ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๔๓. แสดงให้นักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเองเห็นว่าครูเห็นคุณค่า และแสดงความเคารพในตัวตน ของเด็ก





บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง

 

ภาค ๑๐  สื่อสารความคาดหวังสูง 


ภาค ๑๐  สื่อสารความคาดหวังสูง  ตีความจาก Chapter 10 : Communicating High Expectations  ประกอบด้วย ๓ ตอน คือตอนที่ ๔๓ - ๔๕    เป็นภาคสุดท้าย ของการสร้างสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดี แก่นักเรียนทุกคน    ย้ำว่า แก่นักเรียนทุกคน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่นักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเอง     จิตวิทยานี้มาจากผลงานวิจัย ในสหรัฐอเมริกาในช่วงกลาง(คริสต)ศตวรรษที่ ๒๐    แต่แปลกมากที่มีการประยุกต์ใช้กันน้อย    เพิ่งมีการจดพลุกันขึ้นใหม่เร็วๆ นี้ (https://www.gotoknow.org/posts/619876


สภาพจิตใจที่สาระในภาค ๑๐ ต้องการสร้างคือ นักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเอง หรือไม่มีความคาดหวังต่อตนเอง เกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า  พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนๆ  


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในภาค ๑๐ คือ “ครูจะช่วยให้นักเรียนที่เรียนอ่อนรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และมีปฏิสัมพันธ์อย่างสบายใจในชั้นเรียนกับเพื่อนๆ และครู ได้อย่างไร”

 

ตอนที่ ๔๓ แสดงให้นักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเองรู้สึกว่าครูเห็นคุณค่า และแสดงความเคารพในตัวตนของเด็ก ตีความจาก Element 41 : Demonstrating Value and Respect for Reluctant Learners


ยุทธศาสตร์แรกในการสื่อสารความคาดหวังสูง คือ ทำให้นักเรียนเหล่านี้รู้สึกว่าตนมีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับนับถือ


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการแสดงให้นักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเองเห็นว่าครูเห็นคุณค่า และแสดงความเคารพในตัวตนของเด็ก คือ    “ครูจะสื่อสารคุณค่าและการยอมรับนับถือ ได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้ เพื่อให้ตนเองแสดงให้นักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเองเห็นว่าครูเห็นคุณค่า และแสดงความยอมรับนับถือในตัวตนของเด็ก  มีดังต่อไปนี้



เป้าหมายของยุทธศาสตร์นี้คือ เพื่อให้สติตัวครูเอง ให้แสดงความคาดหวังสูงต่อนักเรียนอย่างเท่าเทียมกัน    พยายามเอาชนะอคติซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชน    โดยยุทธศาสตร์แรกเป็นความพยายามรู้จักอคติของตนเอง และพยายามเอาชนะโดยไม่รู้สึกผิดในอคตินั้น    อคติที่พบบ่อยเช่นสรุปว่านักเรียนที่พูดคุยกันแบบหนึ่ง หรือแต่งตัวแบบหนึ่ง จะมีผลการเรียนต่ำ     ครูควรพยายามทำความเข้าใจตนเองว่าทำไมจึงมีอคติเช่นนั้น

เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนบอกว่าครูเอาใจใส่นักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
  • นักเรียนปฏิบัติต่อกันและกันอย่างมีความเคารพนับถือกัน

 


วิจารณ์ พานิช

๑๓ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 632737เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2017 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2017 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท