มากขึ้น มหาวิทยาลัยรังสิตกำหนดเป็นนโยบายในการนำผลสัมฤทธิ์เหล่านั้นมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของบุคลากรด้วย นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นในการร่วมแก้ปัญหาให้ชุมชน เช่น โครงการตำรวจ โครงการค่าข้าวแลกค่าเทอม เป็นต้น

               การนำมาปรับใช้ในมหาวิทยาลัยทักษิณ คือ จะต้องสร้างทีมในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน กำหนดนโยบายในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมอย่างจริงจัง และการสร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ให้ชุมชน สังคม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและสร้างประโยชน์ให้ชุมชนอย่างเป็นระบและต่อเนื่อง

   

         วันที่  22 สิงหามคม 2560 ศึกษาดูงานที่ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด                                                                                                                   

 การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราก็เปลี่ยนและการไม่เคยชินกับสิ่งที่เป็นอยู่ และการเน้น

พัฒนาผู้นำผ่านหลักสูตร 7 Habits เป็นสิ่งสำคัญ และทำให้คนในองค์กรประสบความสำเร็จ นโยบายของประเทศปรับเปลี่ยนเป็น Thailand 4.0 มุ่งเน้นนวัตกรรมมากขึ้น การบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น การทำงานแบบเดิมๆ จึงไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลต้องการให้เชื่อมกับ Platform ทางด้านดิจิตอลมากขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงมีตลอดเวลา

               การนำมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยการปรับวิธีการ ปรับแนวคิด ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยและต้องไม่เคยชินและยึดติดกับวัฒนธรรมเดิม ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถปรับตัวได้ง่ายเมื่อมหาวิทยาลัยมีนโยบายใหม่ ๆ เกิดขึ้น การสร้างชื่อเสียง การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญ เราต้องมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับเรื่องที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ ให้ใช้สื่อออนไลน์ให้คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ที่สุด ต้องเชื่อว่า Innovation + Creative สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างจุดแข็ง การใช้ Offline และ Online จะมีบทบาทมากขึ้น และเป็นประโยชน์หากเรานำมาใช้พัฒนาองค์กร

 

         วันที่ 23 สิงหาคม 2560  ศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

  ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำด้านดิจิตอล แบงค์กิ้ง มิชชั่น คือทำระบบงานต่าง ๆ ขึ้นมา มีเรื่องการสร้าง Core Value มีเรื่องวิถีการคิด เน้นเรื่อง VIA

คือ V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ จะเห็นว่าบางขั้นตอนมีการทำงานที่ซับซ้อน ได้มีการลดขั้นตอนลง I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ  A –Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน สิ่งที่พบคือ มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้ เช่น Focus Technology เราจะทำอย่างไรให้ใช้ธุรกรรมผ่านทางมือถือได้ Product & Services ยกตัวอย่าง Mobile Banking สร้างให้คนตาบอดสามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ และเรื่อง letter of Guarantee มีเรื่องระบบ K-Plus   มี Partners ช่วยพัฒนาระบบต่าง ๆ

            การนำมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ คือ การสร้าง Value ที่มี Purpose Full หรือจุดมุ่งหมายจริงๆ และสร้าง Core Value ของตัวอาจารย์ขึ้นมา เช่น เน้นเรื่องการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสร้างความสำเร็จให้แก่ผู้เรียน และในการทำงานจะทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมี Teamwork  การสร้าง Value ให้ Business และ Technology ไปด้วยกัน ให้มีความเป็น Professionalism มีความน่าเชื่อถือ ทุกเทคโนโลยีจะต้องคำนึงถึงความสุขของผู้รับบริการ

อุทัย ศิริคุณ กลุ่ม 3

วันที่ 22 สิงหาคม 2560 ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

ปรับกระบวนการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอน ให้การเรียนการสอนสนุกมากขึ้น

         -  E-Learning สามารถโหลดเข้ามือถือได้เลย

          - เมนู Quiz ช่วยในการสอบย่อยหรือสอบกลางภาคได้ ถ้าเด็กไม่มีอุปกรณ์จะมีห้องคอมฯให้

          - RSU Book Shelf ให้เด็กสามารถโหลดได้

          - การเรียนการสอนสามารถเปิดวีดิโอย้อนหลังได้ เป็นแบบ Animate ได้ และเหมาะกับการเรียนรู้ทางสายวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตลอด

          - มี iTunes U. คล้าย E-Learning แต่ไม่ได้มีฟังก์ชั่นครบ สามารถเปิดผ่านอุปกรณ์ได้ เด็กสามารถใช้ IPad ในการสอบได้เลย

          - ใช้ Google เด็กสามารถมีไฟล์งาน สามารถเปิด Portfolio ได้เลย มีการ Training อาจารย์และเด็ก มีโปรแกรมฝึกภาษาอังกฤษ โครงการ Second Life & Gamification เด็กจะกล้าพูดกล้าซักถาม ในการพูดได้จริง เพื่อให้เด็กฝึกทักษะการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

          - MOOC มีรายวิชาในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่สามารถเข้าไปดูได้ มีการ Assign งานได้เรียนรู้เพิ่มเติม ทุกอย่างสามารถ Download มาได้ ปรับการเรียนการสอนได้ฟรี

          - มีตัว Robot บันทึกการเรียนการสอนได้เลย อาทิ Swivl Robot     

          - มี Application วัดทักษะความจำ ความรู้ในห้องเรียน เก็บคะแนนย่อย ๆ มีการจัดสอบ Online

          - มีการจัด Training in class

          - Smart Education เชิญวิทยากรมาจากทั่วโลก และเชิญอาจารย์เก่ง ๆ มาสอน

การปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

          การคิดนวัตกรรม/กระบวนการทำงานที่นำเทคโนโลยี/IT มาใช้อำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้องชัดเจน มีการจัดทำฐานข้อมูล ที่พร้อมใช้

 

วันที่ 23 สิงหาคม 2560

1.ศึกษาดูงาน ณ บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

จุดแข็ง 1. เป็นผู้นำทางด้านการตลาดที่มีความเข้มแข็งมากทั้งภายในและภายนอกประเทศ

          2. การทดสอบผลิตภัณฑ์ / สินค้า โดย

- การศึกษาทั้งกลุ่มลูกค้าภายใน (พนักงานในบริษัท) และภายนอก

- ขายจุดดีและจุดเด่นบ่อย ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคซึมซับ

          3. สร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ มีการคิดค้นนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และจดสิทธิบัตรเกือบทุกวัน

          4. Unilever เน้นการสร้างผู้นำ และให้ผู้นำสร้างเครือข่าย

          5. สร้าง Brand Love to Lost

         - การสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยให้ผู้บริโภคจดจำในสินค้าประเภทนั้น ๆ มากกว่าที่จะบอกว่าใครเป็นคนผลิต

          6. การเก็บข้อมูลสามารถช่วยทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค

           7. ธุรกิจเติบโต 1 เท่า แต่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงครึ่งหนึ่ง

          ในการปฏิบัติงานเราต้องมีความเชื่อมั่นในองค์กร เชื่อมั่นในหลักสูตรของคณะ รู้จักจุดเด่นของคณะ มีการประชาสัมพันธ์จุดเด่นให้เป็นที่รู้จัก มีการพัฒนางานกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ให้บริการที่รวดเร็ว การสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการ

2. ศึกษาดูงาน ณ สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

ธนาคารกสิกรไทย มีเรื่องการสร้าง Core Value มีเรื่องวิถีการคิด เน้นเรื่อง VIA คือ

V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ จะเห็นว่าบางขั้นตอนมีการทำงานที่ซับซ้อน เราได้มีการลดขั้นตอนลง

I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

A –Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน สิ่งที่พบคือ มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้

การปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

            การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ปรับกระบวนการงานที่ไม่จำเป็น เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงานและการให้บริการ

 

นางสาวสุชาดา ถาวรานุรักษ์ กลุ่มที่ 2

มหาวิทยาลัยรังสิต

การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน การบริหารงานและพัฒนาบุคคล พบว่าทีมงาน HRD ของมหาวิยาลัยรังสิต มีความเข้มแข็ง ค้นหาสิ่งที่สนับสนุนและผลักดันให้บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง มีการติดตามอยู่ตลอดเวลา มีโครงการต่าง ๆ และนวัตกรรมรองรับให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง รวมทั้งมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  การค้นหาและสนับสนุนบุคลากรให้บุคลากรในองค์กรได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปข้างหน้า ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากส่วน

นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากมหาวิทยาลัยรังสิตการดำเนินนวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการใด ๆ จะมีการศึกษา สำรวจเพื่อวิเคราะห์ปัญหาจาการใช้ การปฏิบัติงานจริงเพื่อให้นวัตกรรมที่ได้ตอบสนองและเกิดประโยชน์สูงสุดคำนึงถึงทรัพยากรอย่างคุ้มค่าภายใต้สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีอยู่และคำนึงถึงโอกาสที่ก้าวล้ำหน้า มองปัญหาของชาติเพื่อให้ทันต่ออนาคต

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การศึกษาวิจัยถึงความต้องการของกิจกรรม วิเคราะห์โอกาส ปัญหา อุปสรรค วางแผนการ ปฏิบัติตามแผน นำมาปรับปรุงให้สามารปฏิบัติได้จริงและตอบสนองความต้องการต่อนิสิต องค์กร ชุมชนและสิ่งแวดล้อมและเกิดประโยชน์สูงสุด

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

          สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การทำอะไรก็ตาม จะต้องทำภายใต้กฎแห่งการทวีค่า  และกฎแห่งค่าเฉลี่ย  นั้นคือ ต้องคำนึงถึง ผลที่ได้ต้องทวีค่า และต้องมีการเฉลี่ยในใช้ทรัพยากรมนุษย์

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  ในการทำงานหรือพัฒนางานใดๆ ควรคำนึงถึงสิ่งที่คาดว่าจะได้รับเป็นหลักว่ามีคุณค่าและประโยชน์ต่อนิสิตและองค์กรเพียงใด ภายใต้การทำงานของบุคลากรที่จำกัด ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถคำนึงถึงโครงการ กิจกรรมในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น การจัดทำหลักสูตร online เพื่อให้ทุกกลุ่มผู้สนใจสามารถเข้าถึง การใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น

บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของบริษัทยูนิลีเวอร์

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน การตลาดต้องมีข้อมูล (Data) ผู้บริโภค จะทำให้เรารู้พฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะให้เราสามารถหากลยุทธ์ในการบริหารจัดการได้ ต้องบอกถึงข้อดีเพื่อขายจุดเด่น สร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์และให้ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราต้องเปลี่ยน มีการใช้ระบบการขายทั้งในแบบ Offlineและ Online “Omni Connect” มีแนวคิดในการทำ UnileverNetwork เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมกันเป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถส่งผ่านรายได้จากรุ่นสู่รุ่นในลักษณะPassive Income มีการให้ความสำคัญกับการวิจัยด้วยงบประมาณจำนวนมากและมีหลักสูตรให้พนักงานได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เช่น ทักษะทางธุรกิจความเป็นผู้นำ คุณลักษณะภายในผ่านการอบรม 7 Habits เป็นต้น

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การปรับตัวให้เร็วและพัฒนาตนเองให้ก้าวล้ำไปกับเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล ค้นหาและวิเคราะห์จุดเด่นและพัฒนาจุดด้อยนำมาปรับปรุง การเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อพัฒนาเช่นเดียวกับการเรียนรู้พฤติกรรมของนิสิต บุคลากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้ตอบสนองพฤติกรรมและจดจำจุดเด่นได้

การเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ โปรเจค Omni Condnect จากไทยขยายทั่วโลก

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  คือ การเชื่อมั่นในองค์กรว่าเราดีที่สุดและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่จดจำของลูกค้าและใช้การประชาสัมพันธ์ให้สินค้านั้นเป็นที่คุ้ยตา

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  เน้นให้บุคลากรเชื่อมั่นในองค์กรและเน้นการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงลูกค้า นิสิต อาจารย์ ให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงผู้รับบริการ เชื่อมั่นในองค์กรและเป็นที่จดจำ

ธนาคารกสิกรไทย

การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  คือ การมีวิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจนเป็นตัวขับเคลื่อนการนำขององค์กรและคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าให้ลุกค้าทุกระดับในบริการที่เท่าเทียมกันเพื่อความประทับใจ โดย ใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอลโดยได้จัดตั้ง KBTG เพื่อดำเนินการในเรื่องนวัตกรรม กำหนด Core Value คือ VIA

          V = Value สร้างคุณค่าให้กับองค์กรลูกค้า สังคม และประเทศชาติ

          I = Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรมการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

          A = Agility ความรวดเร็วเช่น มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การสำรวจของต้องการของลูกค้าที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง เข้าถึงใจของลูกค้าให้มากที่สุด โดยการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา

นางสาวอารยา ดำเรือง กลุ่มที่ 5

ศึกษาดูงาน วันที่ 22-23 สิงหาคม 2560

  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน

1.1 นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ  โดยการดำเนินการดังนี้

     1.1.1 การให้บริการและการพัฒนาหลักสูตรที่รองรับความต้องการของสังคมและตอบสนองตลาดผู้บริโภค  ได้แก่ การเปิดโรงพยาบาลนานาชาติ, การเปิดสถาบันการแพทย์แบบบูรณาการและสุขภาพแบบองค์รวม, โครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา, การเปิดคณะรังสีเทคนิค, การเปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์, การเปิดสถาบันการจัดการศึกษาทั่วไปให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษารุ่นใหม่, การเปิดศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส, การปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ, การเปิดศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ, การเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ, การเปิดคณะนิติศาสตร์

      1.1.2 การสร้างประโยชน์และการมีส่วนร่วมกับสังคม  โดยการทดลองเป็นผู้พิการเพื่อใช้บริการขนส่ง, การช่วยเหลือ    น้ำท่วม, ข้าวสารแลกค่าเทอม, ตั้งตำรวจมหาวิทยาลัยสนับสนุนตำรวจในพื้นที่

1.2 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน  มีการทำหลักสูตรออนไลน์,  มีหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับบุคคลภายนอก,  มีหลักสูตรระยะสั้น,  มีระบบบริหารจัดการออนไลน์,  ม.รังสิต ร่วมมือกับ Google ใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนการสอน – มีโครงการ E-learning ผ่านมือถือ, Quiz ช่วยในการสอบย่อยหรือสอบกลางภาค, E-book, มี RSU book shelf, มี cd-book, กิจกรรมฝึกภาษาอังกฤษ, มีการบันทึกวิดีโอการเรียนการสอน, มีการสอบ online

1.3 การบริหารงานและพัฒนาบุคคล  มี 2 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารบุคคลและฝ่ายพัฒนาบุคคล เน้นการให้บริการแบบ One Stop Service  การจ้างงานมีสัญญาจ้าง 2 ปี เกษียณอายุ อายุ 65 ปี  สำหรับการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ พัฒนาเรื่องการเรียนการสอน การวิจัย เทคนิคการสอน นำนวัตกรรมมาพัฒนาอาจารย์ สายสนับสนุน มี HRD มีในเรื่องของการ Training และพัฒนา โดยใช้สมรรถนะหลัก (ธรรมาธิปไตย  การทำงานเป็นทีม  มุ่งผลสัมฤทธิ์), สำหรับตำแหน่งบริหาร (การจัดการกลยุทธ์, ภาวะผู้นำ, การมีวิสัยทัศน์, การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ และการจัดการการเปลี่ยนแปลง) และบุคลากรสายสนับสนุน (ความรับผิดชอบในงาน, จิตสำนึกการบริการ และหน่วยงานที่บุคลากรสังกัดสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้) นอกจากนี้มีแผนในการจัดอบรมให้แก่บุคลากร มีการเน้นด้านภาษาอังกฤษ  มีหลัก RSU Skills ในการวิเคราะห์ผลเชิงคุณภาพ    

สิ่งที่นำมาปรับใช้ในการทำงาน

              เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็น ม.เอกชน การกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาจึงทำได้ง่ายกว่ามหาวิทยาลัยทักษิณ สิ่งที่นำมาใช้ในการทำงานได้คือการปรับกระบวนทัศน์ รับรู้และตระหนักว่าการบริการและการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการให้บริการแก่นิสิต

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน

              โลกมีการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง การผลิตสินค้าต้องมีความหลากหลาย มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด ต้องปรับตัวตามตลาดจึงจะอยู่ได้ เน้นทางด้านการตลาดทั้งภายในและภายนอก  ทั้งพนักงานและผู้บริโภค พนักงานต้องเชื่อมั่นในสินค้าของตัวเองก่อน  สินค้าของเราต้องดีที่สุดในการนำเสนอกับคนอื่น ใช้ดีบอกต่อ มีการสร้างแบรนด์ให้มีความแตกต่าง ผลักดัน/ขับเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ เข้าถึงผู้บริโภค และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม บนระบบออนไลน์ การจัดเก็บข้อมูลมีความสำคัญ ให้ทุกหน่วยสามารถใช้ข้อมูลเดียวกันได้

สิ่งที่นำมาปรับใช้ในการทำงาน

              ในฐานะที่เป็นทั้งศิษย์เก่าและพนักงานของมหาวิทยาลัยต้องมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร และพูดถึงมหาวิทยาลัยต่อสาธารณะด้วยความภาคภูมิใจและเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ให้คนภายนอกรู้จักมหาวิทยาลัยในมุมบวกเสมอ ในกระบวนการทำงานต้องมีการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลประกอบการทำงานให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง

3.  ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี

            ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารที่พัฒนา App ที่ไม่ต้องใช้เงินสดในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการ โดยใช้จ่ายผ่าน App แทนเงินสด ลดระยะเวลาในการให้บริการ และพัฒนาเทคโนโลยีที่หลากหลาย การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ (Mobile Banking) การจ่ายและโอนเงินผ่าน App การช่วยในการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

            การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผู้ด้อยโอกาส-คนตาบอด ให้สามารถใช้ธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความมีอิสระ การพัฒนาต่าง ๆ  ดำเนินการโดยการเก็บข้อมูลลูกค้า นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อทำนายอนาคต และผลิตนวัตกรรมรองรับ การบริการ มุ่งเน้น การผลิตบุคลากรเพื่อมาให้บริการ, ผลิตเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้ผู้บริโภคมีชีวิตที่ดีขึ้น การบริการสังคม บริการคนด้อยโอกาส และมีการกำหนดจุดหมายและเป้าหมายที่ชัดเจน โดยการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำเพื่อความสำเร็จของลูกค้า, มีทีมงาน มีคนทำงานด้าน IT และไม่ใช่ IT มีมืออาชีพ ผลิตนวัตกรรมเพื่อการให้บริการ

สิ่งที่นำมาปรับใช้ในการทำงาน         

              การเปิดโอกาสให้มีการคิด แลกเปลี่ยน และทำงานเป็นทีมของพนักงานรุ่นใหม่ ๆ เพื่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการทำงาน สำหรับการบริการนิสิตและผู้รับบริการอื่น ๆ จากมหาวิทยาลัย ต้องให้ความสำคัญและตอบสนองต่อความต้องการของนิสิตและผู้รับบริการ โดยการบริการแบบ One Stop Service และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและเพียงพอแก่นิสิตและผู้รับบริการให้มากที่สุด นอกจากนี้ในเรื่องของหลักสูตรต้องมีการทบทวนตลาดและความต้องการของผู้เรียน มีการเก็บข้อมูล มีการวิเคราะห์/วิจัยอย่างจริงจัง เพื่อให้มีข้อมูลที่แท้จริง และจัดหลักสูตรและเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน     

นายนนทพัทธ์ นวลนิ่ม กลุ่มที่ 4

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่4

 

วันที่22สิงหาคม 2560

มหาวิทยาลัยรังสิต

         การเข้าสู่องค์กรชั้นนำของมหาวิทยาลัยรังสิตได้กำหนดเอกลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบด้านนวัตกรรมที่มีการพัฒนาสู่การแพทย์อนาคตที่ไม่พึ่งยาโดยปรับวิธีการเข้าถึงเพื่อพัฒนานวัตกรรมและการมองการไกลด้านวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำให้สามารถเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรonlineได้หลายหลักสูตร ผ่านการสร้าง Competency  ในตัวบุคคลเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่สากลภายใต้ความเปลี่ยนแปลงโดยมีการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ด้านประชาสัมพันธ์

การนำไปปรับใช้

              การปรับความได้เปรียบทางเชิงกลยุทธ์ด้านประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยทักษิณให้โดดเด่นและนำเอา นวัตกรรม บูรณาการกับการมองการไกลด้านวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

 

วันที่23สิงหาคม 2560

บริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย)จำกัด

          Unilever ได้พัฒนาสินค้าภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกควบคู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราต้องเปลี่ยน เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมามากกว่า100  ปี มีสินค้ากว่า 10,000รายการเน้นด้านให้ความสำคัญกับการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและคุณภาพมุ่งมั่นพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ผ่านการวิจัย

 การนำไปปรับใช้ การนำวิสัยทัศน์มาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของโลกแทนการยึดติดกรอบเดิม ๆ

ธนาคารกสิกรไทย การเข้าใจถึงโลกที่มีการพัฒนาจะสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กรขณะเดียวกันการไม่มองข้ามระดับรากหญ้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่ธนาคารกสิกรไทยได้เล็งเห็นและพร้อมที่จะช่วยเหลือและพัฒนาทรัพยากรของชุมชนไปพร้อมกันเพื่อเพิ่ม Core Value ภายใต้วิธีคิดแบบ  VIA

V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้าสังคม และประเทศ

I – Innovation การนำเอานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ชั้นนำ

A –Agility เน้นผลสัมฤทธิ์ขององค์กรแทนการยึดหลักขั้นตอนและวิธีการที่ซับซ้อน

การปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

           การนำ V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กรลูกค้า สังคม และประเทศ  I –Innovation การนำเอานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ชั้นนำA–Agility เน้นผลสัมฤทธิ์ขององค์กรแทนการยึดหลักขั้นตอนและวิธีการที่ซับซ้อน เพื่อปรับใช้กับภารงานที่ปฏิบัติ

นางสาวบุศริน จันทะแจ่ม กลุ่มที่ 5

สรุปศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อ นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

การดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต ทำให้ได้เห็นการทำงานของมหาวิทยาลัยเอกชน ที่พัฒนาตนเองอย่างก้าวกระโดด ทุกอย่าง ทุกพื้นที่ อาคารเรียนมีเอกลักษณ์โดดเด่น มุ่งเน้นความสะดวกสบายให้กับนิสิตและบุคลากร การจัดสวัสดิการที่เอื้อประโยชน์ให้กับบุคลากร มีระบบการประเมินที่ชัดเจน มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนโดยมอบ I-pad ให้กับนิสิตทุกคน  เน้นให้อาจารย์นำเทคโนโลยีมาช่วยสอน  บุคลากรมีความพร้อมเรียนรู้พัฒนาด้านเทคโนโลยี ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตติดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนอันดับ 1 ของประเทศ

          นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยรังสิต

  • 1. เตรียมเปิดโรงพยาบาล RSU International hospital : RIH เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่รักษา โดยไม่ต้องพึ่งยา
  • เปิดคลินิกกฎหมายช่วยเหลือประชาชน

2.       จัดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ให้คุณประโยชน์ทางการแพทย์รักษาโรคมะเร็ง

3.       เปิดคณะรังสีเทคนิคแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชน

4.       เปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์

5.       เปิดสถาบัน Gen.ed : General Education ให้มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

6.       เปิดศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส เปิดที่ Student Center หรือตึกสตาร์บักส์

7.       ปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ

8.       เปิดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา

9.       มีศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ

 

การสร้างประโยชน์การมีส่วนร่วมกับสังคม

1.กิจกรรมอวัยวะที่ 33 กับการเดินทางของชีวิต ให้นักศึกษาลองเป็นผู้พิการ และให้นำมาพัฒนากิจกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ

2.เปิดพื้นที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายข้าวได้เจอกัน นโยบาย เอาข้าวสารมาแลกค่าเทอม

3.ตำรวจมหาวิทยาลัย ให้พนักงานรักษาความปลอดภัยลาดตระเวนทำงานร่วมกับตำรวจดูแลชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัย

 

ความสำเร็จในการทำงาน

1.มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มีการช่วยเหลือและบูรณาการร่วมกันจากหน่วยงานคณะร่วมกับมหาวิทยาลัย

2.มีตัวแทนจากหน่วยงาน มาร่วมเป็นตัวกลางสื่อสารกิจกรรมของหน่วยงานมายังหน่วยงานกลางเพื่อให้รับทราบข่าวสารด้วยความรวดเร็ว

3.ผู้บริหารมีวิญญาณเป็นผู้ประกอบการทางการศึกษา ต้องดูความต้องการรอบตัว ความต้องการลูกค้า สังคม ธุรกิจ ต้องไม่ทำอะไรซ้ำแบบเดิมๆ ผู้บริหารต้องปรับ mind set

 

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน

1.ปรับหลักสูตรการสอนแบบออนไลน์

2.ปรับหลักสูตรสำหรับคนทำงานผู้สูงอายุ เช่น หลักสูตรทำอาหาร การประดิษฐ์ งานฝีมือ เป็นต้น

3.ปรับแนวคิดให้ความช่วยเหลืออาจารย์ให้นำเทคโนโลยีไปใช้ในการเรียนการสอน โดยมีการนโยบายให้ศูนย์นวัตกรรมเข้าไปแนะนำอาจารย์แต่ละรายวิชา ว่ามีเทคโนโลยีอะไรช่วยการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายวิชา  และให้เป็นตัวชี้วัดบุคลากรในการนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน

 

หัวข้อ การบริหารทรัพยากรบุคคล

วิสัยทัศน์ : มหาวิทยาลัยรังสิต คือ ขุมพลังแห่งปัญญาของชาติเพื่อปฏิรูปประเทศไทยสู่สังคมธรรมาธิปไตย

Core Competency : ธรรมาธิปไตย การทำงานเป็นทีม มุ่งผลสัมฤทธิ์

มีการดำเนินงานด้านบุคคลเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารบุคคลและฝ่ายพัฒนาบุคคลการบริหารแบบ One Stop Service 

สมรรถนะตำแหน่งทางการบริหาร ประกอบด้วย การจัดการเชิงกลยุทธ์  ภาวะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ  การจัดการความเปลี่ยนแปลง

สมรรถนะตำแหน่งของสายการสอนและสายสนับสนุน

     ตำแหน่งอาจารย์  มีความรู้ทางวิชาการ/วิชาชีพเฉพาะด้านและงานวิจัย  ความสามารถและเทคนิคในการสอน  จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ 

     ตำแหน่งสายสนับสนุน  ความรับผิดชอบในงาน จิตสำนึกการบริการ

 

หลักการบริหารบุคคล

     1.บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนมีสัญญาจ้างคราวละ 2 ปี กำหนดให้เกษียณอายุ 65 ปี

     2. มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้ครอบครัว บุตร พ่อแม่

     3. มีการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนช่วงมิถุนายนทุกปี

     4.จัดโครงการ “กลับทุกข์ กลับสุข” ให้บุคลากรเข้าถึงธรรมะในชีวิตประจำวัน

     5.อาจารย์ไม่มีหน้าที่สอนหนังสืออย่างเดียว แต่มีการสร้างศูนย์วิชาการเพื่อให้อาจารย์ช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย

 

ความประทับใจและนำมาปรับใช้ในการทำงาน

     1.ผู้บริหาร ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีจุดยืนที่ชัดเจน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงออกซึ่งธรรมาธิปไตย  ให้ความสำคัญกับทุกกิจกรรมของมหาวิทยาลัย รวมถึงคำนึงถึงสังคมประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

     2.บุคลากรมีการทำงานแบบบูรณาการทุกคณะ ร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมร่วมกัน

     3.อาคารดนตรีสุริยเทพ เป็นอาคารดนตรีที่มีก่อสร้างออกแบบได้ทันสมัย สวยงาม มีความพร้อมก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ แสง สี เสียง มีความสมบูรณ์แบบ เป็นโรงละครที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย พร้อมรองรับการแสดงดนตรีทุกประเภทและศิลปะการแสดงทุกแขนง บรรจุผู้เข้าชมได้ถึง 1,100 ที่นั่ง และเวทีลึกกว้างขวางบรรจุนักแสดงและนักดนตรีได้ 100 คน ผนังภายในสามารถปรับเปลี่ยนกระจายเสียงได้ทุกรูปแบบ  ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้โดยให้เอกชนเช่าสถานที่วันละ 250,000 บาท มหาวิทยาลัยอาจนำแนวทางการก่อสร้างมาปรับใช้ในการก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติการดนตรีและหอศิลปะการแสดงของมหาวิทยาลัย

     4.มีการรักษาทรัพยากรบุคคล และพัฒนาบุคลากรให้ก้าวสู่การสร้างนวัตกรรม รวมทั้งออกแบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ทุกขั้นตอน

     5. มหาวิทยาลัยทักษิณควรพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ online

 

การศึกษาดูงาน ยูนิลิเวอร์

     ยูนิลิเวอร์มีการก่อตั้งยาวนาน 150 ปี  แนวคิดสำคัญคือ ยูนิลิเวอร์ต้องเปลี่ยนก่อนที่โลกจะเปลี่ยน เน้นความเป็นผู้นำด้านการตลาด โดยให้เชื่อมั่นว่าสินค้าขององค์กรเราดีที่สุด มีจุดเด่นที่ดี ขายจุดดี ขายจุดเด่นให้ลูกค้าหรือผู้บริโภค ให้ผู้บริหารซึมซับจุดดีในแบรนด์สินค้า ซึ่งจะสามารถบอกคนอื่นต่อได้ให้เชื่อมั่นในตัวสินค้า

     แนวทางในการพัฒนา

  • การสร้างชื่อเสียงของสินค้า และตราสินค้า ให้เป็นที่รู้จักทุก Generation
  • คุณภาพของสินค้าที่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง
  • เชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี การข้ามผ่านไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่าท้อ มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย
  • ธุรกิจจะเติบโต ต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • จะทำอย่างไรให้เกิด Consumer insite เราจะเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้า ผู้ปกครอง นิสิต ศิษย์เก่าและบุคลากรได้อย่างไร
  • เราต้องรู้ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด
  • ต้องให้ลูกค้าเห็นภาพของสินค้าเราทุกวัน อย่างน้อยวันละ 7 ครั้ง เพื่อให้จดจำชื่อสินค้า
  • การเปิดช่องทาง shopping online

 

ความประทับใจและนำมาปรับใช้ในการทำงาน

  • องค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ไม่รอการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • มหาวิทยาลัยจะ build brand เพื่อให้นิสิต ผู้ปกครอง รู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบการสื่อสารองค์กรผ่านทางสื่อออนไลน์ทุกช่องทาง facebook  Intragram line Application เป็นต้น
  • เราต้องศึกษาและรู้ความต้องการของลูกค้า เพื่อพัฒนาหลักสูตรได้ตรงใจและรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน

 

การศึกษาดูงาน KBANK

วิสัยทัศน์  : เป็นผู้นำในสร้างสังคมให้เป็น Digital Banking ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน

Core value :  V (Value) การสร้างคุณค่าให้สังคม / ลูกค้า

                 I (Innovation)  การค้นหานวัตกรรมทางเลือกใหม่ให้ลูกค้า

                 A (Agility) ลดกระบวนการทำงานให้รวดเร็ว

ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำด้าน Digital banking  ได้ก่อตั้ง KASIKORN Business - Technology Group (KBTG) เพื่อมุ่งคิดค้นและสร้างนวัตกรรมทางการเงินรองรับ Digital Banking ภายใต้แนวคิดรองรับนโยบายรัฐบาล Cashless  ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเงินในตลาดโลก ให้ผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่าน Smart phone ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัยในการพัฒนารูปแบบการให้บริการด้วยการทำงานเป็นทีมของบุคลากรรุ่นใหม่ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์/นอกกรอบ ดำเนินงานภายใต้การสำรวจและเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบ (ทั้งผลประกอบการและความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการ) เพื่อการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการได้อย่างทั่วถึง โดยยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ธนาคารจะทำอะไรเพื่อช่วย/สนับสนุนในความสำเร็จของลูกค้า  เราต้องรู้/ศึกษาความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด   บางครั้งลูกค้าอาจยังไม่รู้ความต้องการของตัวเอง ดังนั้น การพัฒนาบริการและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าจึงช่วยให้องค์กรอยู่ได้ในยุคนี้

นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว ธนาคารกสิกรไทยยังพัฒนาโครงการมีเป็นประโยชน์ต่อสังคม   ไปควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง เช่น

  • -ออกแบบ Application สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา  ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นการสร้างคุณค่าให้มีความเท่าเทียมกันในสังคม
  • -โครงการพรวนฝัน เพื่อการสนับสนุนและรองรับธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ เป็นการสร้างคุณค่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้

 

สิ่งที่ประทับใจและนำมาปรับใช้ในการทำงาน

  • 1.การปรับ mindset ของผู้บริหารและบุคลากรให้เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ และเปิดโอกาสให้บุคลากรมีอิสระทางความคิด ได้แลกเปลี่ยน และทำงานร่วมกันเป็นทีม   
  • 2.การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรในองค์กรเชื่อมั่นและมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน   เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
  • 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และวิจัยอย่างจริงจัง เพื่อให้มีข้อมูลที่แท้จริง รอบด้าน ในการสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในการทำงาน
  • 4.ส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งความสุข เพื่อให้บุคลากรเกิดความสุขในการทำงานและผลงานมีคุณภาพ
  • 5.การจัดสถานที่ทำงานมีความผ่อนคลาย กว้างขวาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกในที่ทำงาน เช่น จุดพักกินกาแฟ ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ห้องออกกำลังกาย ห้องประชุม ทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน
  • 7.การเข้าใจ เข้าถึง ความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการ (เช่น นิสิต ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า เป็นต้น) เพื่อพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองตามความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด
  • 8.นำเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการทำงาน
  • 9.พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมเพื่อก้าวทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก

คำรบ คชภักดี กลุ่ม 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่ 4  (22 - 23 สิงหาคม 2560)

มหาวิทยาลัยรังสิต

นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

                ได้เห็นภาพความแตกต่างของมหาวิทยาลัยเอกชนกับของรัฐในเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติ ที่รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ หยิบยกประเด็นปัญหาของประเทศสู่การพัฒนาและแก้ไข เช่น โครงการข้าวสารแลกค่าเทอม โครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา  การเปิดหลักสูตรที่เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ แม้จะขาดทุนก็ตาม และมหาวิทยาลัยรังสิต มีการพัฒนานวัตกรรมอย่างจริงจังและครอบคลุมทุกภารกิจ โดยเน้นความรวดเร็วและตอบสนองความต้องการของสังคมและผู้เรียน และบุคลากรทุกฝ่าย ทุกระดับให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

                มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความสำคัญมากกับประเด็นนวัตกรรม โดยกำหนดให้เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือ นวัตกรรม  (RSU Cyber University) จะพบว่านักศึกษาทุกคนมีแท็บเล็ต ภายในอาคารต่างๆ มีปลั๊กไฟบริการนักศึกษาทุกมุมของอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาได้เพื่อศึกษาค้นคว้าได้ทุกที่ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น E-Learning, E-Book, iTune U Google Apps for Education ทั้งนี้ อาจารย์จะต้องปรับกระบวนการเรียนการสอน เช่นการสอบย่อยหรือสอบกลางภาค การจัดทำแฟ้มผลงานของนักศึกษาออนไลน์ เป็นต้น

การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

           มีการดำเนินงานด้านบุคคลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ งานบริหารบุคคลและงานพัฒนาบุคคล มีการบริหารแบบ One Stop Service ส่วนด้านการพัฒนาบุคคล มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร ม.รังสิต 5.00 โดยจัดทำหลักสูตรออนไลน์ทำร่วมกับ Cyber U. ให้บุคลากรได้เรียนรู้และเข้าใจ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาบุคลากรในอนาคต มหาวิทยาลัยมีการกำหนด Core Competency โดยแตกต่างกันไปตามสายงาน ผู้บริหาร อาจารย์สายวิชาการ และสายสนับสนุน 

 บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน) 

การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Concept

  • -บริหารงานโดยหลักคิดว่าเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราก็เปลี่ยน
  • -เน้นการวางแผนเพื่ออนาคต ,ปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง,ระบบเครือข่าย
  • -ระบบการตลาดเป็นสิ่งสำคัญ
  • -ผลิตสินค้าที่เน้นคุณภาพ (บุคลากรภายใน OK ก่อน แล้วส่งต่อภายนอก)
  • -มีการพัฒนาผู้นำและบุคลากรในบริษัทผ่านหลักสูตร 7 Habits แรงบันดาลใจต้องมีทุกวัน,พนักงานที่ป่วย ถือว่าเป็นความผิด ,สิ่งไหนสำคัญต้องมาก่อน
  • -การสร้าง  Platform สำหรับบริการที่ไม่ซับซ้อน 

ธนาคารกสิกรไทย

การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

  - ค่านิยมร่วมกสิกรไทย สร้างคุณค่า ค้นหานวัตกรรม ทำอย่างรวดเร็ว

  -จัดสถานที่การทำงานอย่างมีความสุข ออกแบบอาคารเป็นดิจิตอลแห่งอนาคต  

  - Innovation campus

- ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับได้ถ่ายทอดความรู้ 

นางจันทิมา คงคาลัย

นางจันทิมา คงคาลัย กลุ่มที่ 4

วันที่ 22 สิงหาคม 2560

สรุปศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

             มหาวิทยาลัยรังสิต ประสบปัญหาไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ในประเด็นจำนวนการรับนักศึกษาลดลงเนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น มหาวิทยาลัยรังสิตนำนวัตกรรมมาปรับใช้ในการเรียนการสอน และการทำงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้บริหารระดับสูงได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ เป้าหมายการนำนวัตกรรมมาใช้กับทุกองค์รวมในมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน การทำงานของ RSU Cyber University เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญเป็นที่ปรึกษา และนำศาสตร์ของเทคโนโลยี นำมาใช้และสร้างประโยชน์ให้กับอาจารย์ตามความต้องการหลากหลายรูปแบบ นิสิตทุกคนมี แท็บเล็ต มีการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน และนำมาใช้ได้จริงในโลกการเรียนในปัจจุบันที่มีความทันสมัย ทั้งในรูปแบบของ E- Learning/E-Book / Google Apps for Education / Smart Classroom & Application / MOOC & Flipped Classroom / iTunes U / Second life & Gamemification/ การเรียนการสอนสามารถเปิดวีดิโอย้อนหลังได้ เป็นแบบ Animate

           มหาวิทยาลัยทักษิณ ควรปรับ Mindset ในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานของบุคลากร ในยุคที่มีเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของนิสิต

 วันที่ 23 สิงหาคม 2560

สรุปศึกษาดูงาน ณ บริษัท ยูนิลีเวอร์ประเทศไทย (จำกัด) พระราม 9

                การบริหารธุรกิจให้เป็นผู้นำที่เข็มแข็งในระดับโลก ไม่เพียงก้าวทันการเปลี่ยนแปลง แต่พัฒนาตนเองให้มีความทันสมัย มองความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต บริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองธุรกิจไปข้างหน้า 20 ปีแล้ว เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ให้ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราก็เปลี่ยน และมองเห็นการลดปัญหามลภาวะของโลก มิได้มุ่งทำกำไรเพียงอย่างเดียว

                  มหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องสำรวจความต้องการของลูกค้า : นิสิต นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการ มองการตลาดที่เข้าถึงและตรงใจ การปรับ Mindset ให้บุคลากรทุกคนตั้งเป้าหมายร่วมกัน ต้องขยาย Comfort Zone และก้าวออกจาก Comfort Zone เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี

 สรุปศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

                    ธนาคารกสิกรไทย มิได้ทำธุรกรรมทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ทำธุรกิจเพื่อให้ Life Style ดีขึ้น สร้างเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าไปถึงได้ การสร้าง Core Value มีหลักการคิดเน้นเรื่อง VIA คือ

                    V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ จะเห็นว่าบางขั้นตอนมีการทำงานที่ซับซ้อน เราได้มีการลดขั้นตอนลง

                   I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

                   A –Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน

นางสาวปีติฉัตร วั่นเส้ง (กลุ่มที่5)

สรุปสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน

วันที่ 22 สิงหาคม 2560  มหาวิทยาลัยรังสิต

1. นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

                การบริหารจัดการของสถานศึกษาภาคเอกชนและภาครัฐ มีความแตกต่างในการนำนโยบายลงสู่แนวปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมหาวิทยาลัยเอกชนมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน มุ่งเน้นความต้องการในสังคม และการทำงานเพื่อความคล่องตัวโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งในภาครัฐมีข้อจำกัดที่แตกต่างมากกว่า ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร และยังต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน Mindset

                ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยรังสิตยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆที่สร้างจุดเด่นของอาชีพหรือตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งเป็นการจัดบริการทางการศึกษาที่สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้า คือ นักศึกษาให้เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในหลายรูปแบบ ประกอบกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการข้าวสารแลกค่าเทอม โครงการอวัยวะที่ 33 และตำรวจมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2. การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน 

                มีการพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรออนไลน์ (RSU Cyber University) คือ การเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองในการจัดการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้สะดวก ง่าย รวดเร็ว สามารถเรียนรู้ได้ในทุกที่ ได้แก่ E-learning ,E-book, Smart Classroom เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้ I-Pad ที่มหาวิทยาลัยมีให้สำหรับทุกคนเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้ ทั้งนี้ การพัฒนาอาจารย์ผู้สอนและผู้ปฏิบัติงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับตัวในการเรียนรู้ปรับแนวคิดโดยใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการสอนควบคู่กันไปด้วย

3. การบริหารงานและพัฒนาบุคคล                 

               การบริหารงานมุ่งเน้นการบริการแบบ One Stop Service และ HRD กำหนด Core Competency เรื่องธรรมาธิปไตย การทำงานเป็นทีม และมุ่งผลสัมฤทธิ์ พร้อมทั้งการดำเนินงานแบบสร้างแรงจูงใจในการทำงาน พัฒนาบุคลากรหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ

วันที่ 23 สิงหาคม 2560

บริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

                การบริหารงานยึดหลัก “องค์กรจะเปลี่ยนก่อนโลกเปลี่ยน” หมายถึง การพัฒนาที่ทันท่วงทีหรือก่อนการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรเป็นชั้นนำทางด้านธุรกิจ โดยนำ 7 Habits มาใช้การพัฒนาบุคลากรของบริษัท โดยยึดหลักบุคลากรมีสุขภาพดี พร้อมปฏิบัติงานได้อย่างปกติมาเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ การตลาดของบริษัทเน้นหลักการ ดังนี้ 1. สร้างตราสินค้า 2. สร้างเครือข่ายกับคู่ค้า 3. สร้างความแตกต่าง คือคุณภาพของสินค้า 4. สร้างนวัตกรรมของสินค้า 5. ประเมินความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า 6. การเข้าถึงผู้บริโภคทุกช่องทาง 7. การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลให้สามารถนำไปใช้ได้ทุกหน่วยงาน 8. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ โดยนำหลักการตลาดมาประยุกต์ใช้เพื่อทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ธนาคารกสิกรไทย

                การดำเนินงานโดยมี Vission คือ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นผู้นำด้านดิจิตอล Mission คือ การกำหนดระบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า Core Value คือ สร้างวัฒนธรรมองค์กร  เรื่อง  VIA คือ V : Value Creation คือ การสร้างคุณค่าในองค์กร I : Innovation คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ A : Agility คือ การทำอย่างรวดเร็ว Focus teacnology เป็นการมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าทุกประเภท ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มพิเศษ (ผู้พิการหรือบกพร่องทางการมองเห็น และผู้สูงอายุ) กลุ่มลูกค้าที่ชอบใช้เงินสดและที่ไม่ชอบใช้เงินสด การบริการทุกอย่างสามารถใช้ Mobile Application โดยการสร้าง Platform คือ K-plus Platform ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบ คือ การจัดเก็บข้อมูล (Data) โดยมีกระบวนการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Smart Companion และความสำเร็จจะเกิดได้ต้องประกอบด้วย CTPI

                C : Customer              – ลูกค้า

                T : Teamwork            - การทำงานเป็นทีม

                P : Professional         - ความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพ

                I : Innovation            - การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจะประสานการดำเนินงานเป็น Comnovation คือ Communication + Innovation อันจะเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ KBTG สามารถพัฒนาระบบการบริการที่เป็นผู้นำธนาคารด้านเทคโนโลยีดิจิตอลแห่งอนาคต

การนำความรู้และสิ่งที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร 

  1. การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้บุคลากรในองค์กรมีสิ่งยึดมั่นและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อนำสู่ความสำเร็จขององค์กร

2. การเข้าใจ เข้าถึง ความต้องการของลูกค้า ซึ่งมหาวิทยาลัยมีลูกค้าที่สำคัญ คือ นิสิต ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า เป็นต้น ซึ่งต้องพัฒนาการบริการให้ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ

3. การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

4. การส่งเสริมให้องค์กรมีความสุขในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้งานและการดำเนินงานมีคุณภาพ



นางสาวจินตนา นาคจินดา กลุ่มที่ 3

มหาวิทยาลัยรังสิต

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า มหาวิทยาลัยรังมีรูปแบบการบริหารจัดการที่คล่องตัว One Stop Service  มีทีมงานด้านพัฒนาบุคลากรเป็นอันดับต้นของประเทศ มีรูปแบบการทำงานเป็นทีม มุ่งผลสัมฤทธิ์ การดำเนินงานด้านบริหารบุคคลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารบุคคล และฝ่ายพัฒนาบุคลากร  มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทำให้เป็นที่หนึ่งของประเทศ คือ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม ทั้งนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้นการศึกษาที่นำมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน  ตลอดจนการสร้างประโยชน์ต่อสังคม

นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยรังสิต

1.       เตรียมเปิดโรงพยาบาล RSU International hospital : RIH

เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่รักษา โดยไม่ต้องพึ่งยา

2.       เปิดคลินิกกฎหมายช่วยเหลือประชาชน

3.       จัดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ให้

คุณประโยชน์ทางการแพทย์รักษาโรคมะเร็ง

4.       เปิดคณะรังสีเทคนิคแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชน

5.       เปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์

6.       เปิดสถาบัน Gen.ed : General Education ให้มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

7.       เปิดศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส เปิดที่ Student Center หรือตึกสตาร์บัก

8.       ปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ

9.       เปิดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา

10.   มีศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ

การสร้างประโยชน์การมีส่วนร่วมกับสังคม

1.        กิจกรรมอวัยวะที่ 33 กับการเดินทางของชีวิต ให้นักศึกษาลองเป็นผู้พิการ และให้นำมาพัฒนากิจกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ

2.       เปิดพื้นที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายข้าวได้เจอกัน นโยบาย เอาข้าวสารมาแลกค่าเทอม

3.       ตำรวจมหาวิทยาลัย ให้พนักงานรักษาความปลอดภัยลาดตระเวนทำงานร่วมกับตำรวจดูแลชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัย

      สิ่งที่จะนำไปใช้ในการทำงาน

      การไม่รีรอที่จะคิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นแบรนด์ขององค์กร เมื่อคิดต้องรีบทำ กระตุ้น ผลักดันสิ่งที่คิดให้เกิดขึ้นจริง

 

      2.  บริษัทยูนิเวอร์

      สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานบริษัทยูนิเวอร์  คือ การทำงานของบริษัทยูนิเวอร์ ภายใต้หลัก “โลกเปลี่ยน ธุรกิจเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยน” ดังนี้

  • ความคิด  = มองอนาคตล่วงหน้าตามความเปลี่ยนแปลงของอนาคตเพื่อสร้าง/ผลิตสินค้า
  • ความเชื่อมั่น = สร้างความมั่นใจในตัวสินค้า สร้างความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น
  • เทคโนโลยี  = เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย
  • นโยบายของรัฐ  = เพิ่มขีดความสามารถในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 กลุ่ม เข้าใจเป้าหมายและความต้องการของผู้บริโภคเพื่อยกระดับคุณภาพ

สิ่งที่ดี

-          การสร้างแบรนด์ = การสร้างแบรนด์จะพบปัญหาอุปสรรคต้องหาวิธีการและวิธีคิดที่จะไปถึงจุดที่ต้องการ

สิ่งที่จะนำไปใช้ในการทำงาน

การสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเองในเรื่องต่าง ๆ เช่นการคิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การฝ่าฝันปัญหาอุปสรรคในการทำงานเพื่อไปสู่จุดหมาย และจะต้องเป็นผู้ที่เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

          ธนาคารกสิกร

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  คือ ธนาคารกสิกร มีวิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจน คือ การเป็นผู้นำในสร้างสังคมให้เป็น Digital Banking ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเงินในตลาดโลก ให้ผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่าน Smart phone ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น) ให้บริการโดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าให้ลุกค้าทุกระดับในบริการที่เท่าเทียมกันเพื่อความประทับใจ โดยใช้นวัตกรรมเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอลโดยได้จัดตั้ง KBTG เพื่อดำเนินการในเรื่องนวัตกรรม กำหนด Core Value คือ VIA

          V = Value      สร้างคุณค่าให้กับองค์กรลูกค้า สังคม และประเทศชาติ

          I = Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรมการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

          A = Agility      ความรวดเร็วเช่น มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ สำรวจของต้องการของผู้ใช้บริการ การเข้าใจผู้ใช้บริการ การพัฒนางานด้วยเทคโนโลยี  และการคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต

 

นายทรงธรรม ธีระกุล (กลุ่มที่ 1)

นายทรงธรรม  ธีระกุล

ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ

(กลุ่มที่ 1)

 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่ 4

วันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2560

          

การศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

          โลกมีการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างต้องปรับเปลี่ยนตาม มหาวิทยาลัยก็ต้องมีการปรับตัวให้ก้าวทันและก้าวไปรอการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ในทุกพันธกิจ โดยมีวิสัยทัศน์มหาวิทาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม นโยบาย University of Innovation 5.0 RSU cyber University เป็นการปรับตัวและมองอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สังคม และประเทศชาติ เป็นเป้าหมาย (Demand Side) และโดยการมีส่วนร่วมและสร้างความร่วมมือ (Partner) จากหน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาได้จากพันธกิจและบริบทต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ดังนี้

          1. การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ เช่น RSU Hospital (เน้นแพทย์ทางเลือก และการรักษาแบบไม่ใช้ยา) คณะรังสีเทคนิค (เป็นคณะเฉพาะทาง) คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ สถาบัน General Education ศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ ศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ (คณะกายภาพบำบัด) ฯลฯ

          2. การวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ เช่น การวิจัยกัญชาเพื่อรักษามะเร็ง ฯลฯ

          3. การบริการวิชาการ เช่น คณะนิติศาสตร์ช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ประชาชน โครงการและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่อชุมชนผ่านโครงการต่าง ๆ

          4. การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนมีการปฏิรูปและปรับเปลี่ยน เช่น ปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ โดยมี E- Learning E-Book Google Apps for Education Smart Classroom & Application MOOC & Flipped Classroom  iTunes U Second life & Gamemification ต่าง ๆ รองรับและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          ในส่วนของการพัฒนาบุคลากรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน อย่างชัดเจน คือ HRD และ HRM เน้นการทำงานและการให้บริการแบบ One Stop Service มีค่าตอบแทนสวัสดิการที่ดีแก่บุคลากร และสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

           มหาวิทยาลัยทักษิณมีการดำเนินงานและการพัฒนาเพื่อปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ต่างไปจากมหาวิทยาลัยรังสิต แต่ด้วยบริบทของความเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแม้จะมีความคล่องตัวระดับหนึ่งแต่ยังไม่คล่องตัวเท่ากับมหาวิทยาลัยเอกชน อย่างไรก็ตามก็สามารถปรับตัวและพัฒนาได้โดยการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรบุคคลทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนที่มีศักยภาพที่จะต้องร่วมมือในการพัฒนามหาวิทยาลัยไปด้วยกัน เน้นการปรับ Mindset และ Behavior เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เมื่อความคิดมุมมองเปลี่ยน พฤติกรรมเปลี่ยน จะนำไปสู่การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่       ดีขึ้น รวมทั้งการมี Stakeholder และ Network ที่เข้มแข็งทั้งในภาครัฐและเอกชนจะเป็นปัจจุบันช่วยเหลือและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือการ Focus Customer ไปยังกลุ่มเป้าหมายและตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างแท้จริง

 

การศึกษาดูงาน ณ บริบัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

Unilever เป็นบริษัทที่มีอายุยาวนานกว่า 150 ปี โดยคำนึงถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและได้มีการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจบริษัทจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยน ที่สำคัญจะต้องมองอนาคตที่จะต้องปรับเปลี่ยนรองรับก่อนที่โลกจะเปลี่ยน

Unilever เน้นการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะการพัฒนาผู้นำที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาทีมงานและเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็มองถึงการสร้างประโยชน์เพื่อสังคม

จุดแข็งที่ทำให้ Unilever ดำเนินธุรกิจมาได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ประกอบด้วย การเป็นผู้นำทางด้านการตลาด มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าโดยการศึกษาลูกค้าทั้งกลุ่มที่เป็นพนักงานบริษัทและลูกค้าซึ่งเป็นผู้บริโภคภายนอก ด้วยความเชื่อว่าหากพนักงานเห็นคุณค่าและใช้สินค้าแล้วก็จะขยายต่อไปยังลูกค้าภายนอก โดยเป็นกระบอกเสียงให้แก่บริษัทได้เป็นอย่างดี มีการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่เชื่อมันและติดตาผู้บริโภค รวมทั้งมีการสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งตัวสินค้า วิธีการขายสินค้า และการเข้าถึงผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในยุคดิจิตอล ที่มีการดำเนินการควบคู่ไปกันทั้งระบบ Online และ Offline ตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

มีการพัฒนาและนำ Platform ทางด้านดิจิตอลมาใช้ในการขายสินค้ามากขึ้น Innovation and Creative จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างจุดแข็ง โดยเฉพาะการใช้ Offline และ Online จะมีบทบาทมากขึ้น

ในส่วนของการพัฒนาบุคลากร มีหลักสูตร 7 Habits ที่เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำ เพราะมองว่าภาวะผู้นำเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้องค์กรเติบโต จึงได้ให้พนักงานทุกคนอบรมเพื่อพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งบริษัท รวมทั้งยังมีการอบรมในหลักสูตรอื่น ๆ ให้แก่พนักงานอีกหลายหลักสูตร

มหาวิทยาลัยทักษิณแม้จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาแต่สามารถนำแนวคิดเรื่องการขายสินค้าและบริการมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบันได้ เช่น การรับสมัครนิสิต การให้บริการต่าง ๆ ผ่านระบบ Online และ Offline ที่จะต้องทำและเชื่อมโยงไปด้วยกัน การจัดทำ Big Data ที่สามารถใช้ข้อมูลเดียวกันได้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย การวิจัยและพัฒนารนวัตกรรมใหม่ ๆ การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค (ผู้เรียน) การทำให้ผู้ใช้บริการ (User) สามารถเข้าถึงบริการของมหาวิทยาลัยได้ง่ายโดยการสร้าง Platform ที่ไม่ซับซ้อน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายกับภาคเอกชนในการดำเนินงานต่าง ๆ เป็น Stakeholder ของมหาวิทยาลัย

 

การศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย

           ธนาคารกสิกรไทยมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับการพัฒนา  นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาองค์กรและบริการเพื่อตอบสนองและก้าวทันต่อความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่แตกต่างไปจากเดิม KBTG เป็นบริษัทในเครือที่แยกตัวออกจากธนาคารกสิกรไทยเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ การทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ วัฒนธรรมขององค์กร VIA ประกอบดัวย V : Value Creation (การสร้างคุณค่าในองค์กร) I : Innovation (การคิดค้นนวัตกรรมใหม่) และA : Agility (การทำอย่างรวดเร็ว) มีการคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าทุกประเภท โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มพิเศษ (ผู้พิการหรือบกพร่องทางการมองเห็น และผู้สูงอายุ) ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่มีจำนวนมากและต้องการใช้บริการแต่อาจไม่สะดวกในการใช้บริการระบบปกติ จึงมีการพัฒนา Mobile Application โดยการสร้าง Platform คือ K-plus Platform เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานของลูกค้า  นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการใช้บริการทุกประเภทของธนาคารเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของลูกค้า ควบคู่การสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยไม่ได้มุ่งหวังเพียงการเจริญเติบโตทางธุรกิจเพียงด้านเดียว

          มหาวิทยาลัยทักษิณสามารถนำแนวคิดจากการศึกษาดูงานธนาคารกสิกรไทย โดยเฉพาะการสร้างความแตกต่างจากที่อื่นแม้จะเป็นหน่วยงานลักษณะเดียวกัน เป็นธนาคารเหมือนกันหรือเป็นมหาวิทยาลัยเหมือนกันแต่เราสามารถสร้างความแตกต่างได้ เช่น นวัตกรรมที่ตอบสนองลูกค้า (ผู้เรียน) ทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน การให้บริการ สิ่งอำนวยความสะดวก อาคารสถานที่ การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสมัยใหม่ เป็นต้น  ดังนั้น การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคตจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน Mindset ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากโลกเปลี่ยนและสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ต้องคำนึงถึง Stakeholder และ Focus ไปที่ผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ โดยอาจจะต้องมองหาลูกค้าใหม่ที่เป็นโอกาสซึ่งไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั่วไป Mass Target แต่อาจจะเป็นกลุ่มเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจะต้องไปในอนาคต  นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความร่วมมือโดยนำนวัตกรรมและบริการของธนาคารมาปรับใช้ในการให้บริการของมหาวิทยาลัยได้ เช่น การลงทะเบียน การชำระเงิน การจ่ายค่าตอบแทน การชำระค่าสินค้าและบริการ ของนิสิตและบุคลากร เป็นต้น 

นางสาวมาณี แก้วชนิด

นางสาวมาณี แก้วชนิด กลุ่มที่ 2

วันที่ 22 สิงหาคม 2560 ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

การบรรยายเรื่อง นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศ นำโดยอธิการบดีที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม โดย

1. เปิดคณะรังสีเทคนิค ซึ่งยังไม่มีที่ไหนเปิดเป็นคณะ ส่วนใหญ่เปิดเป็นสาขา

2. เปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์

3. มีการสอนในรูปแบบใหม่ (General Education) เรียนรู้แบบบูรณาการให้นักศึกษาทุกคนสนุกได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมและได้ความรู้

4. เปิดศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส (CNF de Rangsit)

5. ปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ (RSU International)สร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติให้กับมหาวิทยาลัย

6. ตั้งศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ : รวบรวมข้อมูลด้านนวัตกรรมและงานออกแบบ

7. เปิดศูนย์วิจัยนานาชาติสู่ความเป็นเลิศ

8. เปิดคลินิกช่วยเหลือประชาชน ให้คำแนะนำด้านกฎหมายของประเทศในอนาคต

การบรรยายเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

1. นวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยรังสิตนำมาใช้ได้แก่ RSU Cyber University มีการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ จับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นำมาใช้ในการเรียนการสอน สื่อ สนับสนุนสื่อที่เด็กมีนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และพัฒนาบุคลากร เป็นการรวมศูนย์ เพิ่มภาระงาน  และในอนาคตจะเปิดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้สูงวัย

2. มีการคัดสรรนวัตกรรมที่เกิดจากงานวิจัย

3. ปรับการเรียนรู้ หลักๆคืออาจารย์ และเจ้าหน้าที่จะเป็นที่ปรึกษา/ตัวช่วยในการใช้สื่อเทคโนโลยี กรณีสายวิทยาศาสตร์ซึ่งไม่สามารถทำการทดลองจากสิ่งมีชีวิตได้ตลอดเวลาจึงได้ทำเป็น VDO จากการสอนในห้องแล้ว upload ขึ้น youtube โดยใช้ตัว Robot บันทึกการเรียนการสอน นโยบายของมหาวิทยาลัยคือให้เด็กมีแทปเลต concept คือ ชอบสอนแบบไหนใช้แบบนั้น เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปเป็นที่ปรึกษา นัดกลุ่มเล็ก กลุ่มย่อย

การนำไปปรับใช้ในการทำงาน

การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับนิสิตได้มีส่วนร่วมโดยให้นิสิตฝึกทักษาการนำเสนองานทดลองด้านวิทยาศาสตร์โดยจัดทำเป็น VDO ในการนำเสนอโดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำทางด้านวิชาการและให้มีการ upload ขึ้น youtube

ต้องดูว่าอะไรที่เราทำแล้วหรือมีอยู่แล้วน่าจะนำไปพัฒนาปรับปรุงต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมโดยการปรับ mindset และพฤติกรรมดึงคนจากภายนอกที่มีความสามารถมาร่วมกันสร้างนวัตกรรม

 

วันที่ 23 สิงหาคม 2560

ศึกษาดูงาน ณ บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

การบรรยายเรื่อง การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของผู้บริหารยูนิลิเวอร์ หัวข้อการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ โปรเจค Omni Connect จากไทยขยายทั่วโลก (คุณจิรชีพ เฮง)

บริษัทยูนิลิเวอร์มีเน็ตเวอร์คทั่วโลก/พัฒนาทั้งคนและผลิตภัณฑ์ การทำการตลาดจากภายใน(พนักงาน) และจากภายนอก(ผู้บริโภค)

  • สินค้าตัวแรกคือสบู่ซันไลต์ ต่อมาพัฒนาเป็นน้ำยาล้างจาน โดยการเปลี่ยนแปลงคือค่อยเป็นค่อยไป
  • ยาสระผมตัวแรกคือซัลซิลซึ่งป็นแบบชนิดผงต่อมาเปลี่ยนเป็นแบบน้ำ
  • นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นเรื่องการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา …ต้องเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดี
  • Thailand 4.0 เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น/ทดแทนบางส่วนที่เกิดขึ้น/สิ่งใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อสร้างชีวิตของคนให้ดีขึ้น
  • หลายบริษัทจะสร้างตราสินค้าให้ผู้บริโภคจดจำโดยไม่ได้สร้างชื่อบริษัท แต่จะสร้างแบลนด์สินค้า
  • ช่องทางจำหน่ายการจำหน่ายทุกช่องทางเพื่อต้องการเข้าถึงผู้บริโภค
  • การจัดเก็บข้อมูลสำคัญสำหรับการทำ online
  • การบริหารงานแบบกว้างจะโตเร็วเพราะข้อมูลถึงผู้บริหารโดยตรงในการตัดสินใจ

คุณยศสรัล ศรีพงศ์จิรา : สิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จคือความเชื่อและรู้ให้มากพอ

การปรับใช้ในการทำงาน

1. การทำ Bigdata รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำมาใช้งานได้ทันที

2. การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

ศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ) หัวข้อการบรรยาย “การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล”

          ธนาคารกสิกรไทย เป็นหน่วยงานที่มีความโดดเด่นในด้านการใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี  “ทำอย่างไรให้คนที่มีโทรศัพท์มือถือได้เข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้” (เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การทำอะไรเพื่อให้ตรงใจลูกค้า)

          ข้อดีของการใช้ Cashless Society

  • เก็บภาษีได้ถูกต้อง
  • การซื้อของไม่ต้องจ่ายเงินสด แต่สามารถสแกนจ่ายเงินสดผ่าน Applicationได้ทันที
  • ปลอดภัยต่อการถูกโจรกรรม โดยการสร้าง Platform (K+Platform)

การนำไปปรับใช้ในการทำงาน : การปรับ mindset ของผู้ให้บริการ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงปรับตัวสู่การแข่งขัน นำสิ่งที่หน่วยงานมีอยู่แล้วมาพัฒนา เพิ่มความรู้ทักษะด้าน IT และทักษะด้านการจัดการให้มากขึ้น

นางสาวเพ็ญนภา ไพยศาล กลุ่มที่ 2

สรุปศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต 22 ..60

 มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเอกลักษณ์ คือ “มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม” และมีอัตลักษณ์ คือ คิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นคุณธรรม นำการเปลี่ยนแปลง จากเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัย บ่งบอกถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่หยุดนิ่ง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงปรับตัวสู่การแข่งขัน ซึ่งสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำทั้งหมดเป็นการทำจาก Demand side และมีการสร้าง Networking กับ หน่วยงานภายนอก โดยอาจทำในรูปแบบของการบูรณาการองค์ความรู้ การวิจัย และการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในองค์กร มีการเข้าถึงกับผู้เรียนโดยเข้าถึง Trend ความต้องการของผู้เรียน หรือผู้ใช้บริการ ทั้งนี้การนำมาปรับใช้ในการพัฒนาต้องมองตามหลักทฤษฎี 2 R’s คือ Reality มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น

การนำมาปรับใช้ในการทำงานขององค์กร คือ บุคลากรในองค์กรต้องปรับ Mindset เพื่อพร้อมจะเปลี่ยนแปลงตามยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยต้องได้รับการสนับสนุนหรือกำหนดนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรพลักดันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และไปในทิศทางเดียวกัน

สรุปศึกษาดูงาน ณ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 23 ..60

                การคงอยู่ของธุรกิจซึ่งมีระยะเวลายาวนานสามารถแข่งขันกับคู่แข่ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง แต่บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงมีอายุยาวนานกว่า 150 ปี อันเนื่องมาจากการที่เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด “เมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราก็เปลี่ยน” โดยการสร้าง Platform online เป็นตัวดึงดูด และได้เน้นเรื่องคน คือการพัฒนาผู้นำ ควบคู่กับสร้างสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อสังคม เน้นการพัฒนาตนเองและพัฒนาข้างนอก ซึ่งบริษัทฯ จะเน้นการสร้างผู้นำ และให้ผู้นำสร้างเครือข่าย มีการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยให้ผู้บริโภคจดจำในสินค้ประเภทนั้นๆ มากว่าที่จะบอกว่าใครเป็นคนผลิต มีการคิดค้นนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้านั้นๆ สามารถครองตลาดอยู่ได้จนถึงปัจจุบันโดยมีกฯารเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคที่เปลี่ยนแปลงและความต้องการของลูกค้า

            การนำมาปรับใช้ในการทำงานขององค์กร คือ การสร้างแบรด์หรือชื่อเสียงขององค์กร โดยสร้างจุดเด่นขององค์กร ให้เป็นที่รู้จักและจดจำของกลุ่มผู้เรียน ลูกค้า ฯลฯ โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Added โดยการคิดนวัตกรรมมาปรับใช้กับการทำงานภายในองค์กรต่อไป

สรุปศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ) 23 ส.ค.60

            การสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการของธนาคารกสิกรไทย เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว จึงมีการส่งเสริมเรื่องการสร้างนวัตกรรม ผู้นำของธนาคารกสิกรไทย ต้องการสร้างสังคมให้ทำธุรกรรมทั้งการเงินและไม่ใช่การเงิน กิจกรรมที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำด้านดิจตอล แบงค์กิ้ง มิชชั่น คือทำระบบบานต่างๆ ขึ้นมา มีการสร้าง Core Value  มีวิธีการคิดเน้นเรื่อง VIA คือ V-Value สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคมและประเทศ ขั้นตอนไหนที่ซ้ำซ้อนจะมีการลดขั้นตอนลง I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ A – Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน และสิ่งที่ได้พบคือ มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้ มีการสร้าง Platform ทุกอย่างจัดการบน Platform มีการสร้าง Application ที่ติดต่อกับผู้ใช้ และสามารถตอบโจทย์กับลูกค้าทุกกลุ่ม เป็นการออกแบบให้ทุกคนใช้ได้ มีการพัฒนานวัตกรรม เมื่อเจอทางตันก็หาทางใหม่ และทุกเทคโนโลยีมาจากการคำนึถึงความสุขของผู้รับบริการ มีการทำงานตามวิถีธนาคารกสิกรไทยเพื่อเป็นธนาคารดิจิตอลสมบูรณ์แบบ

            การนำมาปรับใช้ในการทำงานขององค์กร คือ มหาวิทยาลัยต้องไม่คำนึงเพียงแค่ในเรื่องการเรียน มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายขึ้น มีการสร้างไปตาม Trend ของการเปลี่ยนแปลง และเน้นการสร้าง Teamwork ภายในองค์กร ให้สามารถทำงานร่วมกันได้

ดารีนา รังสิโยกฤษฏ์ กลุ่ม 1

การศึกษาดูงาน ที่ ม.รังสิต


1. กิจกรรม โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

1.1 ม.รังสิต มีการทำหลักสูตร ตอบสนองความต้องการของตลาด ไม่ใช่สร้างหลักสูตรแบบเดิม ๆตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ 

1.2 มีการข้ามศาสตร์ เอาหลายๆ สาขาวิชามารวมกัน เช่น เปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์  รวมกันระหว่างวิศวกรรมศาสตร์และแพทย์ศาสตร์

1.3 เน้นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม  เช่น 

- กิจกรรมอวัยวะที่ 33 กับการเดินทางของชีวิต โดยการทำตัวเป็นเสมือนคนพิการ เพื่อผลิตสิ่งของที่มีนวัตกรรมมาช่วยในการดำรงชีวิตของคนพิการ

- กิจกรรมการบริจาคช่วยน้ำท่วม

- กิจกรรมนำข้าวสารมาแลกค่าเทอม

- ตำรวจ ม.รังสิต  เป็นการตั้งตำรวจขึ้นมาเอง ช่วยเหลือตำรวจจริงๆ โดยใช้ยามของ ม.รังสิต - เปิดคลินิกกฎหมายช่วยเหลือประชาชน ให้คำแนะนำทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป

 1.4 ความเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง เช่น การปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปิดสถาบัน Gen Ed ที่ปรับตัวเข้ากับวิธีการเรียนรู้ของเด็กสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเรียนรู้แบบบูรณาการ เรียนโดยมีส่วนร่วม  ทำกิจกรรม แล้วได้รับความรู้กลับไป

1.5  แนวคิดการสร้าง brand ในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายสื่อสารองค์กรและคณะ ที่สร้างนวัตกรรมแล้วฝ่ายสื่อสารองค์กรนำมาเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

     

นำมาปรับใช้ในการทำงาน

  • 1. ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อการอยู่รอดได้ของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
    2. การประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเป็นสิ่งสำคัญ มีการช่วยเหลือกันไม่เฉพาะหน่วยที่รับผิดชอบด้านการสื่อสารองค์กร ทำงานเป็นทีม ทำเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยในภาพรวม 
  • 3. การคิดนอกกรอบ ทำให้สร้างความแตกต่าง เกิดจุดเด่นที่ไม่เหมือนกับที่อื่น
  • 4. การสร้างกิจกรรมที่สร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม ทำอะไรจะนึกถึงประเทศชาติเป็นหลักก่อน เช่น เลือกเปิดสาขาวิชาที่ประเทศขาดแคลน  เช่น คณะรังสีเทคนิค โดยไม่ได้คำนึงถึงผลด้านการตลาดก่อน ทำให้สังคมเห็นเจตนาที่ดีของมหาวิทยาลัย และในที่สุดก็จะส่งผลดีกลับมาสู่มหาวิทยาลัยเอง

2. พัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
ม.รังสิต พัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนา  โดยมองว่ามหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษา คือนวัตกรรม มีการนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนและการทำงานของมหาวิทยาลัย โดยเน้นนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี และเชิงการบริหารจัดการ
นำนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี มาช่วยปรับด้านการเรียนการสอน ให้น่าสนใจ ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนยุคใหม่  เรียนแล้วไม่น่าเบื่อ รวมถึงปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ จำนวนนิสิตมีแนวโน้มลดลงทุกปี รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เช่น มีหลักสูตร online ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท และมีประกาศนียบัตร  เช่น ภาษาอังกฤษระยะสั้น ทำอาหาร 

การนำมาปรับใช้ในการทำงาน
มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรร่วมกันสร้างนวัตกรรมที่ช่วยในการก้าวต่อไปของมหาวิทยาลัย เข้าสู่ Thailand 4.0 รองรับความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มลูกค้าใหม่ เช่นผู้สูงอายุ

3. การบริหารงานและพัฒนาบุคคล
- เปลี่ยนแปลงจากแบ่งเป็นงานบริหารและงานพัฒนา ปรับเป็น one stop service  ทำให้การติดต่อสื่อสารเร็วขึ้น  เช่น แบ่งกัน คนนึงทำตั้งแต่ต้นจนจบของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- นักศึกษาน้อยลง ใช้นโยบายยุบรวมสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกันแล้วสามารถมารวมกันได้
- มองส่วนที่ประเทศชาติขาดแคลนมาเปิดสาขาวิชาใหม่ๆ
- เกษียณอายุ 65 ปี เว้นแต่อธิการให้จ้างเป็นคราวๆไป
- ให้สวัสดิการดี (ให้ครอบครัวและพ่อแม่ของบุคลากรด้วย)และให้อิสระโดยไม่ต้องลงเวลาทำงาน
- การประเมินมี 2 ส่วน คือ ประเมินการขึ้นเงินเดือน กับประเมินต่อสัญญาจ้างทุก 2 ปี ซึ่งสองส่วนนี้แยกออกจากกัน
- การพัฒนาสายสนับสนุน มีหน่วยงาน HRD รับผิดชอบ Training และพัฒนา  นำระบบ Competency มาพัฒนาบุคลากร 
(1) Core Competency
(2) Management Competency
(3) Functional Competency

การนำมาปรับใช้ในการทำงาน
1. การพยายามรักษาทรัพยากรบุคคลที่ดีไว้กับมหาวิทยาลัย
2. อยากให้มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานเฉพาะที่ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร  ทุกคนมีจุดอ่อนจุดแข็งที่ต่างกัน  ควรมีการประเมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มในส่วนที่ขาดของแต่ละบุคคล
3. ควรมีการปรับ mindset ของบุคลากรในภาพรวม ให้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของมหาวิทยาลัย ที่จะต้องร่วมกันปรับตัว ปรับความคิดใหม่ เพื่อนำพามหาวิทยาลัยต่อไป
4. มองถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก เมื่อทำเพื่อส่วนรวมแล้ว สิ่งดีๆ จะย้อนกลับมาสู่ตัวเราเอง

บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของบริษัทยูนิลีเวอร์
มองการณ์ไกล มองว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอด และนำหน้าการเปลี่ยนแปลง คือ บริษัทจะเปลี่ยนแปลงไปก่อนที่โลกจะเปลี่ยนแปลง  มีการลงทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มาก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์เป็นอย่างมาก เห็นได้จากการฝึกอบรมให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานในบริษัท และสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรทุกคน ว่าบริษัทตัวเองดีที่สุด เน้นสร้างตราสินค้าให้น่าเชื่อถือ และเป็นที่รู้จัก และที่สำคัญที่สุด คือคุณภาพสินค้าคือความแตกต่าง ทำให้ยูนิลิเวอร์ เป็นผู้นำทางการตลาดตลอดมา  นอกจากนี้ยังเน้นสร้าง brand ให้เป็นที่รู้จักและใช้ได้ทุก Generation  สร้างช่องทางการเข้าถืงผู้บริโภคทุกช่องทาง โดยมีช่องทางที่หลากหลาย มองว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ  ต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์ เพื่อจะได้เข้าใจลูกค้าได้มากขึ้นว่าลูกค้าต้องการอะไร  นอกจากนี้ ไม่ได้ทำเพื่อบริษัทอย่างเดียว ยังเน้นเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อให้ลูกหลานของเราต่อไปในอนาคต อยู่ในโลกนี้ได้นานขึ้น ในขณะเดียวกันธุรกิจก็เติบโตไปพร้อมกัน

การนำมาปรับใช้ในการทำงาน
1. การทำธุรกิจโดยไม่ได้หวังผลกำไรแต่เพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึงสังคมโดยรวมด้วย
2. ต้องรู้จักมองการณ์ไกล เปลี่ยนแปลงตัวเอง ก่อนที่โลกจะเปลี่ยน
3. มองหาสิ่งดีๆ สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำได้ และเป็นจุดเด่น มาสร้าง brand ของตัวเอง และสร้างช่องทางการเข้าถึงลูกค้าให้หลากหลาย สร้างความยอมรับจากลูกค้า
4. การรวมศูนย์ข้อมูล และนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบความต้องการของลูกค้า และปรับสินค้าของมหาวิทยาลัย (หลักสูตร) ให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน
5. การให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ ปรับ mindset ที่ดีตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานในองค์กร

ธนาคารกสิกรไทย
การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล
วิสัยทัศน์  : เป็นผู้นำในสร้างสังคมให้ใช้ Application ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน

Core value :  VIA
V (Value Creation) เน้นให้พนักงานสร้างคุณค่าให้สังคม / ลูกค้า
I (Innovation)  ส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นนวัตกรรม ทั้งที่เป็น product และ process
A (Agility) ลดกระบวนการทำงานให้รวดเร็ว 
ธนาคารกสิกรไทย ได้ก่อตั้ง KASIKORN Business - Technology Group (KBTG) เพื่อมุ่งคิดค้นและสร้างนวัตกรรมไปสู่ Cashless Society โดยใช้เพียง Smart phone ผ่าน K plus Platform
       การมองถึงลูกค้าทุกกลุ่ม ให้สามารถใช้งาน Application ของธนาคารได้อย่างสะดวก เช่น กลุ่มผู้พิการทางสายตา ผู้สูงวัย

การนำมาปรับใช้ในการทำงาน
1. การปรับปรุงสถานที่ทำงานให้น่าทำงาน เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ แนวคิดหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ได้
2. การลงทุนในทางนวัตกรรม การแยกหน่วยงานเฉพาะสำหรับการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Thailand 4.0
3. หาทางสร้างคุณค่าเพิ่มให้ลูกค้าของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นนิสิต ผู้รับบริการ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า
เพื่อพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองตามความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด
4. การศึกษา ปรับใช้ และนำเทคโนโลยี รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยในการทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น





ภูริพัฒน์ พฤกษาพิทักษ์ กลุ่ม 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่ 4 (22-23 สิงหาคม 2560)

มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อนวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

            มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความสำคัญกับนวัตกรรมอย่างมากโดยเน้นนวัตกรรมที่นอกจากตอบสนองความต้องการขององค์กรเองแล้วยังตอบสนองความต้องการของสังคมด้วย โดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรหลายฝ่ายในมหาวิทยาลัยในการดำเนินการ ซึ่งด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสูงสุดทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง

หัวข้อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

            มหาวิทยาลัยรังสิตมีแนวคิดพัฒนา RSU Cyber University  เน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อขยายฐานผู้เรียนและเพิ่มช่องทางในการเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย และมีนโยบายที่ชัดเจนในการผลักดันเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม มีการกำหนดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์อย่างเป็นหลักฐานซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นที่สำคัญต่อการปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

หัวข้อการบริหารงานและพัฒนาบุคคล

            มหาวิทยาลัยรังสิตมีการแบ่งแยกการทำงานระหว่างอาจารย์กับเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนมีการประเมินสมรรถนะหลักต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับหน้าที่ตามความเหมาะสม มีการประเมินการปฏิบัติงานทุกปี และประเมินเพื่อต่อสัญญาทุก 2 ปี ซึ่งส่งผลให้บุคลากรมีความตื่นตัวในการทำงาน แต่อย่างไรก็ตามนโยบายของอธิการบดี ไม่ได้เน้นเรื่องการคัดคนออกจากงานแต่เป็นการสร้างแรงกระตุ้นในการทำงานของบุคลากรเป็นสำคัญ 

บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

หัวข้อการบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Concept

ของบริษัทยูนิลิเวอร์

          บริษัทเน้นการก้าวให้ล้ำหน้าไปกว่าปัจจุบัน การวางแผนการทำงานในอนาคตในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีข้างหน้า การคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์ การทำการตลาด การขยายกลุ่มผู้บริโภค การหาเครือข่ายทางธุรกิจ เป็นการวางแผนเพื่อการรองรับอนาคต มีการฝึกและพัฒนาบุคลากรให้มีความเชื่อมั่นในองค์กร มีทักษะ มีความรู้ มีความสามารถ และที่สำคัญมีความเชื่อมั่นในองค์กรอย่างสูง ร

หัวข้อการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์โปรเจค Omni Connect จากไทยขยายทั่วโลก

            Omni Connect เป็นธุรกิจออนไลน์24 ชั่วโมง เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบันที่มีการสื่อสารกันตลอด 24 ชั่วโมง ผู้คนมักไม่ค่อยออกจากบ้านเพื่อจับจ่ายสินค้า แต่ใช้วิธีการซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ มากขึ่น ทำให้ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถขยายตลาดให้กว้างไกลยิ่งขึัน ด้วยการอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเมืองทองธานี

หัวข้อการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

            KBTG  เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ของธนาคาร โดยให้ความสำคัญที่ผู้บริโภคในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น คนพิการ คนปกติ คนในชนบท คนในเมือง จะมีการพัฒนานวัตกรรมที่รองรับความต้องการและครอบคลุมการบริการให้คนในกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในองค์กรทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีทิศทางที่ชัดเจน การจัดสถานที่ในการทำงานที่ไม่อยู่ในแนวคิดแบบเดิม โดยเน้นการสร้างสถานที่ทำงานที่ไม่เป็นทางการ ช่วยให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ไม่ตึงเครียด ส่งผลต่อผลการทำงานของบุคคลากรอย่างเห็นได้ชัด

นางจรรยา ชูทับ กลุ่มที่ 1

มหาวิทยาลัยรังสิต

          มีการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศชาติเป็นหลัก  ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ “ มหาวิทยาลัย คือ ขุมพลังแห่งปัญญาของชาติ เพื่อปฏิรูปประเทศไทย สู่สังคมธรรมาธิปไตย”  มหาวิทยาลัยรังสิต แบ่งการบริหารงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายบริหารบุคคล และ 2) ฝ่ายพัฒนาบุคคล เพื่อให้บุคลากรได้แสดงศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ มุ่งปฏิบัติงานสู่เป้าหมายเดียวกัน ควบคู่ไปกับการมีคุณภาพชีวิตและใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข โดยมีสมารถนะหลัก คือ ธรรมาธิปไตย การทำงานเป็นทีม มุ่งผลสัมฤทธิ์ และให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรม ตามเอกลักษณ์ คือ มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม ซึ่งนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนและการทำงานในมหาวิทยาลัย

บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

  วิสัยทัศน์ คือการทำให้ธุรกิจเติบโตขณะเดียวกันลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเติบโตของเรา และเพิ่มผลกระทบด้านสังคมในเชิงบวก ซึ่งให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ โดยการยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อทดแทนสินค้าที่ใช้อยู่ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเหมาะสมกับผู้บริโภคมากขึ้น Innovation + Creative สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างจุดแข็ง การใช้ Offline และ Online จะมีบทบาทมากขึ้น  

ธนาคารกสิกรไทย

วิสัยทัศน์ คือ ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ที่ริเริ่มในสิ่งใหม่ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และกระทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สร้างความยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยนำนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอลโดยได้จัดตั้ง KBTG เพื่อดำเนินการในเรื่องนวัตกรรม กำหนด Core Value คือ VIA

          V = Value สร้างคุณค่าให้กับองค์กรลูกค้า สังคม และประเทศชาติ

          I = Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรมการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

          A = Agility ความรวดเร็วเช่น มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้

ค่านิยมหลัก ซึ่งจะมุ่งเน้นใน 4 ด้านหลัก ๆ คือ

  • การมุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
  • การทำงานร่วมกันเป็นทีมของทั้งองค์กร
  • ความเป็นมืออาชีพ
  • การริเริ่มในสิ่งใหม่ ๆ

ซึ่งทั้ง 4 ตัวนี้จะเป็นตัวผลักดันให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในทุก ๆ กลุ่มได้ตรงตามความต้องการ

ปุญญาภา นิธิพิเชฐ (กลุ่มที่ 1)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  วันที่ 22 – 23  สิงหาคม  2560

วันที่  22  สิงหาคม  2560

 ณ  มหาวิทยาลัยรังสิต

           สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

- การนำระบบดิจิตอลที่ล้ำสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการทั้งด้านการเรียนการสอนและการทำงาน

- ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล 

          - การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม  เกิดจากแนวคิด “มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม” มีการนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนและการทำงานของมหาวิทยาลัย

          - การสร้างผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

การสร้างสรรค์งาน การออกแบบงาน  และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ  ในการปฏิบัติงาน เป็นความคิดที่เกิดจากคนคิดบวก และการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง  และพร้อมในการบริหารจัดการเพื่อให้กระบวนการทำงานเกิดขึ้นได้ทันที

 

วันที่  23  สิงหาคม  2560

  บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

            สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

            - การพัฒนาบุคลากร การอบรมความรู้ต่างๆ ที่องค์กรปลูกฝังให้กับบุคลากร  เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ส่งผลให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

            - การพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการสร้างเครือข่าย การดำเนินงาน

           - ข้อมูลของลูกค้า  เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการ ที่ตอบสนองและตรงกับความต้องการของผู้ใช้สินค้า 

           - การเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่องทาง  มีการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภค ดังนั้นการมี Big Data จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญ  

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

การเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ในการทำงาน การพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น ยึดหลักผู้ใช้บริการ  เพื่อนำไปสู่กระบวนการคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำงานและช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย คล่องตัวและรวดเร็ว  เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

 

  ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  คือ

-  การมีวิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจนเป็นตัวขับเคลื่อนการนำขององค์กรและคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าให้ลุกค้าทุกระดับในบริการที่เท่าเทียมกันเพื่อความประทับใจ ใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

- การจัดบรรยากาศในการทำงาน  ที่เอื้อและอำนวยความสะดวกเพื่อให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

- การสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการของธนาคารกสิกรไทย

- เป็นหน่วยงานที่มีความโดดเด่นในด้านการใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การสำรวจของต้องการของลูกค้าที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง เข้าถึงใจของลูกค้าให้มากที่สุด และการวางแผนการทำงานล่วงหน้า   คาดการณ์ในสิ่งที่เกิดขึ้น และ มีกระบวนการในการรับมือกับสถานการณ์ไว้ให้พร้อม 

 

นางสาวกรรณิการ์  แซ่หยี  กลุ่มที่ 3

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่ 4 (22-23 สิงหาคม 2560)

ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเมืองทองธานี  หัวข้อการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล  kbtg  ตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยสร้าง  Core Value VIA V-Value I-InnovationA-Agility 

จากการที่ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ นั้น ทำให้ได้เรียนรู้วิธิคิดและมุมมองของการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ  และมีประสิทธิผล การสร้างนวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถปฏิบัติให้เกิดได้จริง  และตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง   

มหาวิทยาลัยรังสิต 

การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ในหัวข้อการบริหารงานและพัฒนาบุคคล จะเห็นได้ว่า ทีมงาน HRD ของ ม.รังสิต มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ค้นหาสิ่งที่สนับสนุนและผลักดันให้บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยการติดตามและสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา มีโครงการต่าง ๆ และนวัตกรรมรองรับให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ดังนั้นจึงทำให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับต้นของประเทศได้  สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  การค้นหาและสนับสนุนบุคลากรในองค์กรให้มีแรงผลักดันภายใน โดยใช้กลยุทธ์และเครื่องมือต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกระดับการบริหารที่จะนำพาให้องค์กรสามารถพัฒนาการทำงานและพัฒนาตนเองได้ 

 

นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

          สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ม.รังสิตจะดำเนินนวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการใด ๆ จะใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าภายใต้สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีอยู่ และคำนึงถึงโอกาสที่ก้าวล้ำหน้าและทันสมัยต่อยุคอนาคต  สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  วิเคราะห์โอกาส และความต้องการในการวางแผนการปฏิบัติให้ทุกกิจกรรมและโครงการนำพาซึ่งประโยชน์ต่อนิสิต องค์กร ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

          สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การทำอะไรก็ตาม จะต้องทำภายใต้กฎแห่งการทวีค่า  และกฎแห่งค่าเฉลี่ย  นั้นคือ ต้องคำนึงถึง ผลที่ได้ต้องทวีค่า และต้องมีการเฉลี่ยในใช้ทรัพยากรมนุษย์  สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ  ในการทำงานหรือพัฒนางานใดๆ ควรคำนึงถึงสิ่งที่คาดว่าจะได้รับเป็นหลักว่ามีคุณค่าและประโยชน์ต่อนิสิตและองค์กรเพียงใด ภายใต้การทำงานของบุคลากรที่จำกัด ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถคำนึงถึงโครงการ กิจกรรมในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายวุฒินันท์ หริรักษ์

นายวุฒินันท์  หริรักษ์  กลุ่มที่ 3

สรุปสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน   

 

บริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

       การบริหารงาน เพื่อให้องค์กรเป็นชั้นนำทางด้านธุรกิจ โดยนำ 7 Habits มาใช้การพัฒนาบุคลากรของบริษัท โดยยึดหลักบุคลากรมีสุขภาพดี พร้อมปฏิบัติงานได้อย่างปกติมาเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ การตลาดของบริษัทเน้นหลักการ

1. สร้างตราสินค้า

2. สร้างเครือข่ายกับคู่ค้า

3. สร้างความแตกต่าง คือคุณภาพของสินค้า

4. สร้างนวัตกรรมของสินค้า

5. ประเมินความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

6. การเข้าถึงผู้บริโภคทุกช่องทาง

7. การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลให้สามารถนำไปใช้ได้ทุกหน่วยงาน

8. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

การนำมาปรับใช้ในการทำงาน  มหาวิทยาลัยสามารถนำหลักการทั้ง 8 ข้อมาประยุกต์  ปรับใช้ให้เหมาะสมกับการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้  ซึ่งอาจก่อให้การเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

 

มหาวิทยาลัยรังสิต

1. นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ  การบริหารจัดการของสถานศึกษาภาคเอกชนและภาครัฐ มีความแตกต่างในการนำนโยบายลงสู่แนวปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมหาวิทยาลัยเอกชนมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน มุ่งเน้นความต้องการในสังคม และการทำงานเพื่อความคล่องตัวโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งในภาครัฐมีข้อจำกัดที่แตกต่างมากกว่า ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร และยังต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน Mindset  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยรังสิตยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆที่สร้างจุดเด่นของอาชีพหรือตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งเป็นการจัดบริการทางการศึกษาที่สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้า คือ นักศึกษาให้เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในหลายรูปแบบ ประกอบกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการข้าวสารแลกค่าเทอม โครงการอวัยวะที่ 33 และตำรวจมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2. การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน  มีการพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรออนไลน์ (RSU Cyber University) คือ การเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองในการจัดการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้สะดวก ง่าย รวดเร็ว สามารถเรียนรู้ได้ในทุกที่ ได้แก่ E-learning ,E-book, Smart Classroom เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้ I-Pad ที่มหาวิทยาลัยมีให้สำหรับทุกคนเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้ ทั้งนี้ การพัฒนาอาจารย์ผู้สอนและผู้ปฏิบัติงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับตัวในการเรียนรู้ปรับแนวคิดโดยใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการสอนควบคู่กันไปด้วย

3. การบริหารงานและพัฒนาบุคคล  การบริหารงานมุ่งเน้นการบริการแบบ One Stop Service และ HRD กำหนด Core Competency เรื่องธรรมาธิปไตย การทำงานเป็นทีม และมุ่งผลสัมฤทธิ์ พร้อมทั้งการดำเนินงานแบบสร้างแรงจูงใจในการทำงาน พัฒนาบุคลากรหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ

 

 

ธนาคารกสิกรไทย

การดำเนินงานโดยมี Vission คือ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นผู้นำด้านดิจิตอล Mission คือ การกำหนดระบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า Core Value คือ สร้างวัฒนธรรมองค์กร  เรื่อง  VIA คือ V : Value Creation คือ การสร้างคุณค่าในองค์กร I : Innovation คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ A : Agility คือ การทำอย่างรวดเร็ว Focus teacnology เป็นการมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าทุกประเภท ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มพิเศษ (ผู้พิการหรือบกพร่องทางการมองเห็น และผู้สูงอายุ) กลุ่มลูกค้าที่ชอบใช้เงินสดและที่ไม่ชอบใช้เงินสด การบริการทุกอย่างสามารถใช้ Mobile Application โดยการสร้าง Platform คือ K-plus Platform ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบ คือ การจัดเก็บข้อมูล (Data) โดยมีกระบวนการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Smart Companion และความสำเร็จจะเกิดได้ต้องประกอบด้วย CTPI

                C : Customer              – ลูกค้า

                T : Teamwork            - การทำงานเป็นทีม

                P : Professional         - ความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพ

                I : Innovation            - การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจะประสานการดำเนินงานเป็น Comnovation คือ Communication + Innovation อันจะเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ KBTG สามารถพัฒนาระบบการบริการที่เป็นผู้นำธนาคารด้านเทคโนโลยีดิจิตอลแห่งอนาคต

การนำความรู้และสิ่งที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร 

-การเข้าใจ เข้าถึง ความต้องการของลูกค้า ซึ่งมหาวิทยาลัยมีลูกค้าที่สำคัญ คือ นิสิต ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า เป็นต้น ซึ่งต้องพัฒนาการบริการให้ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ

-การส่งเสริมให้องค์กรมีความสุขในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้งานและการดำเนินงานมีคุณภาพ

-การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้บุคลากรในองค์กรมีสิ่งยึดมั่นและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อนำสู่ความสำเร็จขององค์กร

-การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

 

นายวุฒินันท์ หริรักษ์

นายวุฒินันท์  หริรักษ์  กลุ่มที่ 3

สรุปสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน   

 

บริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

       การบริหารงาน เพื่อให้องค์กรเป็นชั้นนำทางด้านธุรกิจ โดยนำ 7 Habits มาใช้การพัฒนาบุคลากรของบริษัท โดยยึดหลักบุคลากรมีสุขภาพดี พร้อมปฏิบัติงานได้อย่างปกติมาเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ การตลาดของบริษัทเน้นหลักการ

1. สร้างตราสินค้า

2. สร้างเครือข่ายกับคู่ค้า

3. สร้างความแตกต่าง คือคุณภาพของสินค้า

4. สร้างนวัตกรรมของสินค้า

5. ประเมินความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

6. การเข้าถึงผู้บริโภคทุกช่องทาง

7. การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลให้สามารถนำไปใช้ได้ทุกหน่วยงาน

8. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

การนำมาปรับใช้ในการทำงาน  มหาวิทยาลัยสามารถนำหลักการทั้ง 8 ข้อมาประยุกต์  ปรับใช้ให้เหมาะสมกับการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้  ซึ่งอาจก่อให้การเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

 

มหาวิทยาลัยรังสิต

1. นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ  การบริหารจัดการของสถานศึกษาภาคเอกชนและภาครัฐ มีความแตกต่างในการนำนโยบายลงสู่แนวปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมหาวิทยาลัยเอกชนมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน มุ่งเน้นความต้องการในสังคม และการทำงานเพื่อความคล่องตัวโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งในภาครัฐมีข้อจำกัดที่แตกต่างมากกว่า ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร และยังต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน Mindset  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยรังสิตยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆที่สร้างจุดเด่นของอาชีพหรือตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งเป็นการจัดบริการทางการศึกษาที่สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้า คือ นักศึกษาให้เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในหลายรูปแบบ ประกอบกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการข้าวสารแลกค่าเทอม โครงการอวัยวะที่ 33 และตำรวจมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2. การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน  มีการพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรออนไลน์ (RSU Cyber University) คือ การเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองในการจัดการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้สะดวก ง่าย รวดเร็ว สามารถเรียนรู้ได้ในทุกที่ ได้แก่ E-learning ,E-book, Smart Classroom เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้ I-Pad ที่มหาวิทยาลัยมีให้สำหรับทุกคนเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้ ทั้งนี้ การพัฒนาอาจารย์ผู้สอนและผู้ปฏิบัติงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับตัวในการเรียนรู้ปรับแนวคิดโดยใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการสอนควบคู่กันไปด้วย

3. การบริหารงานและพัฒนาบุคคล  การบริหารงานมุ่งเน้นการบริการแบบ One Stop Service และ HRD กำหนด Core Competency เรื่องธรรมาธิปไตย การทำงานเป็นทีม และมุ่งผลสัมฤทธิ์ พร้อมทั้งการดำเนินงานแบบสร้างแรงจูงใจในการทำงาน พัฒนาบุคลากรหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ

 

 

ธนาคารกสิกรไทย

การดำเนินงานโดยมี Vission คือ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นผู้นำด้านดิจิตอล Mission คือ การกำหนดระบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า Core Value คือ สร้างวัฒนธรรมองค์กร  เรื่อง  VIA คือ V : Value Creation คือ การสร้างคุณค่าในองค์กร I : Innovation คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ A : Agility คือ การทำอย่างรวดเร็ว Focus teacnology เป็นการมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าทุกประเภท ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มพิเศษ (ผู้พิการหรือบกพร่องทางการมองเห็น และผู้สูงอายุ) กลุ่มลูกค้าที่ชอบใช้เงินสดและที่ไม่ชอบใช้เงินสด การบริการทุกอย่างสามารถใช้ Mobile Application โดยการสร้าง Platform คือ K-plus Platform ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบ คือ การจัดเก็บข้อมูล (Data) โดยมีกระบวนการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Smart Companion และความสำเร็จจะเกิดได้ต้องประกอบด้วย CTPI

                C : Customer              – ลูกค้า

                T : Teamwork            - การทำงานเป็นทีม

                P : Professional         - ความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพ

                I : Innovation            - การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจะประสานการดำเนินงานเป็น Comnovation คือ Communication + Innovation อันจะเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ KBTG สามารถพัฒนาระบบการบริการที่เป็นผู้นำธนาคารด้านเทคโนโลยีดิจิตอลแห่งอนาคต

การนำความรู้และสิ่งที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร 

-การเข้าใจ เข้าถึง ความต้องการของลูกค้า ซึ่งมหาวิทยาลัยมีลูกค้าที่สำคัญ คือ นิสิต ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า เป็นต้น ซึ่งต้องพัฒนาการบริการให้ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ

-การส่งเสริมให้องค์กรมีความสุขในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้งานและการดำเนินงานมีคุณภาพ

-การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้บุคลากรในองค์กรมีสิ่งยึดมั่นและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อนำสู่ความสำเร็จขององค์กร

-การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

 

นางสาวดุสิดา แก้วสมบูรณ์ (กลุ่มที่ 1)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชา

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2560

มหาวิทยาลัยรังสิต

       มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในทุกพันธกิจอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด สำหรับเรื่องของการบริหารงานและพัฒนาบุคคล มีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ งานบริหาร และงานพัฒนาบุคลากรซึ่งจะมีการระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน โดยเน้นผลักดันให้บุคลากรได้มีการพัฒนาสมรรถนะของตนเองออกมาอย่างต่อเนื่องและเต็มศักยภาพ และมีการจัดสวัสดิการที่เอื้อประโยชน์ให้กับบุคลากรเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และส่งผลให้เกิดความรัก ความผูกพันในองค์กร

       นอกจากนี้มีการบริหารแบบ One Stop Service การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิตได้รับความพึงพอใจจากการบริการสูงสุด อีกทั้งยังมีการสร้างอาคารสถานที่ที่มีความทันสมัย เอื้ออำนวยในการจัดการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมให้แก่นิสิตได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่  สำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ
ที่มหาวิทยาลัยรังสิตได้ดำเนินการ เช่น

       1. การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ๆ เช่น คณะรังสีเทคนิค (เป็นคณะเฉพาะทาง) , คณะวิศวกรรม ชีวการแพทย์ , สถาบัน General Education RSU Hospital (เน้นแพทย์ทางเลือก และการรักษาแบบไม่ใช้ยา) , ศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส , ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ , ศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ (คณะกายภาพบำบัด) เป็นต้น

       2. การวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ เช่น การวิจัยกัญชาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

       3. การบริการวิชาการ เช่น คณะนิติศาสตร์ให้ช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ประชาชน นอกจากนี้ยังมีการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่อชุมชนผ่านโครงการต่างๆ

       4. การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนมีการปฏิรูปและปรับเปลี่ยน เช่น ปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อรองรับและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  คือ การทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มปรับจากตัวเราเอง โดยมีการปรับ Mindset มีการคิดนอกกรอบ เพื่อสร้างความแตกต่าง และทำให้เกิดจุดเด่นที่ไม่เหมือนกับคนอื่น นอกจากนี้จะต้องรู้จักปรับตัวเอง โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งผลงานที่ออกมาจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

วันที่  23  สิงหาคม  2560

บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

       วิสัยทัศน์ของผู้บริหารบริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง มีการมองการณ์ไกลว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงได้มีการพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด “เมื่อโลกเปลี่ยน ธุรกิจเราก็เปลี่ยน” จึงได้มีแนวคิด Project Omni Connect โดยการสร้าง Platform online เป็นตัวดึงดูด ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาต้นทุนมนุษย์ โดยมีการเน้นการสร้างและพัฒนาผู้นำควบคู่ไปกับการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อสังคม

       มีการสร้างเครือข่ายต่อยอดผ่านผู้นำ อีกทั้งยังสร้างช่องทางการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์ เพื่อจะได้เข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้นว่าต้องการอะไร เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วผ่านทางทุกช่องทาง โดยมีช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจและยินดีใช้ผลิตภัณฑ์นั้น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การปรับแนวทางการทำงานให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้นผ่านการสื่อสารช่องทาง online มากขึ้น และสามารถนำเอาแนวคิดเรื่องการขายสินค้าและบริการมาปรับใช้ได้ เช่น การรับสมัครนิสิต การให้บริการต่างๆ ผ่านระบบ Online และ Offline ที่จะต้องทำเชื่อมโยงไปด้วยกัน โดยอาศัยการจัดทำ Big Data ที่สามารถใช้ข้อมูลเดียวกันได้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย


ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

       การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการของธนาคารกสิกรไทย เพื่อตอบสนองและก้าวทันต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล โดยได้จัดตั้ง KASIKORN Business - Technology Group (KBTG) เพื่อมุ่งคิดค้นและสร้างนวัตกรรมทางการเงินรองรับ Digital Banking ภายใต้แนวคิดรองรับนโยบายรัฐบาล Cashless มีการกำหนด Core Value คือ VIA

       V = Value เป็นการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศชาติ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่มีความ
ซับซ้อน

       I = Innovation เป็นเรื่องการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

       A = Agility เน้นผลสัมฤทธิ์ขององค์กรแทนการยึดหลักขั้นตอนและวิธีการที่ซับซ้อนการปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

       นอกจากนี้ได้มีความคิดสร้างสรรค์ และคิดนอกกรอบในการคิด Project ใหม่ๆ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัยมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการให้บริการได้อย่างทั่วถึง โดยยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เช่น การออกแบบ Application สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา  ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นการสร้างคุณค่าให้มีความเท่าเทียมกันในสังคม โครงการพรวนฝัน เพื่อการสนับสนุนและรองรับธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ เป็นการสร้างคุณค่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  บุคลากรต้องปรับ mindset และเปิดใจยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยเข้ามาพัฒนาระบบและกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการ เช่น นิสิต ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า เพื่อพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองตามความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

ชาโลมา  กองสวัสดิ์  กลุ่ม 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  วันที่ 22 – 23  สิงหาคม  2560

วันที่  22  สิงหาคม  2560  

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อ “การบริหารงานและพัฒนาบุคลากร “

         โดย คุณกสิณ  จันทร์เรือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล

การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยรังสิต มีแยกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารบุคคล และฝ่ายพัฒนาบุคคล จุดเด่นของการบริหารงานคือ การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (one stop service) ส่งผลให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริหารที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้รับบริการ บุคลากรหนึ่งคนบริหารตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ โดยมีการแบ่งความรับผิดชอบเป็นรายคณะ ทำให้งานเร็วขึ้น โดยนำแนวปฏิบัติที่ดีมาจากโรงพยาบาลพญาไท จากการที่จำนวนนักศึกษาลดลงจึงใช้นโยบายยุบรวมหน่วยงาน และไม่มีการ Outsource เนื่องจากเล็งเห็นถึงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและความซื่อสัตย์ของบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ

การบริหารงานบุคคลใช้ระบบการบริหารจัดการ ดังนี้

  1. สัญญาจ้างใช้แก้ปัญหาเรื่องความดื้อแพ่งเกษียณ ๖๕ ปี เพราะสายการสอนไม่ใช้แรงงานมาก สามารถต่ออายุได้จน อายุ ๘๐ ปี โดยเล็งเห็นเพราะคนเหล่านี้เคยช่วยมหาวิทยาลัยมาก่อนที่มหาวิทยาลัยจะประสบความสำเร็จ
  2. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และใช้การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งนี้อธิการบดีจะแจ้งให้สภามหาวิทยาลัยรับทราบ
  3. มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี บุคลากรมีขวัญกำลังใจ ด้วยนโยบายอธิการบดี ไม่ลดคน จ้างต่อแม้เกษียณแล้ว เพราะเห็นคุณค่าทีร่วมสร้างมหาวิทยาลัยมาด้วย Happy at work นอกจากสร้างขวัญกำลังใจแล้วยังสร้างความผูกพันให้บุลากร Happy workplace
  4. สวัสดิการดี ให้ถึงพ่อแม่
  5. ให้อิสระ ไม่ต้องลงเวลาปฏิบัติงาน happy at work
  6. ประเมินต่อสัญญาจ้างกับการประเมินเพื่อขึ้นเงินเดือนมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน โดยมีกรประเมินรอบปีในเดือนมิถุนา เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร  ส่วนการประเมินการต่อสัญญาจ้างจะประเมินทุก 2 ปี ทั้งนี้บุคลากรรับรู้ว่ามหาวิทยาลัยต่อสัญญาจ้าง (ทุกคนรู้สึกมั่นคง)
  7. อธิการบดี ประเมินทุก 2 ปี โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย

ปัจจัยความสำเร็จ

         การพัฒนาบุคลาสายสนับสนุน  ดำเนินการโดย HRD ส่วนการพัฒนาสายวิชาการ ร่วมกันหลายหน่วยงาน เช่น ฝ่ายวิจัย ศูนย์สนับสนุนและการพัฒนาการเรียนการสอน Cyber University

          สมรรถนะหลัก 3  ด้าน (1) ธรรมธิปไตย (2) การทำงานเป็นทีม (3) มุ่งผลสัมฤธิ์) มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนด competency ร่วมกัน สมรรถนะตำแหน่งงานบริหาร มี 5 skill จำแนกเป็น  สมรรถนะของสายการสอนและสายสนับสนุน โดยเริ่มจากหน่วยงานสายสนับสนุนก่อน เนื่องจากสายวิชาการมีพันธะด้านการขอตำแหน่งทางวิชาการ ปัจจุบันมีการประเมิน และหา Gap เพื่อพัฒนาบุคลากรรายบุคคลต่อไป

          ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  เสริม ในอนาคต มี 2 รูปแบบ คือ ให้ทั้งสองงานมา Mix กัน การที่เราแบ่ง คนที่เป็น Yung PHD ต้องเข้าใจใน 3V โดยการทลายไซโล ข้ามสายงาน ข้ามคณะ เพื่อให้เกิด Value Diversity เพื่อให้ได้แนวความคิด เป็นลักษณะ Informal

การประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

            ด้วยแนวโน้มจำนวนนิสิตที่ลดลง ในสังคมผู้สูงอายุ จำเป็นต้องปรับการบริหารงานบุคคล โดยพัฒนาสมรรถนะหลักรายบุคคล ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง บุคลากรสายสนับสนุนหนึ่งคนต้องมีความเก่งรอบด้าน สามารถทำงานแทนกันได้ และเน้นการบริการเชิงรุกในลักษณะของ One Stop Service เพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดทรัพยากร อีกทั้งสร้างความประทับใจที่เกินคาดหวังแก่ลูกค้า และผู้รับบริการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความผูกพัน อันนำไปสู่การบอกต่อให้คนอื่นมาเรียน หรือมาใช้บริการของหน่วยงานในอนาคต

 หัวข้อ  “นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ”

            โดย คุณอรรถยา  สุนทรายน รองผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์

          มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ซี่งมีการปรับตัวสู่การแข่งขัน มีการวิเคราะห์ Demand Side และมีวิญญาณของผู้ประกอบการด้านการศึกษา นำโดยอธิการบดี ที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดในยุคสังคมผู้สูงวัย  จึงมีนโยบาย และร่วมกับทีมผู้บริหารคิดหาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงาน โดยไม่ลดคน แต่ใช้กลยุทธ์หารายได้อื่นเสริม โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการคิดนวัตกรรมร่วมกัน เริ่มต้นโดยการตั้งตัวแทนของคณะ มีการประชุมร่วมกัน มีหน่วยสื่อสารองค์กรในการสร้างภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมในการแก้ปัญหาสังคม เช่น เปิดสถาบันทางการแพทย์แผนบูรการ (ไม่พึ่งยา) รักษาโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน โดยใช้วิทยาการของวิทย์สุขภาพ งานวิจัยใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคมะเร็ง เปิดคณะรังสีเทคนิค ในภาคการศึกษา 1/2559 เปิดเป็นมหาวิทยาลัยแรก เปิดคณะวิศวกรรมชีวการแทพย์เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศ เปิดนวัตกรรมทางการสอนรูปแบบใหม่  General Education เพื่อให้นักศึกษาอยากเข้ามาเรียน เรียนแบบบูรณาการ เน้นการมีส่วนร่วม และสนุกในการเรียน   ทำกิจกรรมในการเรียนรู้ไปด้วยกัน  เปิดศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส CNFp de Rangsit เปิดศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ มีความสนใจด้านการออกแบบ เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศโดยร่วมกับทีมชาติ เพื่อพัฒนานักศึกษา เปิดคลินิกช่วยเหลือประชาชน ให้คำแนะนำด้านกฎหมาย นวัตกรรมที่นำมาใช้ได้แก่ RSU Cyber University มีการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ เกิดจากแนวคิด “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมในการเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ และในอนาคตจะเป็นหลักสูตร e - training หลักสูตรประกาศนียบัตร เช่น หลักสูตรนิติศาสตร์ สังคมในอนาคตสังคมสูงวัย จึงจัดหลักสูตรระยะสั้น สำหรับผู้วัยทำงานและวัยเกษียณ กลุ่มเป้าหมายในอนาคต ไม่ใช่คนที่อยู่ในโรงเรียน การออกแบบนวัตกรรมใช้แนวคิด “ของฟรีและดีมีอยู่ในโลก” จึงนำ google มา ได้แก่ Application การอับโหลดข้อมูลไว้ใน Cloud ส่งเสริมการใช้อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการเรียนการสอน โดยมีโครงการรองรับการใช้อุปกรณ์ของนักศึกษา 8 อย่าง ดังนี้  (1) ปรับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี โดยมีมหาวิทยาลัยมีทีมที่ปรึกษาให้อาจารย์ทำเอง มี Application ให้ใช้ได้ฟรี นักศึกษามีความสนุกในการเรีย (2) ระบบที่พัฒนาขึ้นรองรับให้ใช้กับมือถือได้เพื่อสะดวกในการเข้าถึงของนักศึกษา (3) เมนู Quiz ช่วยในการสอบย่อย หรือ สอบกลางภาค (4) e-book โหลดหนังสือได้ฟรี  มีการทำวิดีโอ สามารถเปิดดูย้อนหลังได้ เป็นลักษณะเป็น animation (5) โครงการ iTunes U อาจารย์ สามารถอับโหลด สามารถคลิกในการสอบได้เลย (6) โครงการฝึกภาษาอังกฤษ นักศึกษาสามารถคุยกับชาวต่างชาติได้ Second Life & Game ข้อดีคือนิสิต กล้าพูดกล้าซักถาม (7) โครงการ MOOC รายวิชาชั้นนำ ให้ นักศึกษาไปเรียนรู้เพิ่มเติม มีแปลเกือบทุกภาษาทั่วโลก ยกเว้นภาษาไทย มีการบันทึกวิดีโอในชั้นเรียน หุ่นยนต์ บันทึกการเรียนการสอน swivl Robot  Kahoot.it ใช้ในการเก็บคะแนนย่อย (8) จัดสอบ online โดยใช้ iPad ใช้กับคณะเกือบครึ่งนึงในการจัดการสอบ online ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 2 ล้านบาท  นโยบาย คือ ชอบแบบไหนให้อาจารย์เลือกใช้แบบนั้น และทีมพัฒนาระบบให้คำปรึกษาการนำนวัตกรรมไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะวิชาเหมาะโดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปอยู่ในห้องเรียน เพื่อทราบปัญหาอุปสรรคในการใช้นวัตกรรมดังกล่าว เริ่มจาก road show และปัจจุบันได้มีการเรียนการสอนออนไลน์ มากขึ้น โดยเริ่มต้นจากระ e- learning มีการตั้งตัวชี้วัดรายบุคคลในการผลักดันให้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของ Trend ที่เปลี่ยนไป โดยการประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมจิบน้ำชายามบ่าย โดยให้อาจารย์ที่มีความสนใจเทคโนโลยี เป็นผู้ร่วมผลักดันและถ่ายทอดต่อ ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คือการปรับ Mindset ของคนในองค์กรให้มองโลกอนาคต และหาวิธีการในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรโดการตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้เรียน ปรับตัวให้ทันกับ New Trends กล้าคิดและทำสิ่งใหม่ ๆ มีการคิดนอกกรอบและคร่อมกรอบ มีจุดขาย สร้างความแตกต่าง ร่วมกับการสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้เป็นที่ไว้วางใจของสังคม

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  1. ผู้บริหารระดับสูง (อธิการบดี) มีวิสัยทัศน์ และนโยบายชัดเจน ในการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม
  2. ทีมผู้บริหารร่วมคิดพัฒนา มีการสร้าง Networking และมีการบูรณาการทรัพย์กรร่วมกันระหว่างหน่วยงานและภายนอก
  3. วัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต
  4. มีการวิจัย เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามทฤษฎี 2R’s โดยใช้ข้อมูลจริง (Reality) จาก Big data และตอบสนองได้ตรงประเด็นความ    ท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ (Relevance)
  5. มีการสร้างภาพลักษณ์องค์กร และความผูกพันกับสังคม ร่วมแก้ปัญหาสังคม ชุมชน อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) สร้างคุณค่าใหม่ (Value Creation) สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย (Value Diversity)

การประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

  1. ผู้บริหารกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม Lean & Share จากหน่วยงานที่มีความ   โดดเด่นในการนำนวัตกรรมมาใช้ดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศ
  2. ปรับ Mindset ของบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (ผู้เรียน) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการใช้ Big Data มาวิเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาให้ตรงกับ New Trend และโลกยุคดิจิตอล
  3. ควรจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนองค์กรแห่งนวัตกรรม และเป็นที่ปรึกษาให้กับบุคลากรและหน่วยงานในการสร้างและ    ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสม ใช้งานได้ง่าย และตอบโจทย์ของลูกค้า
  4. เริ่มต้นจากนวัตกรรมที่ไม่ต้องลงทุน“ของฟรี และดี” โดยมีคู่ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น Google บริษัทด้าน IT เช่น Mac เป็นต้น
  5. สร้างชุมชนนักปฏิบัติการ (Cop) เพื่อ Show & Share เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ และเกิดการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง

 

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ศึกษาดูงาน ณ บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน) Unilever Network

หัวข้อ “การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของ บริษัทยูนิลีเวอร์”

          อาคารของบริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน) มีความโดดเด่นในเรื่องของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทางบริษัทตระหนักตลอดเวลาว่าโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลง และบริษัทจะเปลี่ยนก่อนโลก แผนการดำเนินงานในปัจจุบันทำแผนไปถึงเป็นปี 2040 ทำให้มีคู่ค้าเข้ามามากมาย เพื่อร่วมมือทางธุรกิจสู่ความสำเร็จด้วยกัน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ให้ทัศนะเสริมว่า บริษัทฯ เป็นเอกชนที่ยั่งยืนอยู่มากว่า 150 ปี มีการปรับตัวตลอดเวลา มีสินค้าละมีการ R&D โดยให้ลูกค้า หรือนิสิตร่วมวิจัย มีการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง  แนวคิดของบริษัท คือ “โลกเปลี่ยนแปลง จากมนุษย์ เมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเปลี่ยน บริษัทต้องเปลี่ยน”

          หนึ่งตราสินค้าของบริษัท  มีสินค้าอยู่ประมาณ 100 กว่าชนิด Unilever House เป็นแบรน ที่ยิ่งใหญ่ และสัมผัสผู้บริโภค เกิดจากสองพี่น้องที่ต้องการลดภาระผู้หญิง เริ่มต้นจาการผลิตสบู่ซันไล สมัยรับการที่ 5 ได้แต่งตั้งให้ทำสบู่ รัชการที่ 9 ได้เป็นบริษัทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ทุกทุกวันสร้างสรรอนาคตที่ดีกว่า และมอบสิ่งที่ดีที่สุดที่ผูกพันกันมายาวนาน”

          เป็นธุรกิจเครือข่าย พร้อมมอบภารกิจที่เปิดกว้างให้ทุกคน ร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ และสร้างเป็นมรดกรุ่นต่อรุ่น บันได 10 ขั้นสู่การเป็นนักธุรกิจ 10 ล้าน มีระบบ Coaching Upline มี Road Map จาก Unilever Network มีนวัตกรรมสนับสนุน โดยสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรอง โดยการวิจัย สร้างและร่วมแบ่งปันความสุขให้ผู้ด้วยโอกาสในสังคม ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่ง และความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

         เน้นด้านการตลาดที่แข็งแกร่ง ทั้งการทำการตลาดภายในและภายนอก พนักงานถือเป็นลูกค้าภายใน เพราะใช้สินค้าเหมือนกัน กลยุทธ์ คือ ให้คนของเรามั่นใจว่าสินค้าของเราดีที่สุด จึงจะแนะนำและเสนอขายคนภายนอก “เชื่อว่าสินค้าของเราดีที่สุด” มีข้อดีอะไรก็บอกจุดเด่น มีข้อด้อยที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ขายจุดดีจุดเด่น ผู้บริโภคจะซึมซับข้อดี และเกิดการบอกต่อ ดังนั้นต้องสร้างความมั่นใจแก่นิสิต เพื่อการบอกต่อ

          Thailand 4.0 เป็นสิ่งใกล้ตั เป็นนโยบายรัฐบาล  ในฐานะนักพัฒนาต้องเชื่อมั่นในเรื่องการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Thailand 1.0 กับดักคือความไม่สมดุล Thailand 2.0  กับดักความเหลื่อมล้ำ Thailand 3.0 กับดักประเทศรายได้ปานกลาง Thailand 4.0  เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ที่ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ คือ คิดค้นสิ่งที่เข้ามาทดแทนสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน Creativity +innovation smart Thailand เช่น กล้องดิจิตอล แทนฟิล์ม สมาร์ทโฟน ทำได้ทุกอย่าง คนรุ่นใหม่ใช้ powerpoint ปัจจุบันใช้โปรแกรมนำเร็จรูป เก็บข้อมูลใน Cloud แต่ตอนนี้ยังไม่ถูกทดแทน 100% e- mail เก็บใน Cloud การเปลี่ยนของ Unilever เปลี่ยนเป็นใช้ระบบ Cloud ดังนั้นต้องออกจากคอมฟอร์ดโซน (ขยายคอมฟอร์ดโซน) เพื่อให้เราอยู่ทุกที่ได้อย่างสะดวกสบาย คือการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ขายเขตความสบายใจมากขึ้น ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ happy

ยกขีดความสามารถใน ๔ กลุ่มเป้าหมาย

  1. เกษตรแบบเดิม เป็น เกษตรสมัยใหม่ การลงทุนโดยเข้าใจการตลาด อาศัยกลุ่ม social ในการกำหนดตลาด ไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง
  2. SMEs เดิม เป็น Smart SMEs เริ่มอาศัย online มากขึ้น
  3. บริการมูลค่าต่ำ เป็นบริการมูลค่าสูง
  4. แรงงานทักษะต่ำ เป็น แรงงานมีความรู้ (ทักษะ) ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่า (value)

          บริษัทมีผู้ใช้สินค้าทั่วโลกว่า 2 พันล้านคน พนักงานมากกว่า ครึ่งล้านคน Unilever in Thailand สบู่ซันไลต์ เป็นนวัตกรรม จากที่เคยเป็นก้อนทั้งใช้ซัก ล้าง เป็นน้ำ ยาสระผมผง เป็นน้ำ ยาสระผมเป็นเจ้าแรกที่เปลี่ยนจากสูตรผงเป็นน้ำ การพัฒนาเช่น จากแบบก้อน เป็นครีม และเป็นน้ำ “เชื่อว่าสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงดี” เพื่อให้สามารถต้านแรงต้านได้ เพื่อไม่ให้กลับไปสู่จุดเดิม (ต้องมีเป้าหมายที่ชัด) ใครเลือกจุดกลาง ไม่สำเร็จ ใช้ต้นทุนทุกอย่างแล้วแต่ไปไม่ถึงเป้า หน้าที่ของบริษัท คือสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเป็นสินค้าของบริษัท “สร้างตราสินค้าให้ติดตลาด”  โดยมีช่องทางการตลาด 2 ช่องทางหลัก คือ (1) ทำช่องทางผ่านการค้าปลีก (2) ช่องทางจำหน่าย Online offlineเป้าหมาย คือ เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

         ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นสิ่งสำคัญในการทำการตลาด กลุ่มลูกค้าเป็นเพศ อะไร ซื้อช่วงเวลาไหน ต้องมีการเก็บ Data และนำมาวิเคราะห์ เมริกามีการเก็บข้อมูลอาฉยากรรม เพื่อดูแลสอดส่องความปลอดภัย เพื่อหาแนวทางป้องกัน เช่นติดกล้องวงจรปิด ดังนั้นการเก็บข้อมูลและนำมาใช้ประโยชน์ สตาร์บัค ใช้การ์ด กับ Key Bar cord  7 Eleven ก็นำระบบนี้มาใช้ เป็นกลยุทธ์ในการนำเงินของลูกค้ามาใช้ก่อน นโยบายลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม (decouple Environmental Footprint) นำร่องโดยบริษัทใหญ่ เพื่อให้ลูกค้าอาศัยในโลกใบนี้ได้นานขึ้น

          Digital becomes reach platform หลาย ๆ Application มีการพัฒนา ขับเคลื่อนให้เร็วขึ้น เพื่อให้มีคนเข้าใช้มากขึ้น Creativity Based +Technology Based ยุคแห่งสังคมดิจิตอลและความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลสามารหาได้อย่างรวดเร็ว Start Up มีทั้งแบบ Online และ Off line ต้องมีประสิทธิภาพเพื่อสามารถเข้าสู่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันการสั่งอาหารออนไลน์ เพิ่มขั้น 200% ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน นี่คือการเปลี่ยนที่เราต้องดำเนินการ การช้าแค่ 1 วินาที ก็ช้ากว่าคนอื่นแล้ว ดังนั้นเมื่อไอเดียใหม่ ต้องลองทำ เช่น ระบบ Hand Pay นวัตกรรมใหม่ ของ 7 Eleven ดังนั้นเราต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้า

         บริษัทมีหลักสูตรพัฒนาผู้นำ ของ Unilever เพื่อให้คุยภาษาเดียวกัน เช่น การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ ป่วยกระทบงานและครอบครัว เป็นหน้าที่รับผิดชอบต้องดูแลตนเอง ป่วยถือว่าเป็นความผิด ฝึกว่าสิ่งไหนสำคัญต้องมาก่อน “หินก้อนใหญ่” หลักสูตรต้องการสร้างผู้นำ พนักงานทุกคนต้องเรียนทุกคน  

ผลลัพธ์

         เครือข่ายที่ประสบความสำเร็จในการร่วมธุรกิจ (คุณหยก) เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่ยังไม่จบปี 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง “สู้กับความจน ความยากแค้น สู้แม้ไม่มองเห็นชัยชนะ” เติบโตมาในชุมชนแออัด ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย มีโอกาสรู้จักกับเพื่อที่เรียนโรงเรียนนายร้อย ธุรกิจนี้หยุดทำได้ แต่รายได้ไม่หยุด ปัจจุบันมีรายได้ สะสม 30 ล้านบาท 

เคล็ดลัพธ์ประสบความสำเร็จ คือ ความเชื่อ + ความรู้

         OMINOI CONNECT เป็นการเชื่อมธุรกิจ online และ offline ปัจจุบันคนไทย online มากกว่า 6 ชั่วโมง ถ้ายังทำตลาด Offline อาจจะต้องปิดตัว ดังนั้นต้องปรับตัวตลอดเวลา และก่อนที่ตลาดของโลกใบนี้จะมาถึง โกดัก “ไม่มีความเชื่อว่าโลกจะเปลี่ยนไปเป็นโลกดิจิตอล” ทั้ง ๆ ที่เป็นบริษัทที่ผลิตกล้องดิจิตอล เจ้าแรก ปัจจุบันคนเดินทางไปต่างประเทศ จะจองผ่าน Application ได้ส่วนลดมากกว่า ทั้ง ๆ ที่ไม่มีโรงแรมเป็นของตัวเอง การจองแทกซี่ ใช้ App Grap ไม่มีแทกสักคัน ไม่เกิน 5  ปีต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนเป็นโลก Online

         Concept ในการการทำ Online ต้องเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้ คือ สร้างความอยาก ต้องใช้หลักการตลาด เด็กรุ่นใหม่ต้องเห็น ม.ทักษิณ มากกว่า 7 ครั้งใน 1 วัน เหตุผลที่ทำให้ Startup  (คือการเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายใน 3 ปี   

         สาเหตุของความล้มเหลว ไม่มีความต้องการที่แท้จริงในตลาด 42.<span#< ขาดเงินทุน=""  <="" span="">29 % ขาดทีมงาน 23.<span#< ไม่สามารถแข่งขันได้  ="" <="" span="">19% ปัญหาเรื่องต้นทุนและราคา 18.<span#< สินค้าคุณภาพต่ำ="" <="" span="">17% </span#<></span#<></span#<>

Digital Marketing forum

  1. มี advertising
  2. Blog
  3. Viral
  4. Communication
  5. Like
  6. Website
  7. Media
  8. Mail
  9. Technology
  10. Call Center

         Facebook เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาความสำเร็จของ Platform ธุรกิจออนไลน์เท่านั้นAlibaba.com มีระบบการทำเครดิตลิส มีการให้สินเชื่อ เชื่อม Online และOffline เข้าด้วยกัน ปัจจุบันรวมกับ Lazada Amazon เปิดร้าน Online และOffline Unilever ไม่มีอาทิตย์ตกใน Unilever มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีวิสัยทัศน์ มีการลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา   Mass product ช่องทางจำหน่ายปลีก  Premium ช่องทาง online มีการออกแบบรองรับคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าควบคู่กันไป (1) People connect (2) Social connect

         Online Training สร้าง Application GET LINK ใครร่วมธุรกิจ copy ling ไปใส่ใช่องทาง เพื่อสร้างเครือข่าย เป็นช่องทางการตลาด สำเร็จภายใน ๓ เดือน เป็นระบบ Data base ที่เก็บข้อมูลผู้ใช้สินค้า เช่น พฤติกรรมคนรุ่นใหม่ไม่เขียนหนังสือมีจุดกระจายสินค้าได้ทุกที่ มีรีวิว มีการจ่ายเงินผ่าย I 12 PLAN Concept “โอกาสใหญ่ ทำง่าย ได้เร็วมีการสำรวจตลาด และทำ Marketing แบ่งเป็นนักช๊อป 80% (มี OTP ระบบ bank ก็มีการรับตัว) ได้เงินคืน 15% นักแชร์โค้ด รับรายได้เสริมหรือสร้างธุรกิจออนไลน์ของตังเอง ได้ทันที รับง่าย ได้จริง (8%) และนักธุรกิจอินเตอร์ที่ออกำแบบรายได้และ life style ด้วยตัวเอง (รับรายได้คืน 60)

บุคคลที่ไม่มีเป้าหมาย รายได้ไม่เกิน  15,00 บาท/เดือน  คนที่มีเป้าแต่ไม่เขียน รายได้ 2 เท่า คนที่มีเป้าหมายและเขียนไว้ รายได้มากกว่า 7 เท่า นั่นคือการพัฒนาจิตวิญญาณ “โลกภายในเท่ากับโลกภายนอก” เป้าหมาย Unilever ชัดเจน และท้าทาย จาก 2 ล้านล้าน เป็น 4 ล้านล้าน

การพัฒนาบุคลากร

  1. พัฒนาทักษะการทำธุรกิจ  โดยผู้นำเองก็ต้องมีการพัฒนาควบคู่กันไป
  2. พัฒนาความเป็นผู้นำ
  3. พัฒนาคุณลักษณะ
  4. กลุ่มหลักสูตรพัฒนาทักษะการทำธุรกิจ
  5. กลุ่มพัฒนาการเป็นผู้นำ  Go SBA ,Go TBA ,3 Edised , 7 Habits
  6. กลุ่มหลักสูตรพัฒนาทักษะผู้นำขั้นสูง

          ความสำเร็จส่งต่อได้ โลก online เชื่อมต่อในการทำธุรกิจ “ความเชื่อคือ มีการพัฒนาผู้นำที่ดี” ดูแลทีมเครือข่ายผ่านการเรียนรู้ Online บริษัทมีระบบ Support ดีมาก

 การประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

          มหาวิทยาลัยทักษิณจะทำอย่างไรกับคู่ค้า เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า เพื่อพัฒนาและยกระดับสินค้า และบริการ Build Brand Love to Last สร้างการรู้จัก มหาวิทยาทักษิณ จำเป็นต้องสร้างชื่อในภาคใต้ หากผู้ที่จะเข้าศึกษา Top 3 ต้องมีมหาวิทยาลัยทักษิณ ทุกมหาวิทยาลัยมีสินค้าเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างคือ บุคลากร คุณภาพของสินค้า เน้นการสร้างคุณภาพให้มีความแตกต่าง Consumers at Heart .”Insight” ต้องไปนั่งในใจของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ผู้ปกครอง นิสิต ศิษย์เก่า Creativity Based +Technology Based ยุคแห่งสังคมดิจิตอลและความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลสามารหาได้อย่างรวดเร็ว Start Up มีทั้งแบบ Online และ Off line ต้องมีประสิทธิภาพเพื่อสามารถเข้าสู่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในอนาคตการเรียนการสอนต้องทันสมัย สร้างความสนใจในการจัดการศึกษา เช่น Application หลักสูตร Online  สิ่งสำคัญ คือ Big Data ให้เรียงระบบการจัดเก็บข้อมูลให้ทุกหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลได้ เพราะข้อมูลเป็นการบ่งบอกถึงพฤติกรรม ของนิสิต ศิษย์เก่า บุคลากร และชุมชน ไม่ควรแยก Online  และoffline   ควรใช้ควบคู่กัน ต้องมีองค์กรแลกเปลี่ยนความรู้ จนเห็นโอกาส ตั้งทีมในการพัฒนา content (หน้าบ้าน) ผลิต content อยู่ตลอดเวลา data (หลังบ้าน) ต้องออกแบบให้ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน ต้องปรับทัศนคติ บุคลากรตั้งแต่ระยะแรก “ให้ทุกคนเห็นว่าใช่” ไม่ต้องห่วงเรื่องระยะเวลา โดยเริ่มจากรู้ความต้องการของนิสิตมากกว่าความต้องการของตนเอง

ศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

หัวข้อ “การใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการและก้าวทันพฤติกรรามผุ้บริโภคยุคดิจิตอล”

         ธนาคารกสิกรไทย เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความโดดเด่นในการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการ ตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล โดยมีวิสัยทัศน์คือ  “เป็นผู้นำในด้านดิจิตอลแบงค์กิ้ง”โดยสร้างสังคมให้ใช้ application เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินและไม่ใช่การเงิน โดยมีการกำหนดค่านิยมหลัก (Core Value) ที่สำคัญคือ (1) การสร้างคุณค่าให้องค์กร ลูกค้า และสังคม  (2) ส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมระบบงานด้วย เช่น ลดเวลาในการทำงาน อาทิลดขั้นตอนในการขอสินเชื่อ     1 เดือน เป็น 2 วัน โดยการสร้างกระบวนการใหม่ (3) การสร้างนวัตกรรม ให้ลูกค้าใช้ฟรี (สร้างผลิตภัณฑ์) คือ ได้ข้อมูลจากการที่ลูกค้าใช้งาน Machine Learning & Al in Banking การสอนคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจมนุษย์ได้ โดยมีแนวคิดว่าหากรู้ว่าลูกค้าชอบอะไร และเสนอได้ตรงใจ เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ นอกจากนี้ยังทราบแนวโน้มการไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตได้ด้วย การดำเนินงานของธนาคารใช้วิธีการ Show & Share โดยใช้วิธีเครื่องมือการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนานวัตกรรม ที่ตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาดคือผลิต application ให้ลูกค้าใช้ฟรี ทั้งนี้เพื่อเก็บข้อมูลรายบุคคลของลูกค้าในอนาคต และสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละคนให้มากที่สุด โดยใช้การวิเคราะห์ Big Data ปัจจุบันมีคนที่มีโทรศัพท์มือถือแต่ยังไม่มีบัญชีธนาคาร จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้ทำธุรกรรมผ่านมือถือได้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ผลิตภัณฑ์ และทำกลยุทธการตลาดเป็นลูกค้ารายบุคคล เช่น  (1) ผลิตภัณฑ์ Beacon Interface สำหรับคนพิการทางสายตา (2) เทคโนโลยีในการออกหนังสือค้ำประกัน ลดระยะเวลา และลดกระดาษ  โดยข้อมูลต่าง ๆ อาศัยคู่ความร่วมมือ (Partners)  มีบริษัทคู่ค้า (3) K+ สนับสนุนสังคมไร้เงินสด คือการที่สังคมใช้จ่ายโดยไม่มีเงินสดเป็นตัวแทน เช่น แลกบัตรเงินสด ใช้เหรียญ การใช้จ่าย online กระแสทั่วโลกมีการปรับตัวในหลาย ๆ ประเทศ ไม่มีการใช้จ่ายเงินสด จ่ายเงินผ่าน application   ไม่ต้องมีการใช้เงิน อินเดียไม่ต้องใช้มือถือ ข้อดีคือ รัฐสามารถเก็บภาษีได้ถูกต้อง ธนาคารลดค่าใช้จ่าย ร้านค้าไม่ต้องจัดการเรื่องการเช็คเงิน ผู้บริโภค สามารถตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน ความปลอดภัยในการพกเงินสด แนวคิดในการสร้างนวัตกรรม คือ ลดการเดินทางไปธนาคาร  ทำธุรกรรมผ่านมือถือ การทำธุรกรรมที่ปลอดภัยมากขึ้น (4) Life Style Platform การใช้จ่ายเงินรองรับบัตรเครดิต ตอบสนองคามคิดที่เป็นเงินสด หลักในการออกแบบนวัตกรรมของธนาคาร คือ (1) ออกแบบโดยการวิจัย (2) ออกแบบให้ใช้ง่าย (3) ความปลอดภัยที่ลูกค้าเชื่อถือได้(4) มีการตรวจสอบความต้องการของลูกค้าซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน ข้อดี ของลูกค้า การออกภาษาสิ้นปี วิธีการออกแบบนวัตกรรม (1) QR and Bar Cord (2) Location based technology ที่สำคัญคือรู้ว่าลูกค้ามีความต้องการ และพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไร เช่น รู้พฤติกรรมลดราคาของสินค้าที่ชื่นชอบ (3) ผลิต Application ขึ้นมาสำหรับตอบโจทย์ลูกค้า เป็นกระเป๋าตังอิเล็กทรอนิกส์ ของลูกค้าสามารถรู้ว่าในหนึ่งเดือนใช้จ่ายอะไรไปบ้าง สามารถส่งเสริมการออมเงิน K+ ได้พัฒนาให้สามารถ สแกนจ่ายเงินที่ประเทศไทย ให้ตอบโจทย์ร้านค้า เป็น K+ Shop มีการบอกว่ามีคนจ่ายมาแล้วกี่คน ในแต่ละวัน สามารถตรวจสอบรายได้ในแต่ละวันได้  นอกจากนี้ยังมีการสร้างภาพลักษณ์และความผูกพันกับลูกค้า โดยมีโครงการ Pruanfun “พรวนฝัน”  เป็นกิจกรรมที่ออกไปช่วยเกษตรกร ช่วยเหลือตัวเองได้

การประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

          ปัจจุบันหน่วยงานในมหาวิทยาลัยทักษิณยังขาดใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการ ตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล ยังมีการทำงานแยกส่วนขาดการบูรณาการ Big Data เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยังไม่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องปรับ Mindset ของบุคลากร และสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนเรียน ให้สามารถปรับตัวสู่การแข่งขัน มีการวิเคราะห์ Demand Side และมีวิญญาณของผู้ประกอบการด้านการศึกษา โดยใช้ Value added ซึ่งนำสิ่งที่หน่วยงานทำอยู่แล้ว เน้นเพิ่มความรู้ ทักษะ IT มากขึ้น ทักษะทางด้านการจัดการมากขึ้น เพื่อ โอกาสในการสร้างคุณค่าใหม่ Value Creation โดยใช้ทุนมนุษย์ที่มีทักษะที่ดีอยู่แล้วมีการสร้าง Network กับกลุ่ม  อื่น ๆ มากขึ้น มีการใช้ Creativity กับ Innovation ในการทำงานมากขึ้น และเน้นความหลากหลาย Value Diversity ได้แก่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (AEC) เน้นความหลากหลายในการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ที่อยู่นอกองค์กรมากขึ้น ในอนาคต ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้บริหารในสถาบันบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน เห็นความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โดยสร้างนวัตกรรม (ระบบงาน) ให้ตอบสนองต่อ Demand Side มุ่งเน้นสร้างคุณค่า ภาพลักษณ์ และความผูกต่อองค์กรผ่านการให้บริการในงานสนับสนุน Key Support Process ที่มีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

สุพงค์  แซ่อิ้ว (กลุ่ม 5)

ศึกษาดูงาน ณ วันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2560

1. มหาวิทยาลัยรังสิต

        มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนมีเจ้าของเป็นผู้บริหารสูงสุด จึงมีนโยบายชัดเจน และได้นำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการ ทำให้สามารถเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร onlineได้หลายหลักสูตร โดยมีการประชาสัมพันธ์กับภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพปัจจุบันถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องนักศึกษาลดลงแต่ไม่ได้ลดคน

การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

         การบริหารงานและพัฒนาบุคคลของมหาวิทยาลัยรังสิต จะเห็นได้ว่า ทีมงาน HRD ของ ม.รังสิต มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ค้นหาสิ่งที่สนับสนุนและผลักดันให้บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยการติดตามและสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา มีโครงการต่าง ๆ และนวัตกรรมรองรับให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ดังนั้นจึงทำให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับต้นของประเทศได้

การนำไปปรับใช้ คือ  การค้นหาและสนับสนุนบุคลากรในองค์กรให้มีแรงจูงใจในการทำงาน โดยใช้กลยุทธ์และเครื่องมือต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกระดับการบริหารที่จะนำพาให้องค์กรสามารถพัฒนาการทำงานและพัฒนาตนเองได้ 

นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

         ม.รังสิตจะดำเนินนวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการใด ๆ จะใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าภายใต้สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีอยู่ และคำนึงถึงโอกาสที่ก้าวล้ำหน้าและทันสมัยต่อยุคอนาคต

          การนำไปปรับใช้ คือ  ต้องวิเคราะห์โอกาส และความต้องการในการวางแผนการปฏิบัติให้ทุกกิจกรรมและโครงการนำพาซึ่งประโยชน์ต่อนิสิต องค์กร ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

          การทำอะไรก็ตาม จะต้องทำภายใต้กฎแห่งการทวีค่า  และกฎแห่งค่าเฉลี่ย  นั้นคือ ต้องคำนึงถึง ผลที่ได้ต้องทวีค่า และต้องมีการเฉลี่ยในใช้ทรัพยากรมนุษย์

          การนำไปปรับใช้ คือ  ในการทำงานหรือพัฒนางานใดๆ ควรคำนึงถึงสิ่งที่คาดว่าจะได้รับเป็นหลักว่ามีคุณค่าและประโยชน์ต่อนิสิตและองค์กรเพียงใด ภายใต้การทำงานของบุคลากรที่จำกัด ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถคำนึงถึงโครงการ กิจกรรมในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 2. บริษัทยูนิเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

            เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมามากกว่า 150 ปี มีสินค้ากว่า 10,000 รายการได้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราต้องเปลี่ยน มีการใช้ระบบการขายทั้งในแบบ Offline และ Online “Omni Connect” มีแนวคิดในการทำ UnileverNetwork  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมกันเป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถส่งผ่านรายได้จากรุ่นสู่รุ่นในลักษณะ Passive Income มีการให้ความสำคัญกับการวิจัยด้วยงบประมาณจำนวนมากและมีหลักสูตรให้พนักงานได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เช่น ทักษะทางธุรกิจความเป็นผู้นำ คุณลักษณะภายในผ่านการอบรม 7 Habits เป็นต้น

การนำไปปรับใช้ คือ ควรมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำไปใช้ในการปรับตัวขององค์กรได้อย่างทันท่วงที ทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ถึงแม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป “ต้องเปลี่ยนก่อนโลกเปลี่ยน”

3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด  (มหาชน) KBTG

            ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารที่พัฒนา App ที่ไม่ต้องใช้เงินสดในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการ โดยใช้จ่ายผ่าน App แทนเงินสด ลดระยะเวลาในการให้บริการ และพัฒนาเทคโนโลยีที่หลากหลาย การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ (Mobile Banking) การจ่ายและโอนเงินผ่าน App การช่วยในการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

            การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผู้ด้อยโอกาส-คนตาบอด ให้สามารถใช้ธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความมีอิสระ การพัฒนาต่าง ๆ  ดำเนินการโดยการเก็บข้อมูลลูกค้า นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อทำนายอนาคต และผลิตนวัตกรรมรองรับ การบริการ มุ่งเน้น การผลิตบุคลากรเพื่อมาให้บริการ, ผลิตเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้ผู้บริโภคมีชีวิตที่ดีขึ้น การบริการสังคม บริการคนด้อยโอกาส และมีการกำหนดจุดหมายและเป้าหมายที่ชัดเจน โดยการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำเพื่อความสำเร็จของลูกค้า, มีทีมงาน มีคนทำงานด้าน IT และไม่ใช่ IT มีมืออาชีพ ผลิตนวัตกรรมเพื่อการให้บริการ

             การนำไปปรับใช้ คือ ควรเปิดโอกาสให้มีการคิด แลกเปลี่ยน และทำงานเป็นทีมของพนักงานรุ่นใหม่ ๆ เพื่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการทำงาน สำหรับการบริการนิสิตและผู้รับบริการอื่น ๆ จากมหาวิทยาลัย ต้องให้ความสำคัญและตอบสนองต่อความต้องการของนิสิตและผู้รับบริการ โดยการบริการแบบ One Stop Service และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและเพียงพอแก่นิสิตและผู้รับบริการให้มากที่สุด นอกจากนี้ในเรื่องของหลักสูตรต้องมีการทบทวนตลาดและความต้องการของผู้เรียน มีการเก็บข้อมูล มีการวิเคราะห์/วิจัยอย่างจริงจัง เพื่อให้มีข้อมูลที่แท้จริง และจัดหลักสูตรและเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน     

 

นางสาวศิริพร เพ็ชรมณี กลุ่ม 1

นางสาวศิริพร  เพ็ชรมณี   กลุ่ม 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่ 4 (22-23 สิงหาคม 2560)

วันที่ 22  สิงหาคม  2560

เรื่อง นวัตกรรม / กิจกรรม / โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ม.รังสิตเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมที่ได้มีการพัฒนางานมาโดยตลอด ได้แก่ การเตรียมเปิดโรงพยาบาล RSU International  สถาบันทางการแพทย์บูรณาการและแผนสุขภาพองค์รวม  โครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา คณะเภสัชศาสตร์   คณะรังสีเทคนิค คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์  สถาบัน General Education เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ วิธีการเรียน วิธีการตั้งใจได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส เปิดที่ Student Center  การปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ มีแนวคิดที่จะสร้างเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ จึงคิดที่จะตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติได้อย่างไร เช่น การสร้างกิจกรรม การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนความรู้ และหาความรู้ทางด้าน Design ได้ออกแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้  ศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ คณะกายภาพบำบัด มีการวัดสมรรถภาพร่างกายของนักกีฬา เพื่อพัฒนาให้นักกีฬามีความสามารถ และคลินิกช่วยเหลือประชาชน คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต 

การสร้างประโยชน์มีส่วนร่วมต่อสังคม

          1. กิจกรรมอวัยวะที่ 33 กับการเดินทางของชีวิต ได้ลองให้นักศึกษาเป็นผู้พิการ และให้นำมาพัฒนากิจกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ

          2. กิจกรรมช่วยเหลือน้ำท่วม

3. การนำข้าวสารมาแลกค่าเทอม ไม่ต้องขนข้าวสาร มีทีมรับส่ง มีทีมตรวจสอบการให้ราคาข้าว

4. ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต เนื่องจาก ม.รังสิตตั้งในชุมชน มีคนหลากหลายเข้ามา มีปัญหามาก ทำให้ตำรวจไม่เพียงพอ จึงได้ตั้งตำรวจมหาวิทยาลัย ที่ช่วยเหลือตำรวจอีกทีโดยการทำงานร่วมกัน

 การนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การสร้างนวตกรรมในการทำงานเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการปรับ Mind set ในการทำงานของบุคลากร เพื่อให้เกิดการคิดค้นนวตกรรมใหม่ๆ นำมาพัฒนางานเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย

 

 

 

เรื่องการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

 สิ่งที่ได้เรียนรู้

RSU Cyber University

ม.รังสิตมีหลักสูตร Online 3 หลักสูตรคือ ปริญญาตรี และปริญญาโท และมีประกาศนียบัตร

          เกิดจากแนวคิด “มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม” มีการนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนและการทำงานของมหาวิทยาลัย มีการรวมศูนย์ เพิ่มภาระงาน มีการทำหลักสูตร Online  มี E-learning และจะมีการทำประกาศนียบัตรกับบุคคลภายนอกด้วย

          นวัตกรรม เกิดจากการศึกษาวิจัย เชิงวิทยาศาสตร์ที่ดูว่าเทคโนโลยีไหนบ้างที่สามารถนำมาใช้และสร้างประโยชน์ได้ จะพบว่าเด็กเกือบทุกคนจะมี แท็บเล็ต มีการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน และนำสิ่งที่มีแล้วใช้ประโยชน์มากที่สุด ได้แก่  E- Learning  E-Book   Google Apps for Education  Smart Classroom & Application  MOOC & Flipped Classroom  iTunes U  Second life & Gamemification  ปรับกระบวนการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอนอย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนจะสนุกมากขึ้น

  การนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานทั้งด้านการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน และช่วยลดระยะเวลาการทำงาน และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

 

เรื่อง การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

 สิ่งที่ได้เรียนรู้

 

 การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยรังสิตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ฝ่ายบริหารบุคคล และฝ่ายพัฒนาบุคคล  การบริหารแบบ One Stop Service ต้องมีการยุบรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง  ภาพรวมมีบุคลากร 2 สายแบ่งหน่วยงานชัดเจน สายสนับสนุนจะรับผิดชอบโดย HRD มีท่านรองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี ดูสายสนับสนุน ส่วนสายวิชาการ มีการพัฒนาร่วมกันในหลายหน่วยงานเช่น สถาบันวิจัย มีศูนย์สนับสนุนและพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอน และมีศูนย์ Cyber University เอางานนวัตกรรมมาพัฒนาอาจารย์ ส่วนสายสนับสนุนมี HRD ดูแลทำเรื่อง Training และพัฒนา มีการเอาระบบ Competency มาใช้ มีการเอา Competency มาพัฒนาเพื่อตอบโจทย์

Competency มี 3 ประเภท คือ Core Competency   Managerial Competency และ Functional  Competency โดย Core Competency และ Managerial และเรื่อง Functional มีการพัฒนาให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยระดมสมอง สร้าง Core Competency ขึ้นมา สร้างสังคมธรรมาธิปไตย และมีความเข้าใจกัน นอกจากนี้มีการทำงานเป็นทีม และเน้นการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3 ส่วนนี้จะเป็น Core Competency หลักของผู้บริหาร  ส่วนในระดับ Managerial Competency มีเรื่องการจัดการกลยุทธ์ ภาวะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ การตัดสินใจและแก้ปัญหา และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ด้าน Functional แบ่งเป็น 2 สายคือสายวิชาการที่เป็นอาจารย์และสายสนับสนุน  มีการกำหนด Competency แล้วตีมาเป็นแผนฝึกอบรมของบุคลากร แต่อย่างไรก็ตามยังเป็นการฝึกอบรมกว้าง ๆ อยู่ ปี 2560 นี้จะเป็นปีแรกในการประเมิน Gap Competency โดยจะเริ่มที่หน่วยงานสนับสนุนก่อน มีการประเมิน และทยอยกันส่งมาด้วย

ลักษณะการจ้าง คือ  มีสัญญาว่าจ้างทั้งสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ กำหนดคราวละ 2 ปี จากนั้นจะพิจารณาต่อสัญญาจ้างจากผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา

การครบเกษียณอายุ

บุคลากรผู้ที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ถือว่าครบเกษียณอายุ เว้นแต่อธิการบดีมีการอนุมัติให้มีการจ้างเป็น  คราว ๆ คราวละไม่เกิน 1 ปี

การนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรโดยใช้ Competency มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรแต่ละสายงานเพื่อให้เป็นไปตาม Core Competency ของมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยการนำผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีมาปรับใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร

 

 

วันที่ 23 สิงหาคม 2560

 หัวข้อ การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของบริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

 สิ่งที่ได้เรียนรู้

         Unilever เป็นบริษัทที่มีอายุยาวนานกว่า 150 ปี และเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราก็เปลี่ยน โดยใช้ การสร้าง Platform online เป็นตัวดึงดูด     แนวคิดของธุรกิจ Unilever จะเติบโตในอัตรา 2 เท่า โดยลดมลภาวะจากเดิม 50%  Unilever จึงได้เน้นเรื่องการพัฒนาผู้นำ ควบคู่กับสร้างสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อสังคม เน้นการพัฒนาตัวเองและพัฒนาข้างนอก ได้เรียนรู้ผ่านหลักสูตร 7 habits  คิดถึงคุณค่าที่เราจะสร้าง และสิ่งที่คนจะพูดถึงเราเมื่อตายแล้ว บริษัทขายสินค้าอุปโภคบริโภคติดอันดับ 1 ของประเทศไทย ผลิตตราสินค้ากว่า 400 สินค้า มีสินค้าในแบรนด์กว่า 200 ชนิด รวมทั้งหมดประมาณ 10,000 รายการ ต่อมาจึงได้มีแนวคิดในการทำ Unilever Network เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถส่งต่อรายได้จากรุ่นต่อรุ่นในลักษณะ Passive Income

       Start up Business จะมีมากขึ้น

          - Platform Online > Office

          - ด้าน Service มีมูลค่าสูงขึ้น

แรงงานมีทักษะและความรู้ดีมากขึ้น และเหมาะกับชนิดงานมากขึ้น

นวัตกรรม

          - สินค้าตัวแรกเริ่มต้นจากสบู่ซันไลต์ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นน้ำยาล้างจาน แต่ยังคงสบู่ไว้เป็นทางเลือกในช่วงแรก ๆ สำหรับกลุ่มคนที่ติดสบู่อยู่ โดยกระบวนการเปลี่ยนไม่ได้เปลี่ยนทีเดียว ต้องมีกระบวนการในการเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งได้มีการปรับจากสบู่เป็นครีมกระป๋องเพื่อพักตรงกลางก่อนปรับเป็นน้ำยาล้างจาน

          - ยาสระผมตัวแรกเป็นผง ต่อมาได้ซัลซิลได้เปลี่ยนจากผงเป็นน้ำ       

- Unilever ได้คิดค้นนวัตกรรมมาโดยตลอดเพื่อทดแทนสินค้าเดิมที่ใช้อยู่ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเหมาะสมกับผู้บริโภคมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยน Packaging เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภค จากเดิมอาจเปลี่ยนทุก 2-3 ปี ปัจจุบันอาจเร็วขึ้น เช่น  6 - 9 เดือน

          - รูปแบบการจ่ายเงินเปลี่ยนจากเงินสดเป็นใช้บัตรพลาสติก มากขึ้น

          - ในอนาคตคาดว่าอาจไม่ต้องมีผงซักฟอก เครื่องซักผ้ากำลังคิดค้นนวัตกรรมที่ไม่ใช้ผงซักฟอกเพื่อลดภาระด้านการทำลายสิ่งแวดล้อม

          นวัตกรรมที่พบคือเมื่อธุรกิจหนึ่งมา อีกธุรกิจหนึ่งอาจกำลังหายไป เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

           เทคโนโลยีได้มาสร้างมูลค่าการบริการที่สูงขึ้นเป็น Platform Online  เช่นการรับจ้าง Shopping สินค้าโดยคิดค่าบริการ  หรือการสั่งอาหารออนไลน์อย่าง Line man, Lalamove, Wongnai

สิ่งที่ Unilever ทำคือ – เข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่องทาง  มีการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภค ดังนั้นการมี Big Data จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญ

นวัตกรรมได้เข้ามาทดแทนเวลา และความคุ้มค่า

          - Innovation + Creative สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างจุดแข็ง การใช้ Offline และ Online จะมีบทบาทมากขึ้น

          ตัวอย่าง 7-Eleven ที่เกาหลี ทดลองให้กับพนักงาน Lotte ได้มีการจ่ายเงินผ่าน BioPay ชำระเงินโดยใช้ส่วนของร่างกายเช่น Hand Pay และให้ AI เป็น Cashier อัตโนมัติ มีตู้เย็นอัจฉริยะ  มีกล้อง CCTV  ใช้แรงงานน้อยลง แต่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพมากขึ้น

 

การนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางในการสื่อสารถึงบุคลากรและนิสิต มีนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร และนิสิตมีทักษะทางเทคโนโลยีมากขึ้นมีความพร้อมในการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา

 

หัวข้อ  การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

 สิ่งที่ได้เรียนรู้

          กิจกรรมที่สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำด้านดิจิตอล แบงค์กิ้ง มิชชั่น คือทำระบบงานต่าง ๆ ขึ้นมา มีเรื่องการสร้าง Core Value มีเรื่องวิถีการคิด เน้นเรื่อง VIA คือ

V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ จะเห็นว่าบางขั้นตอนมีการทำงานที่ซับซ้อน เราได้มีการลดขั้นตอนลง

I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

A –Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน

          สิ่งที่พบคือ มีเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้

           KBTG เป็นเรื่องการ ทำ Cashless Society  เป็นสังคมที่ไม่ใช้เงินสดในการใช้จ่าย หรือการซื้อของออนไลน์ไม่ได้ใช้เงินในการซื้อของ สามารถแสกน และจ่ายเงินสดผ่าน Application ได้ทันที อย่างอินเดียไปไกลถึงใช้ Finger Print จ่ายเงินได้ทันที

          ข้อดีคือ รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้ง่ายขึ้น ไปที่กลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง Bank สามารถลดการขนเงินสดไปยังตู้ ATM ร้านค้าไม่ต้องคอยหาเฝ้าระวัง และผู้บริโภคสามารถ Manage เงิน ว่าใช้จ่ายได้กี่บาท ป้องกันธุรกรรมที่เสี่ยงกับเงินสด

          สร้าง Platform ชื่อ K+ Platform Concept

          มีการถอนจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น หรือกLife Style ได้มีการซื้อของผ่านทาง K+ Platform ในการสนับสนุนความคิดที่เป็น Cashless Society

          การทำ Value นั้นต้องมี Purpose Full คือจุดมุ่งหมายจริง ๆ ได้มีการนำเสนอไปที่ Core Value ของตัวอาจารย์  อย่างกสิกรไทย เน้นเรื่องการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เน้นการทำอะไรเพื่อความสำเร็จของลูกค้า ต้องเข้าใจว่าคืออะไร และต้อง Beyond มากกว่า Customer Satisfaction อย่างไรก็ตาม KBTG ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องมี Teamwork  การสร้าง Value ให้ Business และ Technology ไปด้วยกัน

          มีความเป็น Professionalism มีความน่าเชื่อถือ เพื่อปกปักรักษาสิ่งที่คนช่วยดูแลให้

          Innovation  เมื่อเจอทางตันก็หาทางใหม่

          มี Comnovation คือ Communication + Innovation

          การนำ Machine Learning ทำอย่างไรให้รู้จักและรู้ใจลูกค้า ต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์

          มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีการเงินมาก มีพื้นที่ร้านค้าที่ KBTG ไปขายในนั้นด้วย

Platform

          - ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีอย่างเดียว แต่เป็นที่คนมาชุมนุมกัน มี Traffic มีการเชิญคนที่รู้จักจากกลุ่มต่าง ๆ มาทำงานร่วมกัน  เป็นตัวสร้าง Ecology ใหม่

          - เราจะสร้าง Value ให้เกิดกับลูกค้าอย่างไร จะนำข้อมูลมาสร้างประโยชน์ ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร มีการถอดรหัสว่าแต่ละความหมายมีความหมายอย่างไร

          ทุกเทคโนโลยีมาจากการคำนึงถึงความสุขของผู้รับบริการ มีการทำงานตามวิถีธนาคารกสิกรไทยเพื่อเป็นธนาคารดิจิตอลสมบูรณ์แบบ

          พื้นที่นี้มีพนักงาน 3,000 คน และมี Vendor และ reserve ให้กับ Fintech

การนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การนำเทคโนโลยีมาสร้างเป็นนวตกรรมในการทำงานด้านการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน เพือให้เข้าถึงผู้เรียนมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและบุคลากรได้ทันต่อความต้องการ

นางสาวขวัญใจ นิ่มดวง กลุ่มที่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน

ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต

1.ได้เรียนรู้ถึงการบริการที่ดี ลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่น ตอนไปศึกษาดูงานได้รับการต้อนรับที่ดีมากสร้างความประทับใจ ซึ่งอาจมีผลให้ผู้เยี่ยมชมบอกต่อหรือตัดสินใจส่งญาติพี่น้อง ลูกหลาน ไปใช้บริการที่ ม.รังสิตในอนาคต

2.เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ผู้นำมีแนวทางที่ดีในการปรับทัศนคติและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานมีเป้าหมายและเดินไปทางเดียวกันทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ศึกษาดูงานที่บริษัทยูนิลิเวอร์

1.เป็นบริษัทที่มองแผนระยะยาว มีวิสัยทัศน์ไกลถึงปี 2040 ทำให้สามารถวิเคราะห์ตลาดและสร้างแผนกลยุทธ์รองรับเพื่ออนาคต

2.การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นเป็นต้องเปลี่ยนจากสิ่งที่เป็น --> ไปสู่สิ่งที่คิด (เป้าหมาย) โดนทันทีเพราะอาจมีผลกระทบหรือไม่ได้รับการยอมรับ ต้องมีกระบวนการจุดพักตรงกลางเพื่อประบแนวคิดของผู้เกี่ยวข้องก่อนงานบางอย่างจึงสำเร็จสู่เป้าหมายได้

ศึกษาดูงานที่ธนาคารกสิกรไทย

1.เป็นองค์กรที่ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ และทุกคนในองค์กรได้แสดงฝีมือ แสดงความคิดเห็น ไม่จำกัดกรอบความคิด เป็นข้อดีที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อการพัฒนา

2.ดน้นการทำงานเป็นทีมจึงทำให้องค์กรก้าวไกลได้ และสร้างทัศนคติให้พนักงานเดินไปในเป้าหมายเดียวกัน

อัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์ (กลุ่ม4)

อัจฉราภรณ์  กวมทรัพย์ กลุ่ม 4

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  วันที่ 22 – 23  สิงหาคม  2560

วันที่  22  สิงหาคม  2560  

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อ “การบริหารงานและพัฒนาบุคลากร “

โดย คุณกสิณ  จันทร์เรือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต

การบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 

 1) ฝ่ายบริหารบุคคล 

  2) ฝ่ายพัฒนาบุคคล 

จุดแข็ง : การให้บริการแบบ one stop service ทำให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริหาร ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้รับบริการ 

            แบ่งความรับผิดชอบคณะ ทำให้งานเร็วขึ้น โดยนำแนวปฏิบัติที่ดีมาจากโรงพยาบาลพญาไท 

อาจจะมีการนโยบายยุบรวมหน่วยงาน ที่มีผลกระทบมาจากนักศึกษาจำนวนลดลง 

การบริหารงานบุคคลใช้ระบบการบริหารจัดการ ดังนี้

  1. สัญญาจ้างใช้แก้ปัญหาเรื่องความดื้อแพ่งเกษียณ ๖๕ ปี เพราะสายการสอนไม่ใช้แรงงานมาก สามารถต่ออายุได้จน อายุ ๘๐ ปี โดยเล็งเห็นเพราะคนเหล่านี้เคยช่วยมหาวิทยาลัยมาก่อนที่มหาวิทยาลัยจะประสบความสำเร็จ
  2. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และใช้การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งนี้อธิการบดีจะแจ้งให้สภามหาวิทยาลัยรับทราบ
  3. มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี บุคลากรมีขวัญกำลังใจ ด้วยนโยบายอธิการบดี ไม่ลดคน จ้างต่อแม้เกษียณแล้ว เพราะเห็นคุณค่าทีร่วมสร้างมหาวิทยาลัยมาด้วย Happy at work นอกจากสร้างขวัญกำลังใจแล้วยังสร้างความผูกพันให้บุลากร Happy workplace
  4. สวัสดิการดี ให้ถึงพ่อแม่
  5. ให้อิสระ ไม่ต้องลงเวลาปฏิบัติงาน happy at work
  6. ประเมินต่อสัญญาจ้างกับการประเมินเพื่อขึ้นเงินเดือนมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน โดยมีกรประเมินรอบปีในเดือนมิถุนา เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร  ส่วนการประเมินการต่อสัญญาจ้างจะประเมินทุก 2 ปี ทั้งนี้บุคลากรรับรู้ว่ามหาวิทยาลัยต่อสัญญาจ้าง (ทุกคนรู้สึกมั่นคง)
  7. อธิการบดี ประเมินทุก 2 ปี โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย

ปัจจัยความสำเร็จ

  1. อธิการบดีมีวิสัยทัศน์ และนโยบายชัดเจน ในการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม
  2. ทีมผู้บริหารร่วมคิดพัฒนา มีการสร้าง Networking และมีการบูรณาการทรัพย์กรร่วมกันระหว่างหน่วยงานและภายนอก
  3. วัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต
  4. พัฒนาบุคลาสายสนับสนุน  ดำเนินการโดย HRD ส่วนการพัฒนาสายวิชาการ ร่วมกันหลายหน่วยงาน 

การประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

            ด้วยแนวโน้มจำนวนนิสิตที่ลดลง ในสังคมผู้สูงอายุ จำเป็นต้องปรับการบริหารงานบุคคล โดยพัฒนาสมรรถนะหลักรายบุคคล ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง บุคลากรสายสนับสนุนหนึ่งคนต้องมีความเก่งรอบด้าน สามารถทำงานแทนกันได้ และเน้นการบริการเชิงรุกในลักษณะของ One Stop Service เพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดทรัพยากร อีกทั้งสร้างความประทับใจที่เกินคาดหวังแก่ลูกค้า และผู้รับบริการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความผูกพัน อันนำไปสู่การบอกต่อให้คนอื่นมาเรียน หรือมาใช้บริการของหน่วยงานในอนาคต

 

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ศึกษาดูงาน ณ บริษัทยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน) Unilever Network

หัวข้อ “การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของ บริษัทยูนิลีเวอร์”

เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมามากกว่า 150 ปี มีสินค้ากว่า 10,000 รายการได้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดเมื่อโลกเปลี่ยนธุรกิจเราต้องเปลี่ยน มีการใช้ระบบการขายทั้งในแบบ Offline และ Online “Omni Connect”  เป็นธุรกิจเครือข่าย พร้อมมอบภารกิจที่เปิดกว้างให้ทุกคน ร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ และสร้างเป็นมรดกรุ่นต่อรุ่น บันได 10 ขั้นสู่การเป็นนักธุรกิจ 10 ล้าน มีระบบ Coaching Upline มี Road Map จาก Unilever Network มีนวัตกรรมสนับสนุน โดยสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรอง โดยการวิจัย สร้างและร่วมแบ่งปันความสุขให้ผู้ด้วยโอกาสในสังคม ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่ง และความสำเร็จอย่างต่อเนื่องมีแนวคิดในการทำ UnileverNetwork  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมกันเป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถส่งผ่านรายได้จากรุ่นสู่รุ่นในลักษณะ Passive Income มีการให้ความสำคัญกับการวิจัยด้วยงบประมาณจำนวนมากและมีหลักสูตรให้พนักงานได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เช่น ทักษะทางธุรกิจความเป็นผู้นำ คุณลักษณะภายในผ่านการอบรม 7 Habits เป็นต้น

การประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ 

- คาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำไปใช้ในการปรับตัวขององค์กรได้อย่างทันท่วงที ทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ถึงแม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป “ต้องเปลี่ยนก่อนโลกเปลี่ยน”

- วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้มีส่วนส่วนเสียอย่างทันท่วงที

- มีหลักสูตรพัฒนาผู้นำเพื่อให้คุยภาษาเดียวกัน เช่น การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ ป่วยกระทบงานและครอบครัว เป็นหน้าที่รับผิดชอบต้องดูแลตนเอง ป่วยถือว่าเป็นความผิด ฝึกว่าสิ่งไหนสำคัญต้องมาก่อน   ซึ่งพนักงานทุกคนต้องเรียนทุกคน  

อน  คนที่มีเป้าแต่ไม่เขียน รายได้ 2 เท่า คนที่มีเป้าหมายและเขียนไว้ รายได้มากกว่า 7 เท่า นั่นคือการพัฒนาจิตวิญญาณ “โลกภายในเท่ากับโลกภายนอก” เป้าหมาย Unilever ชัดเจน และท้าทาย จาก 2 ล้านล้าน เป็น 4 ล้านล้าน


ศึกษาดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

หัวข้อ “การใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการและก้าวทันพฤติกรรามผุ้บริโภคยุคดิจิตอล”

      ธนาคารกสิกรไทย เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความโดดเด่นในการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการ ตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

       KBGT มี  Vission คือ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นผู้นำด้านดิจิตอล 

                    Mission คือ การกำหนดระบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า 

                    Core Value คือ สร้างวัฒนธรรมองค์กร  VIA คือ 

                         V : Value Creation คือ การสร้างคุณค่าในองค์กร 

                         I : Innovation คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ 

                        A : Agility คือ การทำอย่างรวดเร็ว 


Focus teacnology เป็นการมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าทุกประเภท ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มพิเศษ (ผู้พิการหรือบกพร่องทางการมองเห็น และผู้สูงอายุ) กลุ่มลูกค้าที่ชอบใช้เงินสดและที่ไม่ชอบใช้เงินสด การบริการทุกอย่างสามารถใช้ Mobile Application โดยการสร้าง Platform คือ K-plus Platform ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบ คือ การจัดเก็บข้อมูล (Data) โดยมีกระบวนการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Smart Companion และความสำเร็จจะเกิดได้ต้องประกอบด้วย CTPI

                C : Customer              – ลูกค้า

                T : Teamwork            - การทำงานเป็นทีม

                P : Professional         - ความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพ

                I : Innovation            - การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจะประสานการดำเนินงานเป็น Comnovation คือ Communication + Innovation อันจะเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ KBTG สามารถพัฒนาระบบการบริการที่เป็นผู้นำธนาคารด้านเทคโนโลยีดิจิตอลแห่งอนาคต

การประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ 

- พัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการ ตอบสนองและก้าวทันผู้มีส่วนได้ส่วนเสีนในยุคดิจิตอล

- ทำความเข้าใจ เข้าถึง ความต้องการของลูกค้า ซึ่งมหาวิทยาลัยมีลูกค้าที่สำคัญ คือ นิสิต ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า เป็นต้น ซึ่งต้องพัฒนาการบริการให้ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ

-ส่งเสริมให้องค์กรมีความสุขในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้งานและการดำเนินงานมีคุณภาพ

-สร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้บุคลากรในองค์กรมีสิ่งยึดมั่นและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อนำสู่ความสำเร็จขององค์กร

สุกัญญา กุตเสนา กลุ่มที่ 4

วันที่ 22 สิงหาคม 2560  ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

สิ่งที่ได้เรียนรู้   คือ 1. การที่จะเป็นองค์กรชั้นนำนั้นต้องทำอะไรก็แล้วแต่ต้องทำตามความต้องการของตลาดถึงจะอยู่รอด อย่าทำตามคนอื่น

                      2. การเป็นผู้นำต้องคิด 1) การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส  2) ไม่ลดคน แต่คนต้องมีคุณภาพ         3) ทำทุกเรื่องที่เขาคิดให้เกิด (ช่วยประชาสัมพันธ์) ให้รู้จัก 4) ความสำเร็จ เกิดจากวัฒนธรรมองค์กร

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การเป็นผู้นำนั้นไม่ใช่แค่การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำตามตนอย่างเดียว ต้องเป็นผู้ตามที่ดี คอยให้การช่วยเหลือ ประสาสัมพันธ์ และคอยแนะนำในสิ่งที่ขาดอยู่ การทำงานต้องไม่ทำงานไปวันๆ ไม่มีการพัฒนา  การพัฒนาโดยการทำงานแบบซ้ำๆ โดยมีการสอน และทดสอบ/ทดลอง จนกลายเป็นนวัตกรรม

 

วันที่ 23 สิงหาคม 2560 ศึกษาดูงาน

  • ณ บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)
  • ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ 1. การตลาดสำคัญที่สุด  2. สินค้าของเราดีที่สุด 3. บอกข้อดี เชื่อว่าดีอยู่เสมอและส่งต่อ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  คือ การทำงานในอนาคตจะต้องเริ่มจากตัวเองโดยการเชื่อว่ามหาวิทยาลัยทักษิณดีที่สุด พูดในสิ่งที่ดี พัฒนาทักษะการทำธุรกิจ พัฒนาความเป็นผู้นำ พัฒนาคุณลักษณะ

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรต้องอาศัยความคิดจากคนรุ่นใหม่ๆ เปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพอย่างเต็มความสามารถ และต้องทดสอบ/ทดลองใช้งานจริง

นางสาวสุวารี คลองโคน กลุ่มที่ 1

1.หัวข้อ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ
การศึกษาดูงานในกิจการลักษณะเดียวกันคือสถาบันการศึกษานั้น เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์และประสบการณ์ต่อผู้เข้าศึกษาได้เปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ๆที่ได้รับจากการศึกษาเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนานวัตกรรมสู่ความสำเร็จ ดังนั้น การเข้าศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต ทำให้เกิดมุมมองในเรื่องของการใช้นวัตกรรมมาพัฒนางานในแต่ละพันธกิจงานของมหาวิทยาลัยซึ่งผ่านการวิเคราะห์ความต้องการตอบสนองผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ได้เรียนรู้ว่าทุกสิ่งทำได้ด้วยความตั้งใจ ใส่ใจและมุ่งมั่นและการสร้างทีมที่เข้มแข็ง โดยการทำงานของมหาวิทยาลัยรังสิตซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ไม่มีขีดจำกัด คนทำงานเต็มที่ภายใต้บริบทของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนผลักดันอย่างเต็มที่ทำให้เห็นถึงการพัฒนาตนเองของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างรวดเร็วทันยุคทันสมัยเป็นไปตามเป้าหมาย และจุดที่แตกต่างคือในเรื่องพื้นที่อาคารเรียนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น น่าเรียน น่าสนใจและเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับนิสิตและบุคลากรได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นเรื่องการใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอนที่ช่วยลดภาระของอาจารย์และนิสิตในการเรียนและเป็นพัฒนาให้นิสิตมีวินัยในการเรียนมากขึ้น เช่น ให้อาจารย์นำเทคโนโลยีไปใช้ในการเรียนการสอน โดยแนะนำอาจารย์แต่ละรายวิชาว่ามีเทคโนโลยีอะไรช่วยการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายวิชาบ้าง ปรับหลักสูตรการสอนแบบออนไลน์ และปรับหลักสูตรสำหรับคนทำงานผู้สูงอายุ เช่น หลักสูตรทำอาหาร การประดิษฐ์  เป็นต้นเพื่อบัณฑิตที่ออกไปรับใช้สังคมได้อย่างลงตัวภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบยุคดิจิตอลจึงทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้สนใจเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก
จากการศึกษาเรียนรู้ด้านนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้มีกิจกรรมและโครงการดำเนินงานทั้งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้และที่ประสบความสำเร็จแล้วได้แก่  การเตรียมเปิดโรงพยาบาล RSU International hospital : RIH เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่รักษา โดยไม่ต้องพึ่งยา จัดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ให้คุณประโยชน์ทางการแพทย์รักษาโรคมะเร็ง  เปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์  เปิดคณะรังสีเทคนิคแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชน เปิดสถาบัน Gen.ed : General Education ให้มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  เปิดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา  เปิดศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส  ปฏิรูปหลักสูตรนานาชาติ มีศูนย์วิจัยและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ  และเปิดคลินิกกฎหมายช่วยเหลือประชาชน โครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มีทางเลือกที่จะเลือกเรียนและใช้ประโยชน์นำไปสู่ความสุขของคนในชาติ
นอกจากนี้ยังโครงการที่สร้างประโยชน์สุขให้กับสังคมและเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เกิดประโยชน์ให้กับประชาชนเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นชาวนาที่จะต้องส่งเสียให้บุตรได้เรียนจะได้มีทางเลือกที่ดี และเป็นโครงการที่สร้างความสำเร็จให้มหาวิทยาลัยนำไปสู่ความสุขของประชาชน ได้แก่ เปิดพื้นที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายข้าวได้เจอกัน นโยบาย เอาข้าวสารมาแลกค่าเทอม  
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยรังสิต
1.ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและเอาใจใส่ดูแลบุคลากรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ทุกคนทำงานอย่างมีความสุขและจัดปัจจัยเกื้อหนุนให้เต็มที่เพื่อให้ทำงานได้สำเร็จ
2.การช่วยเหลือเกื้อกูลเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีของมหาวิทยาลัยรังสิตโดยทุกคนทำงานเป็นระบบเป็นทีม work ด้วยกันเห็นปัญหาและช่วยกันแก้ไข
3.การสื่อสารทุกเรื่องไปยังผู้เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วทุกคนรับรู้และเข้าใจความหมายและสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องการให้ทำและเป้าหมายของการทำ ซึ่งมีการสื่อสารที่ชัดเจน

2. หัวข้อ การบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต
Core Competency : ธรรมาธิปไตย การทำงานเป็นทีม มุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยรังสิตแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ฝ่ายบริหารบุคคลและฝ่ายพัฒนาบุคคลกาบริหารแบบ One stop Service สนับสนุนโดย HRD โดยมีสมรรถนะตำแหน่งดังนี้
สมรรถนะตำแหน่งทางการบริหาร ประกอบด้วย การจัดการเชิงกลยุทธ์  ภาวะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ  การจัดการความเปลี่ยนแปลง
สมรรถนะตำแหน่งของสายการสอนและสายสนับสนุน 
ตำแหน่งอาจารย์  มีความรู้ทางวิชาการ/วิชาชีพเฉพาะด้านและงานวิจัย  ความสามารถและเทคนิคในการสอน  จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์  
ตำแหน่งสายสนับสนุน  ความรับผิดชอบในงาน จิตสำนึกการบริการ
หลักการบริหารบุคคล
1.บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนมีสัญญาจ้างคราวละ 2 ปี กำหนดให้เกษียณอายุ 65 ปี
2. มหาวิทยาลัยมีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้ครอบครัว บุตร พ่อแม่
3. มีการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนช่วงเดือนมิถุนายนทุกปี และเน้นการทำงานมากจะได้ค่าจ้างมาก
4.อาจารย์ไม่มีหน้าที่สอนหนังสืออย่างเดียว แต่มีการสร้างศูนย์วิชาการเพื่อให้อาจารย์ช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย
สิ่งที่จะนำมาปรับใช้ในการทำงาน
1.ผู้นำของมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับคนและสนับสนุนการดำเนินงานทุกกิจกรรมแสดงออกซึ่งธรรมาธิปไตย  เน้นคำนึ่งถึงประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเป็นหลัก
2.การให้ความสำคัญกับบุคลากรให้มีการพัฒนาขีดความสามารถอย่างเต็มที่และสามารถเสนอไอเดียหรือ Project ใหม่ๆได้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยร่วมกันและเพื่อความอยู่รอดของทุกคน
3.การสร้างรายได้จากสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารจัดการอาคารดนตรีสุริยเทพ ซึ่งเป็นอาคารดนตรีที่มีก่อสร้างออกแบบได้ทันสมัย สวยงาม ความพร้อมก้าวและความสมบูรณ์แบบ เป็นโรงละครที่สามารถรองรับการแสดงดนตรีทุกประเภทและศิลปะการแสดงทุกแขนง บรรจุผู้เข้าชมได้ถึง 1,100 ที่นั่ง และสามารถจัดหารายได้จาการให้เช่าสถานที่เป็นรายได้ของมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่ง

3. การศึกษาดูงาน ณ ยูนิลิเวอร์ 
บริษัท ยูนิลิเวอร์ได้ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลา 150 ปี  โดยมีแนวคิดสำคัญคือ ยูนิลิเวอร์ต้องเปลี่ยนก่อนที่โลกจะเปลี่ยน เน้นเรียนรู้ให้เร็ว ปรับให้ทัน ก้าวล้ำความเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำด้านการตลาด โดยทำสินค้าขององค์กรให้ดีที่สุด และเชื่อมั่นว่าสินค้าดี มีจุดเด่นที่ดี ให้ผู้บริโภคใช้แล้วบอกต่อเพื่อให้เกิดเชื่อมั่นในตัวสินค้าของยูนิลิเวอร์
การพัฒนาของ ยูนิลิเวอร์ คือการสร้างชื่อเสียงของสินค้า และตราสินค้า ให้เป็นที่รู้จัก คุณภาพของสินค้าที่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง และเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี การข้ามผ่านไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่าท้อ มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย ธุรกิจจะเติบโต ต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้สินค้าครองใจผู้ใช้ตลอดไปโดยเราต้องรู้ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด และให้ลูกค้าจำสินค้าของยูนิลิเวอร์ได้ดี พร้อมการเปิดช่องทาง shopping online มากขึ้น

สิ่งนำมาปรับใช้ในการทำงาน
1. องค์กรต้องสำรวจและศึกษารับรู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันให้เข้าใจลูกค้าให้มากที่สุดเพื่อการพัฒนาให้ตรงจุดโดยเฉพาะหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการและตรงใจลูกค้า
2. องค์กรต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอและต้องปรับตัวให้เร็วรู้เท่าทัน โดยเฉพาะการพัฒนาแบบก้าวกระโดด  นอกจากนี้ ต้องใช้สื่ออิเล็กทรอนิกค์เข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้นให้นิสิต ผู้ปกครอง รู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้น และต้องมีระบบการสื่อสารองค์กรผ่านทางสื่อออนไลน์ทุกช่องทาง อย่างรวดเร็วและเสถียร เช่น line Application facebook  Intragram เป็นต้น

4. การศึกษาดูงาน ณ KBANK
ธนาคารกสิกรไทย KBANK ก่อตั้ง KASIKORN Business - Technology Group (KBTG) เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเงินรองรับ Digital Banking ภายใต้แนวคิดรองรับนโยบายรัฐบาล Cashless  สามารถให้ผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่าน Smart phone ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัยในการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ทันสมัยมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการปรับปรุงการให้บริการที่เข้าถึงลูกค้าตามพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าในยุคปัจจุบัน โดยธนาคารกสิกรไทยมี Core value ดังนี้   V (Value) การสร้างคุณค่าให้สังคม / ลูกค้า   I (Innovation)  การค้นหานวัตกรรมทางเลือกใหม่ให้ลูกค้า   A (Agility) ลดกระบวนการทำงานให้รวดเร็ว 
ในการดำเนินงานจะเน้นหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ธนาคารจะทำอะไรเพื่อช่วยเหลือลูกค้าและตอบความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว ธนาคารกสิกรไทยยังพัฒนาโครงการมีเป็นประโยชน์ต่อสังคม  เช่น โครงการออกแบบ Application สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา  ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือ และมีความชัดเจนถูกต้องแม่นยำเพื่อเพิ่มทางเลือกในสังคม   โครงการพรวนฝัน เพื่อการรองรับธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ เป็นการสร้างคุณค่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้และเป็นการสร้างความเข้มแข็งของสังคม
สิ่งที่จะนำมาปรับใช้ในการทำงาน
1. การค้นหา วิเคราะห์ลูกค้าและการเข้าถึงความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองตามและความคาดหวังได้ตรงจุดอย่างแท้จริง
2. ผู้นำและบุคลากรต้องพร้อมเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่และร่วมกันพัฒนาเป็นทิศทางเดียวกันและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนา
3. การทำให้คนในองค์กรมีความสุขรักในงานที่ทำและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรในองค์กรเชื่อมั่นและมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จขององค์กรเพื่อให้บุคลากรมีความสุขในการทำงานนำไปสู่การสร้างผลงานที่ดีมีคุณภาพเป็นที่ประจักษ์
4. ศึกษาและนำเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ในการทำงานให้มากขึ้นอันจะเป็นตัวช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นในยุคของการแข่งขัน
5. ต้องสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานให้มีความพร้อม สะอาด สะดวก ถูกสุขอนามัยและมีความสวยงาม จะทำให้คนทำงานมีความสุขและมีอารมณ์แจ่มใสพร้อมทำงานทุกสถานการณ์

นางสาวอรกมล ไกรวงศ์ กลุ่มที่ 5

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2560


มหาวิทยาลัยรังสิต

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงานคือ มหาวิทยาลัยรังสิตมีนวัตกรรม กิจกรรมและโครงการหลายโครงการที่นำไปสู่องค์กรชั้นนำ โดยเฉพาะกิจกรรม CSR ที่เป็นการสร้างประโยชน์และการมีส่วนร่วมกับชุชน ซึ่งการเกิดนวัตกรรมและกิจกรรมเกิดจาก Demand Site และมหาวิทยาลัยรังสิตมีการสื่อสารองค์กรที่เข้มแข็งในการประชาสัมพันธ์นวัตกรรมและกิจกรรมผ่านสื่อต่างๆให้เป็นที่รู้จัก

มหาวิทยาลัยรังสิตยังมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน RSU Cyber University “มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม” มีการพัฒนานวัตกรรมโดยยึกหลัก Teach less Learn more และ Make a difference and be productive มีนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่น E-learning  E-book MOOC เป็นต้น และมีการสอบแบบออนไลน์เพื่อประหยัดกระดาษ

การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยายรังสิตแบ่งเป็นฝ่ายบริหารบุคคลและฝ่ายพัฒนาบุคคลให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Survice) มีผู้รับผิดชอบดูแลตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานจนออกจากมหาวิทยาลัย และมีการนำ Competency มากำหนดเป็นแผนพัฒนาบุคลากรและการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การนำมาปรับใช้ในการทำงานขององค์กร คือ บุคลากรในองค์กรต้องปรับ Mindset เพื่อพร้อมจะเปลี่ยนแปลงตามยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ต้องมีกาพัฒนานวัตกรรมเพื่อการทำงาน พัฒนาหลักสูตร โดยดูความต้องการของลูกค้า ต้องมีการกำหนดนโยบาย การสร้างเอกลักษณ์ อัตลักษณ์จากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรผลักดันถ่ายทอดยังผู้ปฏิบัติในทุกระดับ


บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
            

บริษัท ยูนิลีเวอร์ผลิตสินค้าแบรนด์ที่มีมากกว่า 400 ตราสินค้า มีอายุยาวนานกว่า 150 ปี ทำธุรกิจเป็นระยะเวลายาวนานที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด “เมื่อโลกเปลี่ยน ธุรกิจเปลี่ยน บริษัทยูนิลิเวอร์จึงต้องเปลี่ยนก่อนที่โลกเปลี่ยน” มีการนำนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0 มามาผลักดันอย่างชัดเจน ปรับเปลี่ยนตามยุคดิจิตอล เชื่อมั่นในความเปลี่ยนแปลง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้เกิดความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การคำนึงถึงลูกค้าและผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค จึงต้องมีการจัดเก็บข้อมูล Big Data และนำมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าแต่ละประเภทและ เข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่องทางเป็นเรื่องที่สำคัญ  โดยบริษัทมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการเติบโตทางธุรกิจโดยลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม มีผลิตภัณฑ์ หรือ แพ็คเกจจิ้งจะเลือกที่กระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น การใช้กระดาษแทนพลาสติก ฯลฯ มีการสร้างนวัตกรรมได้เข้ามาทดแทนเวลา และความคุ้มค่า Innovation + Creative สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างจุดแข็ง การใช้ Offline และ Online จะมีบทบาทมากขึ้น Unilever เน้นการสร้างผู้นำ และพัฒนาบุคลากร โดยใช้ 7 habbits ให้กับบุคลากรทุกคน และให้ผู้นำสร้างเครือข่าย Uniliver network

ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี

           การสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีวิสัยทัศน์ คือ สร้างสังคมที่ใช้แอพลิเคชั่นทำธุรกรรมทั้งการเงินและไม่ใช่การเงิน กิจกรรมที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำด้านดิจตอล แบงค์กิ้ง มิชชั่น คือทำระบบบานต่างๆ ขึ้นมา มีการสร้าง Core Value  มีวิธีการคิดเน้นเรื่อง VIA คือ

V-Value สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคมและประเทศ ขั้นตอนไหนที่ซ้ำซ้อนจะมีการลดขั้นตอนลง

I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ

A – Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน

มีการนำเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานได้ มีการสร้าง Platform ทุกอย่างจัดการบน Platform มีการสร้าง Application ที่ติดต่อกับผู้ใช้ และสามารถตอบโจทย์กับลูกค้าทุกกลุ่ม เป็นการออกแบบให้ทุกคนใช้ได้ เช่น Application สำหรับคนตาบอด ธนาคารกสิกรไทย เน้นเรื่องการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำอะไรเพื่อความสำเร็จของลูกค้า ต้องเข้าใจว่าคืออะไร และต้อง Beyond มากกว่า Customer Satisfaction คือต้องคิดให้ได้ในสิ่งที่ลูกค้าไม่รู้ว่าคืออะไร การทำงานไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องมี Teamwork  การสร้าง Value ให้ Business และ Technology ไปด้วยกัน สามารถนำไปใช้พัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าเราจะสร้าง Value ให้นักศึกษาได้อย่างไร

การปลูกฝัง Core Value ต้องมีการสื่อสารการทำกิจกรรม และต้องทำเรื่อยๆ ในธนาคารกสิกรไทยจะมีเวทีจัดการนำเสนอทุกเดือน เรียกว่า Comnovation คือ Communication + Innovation และเรียนรู้การนำ Machine Learning ทำอย่างไรให้รู้จักและรู้ใจลูกค้า ต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์

ปานกมล อินทรกนิฎฐ์ กลุ่ม 4

สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2560

การศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยรังสิต 

    1.ผู้บริหาร ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีจุดยืนที่ชัดเจน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงออกซึ่งธรรมาธิปไตย  ให้ความสำคัญกับทุกกิจกรรมของมหาวิทยาลัย รวมถึงคำนึงถึงสังคมประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

     2.บุคลากรมีการทำงานแบบบูรณาการทุกคณะ ร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมร่วมกัน

     3.อาคารดนตรีสุริยเทพ เป็นอาคารดนตรีที่มีก่อสร้างออกแบบได้ทันสมัย สวยงาม มีความพร้อมก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ แสง สี เสียง มีความสมบูรณ์แบบ เป็นโรงละครที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย พร้อมรองรับการแสดงดนตรีทุกประเภทและศิลปะการแสดงทุกแขนง บรรจุผู้เข้าชมได้ถึง 1,100 ที่นั่ง และเวทีลึกกว้างขวางบรรจุนักแสดงและนักดนตรีได้ 100 คน ผนังภายในสามารถปรับเปลี่ยนกระจายเสียงได้ทุกรูปแบบ  ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้โดยให้เอกชนเช่าสถานที่วันละ 250,000 บาท มหาวิทยาลัยอาจนำแนวทางการก่อสร้างมาปรับใช้ในการก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติการดนตรีและหอศิลปะการแสดงของมหาวิทยาลัย

     4.มีการรักษาทรัพยากรบุคคล และพัฒนาบุคลากรให้ก้าวสู่การสร้างนวัตกรรม รวมทั้งออกแบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ทุกขั้นตอน

     5. มหาวิทยาลัยทักษิณควรพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ online

     การสื่อสารมีความสำคัญ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม มีการใช้กรุ๊ปไลน์ในการประชาสัมพันธ์ ทำอะไรที่เป็นความต้องของธุรกิจ มีการโฆษณาแบนด์มหาวิทยาลัย  เปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าถึงโดยการตั้งตัวแทนของคณะ มีการประชุมกันทุกเดือน สอนให้เราปรับตัวเรื่องพฤติกรรมที่เราต้องแข่งขันกับเอกชนให้ได้ กลุ่มเป้าหมายไม่ได้อยู่ที่กลุ่มเด็กในโรงเรียน มีนโยบายของมหาวิทยาลัยใครถนัดอะไรก็ใช้แบบนั้นแต่ทางมหาวิทยาลัยจะมีเครื่องมือให้และมีที่ปรึกษาก่อนว่าควรใช้อะไร แล้วมีการประเมินบุคลากร

การศึกษาดูงาน ยูนิลิเวอร์

     องค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ไม่รอการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยจะ build brand เพื่อให้นิสิต ผู้ปกครอง รู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบการสื่อสารองค์กรผ่านทางสื่อออนไลน์ทุกช่องทาง facebook  Intragram line Application เป็นต้น เราต้องศึกษาและรู้ความต้องการของลูกค้า เพื่อพัฒนาหลักสูตรได้ตรงใจและรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน

    โลกเปลี่ยนแปลงเพราะมนุษย์เป็นคนทำ เมื่อโลกเปลี่ยนเราก็ต้องเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยนก่อนที่โลกจะเปลี่ยน ยูนิลิเวอร์ เน้นด้านการตลาดทั้งภายในและภายนอก โดยการทำการตลาดกับคนภายในบริษัทให้อินกับสินค้าของบริษัทก่อนถึงจะเอาสินค้าออกไปสู่ภายนอก พนักงานต้องบอกข้อดีของสินค้าบริษัทให้ได้ เราต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่เปลี่ยนแปลว่าเป็นสิ่งที่ดี ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

 การศึกษาดูงาน KBANK

  • 1.การปรับ mindset ของผู้บริหารและบุคลากรให้เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ และเปิดโอกาสให้บุคลากรมีอิสระทางความคิด ได้แลกเปลี่ยน และทำงานร่วมกันเป็นทีม   
  • 2.การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรในองค์กรเชื่อมั่นและมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน   เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
  • 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และวิจัยอย่างจริงจัง เพื่อให้มีข้อมูลที่แท้จริง รอบด้าน ในการสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในการทำงาน
  • 4.ส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งความสุข เพื่อให้บุคลากรเกิดความสุขในการทำงานและผลงานมีคุณภาพ
  • 5.การจัดสถานที่ทำงานมีความผ่อนคลาย กว้างขวาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกในที่ทำงาน เช่น จุดพักกินกาแฟ ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ห้องออกกำลังกาย ห้องประชุม ทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน
  • 6.การเข้าใจ เข้าถึง ความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการ (เช่น นิสิต ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า เป็นต้น) เพื่อพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองตามความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด
  • 7.นำเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการทำงาน
  • 8.พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมเพื่อก้าวทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก

นางสาวชนาธิป แก้วทอง กลุ่มที่ 4

สรุปผลการเรียนรู้จากการศึกษาดูงานช่วงที่ 4 (22-23 สิงหาคม 2560)


มหาวิทยาลัยรังสิต

นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ 

        มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรชั้นนำ ซึ่งผู้บริหารให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและมีผลงานเชิงนวัตกรรมที่ทันสมัยและเป็นรูปธรรมผ่านสื่อสู่สายตามากมาย เช่น การเตรียมเปิดศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจร โครงการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชา การเปิดคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะรังสีเทคนิค  ศูนย์นวัตกรรมภาษาฝรั่งเศส ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ เป็นต้น และมีการสร้างกิจกรรมโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น กิจกรรมช่วยเหลือผู้พิการ การบริจาคของให้ผู้ประสบภัย การเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่ซื้อและขายข้าวได้เจอกัน รวมถึงโครงการตำรวจมหาวิทยาลัย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้วย

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

          มหาวิทยาลัยมีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนที่นักศึกษาสามารถใช้และเข้าถึงได้ง่าย มีหลักสูตรออนไลน์ และมีอุปกรณ์แท็ปเล็ตให้กับนักศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนรู้

การบริหารงานบุคคล

          มหาวิทยาลัยรังสิตมีการบริหารงานบุคคลที่มีความชัดเจน ให้ความสำคัญต่อหน้าที่ของบุคลากร ในส่วนของอาจารย์ เน้นด้านความรู้ทางวิชาการ ความสามารถและเทคนิคการสอน รวมถึงจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ ส่วนบุคลากรสายสนับสนุน เน้นความรับผิดชอบและจิตสำนึกการบริการ มีการประเมินการปฏิบัติงานทุกปี และประเมินต่อสัญญาทุก 2 ปี ผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่

 

การนำไปปรับใช้

  1. การคิดนอกกรอบ จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆและสามารถนำมาพัฒนางานได้
  2. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง มีความทันสมัย เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ใช้ง่าย จะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับนิสิตได้

 

 

บริษัทยูนิลีเวอร์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทยูนิลีเวอร์ จำกัด (มหาชน)  มีมายาวนานกว่า 85 ปีในประเทศไทย มีสินค้ามากมายที่เป็นที่รู้จัก เป็นองค์กรที่เน้นทางด้านการตลาดและความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าที่ผลิต และนำจุดเด่นของสินค้ามาเป็นจุดขาย บริษัททำการตลาด โดยมีหลักว่า นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลง เพราะโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น

          การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ ต้องทำให้สินค้ามีความแตกต่างและเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย สร้างช่องทางการขาย  ซึ่งจะเลือกวิธีการทำการตลาดที่เหมาะสม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำการตลาด ทำให้ทันสมัยและลูกค้ามีความมั่นใจในการซื้อผลิตภัณฑ์นั้น

          การพัฒนาบุคลากรของ บริษัทยูนิลีเวอร์ จำกัด (มหาชน) จะมีการอบรมพนักงานเกี่ยวกับหลัก 7 habbits ของ Stephen Covey  เพื่อทำให้พนักงานมีสมรรถนะการทำงานที่ดี ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาทักษะการทำธุรกิจ ทักษะความเป็นผู้นำ และคุณลักษณะต่างๆ 

การนำไปปรับใช้

          การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ มหาวิทยาลัยสามารถนำหลักการในการสร้างแบรนด์ของบริษัท มาปรับใช้กับของมหาวิทยาลัยได้

 

ธนาคารกสิกรไทย

  เป็นองค์กรที่เน้นการสร้างนวัตกรรม โดยมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนคือ สร้างนวัตกรรมใหม่ โดยที่ Kbank เป็นผู้นำด้านการใช้  online banking เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน โดย Kasikorn Business Technology Group เป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างนวัตกรรมที่ทันสมัย สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เพื่อรองรับ Digital Banking มีการกำหนด ค่านิยมหลักขององค์กรคือ

          V – Value Creation สร้างคุณค่าให้กับองค์กร

          I – Innovation มีนวัตกรรมใหม่ๆรองรับการให้บริการ

          A – Agility การทำงานอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้มีการพัฒนาการให้บริการที่แตกต่างตามความต้องการของลูกค้าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การพัฒนา Application ให้แก่ผู้พิการทางสายตาให้สามารถทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยตนเองได้ โครงการพรวนฝัน เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้

          การจัดสถานที่ทำงานที่มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิดนอกกรอบ คิดเชิงสร้างสรรค์ ของพนักงาน

 

การนำไปปรับใช้

  1. นำแนวคิดการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า มาปรับใช้กับงานของมหาวิทยาลัยในหลายส่วนงานได้ เช่น วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน
  2. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
  3. สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานเพื่อเอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากร

 

 

นายธีระ จันทิปะ  กลุ่ม ๔  สรุปสาระจากการเรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปใช้ (วิชาที่ ๑๔-๑๖)

วิชาที่ ๑๔ การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน             การบริหารงานและพัฒนาบุคคล ด้านทรัพยากรบุคคลใช้การต่อสัญญาจ้างทุก ๒ ปี มีการประเมินประจำปี ไม่มีเกณฑ์เกษียณอายุหากยังสามารถทำงานให้หน่วยงานได้ เปิดสอนในวิชาที่ประเทศขาดแคลน ยกเลิกการจ้างเหมางานจากภายนอก ใช้ทรัพยากรบุคคลให้คุ้มค่า สร้างความรักและซื่อสัตย์ในวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง งานบางอย่างไม่ได้สร้างรายได้เชิงบวกแต่เกิดภาพลักษณ์ต่อสังคม

นวัตกรรม กิจกรรม โครงการที่นำสู่ความเป็องค์กรชั้นนำ การมีงานกลางที่ใช้บุคลากรของคณะต่างๆ มาบริหารจัดการ ใช้ศูนย์การออกแบบไปช่วยพัฒนาชุมชน โครงการเพื่อสังคมและชุมชน ทำให้เกิดนวัตกรรมและสร้างชื่อเสียงให้องค์กร การสื่อสารจากภายในใช้ตัวแทนจากคณะต่างๆ ที่ทำงานในฝ่ายสื่อสารองค์กร แล้วส่งข้อมูลผ่านสำนักงานประชาสัมพันธ์ สร้างบรรยาการของการเรียนรู้ระดับนานาชาติ เปิดคลินิกทางกฎหมายเพื่อสังคม พัฒนาสิ่งที่สังคมยังขาดแคลนเช่นสร้างอวัยวะที่ ๓๓ ช่วยเหลือนักศึกษาด้านการเงินโดยรับสินค้าภาคเกษตรมาแปรรูปและจัดจำหน่าย

พัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน จุดเด่นของมหาวิทยาลัยเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการเรียนการสอน มีศูนย์ RSU Cyber University ที่ได้รับความร่วมมือจาก google ให้ใช้โปรแกรมสำหรับการศึกษาต่างๆ มีหลักสูตรออนไลน์ที่ กพ.รับรอง เป็นการเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้นอกระบบ จัดการสอนผ่านสื่อที่นักศึกษามีอยู่ จัดทำ E-learning ที่นักศึกษาสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ตามสะดวก

            สิ่งที่จะนำไปใช้      มีช่องทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการปิดช่องว่างทางความรู้ ความสามารถ โดยเสริมทักษะที่จำเป็น ใช้การรวมสาขาวิชาต่างๆและสายสนับสนุนมาคิดโครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

วิชาที่ ๑๕ การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน             การบริหารเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน บริษัทยูนิลีเวอร์ สร้างขึ้นกว่าร้อยปี ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับของอุปโภคในชีวิตประจำวัน เป็บบริษัทขนาดใหญ่ สร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กรให้กับบุลลากร สร้างแบรนด์ “Brand Love to lost.” ฝึกนำด้วยหลักสูตร 7 Habits และปรับระบบ offline ไปสู่ระแบบ online ด้วยการสร้าง Platform ของตนเอง

            สิ่งที่จะนำไปใช้      สำรวจความต้องการของลูกค้า เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี ไม่หยุดที่จะคิดค้น พัฒนาตนเอง ใช้การตลาดเข้ามาช่วยเสริมภาพลักษณ์และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

 

วิชาที่ ๑๖ การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน             การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล ธนาคารกสิกรไทย มีบริษัท KBTG ที่แยกตัวออกมาจะการบริการธนาคารรูปแบบเดิม สร้างนวัตกรรมเพื่อให้ธนาคารบริการลูกค้า ใช้วิสัยทัศน์เป็นผู้นำธนาคารระบบดิจิตอล เป็นการเพิ่มมูลค่าแล้วนำหลัก Agile working มาใช้ ทำให้มีความรวดเร็ว เปลี่ยนวิธีคิดธนาคารแบบเดิม ใช้cashless แทนเงินสด

            สิ่งที่จะนำไปใช้      ระบบบริหารต้องใช้รูปแบบเฉพาะตามศักยภาพหรือวัฒนธรรมองค์กร ให้อิสระในการคิดและทำงาน ภายใต้กรอบความสำเร็จของงานรอบด้าน และต้องจัดสรรเวลาเพื่อบริการสังคม ถือเป็การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรอีกทางหนึ่ง

 

ปาจรีย์ เรืองคล้าย กลุ่มที่ 4

วันที่ 22 สิงหาคม 2560

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

เรื่องที่ 1 นวัตกรรม / กิจกรรม / โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การทำนวัตกรรม/กิจกรรม/ โครงการ ของมหาวิทยาลัยรังสิต เกิดมากจากความต้องการของสังคม/ประเทศ (Demand Site) ทำให้สิ่งที่คิดขึ้นตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า จึงทำให้ทุกกิจกรรม/โครงการ ประสบความสำเร็จ ดังนั้น หากมหาวิทยาลัยทักษิณต้องการประสบความสำเร็จเบื้องต้นต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยน mindset ทำองค์กรให้เป็นผู้ประกอบการทางการศึกษา คิดแบบเอกชน ทำตามความต้องการของธุรกิจ หรือสังคมจึงจะอยู่รอดและสามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย โดยบางครั้งในคณะ/หน่วยงาน มีโครงการ/กิจกรรมที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก แต่ขาดการสื่อสารออกไปให้สังคมภายนอกได้รับ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยรังสิตจึงเริ่มดำเนินการด้านการสร้างแบรด์ในรูปของคณะกรรมการ มีการสื่อสารกันภายในองค์กรผ่านทางไลน์กลุ่ม เพื่อความรวดเร็ว และมีการสื่อสารกับสังคมภายนอกผ่านสื่อสาธารณะ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้คนทั่วประเทศได้รู้จักมหาวิทยาลัยรังสิต

 

เรื่องที่ 2 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          มหาวิทยาลัยรังสิตมีการทำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยในทุกด้านเพื่อสร้างนวัตกรรมในการทำงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน และการบริการ เนื่องด้วยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือจึงสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนได้ ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกและน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีในการสอบ จะช่วยลดการใช้กระดาษและเวลาในการตรวจข้อสอบลงได้มาก ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดรายจ่ายให้กับมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย ทั้งนี้ การเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาถือเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยมหาวิทยาลัยจะมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นผู้สังเกตการณ์ road show และหารือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะกับรายวิชานั้นๆ

 

เรื่องที่ 3 การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          งานบุคคลของมหาวิทยาลัยรังสิตมี 2 ส่วน คือ งานบริหารและงานพัฒนา โดยมีการทำงานแบบ one stop service มีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างจากภาครัฐ คัดเลือกคนที่มีคุณภาพเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยและให้โอกาสคนเกษียณอายุที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญสามารถทำงานในมหาวิทยาลัยได้ต่อ โดยส่วนหนึ่งการสร้างแรงจูงใจให้คนมีความสุขในการทำงานและอยากทำงานให้กับองค์กรน่าจะมีเหตุผลมาจากสวัสดิการที่ดีและมีอิสระในการทำงาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาทักษะในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ สมรรถนะงานตามตำแหน่ง ฯลฯ ทำให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความพร้อม และสามารถเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำระดับประเทศ

 

วันที่ 23 สิงหาคม 2560

ศึกษาดูงาน ณ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

เรื่องที่ 4 การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของบริษัทยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          Unilever มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำ ควบคู่กับสร้างสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อสังคม เน้นการพัฒนาตัวเองและพัฒนาข้างนอก ได้เรียนรู้ผ่านหลักสูตร 7 habits มุ่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม มุ่งเน้นการสื่อสาร สร้างภาพลักษณ์ให้เข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่องทางการสื่อสาร และรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการลดการผลิตมลภาวะในรูปแบบต่างๆ มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีภาวะผู้นำ เพื่อรองรับการขยายตัวขององค์กร และปรับเปลี่ยนระบบจาก Offline ไปสู่ Online มากขึ้นตามทิศทางตลาดโลก เป็น World Class Innovation รองรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา พัฒนาผ่านช่องทาง Omni Connect

 

ศึกษาดูงาน ณ ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี (แจ้งวัฒนะ)

เรื่องที่ 5 การใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ธนาคารกสิกรไทย มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในทุกกลุ่ม และเป็นผู้นำด้านดิจิตอล แบงค์กิ้ง มิชชั่น มุ่งเน้นการสร้าง Core Value และวิถีการคิด เน้นเรื่อง VIA คือ

V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ จะเห็นว่าบางขั้นตอนมีการทำงานที่ซับซ้อน เราได้มีการลดขั้นตอนลง

I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

A –Agility ความรวดเร็วเพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น คิดวิธีการทำงานอย่างไรให้ลดขั้นตอน

ขับเคลื่อนงานในลักษณะ Teamwork สร้าง Value ให้ Business และ Technology ไปด้วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท