ประชุมวิชาการ “การจัดการความรู้ : Share and Learn ประจำปี 2560" (1)


ความสำเร็จอยู่ที่ กระบวนการ กลยุทธ์ และความสมดุลย์ของการทำ KM

ประชุมวิชาการ “การจัดการความรู้ : Share and Learn ประจำปี 2560" ใน theme Learning to Doing ในวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมมิตรภาพ ชั้น 3 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กล่าวเปิดงาน โดย รศ.นพ.บัณฑิต ชุมวรฐายี รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล โดยมี ผศ.ปิยธิดา คูหิรัญรัตน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงาน 




ภายหลังพิธีเปิดได้มี surprise! ด้วยการมอบรางวัล “บุคคลต้นแบบ KM คณะแพทยศาสตร์ มข.” เป็นปีแรก ได้แก่

  • รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ (ภาพบนซ้าย)
  • ศ.นพ.สมบูรณ์ เทียนทอง 
  • อ.นพ.วรานนท์ มั่นคง (ภาพบนขวา)
  • พว.อุบล จ๋วงพานิช (ภาพล่างซ้าย)
  • พว.กฤษณา สำเร็จ (ภาพล่างขวา)


จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การจัดการความรู้สู่การนำไปใช้ : Best practice ของกรมชลประทาน” โดยคุณธนา สุวัฒฑน ประธานกรรมการการจัดการความรู้ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เนื้อหาโดยสรุปในบางประเด็น ที่ผู้เขียนพอจับความได้มีว่า

ความรู้อยู่ในทักษะการทำงานถึง 80% อยู่ในเอกสารการปฏิบัติงาน 20% 

และเครื่องมือตัวหนึ่งที่กรมชลประทานใช้คือ SECI Model (ซึ่งเป็นวงจรความรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ระหว่าง Tacit knowledge และ Explicit knowledge ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น หมุนเป็นเกลียวไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด) การสร้างความรู้ของ SECI Model จะเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ คือ Socialization, Externalization, Combination และ Internalization


จากการที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) มีข้อบังคับในปี 2549 ที่มีสาระสำคัญในประเด็น การส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อช่วยผลักดันสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กรมชลประทานกำหนดให้

  • KM อยู่ในแผนยุทธศาสตร์
  • มีการจัดทำ KMA ในปี 2554 มีกลยุทธ์ KM
  • มีการจัด KM Buddy
  • มีการนำปฏิทินที่เป็น time of use (TOU) โดยทำเป็นตารางให้เห็นภาพใหญ่
  • มี KM Trainer โดยจัดบรรยายบุคลากรบางส่วน แล้วให้กลับไปอบรมกันเองในหน่วยงาน
  • KM เป็นเรื่องที่ทุกส่วนต้องผลักดันกันและกัน

กรมชลประทานใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM Tools) ที่หลากหลาย เช่น KB (Knowledge Base : ฐานข้อมูล), CoP (Community of practice),  S (Story Telling), AAR (After action reviews), KS (Knowledge sharing), R (Retrospect), PA (Peer Assist), C (Cross functional team: ทีมคร่อมสายงาน) เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือต่างๆ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม

กรมชลประทานมีเทคนิค KM โดย

1) การกำหนดนโยบาย แล้วให้ทุก สนง. กลับไปทำแผนกันเองตามกรอบที่กำหนดให้

2) จัดเก็บ โดยใช้ศูนย์ความรู้กลาง และ 36 คลังความรู้ของ สนง.ที่อยู่ตามต่างจังหวัด

3) กระตุ้น โดยสร้างแรงจูงใจ และมีประกวด KM Awards

ในส่วนนวัตกรรมที่มีองค์ความรู้ปรากฏทั่วประเทศ มีการขยายผลและต่อยอด มีรางวัล มีแรงจูงใจ และมีนักประดิษฐ์

โจทย์ KM ของชลประทาน มาจาก

  • กลยุทธ์/แผน/นโยบายประเทศ
  • ปัญหาของหน่วยงานตนเอง แบ่งกลุ่มโครงการเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่โครงการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก

การแก้ปัญหาของกรมชลประทาน คือ การมองและทำให้ตัวปัญหาเกิดประโยชน์

มีการปรับโครงสร้างของกรมชลประทาน ทำ KM ในภาพใหญ่ของประเทศ เทคนิคที่ใช้เกี่ยวข้องบุคลากร ร่วมกับ นวัตกรรม ความรู้ และทักษะ


ในการถอดความรู้ของกรมชลประทาน คุณธนา สุวัฒฑน เล่าต่อว่า ต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน เล่าเร็ว เป็นทีมงาน ไว แม่น รู้และเข้าใจกระบวนการงานหลัก/รอง บางเรื่องอาจต้องให้คนใกล้เกษียณเป็นพี่เลี้ยง ช่วยสอน/อบรม ซึ่งคงไม่ใช่เพียงให้ผู้ใกล้เกษียณออกมาเล่าหรือเขียนบันทึกไว้ให้อ่านเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ควรให้ผู้ใกล้เกษียณได้ใช้เวลาราว 5 ปีก่อนเกษียณเพื่อถ่ายทอดและสร้างคน

โดยสรุป “KM ควรทำในเรื่องที่อยู่ในงานปกติ ช่วยกันคิด สนุกดี และ หมั่นถามตนเองว่าทำแล้วได้อะไร?”

เมื่อบรรยายจบลงทำให้ได้เรียนรู้ เทคนิคของกรมชลประทาน ซึ่งเป็นส่วนราชการเหมือนคณะแพทย์ มข. (เมื่อคราวก่อนออกนอกระบบ) ตั้งต้นรับนโยบายประเทศพร้อมกัน แต่มีผลการใช้เครื่องมือ KM มาทำให้องค์กรเติบโตต่างกัน

“ความสำเร็จอยู่ที่ กระบวนการ กลยุทธ์ และความสมดุลย์ของการทำ KM” จริงๆ ค่ะ

ขอขอบพระคุณ คุณธนา สุวัฒฑน เป็นอย่างสูงค่ะ


กฤษณา สำเร็จ

26 กรกฎาคม 2560


(โปรดติดตามตอนจบ)


หมายเลขบันทึก: 632074เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท